โดยเรายังไม่รู้มากพอว่าเดลตาครอนจะเอาลักษณะนี้มาด้วย หรือว่าจะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะถ้าหากดูข้อมูลการระบาดนั้นจะพบว่าแม้ว่าเดลตาครอนสามารถจะแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้ แต่ว่าในยุโรป โควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นยังคงเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดอยู่ ดังนั้นไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนจึงยังคงเป็นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องจับต่อดูอย่างใกล้ชิด
สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ณ เวลานี้ที่พบการระบาดของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาครอนในประเทศไทยจำนวน 73 ราย ทำให้เกิดความกังวลกันว่าโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นอาจจะเป็นโควิดสายพันธุ์ที่ร้ายแรงมากขึ้นกว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาและโควิดสายพันธุ์โอไมครอนหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศนั้นได้มีการออกรายงานฉบับหนึ่งออกมา สรุปข้อมูลได้ว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนนั้นยังไม่ใช่สิ่งที่เราจะต้องกังวลมากเกินไป โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
ในหลายประเทศนั้นเริ่มมีการยกเลิกมาตรการการควบคุมโรคระบาดและเปิดเสรีให้กับประชาชนได้มากขึ้นแล้ว ทำให้เริ่มจะมีความรู้สึกว่าสถานการณ์โรคระบาดนั้นได้ยุติลงแล้ว แต่อย่างไรก็ความก็ยังคงปรากฎความกังวลอย่างมีนัยยะสำคัญว่าจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่อันตรายกว่าเกิดขึ้นมาอีก
โดยความกังวลดังกล่าวนั้นเริ่มมีขึ้นหลังจากการปรากฏตัวของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน แต่ข่าวดีก็คือว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวนั้นแม้ว่าจะแพร่เชื้อได้ง่าย แต่ก็ไม่ได้ทำให้เกิดอาการรุนแรงในประเทศที่ไวรัสโควิดสายพันธุ์นี้ได้ระบาดแต่อย่างใด
ทว่านี่ก็ไม่ใช่เครื่องยืนยันถึงสิ่งที่จะเกิดในอนาคตต่อไป เนื่องจากว่าไวรัสโควิดนั้นเป็นไวรัสที่มีลักษณะสุ่ม และสายพันธุ์ใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตนั้นก็มีความเป็นไปได้อีกเช่นกันว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่อันตรายกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ และตอนนี้ก็มีสายพันธุ์ของไวรัสโควิดที่ชื่อว่าเดลตาครอน ที่เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอไมครอน ซึ่งเป็นไวรัสโควิด 2 สายพันธุ์ที่ระบาดเป็นหลักที่สุดในช่วงเวลาก่อนหน้านี้
ความเป็นมาของโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนกลางเดือน ก.พ.ที่ผ่านมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์ที่ Institut Pasteur ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสได้ดำเนินการอัปโหลดลำดับทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาที่มีความแตกต่างจากลำดับทางพันธุกรรมก่อนหน้านี้มาก
โดยตัวอย่างไวรัสนั้นเริ่มต้นมาจากผู้ติดเชื้อซึ่งเป็นชายชราที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งไวรัสที่พบนั้นมีลักษณะค่อนข้างแปลก และลำดับทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ก็ดูมีความคล้ายคลึงกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าซึ่งเป็นไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่มีการระบาดเป็นหลักจนถึงเมื่อช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา แต่ส่วนหนึงของลำดับทางพันธุกรรมที่ถอดรหัสออกมาว่าเป็นโปรตีนหนามอันเป็นอวัยวะสำคัญของไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์นั้นพบว่ามาจากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
พอมาถึงเดือน มี.ค. ก็พบผู้ติดเชื้อไวรัสไวรัสโควิดสายพันธุ์ลูกผสมเพิ่มเติมอีกจำนวน 3 รายในสหรัฐอเมริกา, ทำให้ตอนนี้ทั้งในประเทศฝรั่งเศส,เนเธอร์แลนด์,เดนมาร์ก,สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรนั้นพบว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโควดสายพันธุ์ลูกผสมที่สามารถยืนยันข้อมูลได้มากกว่า 60 รายแล้ว
อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Institut Pasteur กล่าวว่ามีความเป็นไปได้อีกว่าผู้ติดเชื้อโควิดดังกล่าวนั้นอาจจะติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนที่มีความแตกต่างกันออกไป เนื่องจากว่าลำดับทางพันธุกรรมของโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนที่พบในผู้ติดเชื้อในสหรัฐฯและในสหราชอาณาจักรนั้นพบว่ามีความแตกต่างจากสายพันธุ์ผสมที่พบในประเทศอื่น
ดังนั้นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้มีการหารือกัน ณ เวลานี้ก็คือว่าอาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องระบุตัวเลขให้กับโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนที่มีความแตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะระบุให้แน่ชัดมากขึ้น
การระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนในประเทศออสเตรเลีย (อ้างอิงวิดีโอจาก 9 NEWS Australia)
@ไวรัสโควิดสายพันธุ์ผสมนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องที่แปลกสำหรับกรณีที่ไวรัสจะมีการผสมและจับคู่กันเอง ถ้าหากมีกรณีที่ไวรัสซึ่งแตกต่างกันนั้นได้ติดเชื้อในเซลล์เดียวกัน โดยสิ่งนี้เรียกกันว่าการรวมใหม่ เนื่องจากไวรัสตัวหนึ่งได้นวมส่วนของลำดับทางพันธุกรรมเข้ากับชิ้นส่วนจากไวรัสอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งดูเหมือนว่าสิ่งนี้นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงของการสุ่มการแบ่งตัวของไวรัส
อย่างไรก็ตาม พบข้อมูลว่ามีการถ่ายโอนคุณลักษณะของไวรัสสายพันธุ์หนึ่งไปสู่อีกสายพันธุ์หนึ่งด้วยเช่นกัน จากทั้งสายพันธุ์ที่มีความชุกของการระบาดน้อยกว่า และอีกสายพันธุ์มีความชุกของการระบาดที่มากกว่า โดยทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นอาจมีโอกาสในการไหลเวียนในกลุ่มประชากรกลุ่มเดียวกัน ไปพร้อมๆกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว โอกาสของการรวมตัวของไวรัสก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย
อนึ่งการรวมตัวนั้นมักจะสร้างไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่สามารถจะทำงานได้จริง เนื่องจากว่าการผสมยีนที่แตกต่างกันออกไปของไวรัสทั้งสองสายพันธุ์นั้นดูเหมือนว่จะไปรบกวนขีดความสามารถของไวรัสในการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อการคงอยู่ของไวรัสเอง แต่ทว่าในบางครั้งไวรัสที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวก็รอดชีวิตต่อไปได้ และนี่น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาครอน
โดยจากกรณีที่โควิดสายพันธุ์เดลตาครอนที่พบในสหรัฐฯและในสหราชอาณาจักรมีความแตกต่างจากที่พบในยุโรป ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่ว่าเกิดการรวมตัวไปแล้วเป็นจำนวนหลายครั้งก่อนแยกจากเดลตาครอนสายพันธุ์ที่พบในยุโรปนั่นเอง
@ไวรัสตัวใหม่ที่แยกออกจากไวรัสชนิดเก่า
ณ เวลานี้ ยังคงเป็นเรื่องยากที่จะระบุได้ว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนนั้นจะมีลักษณะเด่นที่เหมือนกับโควิดสายพันธุ์ต้นแบบซึ่งก็คือโควิดสายพันธุ์เดลตาและสายพันธุ์โอไมครอนหรือไม่ โดยโควิดทั้ง 2 สายพันธุ์นั้นถือว่าเป็นไวรัสที่มีความแตกต่างออกไปทั้งในแง่ของการเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ และในแง่ของการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน
โดยเรายังไม่รู้มากพอว่าเดลตาครอนจะเอาลักษณะนี้มาด้วย หรือว่าจะมีความแตกต่างกันออกไป เพราะถ้าหากดูข้อมูลการระบาดนั้นจะพบว่าแม้ว่าเดลตาครอนสามารถจะแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้ แต่ว่าในยุโรป โควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นยังคงเป็นโควิดสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดอยู่ ดังนั้นไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนจึงยังคงเป็นสิ่งที่เราจำเป็นจะต้องจับต่อดูอย่างใกล้ชิด
องค์การอนามัยโลกหรือ WHO ยืนยันข่าวการค้นพบโควิดสายพันธุ์เดลตาครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก ANC)
ทั้งนี้เวลาจะเป็นสิ่งที่บอกเองว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนนั้นจะสามารถแทนที่โอไมครอนได้จริงหรือไม่ และเดลตาครอนจะมีศักยภาพในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันรวมไปถึงทำให้เกิดการเจ็บป่วยรุนแรงได้มากกว่าจริงหรือไม่ ซึ่ง ณ เวลานี้นั้น พบว่ายังคงมีผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนในจำนวนที่น้อยเกินไปกว่าที่จะนำมาสู่ข้อสรุปดังกล่าวนี้ได้
ดังนั้นสิ่งที่เราจะต้องมีการดำเนินการต่อไปก็คือการทดลองจนกว่าจะได้ความแน่ชัดเสียก่อนจึงจะกำหนดได้ว่าเดลตาครอนมีคุณสมบัติเป็นอย่างไรกันแน่ โดยนักวิทยาศาสตร์นั้นก็ได้เริ่มกระบวนการดังกล่าวไปแล้วและคาดว่าอีกไม่นานคงจะได้คำตอบออกมา
อย่างไรก็ตามสิ่งที่เราสามารถั่นใจได้อย่างหนึ่งก็คือว่าการติดเชื้อไวรัสแม้ว่าจะเป็นสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ รวมไปถึงการฉีดวัคซีนจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันที่มากพอจะป้องกันการป่วยรุนแรงได้ แม้ว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาครอนจะเริ่มครองส่วนแบ่งการตลาดแล้วก็ตาม
โดยวัคซีนในปัจจุบันนั้นแม้ว่าจะยังคงเป็นวัคซีนสำหรับโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมที่ระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก็พบว่ายังคงมีศักยภาพในการป้องกันการป่วยรุนแรงที่เกิดขึ้นจากไวรัสโควิดสายพันธุ์ล่าสุดได้อยู่ แต่ที่เหลือก็ต้องขึ้นอยู่กับเวลาแล้วที่จะบอกได้ว่าโควิดสายพันธุ์เดลตาและโอไมครอนนั้นจะสามารถผลิตโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เราควรจะกังวลได้หรือไม่
เรียบเรียงจาก:https://www.ndtv.com/world-news/deltacron-what-scientists-know-so-far-about-this-new-hybrid-coronavirus-2835737