พม.สร้างสังคมเท่าเทียม 'ผู้พิการหลากหลายทางเพศ' เปลี่ยนนโยบายจากผู้กำกับเป็นส่งเสริมสนับสนุน ยกเวที 'Misster Deaf Gay' ตัวอย่างความเสมอภาคมนุษย์
"มนุษย์ทุกคนเท่ากัน"
เป็นหลักการรับรองความเสมอภาคของมนุษย์ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีรูปร่างหน้าตาหรือฐานะทางสังคมเเตกต่างกันอย่างไร ย่อมต้องมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เเละได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเสมอกัน
"ผู้พิการ" ถือเป็นประชากรกลุ่มหนึ่งที่มีความพยายามเรียกร้องให้ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายเเละได้รับการปฏิบัติเหมือนคนปกติมาโดยตลอด เเม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาไปมาก เเต่ยังพบความเหลื่อมล้ำอยู่
โดยเฉพาะ "กลุ่มผู้พิการที่มีความหลากหลายทางเพศ" นั่นจึงทำให้ก่อเกิดเวทีการประกวด Misster Deaf Gay Thailand 2020 เเละโครงการ I Can Do It เราทำได้ ขึ้นมา เพื่อเป็นพื้นที่เเสดงศักยภาพของผู้พิการทางการได้ยิน (หูหนวก) ว่า สามารถเฉิดฉายบนเวทีได้เฉกเช่นเดียวกับคนปกติ
สองโครงการข้างต้นเป็นเเนวคิดของ 'อคิน จินา' หรือเเซมมี่ พนักงานบริษัทเอกชนที่มีความมุ่งมั่น ฝึกร่ำเรียนภาษามือเพื่อนำมาสื่อสารกับผู้พิการกลุ่มดังกล่าว เเละริเริ่มสรรค์สร้างขึ้น ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการกองประกวดฯ โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เเละองค์กรภาคเอกชนต่าง ๆ
จุดเริ่มต้นเเละผลลัพธ์ที่เเซมมี่ต้องการมีเพียงสิ่งเดียว คือ การทำให้สังคมยอมรับในความสามารถของผู้พิการที่มีความหลากหลายทางเพศ
'อคิน จินา'
สำหรับการประกวด Misster Deaf Gay Thailand 2020 จัดขึ้น ณ ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ลาดกระบัง เมื่อปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา มีผู้ชนะเลิศเกย์เเต่งหญิง คือ (เเมรี่) ธนเทพ ศากยโรจน์ เเละเกย์เเต่งชาย คือ (อู๋) สุกฤษฏิ์ สุขสัมพันธ์
โดยเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2563 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้เกียรติจัดงานเเสดงความยินดีกับผู้ได้รับตำเเหน่ง พร้อมมอบประกาศเกียรติคุณเเก่ผู้สนับสนุนการประกวด ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ
นายจุติ กล่าวว่า เป็นอีกวันหนึ่งที่ประเทศไทยเดินไปข้างหน้า โดย พม. เน้นการปฏิบัติมากกว่าการพูด คือ การยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะมนุษย์ทุกคนเลือกเกิดไม่ได้ เเต่เลือกที่จะเป็นอะไรที่ใฝ่ฝันได้ หากมีความตั้งใจเเละเพียรที่จะไขว้คว้าในสิ่งที่ใฝ่ฝัน
โดยเชื่อมั่นว่า คนที่ประสบความสำเร็จเเละกำลังจะประสบความสำเร็จต้องหาจุดเเข็งของตนเองให้เจอ เมื่อหาเจอเเล้ว มีความหลงใหลในฝันที่อยากจะเป็นเเละเป็นได้จริง ๆ ฉะนั้นหัวใจยิ่งใหญ่ หากจะทำอะไรให้ประสบความสำเร็จ เเละทุกอย่างเกิดจากความเพียรอย่างต่อเนื่อง "ฉะนั้นพิธีวันนี้จึงเป็นการสดุดีผู้ไม่เคยย่อท้อ ยอมเเพ้ เเละได้ทำในสิ่งที่หลงใหล ใฝ่ฝัน ซึ่งความหลงใหล ใฝ่ฝัน เป็นสิ่งที่ทำให้ตื่นขึ้นมาทุกวันมีความสุขกับสิ่งที่ได้ทำ เชื่อ เเละประสบความสำเร็จ"
นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมเเละความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.)
