สามจังหวัดชายแดนใต้รับข่าวดี ยอดติดเชื้อโควิดเริ่มลด ยะลาป่วยใหม่ไม่ถึง 150 ราย หลุดชาร์ตประเทศ ขณะที่สงขลายังแรง พุ่งอันดับ 2 รองจาก กทม. ภาคธุรกิจเบตงขอเปิดแหล่งท่องเที่ยวรับ “เราเที่ยวด้วยกัน –ทัวร์เที่ยวไทย” ฟื้นท่องเที่ยวจากพิษโควิด
วันอังคารที่ 9 พ.ย.64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ เริ่มมีตัวเลขลดลงต่ำกว่า 300 รายทุกจังหวัด โดยเฉพาะ จ.ยะลา ลดลงเหลือไม่ถึง 150 ราย จนทำให้หลุดออกจาก 10 อันดับจังหวัดที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุดในประเทศ
ส่วน จ.สงขลา ยังเป็นจังหวัดเดียวใน 4 จังหวัดที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ยังจัดอยู่ในระดับที่มีจำนวนสูงอยู่ คือติดอันดับ 2 ของประเทศ โดยข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. พบว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมของสามจังหวัดชายแดนใต้และสงขลา ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.- 9 พ.ย.64 มีจำนวนผู้ติดเชื้อ (ไม่รวมผู้ต้องขังในเรือนจำ) อยู่ที่ 172,974 ราย
ส่วนรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รวม 1,137 ราย และเสียชีวิต 9 ราย แยกตามจังหวัดได้ดังนี้
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 494 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 52,531 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 52,508 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 6,102 ราย รักษาหายแล้ว 46,242 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตใหม่ 4 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 187 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 2,860 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 11,815 ราย, อ.เมืองสงขลา 7,155 ราย, อ.จะนะ 6,766 ราย, อ.สิงหนคร 4,751 ราย, อ.สะเดา 4,039 ราย, อ.เทพา 3,937 ราย, อ.รัตภูมิ 3,212 ราย, อ.สะบ้าย้อย 3,134 ราย, อ.นาทวี 1,388 ราย, อ.บางกล่ำ 1,196 ราย, อ.ระโนด 912 ราย, สทิงพระ 780 ราย, ควนเนียง 633 ราย, อ.นาหม่อม 553 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 337 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 73 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,168 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 659 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 279 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 41,559 ราย รักษาหายแล้ว 24,788 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 398 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 205 ราย, โรงพยาบาลสนามจังหวัด 264 ราย, โรงพยาบาลประจำอำเภอ 1,134 ราย, โรงพยาบาลชุมชน 549 ราย, โรงพยาบาลค่ายอิงคยุทธบริหาร 1 ราย, โรงพยาบาลสนามค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย 64 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 54 ราย, สิโรรส-ปาร์ควิว ฮอสพิเทล 199 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส เรนโบว์ ฮอสพิเทล 126 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์สะพานปูน 20 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์โรงยิมบานา 70 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์ เซาท์เทิร์น วิว 203 ราย และ Home Isolation 2,076 ราย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ระหว่างรักษารวม 5,755 ราย แยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 1,094 ราย, อ.ไม้แก่น 234 ราย, อ.ยะหริ่ง 312 ราย, อ.หนองจิก 664 ราย, อ.โคกโพธิ์ 478 ราย, อ.สายบุรี 756 ราย, อ.แม่ลาน 111 ราย, อ.ยะรัง 655 ราย, อ.ปะนาเระ 106 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 272 ราย, อ.มายอ 477 ราย และ อ.กะพ้อ 377 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 223 ราย แยกเป็นพื้นที่ อ.เมือง 54 ราย, อ.ตากใบ 16ราย, อ.ยี่งอ 35 ราย, อ.จะแนะ 6 ราย, อ.บาเจาะ 10 ราย, อ.ระแงะ 14 ราย, อ.ศรีสาคร 7 ราย, อ.สุไหงปาดี 5 ราย และ อ.สุไหงโก-ลก 76 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 39,206 ราย รักษาหายสะสม 37,186 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 372 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 7,745 ราย, อ.ระแงะ 4,655 ราย, อ.รือเสาะ 2,094 ราย, อ.บาเจาะ 3,320 ราย, อ.จะแนะ 1,623 ราย, อ.ยี่งอ 2,882 ราย, อ.ตากใบ 3,015 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 3,299 ราย, อ.สุไหงปาดี 3,231 ราย, อ.ศรีสาคร 2,049 ราย, อ.แว้ง 2,139 ราย, อ.สุคิริน 1,012 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 2,142 ราย
