ไวรัสนี้นั้นไม่ได้แพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรง การสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่นลูกบิดประตู และที่จับต่างๆก็ไม่ได้ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นคุณจะไม่เป็นฝีดาษลิงด้วยการปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นระยะเวลาสั้นๆกับผู้อื่นที่เป็นโรคฝีดาษลิง แต่คุณมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ถ้าหากมีการสัมผัสใกล้ชิดเป็นระยะเวลานานกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นฝีดาษลิง
จากสถานการณ์การระบาดของการระบาดของไวรัสฝีดาษลิง ที่เกิดขึ้น ทำให้มีข้อกังวลกันว่าไวรัสดังกล่าวนี้อาจจะส่งผลเลวร้ายต่อเด็กที่ติดเชื้อ เพราะในช่วงสัปดาห์นี้และสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีรายงานของเด็กที่ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานเกี่ยวกับผลกระทบของฝีดาษลิงที่มีต่อเด็กมานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
“หากเปรียบเทียบผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และไวรัสอื่นๆที่มีผลกระทบต่อเด็ก อาทิ ไข้หวัด และไวรัส RSV (เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง) จะพบว่าเชื้อฝีดาษลิงนั้นไม่ได้มีการแพร่เชื้อระหว่างบุคคลได้ง่ายนักเมื่อเทียบกับโรคเหล่านี้” นพ.แลร์รี่ โคซิโอเล็ค ผู้อํานวยการทางการแพทย์ของการติดเชื้อและการป้องกัน ที่โรงพยาบาลเด็กชิคาโกกล่าว และกล่าวต่อไปว่า ณ เวลานี้ (สัปดาห์ที่ผ่านมา) ยังมีกรณีเด็กติดเชื้ออยู่แค่ในหลักสิบทั่วโลกเท่านั้น
@อาการของโรคฝีดาษลิงในเด็กเป็นอย่างไรบ้าง
โรคฝีดาษลิงนั้นเกิดมาจากไวรัสฝีดาษลิง ซึ่งทั่วไปแล้วฝีดาษลิงจะมีอาการที่เหมือนกันทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยจะมีอาการอาทิ เป็นไข้,ต่อมน้ำเหลืองบวมและแผลที่ผิวหนังทั่วร่างกาย สำหรับอาการผื่นนั้นจะเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ที่ป่วยเป็นฝีดาษลิง และผื่นจากฝีดาษลิงก็ดูคล้ายกับผื่นอื่นๆที่พบในเด็ก
โดยทั่วไปแล้วอาการจะเริ่มต้นภายในระยะเวลาสามสัปดาห์จากได้รับเชื้อ และการเจ็บป่วยจะกินเวลาอยู่ที่ 2-4 สัปดาห์ ซึ่งอาการของผู้ป่วยโดยทั่วไปนั้นมักจะไม่หนักและไม่มีความจำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ว่าสำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการก็อาจจะรุนแรงได้
รายงานข่าวความเสี่ยงของเด็กที่จะป่วยเป็นฝีดาษลิง (อ้างอิงวิดีโอจาก FOX NEWS)
@ฝีดาษลิงส่งต่อเชื้อได้อย่างไร
วิธีการที่ง่ายที่สุดที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อของฝีดาษลิงก็คือการสัมผัสโดยตรงกับแผลที่ผิวหนัง
“ไวรัสนี้นั้นไม่ได้แพร่เชื้อผ่านการสัมผัสโดยตรง การสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่นลูกบิดประตู และที่จับต่างๆก็ไม่ได้ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นคุณจะไม่เป็นฝีดาษลิงด้วยการปฏิสัมพันธ์ส่วนตัวเป็นระยะเวลาสั้นๆกับผู้อื่นที่เป็นโรคฝีดาษลิง แต่คุณมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ถ้าหากมีการสัมผัสใกล้ชิดเป็นระยะเวลานานกับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นฝีดาษลิง” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
@ถ้าหากเราติดฝีดาษลิง จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคส่งต่อไปถึงลูกๆได้อย่างไรบ้าง
มาตรการป้องกันฝีดาษลิงนั้นมีวิธีการปฏิบัติที่เหมือนกับมาตรการป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ ที่ควรจะกระทำ อาทิ การอยู่ในบ้านเมื่อมีอาการป่วย,หลีกเลี่ยงจากการพบปะกับผู้ป่วยคนอื่น และล้างมือด้วยน้ำและสบู่เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 20 วินาที ก่อนรับประทานอาหาร
โดยถ้าหากว่าสงสัยว่ามีอาการของฝีดาษลิง ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้ารับการตรวจ จากแพทย์โดยทันที
