ปัญหาเรื่องคุณภาพอาหารกลางวันยังเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์โภชนาการในเด็กไทย ยังมีพบว่า เด็กในพื้นที่ห่างไกล ยังมีปัญหา ผอม และ เตี้ย ส่วนเด็กในเมืองมีภาวะโภชนาการล้นเกิน หรือ เป็นโรคอ้วนจำนวนมาก
สั่นสะเทือนกันไปทั้งวงการการศึกษา กรณี”ขนมจีน น้ำปลา” เมนูอาหารกลางวันเด็ก โรงเรียบ้านท่าใหม่ จ.สุราษฏร์ธานี
หลังจากในช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (กศจ.) ได้พิจารณาผลการสอบสวนตามที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรงเสนอ และมีมติให้ไล่ ผู้อำนวยการโรงเรียนออกจากราชการ
บทเรียนเมนู “ขนมจีน น้ำปลา” ไม่ได้สะท้อนสะเทือนเพียงแค่ การปราบปรามการทุจริตในระบบราชการใหม่เพียงอย่างเดียว แต่หากหมายรวมถึง การหันกลับมามอง”คุณภาพ”ของอาหารกลางวันเด็กนักเรียนที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการทั้งร่างกายและสมองของเยาวชนของชาติ
ลองมาไล่เลียง”เมนู”อาหารกลางวันของโรงเรียนในแถบบ้านเรา จะเห็นว่า อาหารกลางวันของเด็กนักเรียนชาวเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในอาหารกลางวันที่ดีที่สุดในโลก โดยจะเน้นอาหารครบถ้วนโภชนาการ มีซุปและข้าว ปลา ผัก ผลไม้
เช่นเดียวกับ อาหารกลางวันของญี่ปุ่นจะไม่แตกต่างจากอาการกลางวันเกาหลีมากนัก แต่ที่จะขาดไม่ได้เลยคือทุกมื้อจะต้องประกอบไปด้วย ข้าว ผัก และนมสด 1 กล่อง
โภชนาการต้องครบ 5 หมู่ คือหลักการในการจัดการอาหารกลางวันของทั้งสองประเทศ โดยทั้งญี่ปุ่นและเกาหลี จะมีนักโภชนาการคอยให้คำแนะนำ เมนูอาหารกลางวันที่ครบถ้วนทั้งรสชาติ และคุณภาพ ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต
ควันหลงเมนู “ขนมจีนน้ำปลา” จึงเป็นเรื่องของการพัฒนาเมนูอาหารกลางวันที่มีคุณภาพด้านโภชนาการ ด้วยงบประมาณ 20 บาทต่อคน แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาดคือ “นักโภชนาการ”ประจำท้องถิ่นที่คอยให้คำแนะนำ ครู ผู้ปกครองในการจัดอาหารให้เด็กนักเรียน เพราะหากมีนักโภชนาการช่วยกำกับดูแล เมนูอาหารกลางวันแบบขนมจีนกับน้ำปลาคงไม่เกิดขึ้น
นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้จัดการโครงการเด็กไทยแก้มใส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บอกว่าเป็นเรื่องที่ดีมากหลังจากเกิดปัญหาเมนู ขนมจีนน้ำปลา ทำให้ทุกหน่วยงานตื่นตัวในการจัดการอาหารกลางวันเด็ก แม้ว่างบประมาณจะยังอยู่ที่ 20 บาทต่อคน แต่หากบริหารจัดการที่ดีเพียงพอก็สามารถสร้าง เมนูอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการได้
“เป็นเรื่องที่น่าดีใจมากที่ ทุกพรรคการเมืองหันมาสนใจอาหารกลางวันเด็ก และบรรจุไว้ในนโยบายที่ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นจริงโดยเฉพาะการสร้างนักโภชนาการท้องถิ่นเพื่อให้คำแนะนำในการจัดการอาหาร”
“นักโภชนาการท้องถิ่น” เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมาหลายปี นับจากประเทศไทย มีพระราชบัญญัติอาหารปลอดภัย แต่การผลักดันให้เกิดขึ้นจริงยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยส่วนใหญ่จะติดงบประมาณในการจัดจ้าง ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาการกระจายอำนาจงบประมาณที่
สิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันให้มีการบรรจุตำแหน่งนักโภชนากการประจำชุมชนโดยมีงบประมาณการจ้าง หรือมีตำแหน่งประจำในแต่ละท้องถิ่นเพื่อพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันให้กับเยาวชนได้ดีขึ้น
คุณภาพอาหารกลางวันจึงถือเป็นวาระเร่งด่วนที่กระทรวงศึกษา ประกาศให้ทุกโรงเรียนมีพื้นที่อาหารปลอดภัย โดย นายทรงวุฒิ มะลิวัลย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเพื่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนประถมศึกษา สพฐ. บอกว่า ปัญหาเรื่องคุณภาพอาหารกลางวันยังเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์โภชนาการในเด็กไทย ยังมีพบว่า เด็กในพื้นที่ห่างไกล ยังมีปัญหา ผอม และ เตี้ย ส่วนเด็กในเมืองมีภาวะโภชนาการล้นเกิน หรือ เป็นโรคอ้วนจำนวนมาก
ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ เพื่อพัฒนา โปรแกรม Thai school lunch ช่วยคำนวณคุณค่าทางโภชนาการ ภายใต้การดูแลเฝ้าระวังของนักโภชนาการท้องถิ่น ให้มีแหล่งวัตถุดิบที่ได้คุณภาพ สะอาด ปลอดภัย จากในชุมชนที่อยู่รอบๆ ศูนย์หรือโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ ปลา
แต่เพื่อให้โรงเรียนเป็นพื้นที่อาหารปลอดภัย ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ การสร้างคุณภาพโภชนาการและความปลอดภัยจะต้องมองไปที่วัตถุดิบที่ปลอดภัยด้วยเช่นกัน
โครงการสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัย จึงสนับสนุนให้โรงเรียนใช้วัถุดิบอินทรีย์ ทั้งผัก เนื้อสัตว์ต่างๆ โดยให้โรงเรียนที่มีพื้นที่ ปลูกผักอินทรีย์ เลี้ยงไก่ ให้โรงเรียนใช้งบประมาณอาหารกลางวันซื้อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารกลางวัน
“ถ้าโรงเรียนไหนไม่มีพื้นที่ปลูกผักเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ก็ให้ไปสนับสนุนชุมชนรวมกลุ่มปลูกพืชอินทรีย์ เพื่อนำมาขายให้โรงเรียน ก็จะทำให้โรงเรียนมีวัตถุดิบที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน”
ไม่เพียงทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่อาหารปลอดภัย แต่ ที่บ้าน ซึ่งผู้ปกครองต้องจัดหาให้กับบุตรหลานอีก 2 มื้อก็เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักถึงเช่นกัน ดังนั้นการทำความเข้าใจปัญหาโภชนาการ ให้กับผู้ปกครองก็เป็นเรื่องสำคัญ
“โรงเรียนมีแค่อาหารกลางวัน แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีผู้ปกครองที่ต้องดูแลอาหารสองมื้อต้องร่วมมือในการสร้างเมนูที่มีโภชนาการ จึงจะทำให้ปัญหาโภชนาการในเด็กนักเรียนหมด”
การพัฒนาคุณภาพอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อให้ไม่ซ้ำรอยกับ เมนูขนมจีนน้ำปลา จึงต้องสร้างพื้นที่อาหารปลอดภัยทั้งในโรงเรียน และที่บ้าน เพื่อให้เด็กไทยพัฒนาสมบูรณ์ตามวัยได้
ถอดบทเรียนจากถาดอาหารกลางวันเด็ก ที่ให้มากกว่าขนมจีนคลุกน้ำปลา