อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดปัญหาขึ้นอันเนื่องมาจากว่านักท่องเที่ยวที่อยู่โรงแรมทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ถูกตรวจพบว่าติดไวรัสโควิด-19 ในช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย ก็หมายความว่าผู้เข้าพักนั้นจะไม่มีทางเลือกอื่นใดเลยนอกจากว่าจะย้ายเข้าไปรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ถูกเจาะจงเอาไว้กับทางโรงแรมก่อนหน้านี้แล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 7-10 ทั้งนี้นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยกำลังทรัพย์ของตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเข้ากักตัว รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเหล่านี้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท โดยเฉลี่ยต่อวัน และจำนวนวัน 7-10 วันที่จะอยู่ในโรงพยาบาลดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งก็จะต้องขึ้นกับจำนวนเงินของนักท่องเที่ยวที่พร้อมจะจ่ายด้วยเช่นกัน
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยนั้นได้พยายามที่จะออกแบบระบบการตรวจหาโควิดที่เรียกกันว่า Test & Go หรือว่าการตรวจหาโควิดแล้วจร เพื่อจะหลีกเลี่ยงจากการใช้มาตรการกักตัวนักท่องเที่ยวในทุกกรณีเมื่อมาถึงประเทศไทย อันจะส่งผลทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยนั้นยังมีช่องว่างให้หายใจในช่วงวิกฤติโรคระบาดนี้
แต่อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ ScandAsia ซึ่งเป็นสื่อที่รายงานข่าวเกี่ยวกับ 8 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ลาว และเวียดนาม) ได้รายงานถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบการดูแลรักษานักท่องเที่ยวที่ถูกตรวจพบว่าติดโควิด-19 ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอาปัญหาเหล่านี้มานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย และในภายหลังได้รับการตรวจพีซีอาร์ว่ามีผลโควิดเป็นบวกระหว่างที่อยู่ในประเทศไทยนั้นถือว่าอยู่ในความเสี่ยงสูงเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาความยากลำบากในหลายประการอันเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ในการป้องกันโรคของประเทศไทย ซึ่งไม่มีใครได้เตือนนักท่องเที่ยวเหล่านี้ก่อนที่จะออกเดินทางจากประเทศต้นทางของตัวเองมายังประเทศไทย
โดยระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวนั้นได้มีการระบุประเภทของโรงแรมแบบ SHA+ (โรงแรมที่ต้องมีพนักงานในสถานที่ประกอบการหรือกิจการที่ได้รับวัคซีน โควิด-19 ครบโดสอย่างน้อย 70%) และโรงแบบ ASQ (โรงแรมที่เป็นสถานที่กักตัวทางเลือก) เอาไว้ และระเบียบดังกล่าวยังได้กำหนดว่านักท่องเที่ยวจะต้องพำนักอยู่ที่โรงแรมใน 2 ประเภทนี้เท่านั้น ทั้งนี้ในโรงแรมทั้ง 2 ประเภทจะต้องมีการติดต่อกับโรงพยาบาลที่ถูกเจาะจงไปแล้ว ซึ่งโดยมากแล้วโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นโรงพยาบาลเอกชน
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดปัญหาขึ้นอันเนื่องมาจากว่านักท่องเที่ยวที่อยู่โรงแรมทั้ง 2 ประเภทเหล่านี้ถูกตรวจพบว่าติดไวรัสโควิด-19 ในช่วงเวลาที่อยู่ในประเทศไทย ก็หมายความว่าผู้เข้าพักนั้นจะไม่มีทางเลือกอื่นใดเลยนอกจากว่าจะย้ายเข้าไปรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่ถูกเจาะจงเอาไว้กับทางโรงแรมก่อนหน้านี้แล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 7-10 วัน ทั้งนี้นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยกำลังทรัพย์ของตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเข้ากักตัว รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเหล่านี้ก็จะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท โดยเฉลี่ยต่อวัน และจำนวนวัน 7-10 วันที่จะอยู่ในโรงพยาบาลดังกล่าวนั้นส่วนหนึ่งก็จะต้องขึ้นกับจำนวนเงินของนักท่องเที่ยวที่พร้อมจะจ่ายด้วยเช่นกัน
