หลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว หลายประเทศสามารถที่จะดำเนินการต่อไปในขั้นตอนการควบคุมการระบาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่าขั้นตอนของโรคประจำถิ่นได้ ซึ่งในระหว่างขั้นตอนนี้ประชาชนสามารถจะลดข้อควรระวังที่เข้มงวดที่สุดและและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นวงกว้างได้แล้ว โดยไวรัสนั้นก็จะยังคงระบาดเกิดขึ้นอยู่บ้างและมีความอันตรายอยู่ แต่ว่าก็สามารถจะจัดการได้เช่นกัน
จากสถานการณ์เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ณ เวลานี้ เริ่มมีการพูดถึงคำว่าการเปลี่ยนสถานะของไวรัสโควิด-19 จากการเป็นโรคระบาดไปสู่โรคประจำถิ่น ซึ่งในหลายประเทศรวมไปถึงประเทศไทยนั้นได้มีการคาดกันว่าภายในปี 2565 ไวรัสโควิด-19 นั้นจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงวันละประมาณ 15,000 รายต่อวันก็ทำให้เกิดความเคลือบแคลงใจว่าเป้าหมายดังกล่าวนั้นจะเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้หรือไม่
โดยจากกรณีดังกล่าวนั้นทางด้านของ นพ.แอนโทนี่ ฟาวซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของสหรัฐอเมริกาก็ได้มี กำหนดขั้นตอนเอาไว้ 5 ขั้นตอนที่ว่าโควิด-19 จะเปลี่ยนผ่านสถานะจากโรคระบาดไปสู่โรคประจำถิ่นและจะนำไปสู่จุดจบของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างไร
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายละเอียดของบทสัมภาษณ์ดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
@ภาวะโรคระบาดที่แท้จริง
นพ.ฟาวซี่ได้ให้สัมภาษณ์เอาไว้ว่าขั้นตอนแรกนั้นก็คือการระบาดอันเป็นวงกว้าซึ่งจะอยู่ในขั้นตอนของโรคระบาด โดยขึ้นตอนที่ว่านี้นั้นคือสิ่งที่โลกได้เผชิญเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมา มีทั้งประเด็นความไม่มั่นคงทางสังคม,การแพร่กระจายของการระบาดในระดับชุมชนที่ไม่สามารถควบคุมได้,การล่มสลายของระบบสุขภาพ และการเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่ที่ไวรัสโควิด-19 ได้ข้ามพรมแดนข้ามาสู่สหรัฐฯ ก็ได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวน 76 ล้านคนคือคิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากร และทำให้มีผู้เสียชีวิตคิดเป็นจำนวนเกือบ 900,000 ราย
@การลดความเร็วของการระบาด
ณ เวลานี้นั้นคลื่นการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคทั่วโลก โดยสหรัฐฯและประเทศอื่นๆเริ่มจะเห็นตัวเลขการระบาดที่ลดลงแล้ว และถ้าแนวโน้มขาลงของการระบาดนี้นั้นยังคงดำเนินอยู่ต่อไป ก็หมายความว่าเราจะถึงขั้นตอนการลดความเร็วการระบาดได้อย่างแท้จริง ซึ่งการปรับปรุงตัวชี้วัดในด้านสุขภาพหลายอย่าง รวมไปถึงอัตราของผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล,ตัวเลขผู้ติดเชื้อต่อวัน และอัตราการเสียชีวิตนั้นควรจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าภาวะเลวร้ายได้สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ ซึ่งทาง นพ.ฟาวซี่กล่าวว่าก็มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะอยู่ในขั้นตอนนี้ ขณะที่นักวิจัยคนอื่นก็ได้กล่าวว่ามันยังเร็วไปที่สรุปให้แน่ใจ
