เว็บไซต์ www.nytimes.com คาดว่า จะมีผู้เสียชีวิต โดยไม่นับอยู่ในรายงานโรคโควิด-19 น่าจะไม่ต่ำกว่า 25,000 ราย โดยพบว่า หลายประเทศ ตัวเลขผู้เสียชีวิตเดือนมีนาคม - เมษายน 2563 สูงกว่าปกติ เช่น กรุงปารีส แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปกติถึงสองเท่า และมากกว่าช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาด หรือแม้แต่ นครนิวยอร์ก ก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากปกติ รวมถึงที่ตุรกี อินโดนีเซีย และหลายประเทศมียุโรป
เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักข่าวซินหัว รายงานสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคแห่งเทศบาลเมืองอู่ฮั่น ได้มีการปรับตัวเลขยอดผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) โดยได้มีการเพิ่มผู้ติดเชื้ออีก 325 ราย เป็น 50,333 ราย และเพิ่มผู้เสียชีวิตอีก 1,290 ราย เป็น 3,869 ราย โดยการปรับตัวเลขดังกล่าว มีการรวมผู้ป่วยบางรายที่เสียชีวิตที่บ้าน โดยไม่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเข้าไปด้วย
ข้อกังขาถึงตัวเลขของบางประเทศที่รายงานจำนวนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ ต่ำกว่าความเป็นจริง ทั้งการตรวจหาเชื้อจำนวนน้อย และไม่นับการเสียชีวิตนอกโรงพยาบาล เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่รายงานเฉพาะผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเท่านั้น
ประเด็นนี้ เว็บไซต์ https://www.nytimes.com คาดว่า จะมีผู้เสียชีวิต โดยไม่นับอยู่ในรายงานโรคโควิด-19 น่าจะไม่ต่ำกว่า 25,000 ราย โดยพบว่า หลายประเทศ ตัวเลขผู้เสียชีวิตเดือนมีนาคม - เมษายน 2563 สูงกว่าปกติ เช่น กรุงปารีส แต่ละวันมีผู้เสียชีวิตมากกว่าปกติถึงสองเท่า และมากกว่าช่วงฤดูไข้หวัดใหญ่ระบาด หรือแม้แต่ นครนิวยอร์ก ก็มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่าจากปกติ รวมถึงที่ตุรกี อินโดนีเซีย และหลายประเทศมียุโรป
แน่นอนว่า ปัจจุบัน โลกรู้จักโรคโควิด-19 เพียงแค่ 4 เดือน ข้อมูลการเสียชีวิตในช่วงของการระบาดใหญ่ไวรัสโควิด-19 อาจยังไม่สมบูรณ์มากนัก แต่ที่พอนำมาอ้างอิงได้ ก็คือ รายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยืนยันทั่วโลกอย่างเป็นทางการ ทุกวัน ณ วันที่ 21 เมษายน 2563 ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาทั่วโลกอยู่ที่ 2.3 ล้านคน ยอดผู้เสียชีวิต 1.6 แสนคน
เมื่อโควิด -19 ยังอยู่กับเราไปอีกนาน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้วิเคราะห์และประมวลข้อมูล จำนวนผู้ติดเชื้อรวม และต่อประชากร, จำนวนผู้เสียชีวิตรวม และต่อประชากร, อัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ติดเชื้อ, จำนวนผู้ที่รักษาหายแล้วต่อประชากร, จำนวนผู้รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในแต่ละประเทศทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 21 เมษายน 2563) ที่อย่างน้อย แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการรักษาพยาบาลของประเทศนั้นๆ ได้
10 อันดับ ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่่วโลก
1. สหรัฐ (42,518) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 129
2.อิตาลี (24,114) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 399
3. สเปน (20,852) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 466
4. ฝรั่งเศส (20,265) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 310
5.อังกฤษ (16,509) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 243
6.เบลเยี่ยม (5,828) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 502
7. อิหร่าน (5,209) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 62
8. เยอรมัน (4,862) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 58
9.จีน (4,632) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 3
10.และเนเธอร์แลนด์ (3,751) มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 219
ส่วนประเทศไทย อยู่กับอันดับที่ 60 เสียชีวิต 48 คน มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อประชากรล้านคน อยู่ที่ 0.7
หากดูอัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อ 10 อันดับแรก อันดับ 1 เป็นเบลเยี่ยม (14.6%) รองลงมา อิตาลี (13.3%) อังกฤษ (13.3%) ฝรั่งเศส (13.0%) เนเธอร์แลนด์ (11.2%) สเปน (10.4%) อิหร่าน (6.2%) จีน (5.6%) สหรัฐ (5.4%) และเยอรมัน (3.3%)
ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 60 อัตราการเสียชีวิตต่อผู้ติดเชื้อแค่ 1.7%
ตัวเลขอัตราป่วยตายจากโรคโควิด-19 ในไทย อยู่ที่ 1.7% กระทรวงสาธารณสุขไทย ชี้ชัดว่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ 6% ซึ่งสูงกว่าไทย 4 เท่า ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ในไทยจะมีโรคประจำตัว โดยเป็นโรคเบาหวานมากสุด 41% ความดันสูง 36% ไขมันในเลือดสูง 18% โรคหัวใจ 14% โรคไต 9% ภาวะอ้วน 7% และอื่นๆ 14% อาทิ โรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษา โรควัณโรค เอสแอลอี ตับ ปอด ถุงลมโป่งพอง แต่ก็มีบางส่วนเสียชีวิตโดยไม่มีโรคประจำตัว
โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุบ้านเรา ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้ง่าย จากสถิติพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 70 ปี มีอัตราป่วยตายถึงร้อยละ 12.1 จึงเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการปกป้องให้ปลอดภัย
ขณะที่ตัวเลขจำนวนผู้รักษาหายแล้วต่อประชากร พบว่า
สวิตเซอร์แลนด์ ขึ้นอันดับ 1 มีจำนวนผู้รักษาหายแล้วสะสม 18,600 ราย หรือคิดเป็น 8.7% จำนวนประชากรต่อล้านคน (ประชากร 1 ล้านคน รักษาหาย 2,138 คน) รองลงมา คือ สเปน เยอรมัน อิตาลี อิหร่าน ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ตุรกี บราซิล และจีน
ไทยอยู่อันดับที่ 22 ของประเทศที่มีจำนวนผู้รักษาหายแล้วต่อประชากร อยู่ที่ 2,108 ราย หรือ 66.6% ต่อประชากร 1 ล้านคน (ประชากร 1 ล้านคน ไทยรักษาหาย 32 คน)
ส่วนจำนวนผู้รักษาหายแล้วต่อผู้ติดเชื้อ อันดับ 1 เป็นจีน มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 82,758 ราย รักษาหาย 77,123ราย หรือคิดเป็น 93.2% รองลงมา เป็นอิหร่าน สวิสเซอร์แลนด์ เยอรมัน บราซิล สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส ตุรกี และสหรัฐฯ
ประเทศไทย อันดับที่ 22 มีผู้ติดเชื้อ 2,811 ราย รักษาหาย 2,108 ราย หรือคิดเป็น 75%
ที่มาภาพ:https://news.usc.edu/167724/covid-19-death-family-parent-grandparent-grief-usc-research/
ที่