โดยส่วนมากแล้ว นักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินล่วงหน้าในส่วนค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลไปก่อน แล้วค่อยประสานงานเพื่อเรียกร้องเอาค่าสินไหมกับทางบริษัทประกันที่ตัวเองได้ทำประกันเอาไว้ในภายหลัง แต่ทว่าในทางปฏิบัติแล้วนี่ถือเป็นความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่านักท่องเที่ยวนั้นจะไม่ได้รับการชดเชยสำหรับค่ารักษาตัวในโรงพยาบาลของพวกเขา
ประเด็นปัญหาอีกประการก็คือว่าการเข้ารับการกักตัวเป็นระยะเวลา 7-10 วันในโรงพยาบาลนั้นไม่ใช่การกักตัวแบบห้องเดี่ยว แต่ต้องแชร์ห้องกับผู้ถูกกักตัวซึ่งติดเชื้อโควิดคนอื่นๆ ดังนั้นนี่จึงหมายความว่าผู้ที่ถูกกักตัวมีความเสี่ยงที่สูงมากที่จะต้องสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งถ้าหากเกิดกรณีการใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายอื่นในช่วงเวลาที่กักตัวนั้น แน่นอนว่าบริษัทประกันภัยจะไม่ยอมให้สินไหมคุ้มครองในส่วนนี้ ทำให้การกักตัวในโรงพยาบาลเมื่อถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยนั้นจึงกลายเป็นภาระทางการเงินของตัวผู้พำนักโดยฝ่ายเดียวอย่างสมบูรณ์
สำหรับระเบียบการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้นถูกระบุว่า การตรวจหาเชื้อแบบพีซีอาร์ จะถูกดำเนินการโดยโรงพยาบาล นั้นหมายความว่าโรงพยาบาลคือผู้ที่สิทธิ์ขาดในการรับผลตรวจทั้งหมดที่มาจากโรงแรมซึ่งนักท่องเที่ยวได้พำนักอยู่ โดยนักท่องเที่ยวจะต้องถูกตรวจแบบพีซีอาร์จำนวน 2 ครั้ง ก็คือในวันแรกที่มาถึงประเทศไทย และต่อมาก็คือในวันที่ 5 ของการอยู่ในประเทศไทย และทางการประเทศไทยก็ได้เน้นย้ำว่าต้องการให้การตรวจพีซีอาร์จำนวน 2 ครั้งที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเกิดขึ้นในโรงแรมเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม มีข้อครหาจากนักท่องเที่ยวบางคนตามมาในประเด็นเกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือของการตรวจแบบพีซีอาร์ในประเทศไทย เพราะถ้าหากการตรวจพีซีอาร์นั้นกระทำด้วยวิธีการเดียวกับที่ประเทศต้นทางของนักท่องเที่ยวจริง ทำไมผู้ที่เดินทางมาถึงประเทศไทยเป็นจำนวนมากกลับถูกตรวจพบว่ามีผลเป็นบวก เพราะว่าในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงก่อนหน้าที่พวกเขาจะขึ้นเครื่องบินนั้นยังปรากฎว่าพวกเขามีผลตรวจหาโควิดเป็นลบอยู่เลย
การลงทะเบียนไทยแลนด์พาสพร้อมการเลือกโรงแรม (อ้างอิงวิดีโอจาก Fabulous Pattaya Media Group)
โดยนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่เดินทางมายังประเทศไทย ทุกคนต่างเชื่อว่าพวกเขานั้นได้รับการยืนยัน ได้รับการรับประกันอย่างเพียงพอและเหมาะสมแล้ว ก่อนที่จะมาขอสมัครรับไทยแลนด์พาส หรือบัตรผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งก่อนจะขอสมัคร จะต้องมีการอนุมัติในเรื่องของประกันทางสุขภาพเอาไว้ ทว่าเมื่อนักท่องเที่ยวมาถึงประเทศไทย ก็เกิดกรณีที่เป็นปัญหาว่าแม้ว่าสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศไทยในต่างประเทศจะยอมรับในเรื่องเกี่ยวกับนโยบายทางสุขภาพของบริษัทประกันของนักท่องเที่ยว แต่ปรากฏว่านักท่องเที่ยวเหล่านี้กลับไม่ได้ถูกคุ้มครอง อันเนื่องจากเงื่อนไขที่ไม่พึงประสงค์บางอย่างในกรมธรรม์ประกันภัย