ยกตัวอย่างเช่นกรณีที่นครนิวยอร์กที่พบว่าจำนวนเฉลี่ยของผู้ติดโควิดรายใหม่นั้นลดลงไปน้อยกว่า 10 รายในช่วงสัปดาห์แรงของเดือน ม.ค. และจำนวนการเสียชีวิตก็อยู่ในแนวราบต่ำ ส่วนรัฐอย่างฟลอริดาและอลาสก้าก็พบว่ามีกรณีการลดลงของผู้ป่วยรายวันโดยเฉลี่ยเมื่อเทียบกับประชากรอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ในประเทศแอฟริกาใต้อันเป็นประเทศแรกที่พบโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นก็พบว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อโดยเฉลี่ยลดลงเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับจุดสูงสุดของการระบาดในเดือน ธ.ค. 2564 ส่งผลทำให้รัฐบาลได้ดำเนินการยกเลิกข้อจำกัดต่อไวรัสโควิด-19 ไปบางส่วนแล้ว
ขณะที่ พญ.ลอเรน เซาเออร์ นักวิจัยด้านสาธารณสุขของศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเนแบรสกาได้ระบุว่าขั้นตอนดังกล่าวนี้นั้นถือว่ายากในการจะระบุได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แต่มันจะเป็นง่ายกว่าถ้าเรารู้ว่าอยู่ในนั้นแล้วหรือไม่
นพ.แอนโทนี่ ฟาวซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของสหรัฐฯ (อ้างอิงวิดีโอจาก CBS)
@การควบคุม
หลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว หลายประเทศสามารถที่จะดำเนินการต่อไปในขั้นตอนการควบคุมการระบาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักในอีกชื่อว่าขั้นตอนของโรคประจำถิ่นได้ ซึ่งในระหว่างขั้นตอนนี้ประชาชนสามารถจะลดข้อควรระวังที่เข้มงวดที่สุดและและสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติเป็นวงกว้างได้แล้ว โดยไวรัสนั้นก็จะยังคงระบาดเกิดขึ้นอยู่บ้างและมีความอันตรายอยู่ แต่ว่าก็สามารถจะจัดการได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามในขั้นตอนนี้ผู้คนยังคงต้องตื่นตัวเพื่อจะรับมือกับการระบาดไม่ว่าจะเป็นการระบาดเมื่อไรและที่ไหน ซึ่งรูปแบบการรับมือก็จะเหมือนกับเกมตีตัวตุ่น แต่สำหรับการรับมือกับสถานการณ์นี้ วัคซีน,การตรวจหาเชื้อและการรักษาผู้ป่วยหลังจากการติดเชื้อนั้นจะถูกนำมาใช้เป็นสิ่งแทนค้อน
@การกำจัดและกวาดล้าง
การกำจัดและกวาดล้างนั้นจะขั้นตอนของการไม่ให้มีไวรัสเหลืออยู่นอกประเทศและจากนั้นก็ทั่วทั้งโลก โดยเมื่อไม่มีการระบาดเหลืออยู่แล้ว โรคนี้ก็จะเป็นแค่ความทรงจำอันห่างไกลที่คนรุ่นหลังไม่จำเป็นต้องเป็นห่วงต่อเรื่องนี้อีก
นพ.ฟาวซี่กล่าวว่าสำหรับขั้นตอนนี้นั้นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่ดูสมจริงนักสำหรับโควิด โดยในอดีตนั้นสหรัฐฯสามารถจะกำจัดโรคโปลิโอและหัดไปได้ (แม้ว่าจะมีความลังเลด้านการฉีดวัคซีนส่งผลทำให้เกิดการระบาดอีกครั้งในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้) แต่เมื่อเปรียบเทียบกับโควิดแล้ว ไวรัสนี้นั้นจะไม่ถูกกำจัดไป เพราะว่าไวรัสนี้นั้นจะยังคงมีการย้ายถิ่นฐานนอกพรมแดนสหรัฐฯ อันที่จริงแล้วถ้าหากย้อนดูตามหน้าประวัติศาสตร์มนุษย์จะพบว่ามีโรคอยู่แค่โรคเดียวที่ถูกกำจัดไปอย่างสิ้นซากก็คือโรคฝีดาษในปี 2523