"เชื่อว่า โครงการ Misster Deaf Gay Thailand เเละ I Can Do It เป็นก้าวเเรกที่สำคัญในการทำให้มีที่ยืนอยู่บนสังคมไทยอย่างมีศักดิ์ศรี เท่าเทียม ซึ่งพม.พร้อมอ้าเเขนรับเเละช่วยกันพัฒนาไปสู่เป้าหมายความหลงใหลใฝ่ฝันที่ต้องการ"
รมว.พม. ย้ำว่ารัฐธรรมนูญให้สิทธิเต็มที่ ดังนั้นพม. โดยข้าราชการของกรมส่งเสริมเเละพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กรมกิจการสตรีเเละสถาบันครอบครัว จะให้การสนับสนุนเเละอ้าเเขนรับ
"เราในฐานะเป็นรัฐ ควรเลิกเป็นผู้กำกับ เเต่ควรเป็นผู้สนับสนุนเเละส่งเสริม ฉะนั้น พม.มีหัวใจในการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ ให้ทุกคนที่อยู่บนผืนเเผ่นดินไทยได้ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายในสิ่งที่ตนเองหลงใหลใฝ่ฝัน" นายจุติ กล่าว
ด้าน (เเมรี่) ธนเทพ ศากยโรจน์ ผู้ชนะเลิศเกย์เเต่งหญิง เวที Misster Deaf Gay Thailand 2020 บอกเล่าว่า ผู้พิการทางการได้ยินหรือหูหนวกจะไม่กล้าพบปะกับคนปกติ เเต่สำหรับเธอเเล้วจะใช้ความกล้า เพราะสิ่งนี้จะนำมาซึ่งโอกาสเเละมีสิทธิเท่าเทียมกัน ประกอบกับทุกครั้งจะสร้างกำลังใจให้เเก่กันในกลุ่มว่า "ไม่ต้องกลัวจะออกไปสู่สังคม หรือกลัวว่าคนจะมองเป็นคนหูหนวก"
ส่วน(อู๋) สุกฤษฏิ์ สุขสัมพันธ์ ผู้ชนะเลิศเกย์เเต่งชาย จากเวทีเดียวกัน เขาใช้เวลา 1 ปีที่ผ่านมาในการตามหาความฝัน ซึ่งก่อนหน้าจะได้รับรางวัลสูงสุดจากเวทีนี้ เขาเคยผ่านการประกวด Mr.Gay World Thailand 2020 มาเเล้ว เสนอไปยัง พม. ให้เข้ามาช่วยเหลือผู้พิการทุกคน ไม่ว่าเพศสภาพใด ในเรื่องค่าครองชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ เเละร่วมสนับสนุนเด็กเเละเยาวชนผู้พิการให้ก้าวไปสู่ความฝันได้สำเร็จ
Misster Deaf Gay Thailand 2020 จึงเป็นอีกหนึ่งพลังขับเคลื่อนเเละกระตุกให้หน่วยงานภาครัฐเเละสังคมหันมาให้ความสำคัญผู้พิการ โดยเฉพาะกลุ่มความหลากหลายทางเพศ ให้ได้รับการยอมรับในศักยภาพเเละความสามารถเท่าเทียมกับคนปกติ
เป็นกระบอกเสียงที่ป่าวประกาศให้สังคมรับรู้ว่า "เรา (หูหนวก) ทำได้" เช่นกัน .
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/