“การทดสอบหาเชื้อในสหรัฐฯเพื่อจะตรวจหาโรคฝีดาษลิงนั้นมีความพร้อมมากกว่าเมื่อเดือนก่อน ถ้าหากคุณสงสัยหรือได้รับการบอกว่าเป็นโรคฝีดาษลิง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการป้องกันการแพร่เชื้อ ด้วยการรักษาและปกปิดผิวหนังในส่วนที่เป็นแผลเอาไว้ และแบ่งปันสิ่งของซึ่งสัมผัสกับแผลให้ผู้อื่นร่วมกันใช้ อาทิเช่นผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว และเสื้อผ้า” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่าโรคฝีดาษลิงนั้นไม่ใช่โรคที่จะแพร่กระจายผ่านระบบทางเดินหายใจได้โดยง่ายเมื่อเทียบกับโควิด-19 แต่ก็ไม่สามารถจะตัดความเป็นไปได้นี้ออกไปเช่นกัน ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นผู้ติดเชื้อ ก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะสวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างทางสังคมกับผู้อื่นที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกัน ซึ่งการกักตัวสำหรับไวรัสฝีดาษลิงนั้นมีการแนะนำว่าต้องใช้เวลากักตัวยาวนานกว่าไวรัสอื่นๆค่อนข้างมาก
“คุณสามารถแพร่เชื้อฝีดาษลิงได้นานตราบเท่าที่ยังมีรอยแผลบนผิวหนังอยู่ ซึ่งที่อาจจะนานถึงสี่สัปดาห์” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
@ความเสี่ยงสำหรับลูกๆเป็นอย่างไรบ้าง
“ความเสี่ยงที่ว่าลูกๆนั้นจะได้รับเชื้อฝีดาษลิงจากพ่อแม่ ณ เวลานี้มีค่อนข้างต่ำ ดังนั้นผื่นส่วนใหญ่ที่เกิดในเด็ก ณ เวลานี้จึงมีความไปได้ว่าอาจจะมาจากสาเหตุการติดเชื้ออื่นๆหรือว่าเกิดจากการไม่ติดเชื้อ” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
อย่างไรก็ตามถ้าหากคุณมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าลูกของคุณติดเชื้อ หรือว่ามีอาการของผื่นที่สอดคล้องกับฝีดาษลิง ก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะติดต่อกุมารแพทย์ของคุณเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและใช้มาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคไปยังคนอื่นๆ
@เด็กบางคนมีความเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆหรือไม่
ข้อมูลจากสถาบันกุมารเวชศาสตร์อเมริกันหรือ AAP ระบุว่าเด็กบางคนรวมไปถึงทารก,เด็กที่อายุต่ำกว่าแปดปี และผู้ที่มีอาการด้านผิวหนังอยู่ก่อนแล้ว อาทิ โรคกลาก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง คนกลุ่มที่ว่ามานี้อาจจะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงมากขึ้นหากติดเชื้อฝีดาษลิง
@มีหนทางรักษาหรือว่าวัคซีนหรือไม่
สำหรับเด็กที่มีกรณีอาการป่วยรุนแรงของฝีดาษลิงนั้นพบว่ายังมีทางที่จะรักษาได้ โดยยาต้านไวรัส Tecovirimat นั้นถือว่าเป็นยารักษาในขั้นแรกที่กำลังถูกนำไปใช้และอยู่ในกระบวนการของการตรวจสอบว่าประสิทธิภาพยานั้นเป็นอย่างไร
โดยเมื่อเร็วๆนี้ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐฯหรือว่า CDC ได้มีการปรับปรุงวิธีการนำยาเข้าสู่ร่างกายทั้งในรูปแบบของทางปากและทางหลอดเลือดดำ
ทั้งนี้แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันฝีดาษลิงให้กับเด็กทุกคน แต่ก็มีรายงานว่าวัคซีนที่ชื่อว่า JYNNEOS นั้นก็อาจที่จะถูกแนะนำให้ใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ซึ่งสัมผัสกับฝีดาษลิง
องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ ขยายโดสวัคซีนฝีดาษลิง (อ้างอิงวิดีโอจาก CBS)
@ผู้ปกครองควรกังวลแค่ไหนในประเด็นว่าลูกตัวเองอาจติดเชื้อฝีดาษลิง
“ในตอนนี้ความกังวลดูเหมือนว่าจะสูงกว่าความเสี่ยงที่แท้จริงอย่างทวีคูณ เพราะผู้คนเริ่มจะระแวดระวังโรคอุบัติใหม่กันมากขึ้น หลังจากที่มีภาวะของการระบาดของโควิด-19 และก็มีสื่อค่อนข้างจะให้ความสำคัญกับฝีดาษลิงค่อนข้างมาก แต่แท้ที่จริงแล้วความเสี่ยงของโรคนี้ที่มีต่อเด็กก็ต่ำมากเช่นกัน” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
โดยถ้าหากจะให้เปรียบเทียบ มีรายงานแค่ว่ามีเด็กป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงอยู่ที่ประมาณหลักสิบรายทั่วโลกเท่านั้น แต่ว่าโรคมือเท้าและปากซึ่งพบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยมีสาเหตุมาจาก เอนเทอโรไวรัสนั้น พบว่าในแต่ละปีมีเด็กในสหรัฐฯป่วยด้วยโรคนี้สูงถึง 15 ล้านราย
“และนี่ก็เป็นเพียงแค่หนึ่งในสาเหตุจากจำนวนนับร้อยสาเหตุที่จะทำให้เด็กมีอาการผื่นขึ้นได้ทั้งนั้น” นพ.โคซิโอเล็คกล่าว
เรียบเรียงจาก:https://fortune.com/well/2022/08/05/monkeypox-and-kids-what-parents-need-to-know/