ขณะที่ พญ.โมนิก้า คานธี แพทย์ด้านโรคติดเชื้อที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในนครซานฟรานซิสโกได้กล่าวว่าไวรัสที่อยู่เบื้องหลังโควิดนั้นไม่ได้มีคุณลักษณะส่วนตัวว่าตัวมันเองจะสามารถถูกกำจัดไปได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งนี่ถือเป็นความจริงอันยากยิ่งที่เราจะสามารถยอมรับได้ โดยโควิด-19 นั้นไม่ได้เหมือนกับโรคฝีดาษในหลายประเด็น อาทิ อาการของผู้ติดไวรัสโควิดนั้นมีความคล้ายคลีงมากเกินไปกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ซึ่งนี่ส่งผลทำให้เราไม่สามารถดำเนินนการระบุตัวตน,กักตัวผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วเท่าที่จำเป็นนั้นเป็นสิ่งที่ยากจะดำเนินการได้ และยิ่งไปกว่านั้นยังมีกรณีการติดเชื้อโควิดในระยะยาวนั้น จะมีโรคที่เกี่ยวข้องมามากจนเกินไป ซึ่งจากปัจจัยด้านการฟักตัวของเชื้อที่นานนั้น ส่งผลทำให้ไวรัสสามารถแพร่เชื้อไปได้ก่อนที่ผู้แพร่เชื้อจะมีอาการป่วยเกิดขึ้น
จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยืนยันแล้วนับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาดจนถึงวันที่ 12 ก.พ.2565 (อ้างอิงวิดีโอจาก Global Rank)
ประเด็นถัดมานั้นก็คือว่าเราไม่มีวัคซีนที่จะสามารถป้องกันโควิดไปได้ตลอดชีวิต อีกทั้งการติดเชื้อไวรัสโควิดก็ไม่สามารถจะยืนยันได้ว่าเป็นเรื่องที่ปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่นกรณีโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนั้นมีการวิวัฒนาการตัวเองไปมากจนสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อโควิดซ้ำได้ และท้ายที่สุดแม้ว่าเราจะสามารถปกป้องการติดไวรัสไม่ให้เกิดขึ้นในมนุษย์ได้แล้ว แต่ตัวไวรัสก็ยังคงสามารถจะท่องเที่ยวไปโฮสต์อาทิเช่นกวางหรือว่าสัตว์เลี้ยงอื่นๆต่อไปเรื่อยๆ เฝ้ารอเวลาที่มันจะวิวัฒนาการเพื่อโจมตีมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง
โดยประเด็นเรื่องความลึกลับของไวรัสนี้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากสัตว์นั้นยังคงเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนเกินกว่าความเข้าใจได้ ณ เวลานี้ เช่นเดียวกับในเรื่องของความพยายามของเราในการขัดขวางการระบาดในอนาคต
@การนำร่องโรคระบาดที่เหลือ
“สิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถจะคาดหวังได้ว่าจะเกิดขึ้นนั้นก็คือการมีการควบคุมในระดับที่พอเพียงที่สุด” นพ.ฟาวซี่กล่าวเมื่อถูกถามเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไปในการรับมือกับไวรัสโควิด-19 โดยเขากล่าวว่าสิ่งที่ได้คาดหวังเอาไว้ก็คือว่าน่าจะเป็นการสงบศึกกับไวรัสเช่นเดียวกับกรณีของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเรานั้นเรียนรู้ในการทำงานของมันอย่างชัดเจน ดังนั้นสิ่งที่สหรัฐฯควรควรจะดำเนินการก็คือว่าทำให้ไวรัสอยู่ในอัตราการติดเชื้อที่สามารถจะจัดการได้เทียบเท่ากับโรคทางเดินหายใจทั่วไปอย่างไข้หวัดใหญ่
นพ.ฟาวซี่ได้เน้นย้ำต่อไปว่าสำหรับกรณีของสหรัฐฯ ณ เวลานั้นยังไม่ได้เข้าใกล้ขึ้นตอนของการควบคุมโรคได้เลยแม้แต่น้อยเพราะว่าอัตราการเสียชีวิตยังอยู่ในระดับที่รับไม่ได้และมีผู้ติดเชื้อใหม่มากกว่า 300,000 รายต่อวัน ขณะที่ยอดการเสียชีวิตสะสมนั้นก็เข้าใกล้ 1 ล้านรายแล้ว แม้ว่าจะมีการชะลอตัวลงในภาพรวมของการระบาดก็ตาม เพราะนี่ยังส่งผลทำให้ระบบการดูแลสุขภาพทั่วประเทศนั้นอยู่ในภาวะที่ตึงเครียด
