“..ผลการดำเนินการสูงกว่าเป้าที่กำหนด เนื่องจากการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้จัดหาที่ดินว่างเปล่าเพื่อส่งมอบเป็นพื้นที่เป้าหมายให้กับ คทช. และคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินได้แจ้งพื้นที่เป้าหมายให้ คทช. จังหวัดทราบและพิจารณาตรวจสอบพื้นที่เป้าหมาย และดำเนินการจัดทำ Action Plan..”
ปัญหาที่ดินทำกินที่มีอยู่ไม่เพียงพอ มีสาเหตุหลักมาจากความไม่เสมอภาคในสิทธิและอำนาจการจัดการทรัพยากรที่ดิน ทำให้มีผู้ไร้ที่ดินทำกินจำนวนมาก
ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มุ่งเน้นความสำคัญของการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน
ตามนโยบายรัฐบาลของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) และโครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกินของสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการ
‘โครงการจัดที่ดินทำกิน’ เป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ ข้อ 4.1.3 กระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร และเป็นประเด็นที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญโดยเฉพาะเรื่องการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้สืบค้นข้อมูลจากรายงานการติดตามผลเชิงลึก ประจำปีงบประมาณ 2564 โครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทำโดยกองประเมินผล 1 สำนักงบประมาณ พบรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
ภายหลังมีโครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน ส่งผลให้ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดิน จากความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกันลดลง เช่น การบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ การทับซ้อนของแนวเขต เนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตการใช้ที่ดินหลายฉบับ ลดปัญหาประชาชนที่กลายเป็นผู้บุกรุก รวมถึงปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดการอนุรักษ์ หวงแหน รักษาทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกับการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และเกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
จะเห็นได้ว่านอกจากการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ เป็นการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล และนอกจากเป็นปัจจัยที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมแล้ว ยังช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มหรือชุมชน ส่งผลให้ประชาชนมีที่ดินอยู่อาศัยทำกินอย่างถูกต้อง มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และส่งเสริมพัฒนาอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งปลูกจิตสำนึกในการรัก และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยลดการรุกล้ำพื้นที่ป่าไม้ ทำให้มนุษย์และป่าอยู่ด้วยกันอย่างสมดุล
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าทางด้านสังคม เหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรตามนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้เป็นอย่างดี
จากการติดตามและประเมินผลตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2564 พบว่า สามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนด ดังนี้
ผลการดำเนินงาน
ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559-2564 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชน หรือผู้ยากไร้ที่ไม่มีที่ดินทำกินในพื้นที่เป้าหมายตามหลักเกณฑ์การจัดที่ดินให้ชุมชน เพื่อจัดที่ดินในรูปแปลงรวม โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ แต่ให้สิทธิชุมชนในการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม และได้รับการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการตลาดในรูปชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
รวมถึงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิต เช่น ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินบนพื้นฐานข้อมูล Zoning ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดทำเมนูอาชีพเชิงบูรณาการ ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ด้านการสนับสนุนเข้าถึงแหล่งทุน ด้านการส่งเสริมและจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อสร้างรายได้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สำหรับผลดำเนินงานในภาพรวม มีรายละเอียด ดังนี้