ยกตัวอย่างเช่น การประกันภัยนั้นจะคุ้มครองเฉพาะกรณีที่ผู้ป่วย ป่วยแบบมีอาการหรือว่าต้องได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงการรักษาตัวในสถานที่อื่นหรือที่เรียกกันว่าฮอสปิเทล ซึ่งโรงพยาบาลไทยจะมีสิทธิ์กำหนดให้ผู้ป่วยต้องถูกกักตัวแม้ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม และประเด็นเรื่องจำนวนวันสูงสุดที่จะถูกกักตัวอันมีค่าใช้จ่ายนั้น ก็จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ที่เป็นแพทย์ของโรงพยาบาล (ที่ถูกเจาะจงจากโรงแรมของนักท่องเที่ยว) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่จะตัดสินใจว่าจะกักตัวอย่างไรและกี่วัน
และยังมีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาอื่นๆอีก อาทิ ประกันภัยของนักท่องเที่ยวนั้นครอบคลุมแค่กรณีที่เป็นคนไข้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐบาลเท่านั้นแต่ปรากฎว่านักท่องเที่ยวก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธการรับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนหรือสถานพยาบาลที่มีสัญญากับทางโรงแรมของพวกเขาได้เลย ซึ่งสถานการณ์แบบนี้ก็หมายความว่านักท่องเที่ยวจะต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลตัวเองคิดเป็นมูลค่าสูงสุดถึง 1 แสนบาทอยางเลี่ยงไม่ได้
หนึ่งในนักท่องเที่ยวที่มีปัญหาในเรื่องของการกักตัวที่ประเทศไทย (อ้างอิงวิดีโอจาก MrBlk Adventures)
มีรายงานด้วยว่ามีชาวเดนมาร์กคนหนึ่งที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวซึ่งประสบกับปัญหาเหล่านี้ โดยเธอได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวสแกนเอเชียว่าตัวเธอได้ข้อสรุปเรื่องการแก้ปัญหาเหล่านี้ ด้วยวิธีการที่น่าเศร้าก็คือว่าสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวก็คือการหลีกเลี่ยงการมายังประเทศไทยด้วยไทยแลนด์พาส จนกว่าจะมีการยกเลิกระบบพันธมิตรระหว่างโรงแรมและโรงพยาบาลที่ว่ามานี้ หรือว่าจนกว่านโยบายด้านการประกันภัยที่สถานทูตของประเทศไทยนั้นให้การยอมรับจะครอบคลุมได้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่สอดคล้องกันกับสัญญาระหว่างโรงพยาบาลและโรงแรม
ชาวเดนมาร์กคนดังกล่าวยังได้กล่าวต่อไปว่าตัวเธอและเครือข่ายของเธอนั้นสามารถที่จะย้ายคนไข้บางส่วนซึ่งมีปัญหากับกติกาเหล่านี้และเอาไปกักตัวในที่พักอาศัยหรือว่าที่โรงพยาบาลรัฐได้ แต่ปัญหาเรื่องช่องโหว่ดังกล่าวก็ยังปรากฏขึ้นมาเรื่องๆ
โดยมีสถานการณ์ที่ปรากฏเป็นปัญหาอยู่มากมาย ทำให้ตัวเธอต้องให้คำแนะนำที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ประการหนึ่งออกมาซึ่งก็คือ
“ถ้าหากคุณติดเชื้อโควิดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ก่อนคุณเดินทางมายังประเทศไทย คุณต้องจำให้ได้ว่าจะต้องนำผลยืนยันการตรวจพีซีอาร์ และผลที่ยืนยันการฟื้นตัวทางการแพทย์อันระบุข้อมูลเกี่ยวกับประวัติการติดโควิด ลายเซ็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา ซึ่งเอกสารเหล่านี้นั้นจะช่วยคุณไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของระเบียบการของขั้นตอนการรักษาพยาบาลอันไม่เป็นธรรมเหล่านี้ ถ้าหากคุณแสดงหลักฐานและยืนกรานได้ว่าผลตรวจพีซีอาร์อันเป็นบวกดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเพราะว่ามีการตรวจหาเจอเซลล์ที่ตายอันเนื่องมาจากการติดเชื้อในครั้งก่อนหน้า คุณก็อาจจะหลีกเลื่ยงจากการถูกกักตัวไปได้”
เรียบเรียงจาก:https://scandasia.com/warning-against-traveling-to-thailand/