ส่วน พญ.คานธีกล่าวว่านี่จึงหมายความว่าจะต้องใช้เวลายาวนานขึ้นไปอีกกว่าที่โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นไปได้ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางคนนั้นจะยังคงมีความเคลือบแคลงใจว่าเราจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร ซึ่งกุญแจที่สำคัญก็คือว่าจะต้องมีการเกิดใหม่ของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่มีจะมีศักยภาพในการระบาดสูงขึ้นไปอีกแต่ว่ามีความรุนแรงของโรคน้อยลงแบบที่เคยเกิดมาแล้วกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งจากการคาดการณ์สถานการณ์โควิด ณ เวลานี้นั้นก็เชื้อว่าในเดือน มี.ค. 2565 จะมีประชากรโลกคิดเป็นจำนวนกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ติดโควิดสายพันธุ์โอไมครอนไปแล้ว
“นี่ทำให้ขอบเขตเรื่องกำแพงของภูมิคุ้มกันนั้นใหญ่โตขึ้นแม้ว่าภูมิคุ้มกันจะไม่สามารถอยู่ได้เกิน 1 ปีก็ตาม” พญ.คานธีกล่าว
ขณะที่ นพ.ฟาวซี่ได้กล่าวว่านี่ถือเป็นฉากทัศน์ที่ดีที่สุด และทว่าก็มีฉากทัศน์ที่เลวร้ายที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากเรามีโควิดสายพันธุ์ที่มีศักยภาพในการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน เพราะว่าเมื่อเห็นศักยภาพของไวรัสโควิด-19 แล้ว จนถึงตอนนี้ก็มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าโอไมครอนเองนั้นก็มีศักยภาพในการสร้างความตึงเครียดมากขึ้นต่อระบบสาธารณสุขได้ ดังนั้นเราก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับเรื่องเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ส่วนผู้เชี่ยวชาญคนอื่นๆก็ได้เรียกร้องให้ใช้แนวทางที่แข็งขันก้บการรับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดย พญ.จูเลีย ไรฟ์แมน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยบอสตันได้กล่าวว่าสหรัฐฯนั้นเคยมีประวัติที่ผิดพลาดเพื่อต้องเผชิญกับการคาดคะเนจุดตกต่ำของการระบาดมาแล้ว เนื่องจากเมื่อเดือน พ.ค. 2564 ที่ผ่านมานั้นรัฐบาลได้มีการตัดสินใจที่จะยกเลิกนโยบายการสวมใส่หน้ากากในอาคารและนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคมเพราะคิดว่าจุดสิ้นสุดนั้นผ่านไปแล้ว แต่ท้ายที่สุดนั่นก็ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนกว่า 3 แสนรายนับตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นมา ดังนั้นก็มีความเป็นไปได้เสมอที่จะเกิดกรณีการกระชากของการติดเชื้อเกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องเผชิญกับไข้หวัดตามฤดูกาลหรือโรคทางเดินหายใจอื่นๆประกอบกันด้วย
“เรามีความมั่นใจมากเกินไป ทั้งๆที่เราควรจะต้องตระหนักว่าไวรัสตัวใหม่นี้นั้นอยู่ท่ามกลางเราและทุกสิ่งที่มันได้ทำลายไปแล้ว” พญ.ไรฟ์แมนกล่าว
ทางด้าน พญ.เซาเออร์ก็ได้ให้ความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเราไม่ควรติดว่าโรคระบาดนั้นขึ้นสู่จุดสูงสุดแล้วหลังจากนั้นก็จากไป ไม่ว่ามันจะมีภาพของการลดลงของอัตราผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับที่ดีขึ้นเหรือว่าโลกจะเหนื่อยล้ากับการรับมือกับไวรัสเพียงใดก็ตาม และสิ่งที่สำคัญหลังจากนี้ก็คือการผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนกับทุกคนทั่วโลกโดยเร็วที่สุดและอย่าเพิ่งถอดใจกับคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนแม้แต่โดสเดียว
เรียบเรียงจาก:https://www.popsci.com/health/covid-pandemic-fauci-advice/