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 141 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 43,624 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 5,331 ราย รักษาหายแล้ว 40,621 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 3 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 302 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 15,479 ราย, อ.เบตง 4,283 ราย, อ.รามัน 5,954 ราย, อ.ยะหา 5,242 ราย, อ.บันนังสตา 6,782 ราย, อ.ธารโต 2,313 ราย, อ.กาบัง 1,135 ราย และ อ.กรงปินัง 2,436 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 5,331 ราย แยกเป็นโรงพยาบาลยะลา 176 ราย, โรงพยาบาลเบตง 115 ราย, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 6 แห่ง 409 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 130 ราย, โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 131 ราย, โรงพยาบาลสนามเบตง 96 ราย, โรงพยาบาลสนามรามัน 145 ราย, โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 43 ราย, โรงพยาบาลสนามยะหา 213 ราย, โรงพยาบาลสนามธารโต 28 ราย, โรงพยาบาลสนามกรงปินัง 150 ราย, โรงพยาบาลสนามกาบัง 42 ราย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.12 ยะลา 29 ราย, Hospitel ( 2 แห่ง ) 99 ราย, Hospitel เบตง 201 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) 2,223 ราย , ผู้ป่วยแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) 1,101 ราย
@@ เบตงขอเปิดท่องเที่ยว
ที่ อ.เบตง จ.ยะลา นายณัฐสัณห์ สงค์จินดาศักดิ์ นายกสมาคมพ่อค้าจังหวัดยะลา พร้อมด้วย นายนรินทร์ เรืองวงศา อุปนายกปฏิบัติการแทนนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวอำเภอเบตง, นายพฤกษ์ วงศ์นามโรจน์ ประธานชมรมโรงแรมอำเภอเบตง เข้าพบ นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง เพื่อยื่นหนังสือขอเปิดแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเบตง
หลังจากการประชุมร่วมกันของภาคเอกชน ทั้ง 4 องค์กร คือ สมาคมพ่อค้าจังหวัดยะลา, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวอำเภอเบตง , ชมรมโรงแรมอำเภอเบตง และชมรมร้านอาหารและคาเฟ่อำเภอเบตง มีความเห็นตรงกันในการสนองตอบนโยบายของภาครัฐที่ต้องการกระตุ้นส่งเสริมการท่องเที่ยว ตามโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการทัวร์เที่ยวไทย ในช่วง 1 ต.ค.64 ถึง 31 ม.ค.65 ประกอบกับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและร้านอาหารในเบตง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มาเป็นเวลานาน จึงมีข้อสรุปในการเสนอขอเปิดเมืองพร้อมแนวทาง 5 ข้อดังนี้
1.ขอเปิดสถานที่ท่องเที่ยวในวันที่ 1 ธ.ค.64
2.ให้มีการจัดทำแผนมาตรการคัดกรองนักท่องเที่ยวโดยยึดหลักเกณฑ์ควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด
3.ทุกสถานประกอบการต้องได้รับมาตรฐานสุขอนามัย SHA
4.จัดเส้นทางการท่องเที่ยวปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรค
5.ผู้ประกอบการช่วยรณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีน
ทั้งนี้ นายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง ได้รับมอบหนังสือและจะนำข้อสรุปดังกล่าว เข้าปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาเปิดแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเบตงกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
@@ ปัตตานีตั้งศูนย์พักคอยเพิ่ม 6 แห่งในโคกโพธิ์
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปัตตานี ได้มีประกาศคำสั่งจังหวัดปัตตานี ที่ (พิเศษ) 93/2564 เรื่อง จัดตั้งศูนย์แยกกักในชุมชน (ศูนย์พักคอย) (Community Isolation) แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ ซึ่งมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด จึงกำหนดให้ตั้งสถานที่แยกกักในชุมชน เพิ่มในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ขึ้นอีก จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย
1.โรงเรียนวัดโมลีนิมิต (หลังเก่า) หมู่ 7 ต.มะกรูด รองรับได้ 30 เตียง
2.อาคารอเนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลป่าบอน หมู่ 4 ต.ป่าบอน รองรับได้ 25 เตียง
3.หอประชุมอำเภอโคกโพธิ์ (หลังเก่า) หมู่ 7 ต.โคกโพธิ์ รองรับได้ 30 เตียง
4.อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(หลังเก่า) หมู่ 5 ต.บางโกระ รองรับได้ 20 เตียง
5.อาคารอเนกประสงค์ช้างให้ตก หมู่ 3 ต.ช้างให้ตก รองรับได้ 30 เตียง
6.อาคารอเนกประสงค์บ้านเกาะตา หมู่ 3 ต.ทุ่งพลา รองรับได้ 20 เตียง
จำนวนศูนย์แยกกักในชุมชน (ศูนย์พักคอย) หรือ Community Isolation ก่อนหน้านี้ได้ตั้งขึ้นมาแล้วใน 12 อำเภอ รวมทั้งหมด 65 แห่ง เมื่อรวมที่ตั้งเพิ่มขึ้นใหม่ในพื้นที่ อ.โคกโพธิ์ อีกจำนวน 6 แห่ง ทำให้จังหวัดปัตตานี มีศูนย์แยกกักในชุมชน รวมทั้งหมด 71 แห่ง