1) การดำเนินงานจัดหาที่ดิน แผนการดำเนินงาน จำนวน 1,991,405 ไร่ ผลการดำเนินงานสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสามารถดำเนินการได้ จำนวน 1,442 พื้นที่ 70 จังหวัด เนื้อที่ 5,713,049 ไร่ 72.61 ตารางวา คิดเป็น 286.89% ประกอบด้วย
-
ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 375 พื้นที่ เนื้อที่ 1,882,004 ไร่ 1 งาน 15.91 ตารางวา
-
ป่าสงวนแห่งชาติ (เชิงรุก) จำนวน 279 พื้นที่ เนื้อที่ 2,061,416 ไร่
-
ป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 จำนวน 1 พื้นที่ เนื้อที่ 1,456 ไร่ 20 ตารางวา ป่าไม้ถาวร จำนวน 2 พื้นที่ เนื้อที่ 114,757 ไร่
-
ป่าชายเลน จำนวน 566 พื้นที่ เนื้อที่ 24,537 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา
-
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 75 พื้นที่ เนื้อที่ 74,261 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา
-
ที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 91 พื้นที่ เนื้อที่ 37,492 ไร่ 2 งาน 56.70 ตารางวา
-
ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 7 พื้นที่ เนื้อที่ 6,822 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา
-
นิคมสหกรณ์ (13 นิคม 14 ป่า) จำนวน 15 พื้นที่ เนื้อที่ 1,510,300 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา
-
ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคม จำนวน 31 พื้นที่ ในนิคมสร้างตนเอง จำนวน 8,466 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา
พื้นที่ที่ผ่านการอนุญาตให้ดำเนินการแล้ว โดยคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินได้ให้ความเห็นชอบพื้นที่เป้าหมายที่ผ่านการพิจารณาจาก คทช. จังหวัด และหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่ได้อนุญาตให้ให้นำพื้นที่ไปดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จำนวน 1,117 พื้นที่ เนื้อที่ 3,478,886 ไร่ 53.05 ตารางวา ประกอบด้วย
-
ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 363 พื้นที่ เนื้อที่ 1,830,346 ไร่ 1 งาน 79.91 ตารางวา
-
ป่าสงวนแห่งชาติ (เชิงรุก) จำนวน 219 พื้นที่ 1,561,702 ไร่ 3 งาน 4.29 ตารางวา
-
ป่าตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ 2484 จำนวน 1 พื้นที่ เนื้อที่ 1,456 ไร่ 20 ตารางวา
-
ป่าชายเลน จำนวน 386 พื้นที่ เนื้อที่ 19,191 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา
-
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 50 พื้นที่ เนื้อที่ 39,539 ไร่ 96 ตารางวา
-
ที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 62 พื้นที่ เนื้อที่ 23,067 ไร่ 2 งาน 72.30 ตารางวา
-
ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 7 พื้นที่ เนื้อที่ 6,822 ไร่ 3 งาน 94 ตารางวา
-
ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมในนิคมสร้างตนเอง จำนวน 29 พื้นที่ 6,211 ไร่ 1 งาน 1.93 ตารางวา
ผลการดำเนินการสูงกว่าเป้าที่กำหนด เนื่องจากการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้จัดหาที่ดินว่างเปล่าเพื่อส่งมอบเป็นพื้นที่เป้าหมายให้กับ คทช. และคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินได้แจ้งพื้นที่เป้าหมายให้ คทช. จังหวัดทราบและพิจารณาตรวจสอบพื้นที่เป้าหมาย และดำเนินการจัดทำ Action Plan ต่อไป
2) ผลการจัดที่ดินให้ชุมชน ดำเนินการจัดคนเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 68,453 ราย 83,931 แปลง 302 พื้นที่ ออกหนังสืออนุญาตแล้ว จำนวน 68,453 ราย 83,931 แปลง ที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการของคณะอนุกรรมการนโยบายจังหวัด (คทช.จังหวัด) ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแปลงจำนวน 302 พื้นที่ โดยผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีรายละเอียด ดังนี้
คณะอนุกรรมการจัดที่ดินได้ออกหนังสืออนุญาตแล้ว จำนวน 292 พื้นที่ เนื้อที่ 818,003 ไร่ 53.05 ตารางวา ประกอบด้วย
-
ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 165 พื้นที่ เนื้อที่ 773,830 ไร่ 84.06 ตารางวา
-
ป่าชายเลน จำนวน 71 พื้นที่ เนื้อที่ 15,050 ไร่ 3 งาน 16.20 ตารางวา
-
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 21 พื้นที่ เนื้อที่ 19,595 ไร่ 3 งาน 37 ตารางวา
-
ที่ดินสาธารณประโยชน์ 11 พื้นที่ 4,716 ไร่ 5 ตารางวา
-
ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 2 พื้นที่ 41 ไร่ 3 งาน 3 ตารางวา
-
ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมในนิคมสร้างตนเอง จำนวน 22 พื้นที่4,768 ไร่ 1 งาน 61 ตารางวา 51
ดำเนินการจัดที่ดินให้ประชาชนเข้าใช้ประโยชน์แล้ว จำนวน 302 พื้นที่ 68,453 ราย 83,931 แปลง ประกอบด้วย
-
ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 60,267 ราย 74,255 แปลง
-
ป่าชายเลน จำนวน 3,041 ราย 3,122 แปลง
-
ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 1,513 ราย 2,149 แปลง
-
ที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 2,376 ราย 2,948 แปลง
-
ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 75 ราย 116 แปลง
-
ที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมในนิคมสร้างตนเอง จำนวน 1,181 ราย 1,341 แปลง
3) การส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนดไว้ โดยดำเนินการแล้ว จำนวน 46,820 ราย จำนวน 185 พื้นที่ 62 จังหวัด เนื้อที่ 290,730 ไร่ 2 งาน 14.29 ตารางวา
โดยมีแผนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพและการตลาดในรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้การใช้ระบบการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสมทั้ง 6 ด้าน ประกอบด้วย
-
ด้านการพัฒนาที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน บนพื้นฐานข้อมูล (Zoning) ด าเนินการแล้ว จำนวน 29,819 ราย 104 พื้นที่ 50 จังหวัด เนื้อที่ 333,787 ไร่
-
ด้านพัฒนาแหล่งน้ำและการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน ดำเนินการแล้ว จำนวน 8,902 ราย 34 พื้นที่ 21 จังหวัด เนื้อที่ 80,591 ไร่
-
ด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การจัดทำเมนูอาชีพเชิงบูรณาการ ดำเนินการแล้ว จำนวน 30,546 ราย 104 พื้นที่ 51 จังหวัด เนื้อที่ 335,695 ไร่
-
ด้านการส่งเสริมการรวมกลุ่ม ด าเนินการแล้ว จำนวน 33,776 ราย 150 พื้นที่ 54 จังหวัด เนื้อที่ 351,491 ไร่
-
ด้านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุน ด าเนินการแล้ว 4,414 ราย 13 พื้นที่ 10 จังหวัด เนื้อที่ 26,917 ไร่
-
ด้านการส่งเสริมและการจัดท าบัญชีครัวเรือน ดำเนินการแล้ว จำนวน 15,645 ราย 51 พื้นที่ 30 จังหวัด เนื้อที่ 145,049 ไร่
ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์ความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พบว่า การกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินงาน ไม่สามารถส่งผลต่อเป้าหมายจนถึงระดับผลสัมฤทธิ์ในส่วนของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะตัวชี้วัดภายใต้แผนแม่บทย่อย คือ กลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุด 40% มีความสามารถในการบริหารจัดการหนี้สินได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดแผนย่อยภายใต้แผนแม่บท สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt Service Ratio) 55% ในปี 2565
อย่างไรก็ดี การดำเนินงานจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน มีความสอดคล้องโดยตรงกับแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในประเด็นการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับการครอบครองหรือใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้
ผลการใช้จ่ายงบประมาณ
ผลการใช้จ่ายงบประมาณของการจัดที่ดินทำกินใช้ชุมชน ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 1,243.8030 ล้านบาท ข้อมูล ณ วันที่ 13 กันยายน 2564 มีผลการใช้จ่าย จำนวน 998.2042 ล้านบาท คิดเป็น 80.25% ประกอบด้วย
-
ปีงบประมาณ 2559 จำนวน 212.5016 ล้านบาท มีผลการใช้จ่าย จำนวน 174.1495 ล้านบาท คิดเป็น 81.95%
-
ปีงบประมาณ 2560 ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 253.2932 ล้านบาท มีผลการใช้จ่าย จำนวน 217.8094 ล้านบาท คิดเป็น 85.99%
-
ปีงบประมาณ 2561 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 251.0198 ล้านบาท มีผลการใช้จ่าย จำนวน 223.2456 ล้านบาท คิดเป็น 88.94%
-
ปีงบประมาณ 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 209.6874 ล้านบาท มีผลการใช้จ่าย จำนวน 142.9697 ล้านบาท คิดเป็น 68.18%
-
ปีงบประมาณ 2563 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 164.2543 ล้านบาท มีผลการใช้จ่าย จำนวน 149.9332 ล้านบาท คิดเป็น 91.28%
-
ปีงบประมาณ 2564 ได้รับการจัดสรรงบประมาณ จำนวน 153.0468 ล้านบาท ณ วันที่ 13 กันยายน 2564 มีผลการใช้จ่าย จำนวน 90.0967 ล้านบาท คิดเป็น 58.87%
ผลการใช้จ่ายงบประมาณของโครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน ได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 151.7029 ล้านบาท ปัจจุบัน ณ เดือนกันยายน 2564 มีผลการใช้จ่ายทั้งสิ้นจำนวน 125.6600 ล้านบาท คิดเป็น 82.84% รายละเอียดดังนี้
-
ปีงบประมาณ 2559 - 2561 ได้รับการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการจัดการปัญหาที่ดินท ากิน จำนวน 89.8316 ล้านบาท ผลการใช้จ่าย จำนวน 84.2103 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.74%
-
ปีงบประมาณ 2562 ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 20.0249 ล้านบาท ผลการใช้จ่าย จำนวน 16.1831 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80.72%
-
ปีงบประมาณ 2563 ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 19.9428 ล้านบาท ผลการใช้จ่าย จำนวน 17.2649 ล้านบาท คิดเป็น 86.74%
-
ปีงบประมาณ 2564ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 21.9036 ล้านบาท ผลการใช้จ่าย จำนวน 7.9724 ล้านบาท คิดเป็น 36.40%
ทั้งนี้ หากพิจารณาผลการดำเนินงานเปรียบเทียบกับผลการเบิกจ่ายงบประมาณ พบว่า ผลการดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ส่วนผลการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะด้านนโยบาย
1) ควรมีการพิจารณาวางแผนจัดที่ดินและประเมินค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงคุณภาพดิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้น โดยพิจารณาในรูปแบบต่อไร่ (Unit Cost) ซึ่งเป็นการพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนของการใช้ประโยชน์ที่ดิน
2) ควรวางมาตรการป้องกันผู้บุกรุกและถือครองที่ดินในพื้นที่ป่า ตลอดจนการออกมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือของที่ดินไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกร รวมทั้งให้มีการกำหนดบทลงโทษ หรือหาแนวทางป้องกันโดยให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เป็นผู้เฝ้าระวัง และให้ข้อมูลข่าวสารกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3) ควรมีการกำหนดแนวเขตหรือพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แนวกันชน พื้นที่อนุรักษ์ และพื้นที่เพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการวางผังและวางแผนพื้นที่ และให้ข้อมูลแก่ราษฎรผู้ได้รับการจัดที่ดิน เพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาการบริหารจัดการและดูแลพื้นที่ร่วมกัน และพิจารณาเร่งรัดการพัฒนาฐานข้อมูล (Big Data) ในเรื่องที่ดินของรัฐและควรประสานกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยการนำเข้าและการวางแผนอย่างเป็นระบบ
4) ควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพให้ทันต่อสถานการณ์ และเพียงพอตามเป้าหมายของคณะอนุกรรมการจัดหาที่ดินและคณะอนุกรรมการจัดที่ดิน เพื่อให้ดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด โดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะฝ่ายเลขานุการและคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ควรประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาการจัดทำแผนงาน/โครงการให้ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้ พัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ การส่งเสริมปัจจัยการผลิต เทคโนโลยี และการตลาดอย่างครบวงจร เพื่อให้ประชาชนมีอาชีพที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีความยั่งยืน ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากที่ดินที่ได้รับการจัดสรรอย่างเต็มที่
5) การจัดทำโครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกิน ควรดำเนินการในรูปแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อแก้ไขกฎระเบียบของหน่วยงานในเรื่องที่เป็นปัญหาระหว่างการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด
6) ควรกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถส่งผลต่อเป้าหมายได้ถึงระดับผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่สะท้อนต่อเป้าหมายตัวชี้วัดแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยกำหนดเกณฑ์ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณเรื่องรายได้ก่อนและหลังของผู้เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพเรื่องความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นการนำส่งค่าเป้าหมายไปยังตัวชี้วัดในระดับยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับต่อไป
ทั้งหมดนี้ คือภาพรวมแผนรายงานโครงการจัดการปัญหาที่ดินทำกินของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2564