สสจ.ยะลา รับรองฉีดวัคซีนไขว้สร้างภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ป้องกันสายพันธุ์เดลต้าได้ แนะประชาชนเร่งฉีด พบภาพรวมชาวยะลารับวัคซีนไปแล้วแค่ 30% ขณะที่ผู้ว่าฯนราธิวาสสั่งซ่อมแซม โรงพยาบาลสนาม อ.ศรีสาคร หลังเจอพายุถล่ม ด้านปัตตานีตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมทะลุ 200 ราย - นราธิวาสติดเชื้อเพิ่มอีก 307 คน
วันอาทิตย์ที่ 22 ส.ค.64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมากและมีผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายๆจังหวัด เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนในพื้นที่ของตนเอง
นายแพทย์สงกรานต์ ไหมชุม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 พบสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวคเป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับ Astra Zeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่า จะมีผลดีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน
อยากสร้างความเชื่อมั่นต่อพี่น้องประชาชนทุกคน ซึ่งหากท่านใดที่รอฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าอยู่จะไม่ทันการ เพราะต้องใช้เวลาในการฉีด ดังนั้นขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน หากรักตัวเองใช้สูตรวัคซีนที่รัฐบาลกำหนด เพราะมีการวิจัยออกมาสนับสนุนอยู่แล้ว
นพ.สสจ.ยะลา กล่าวอีกว่า จังหวัดยะลามีการฉีดวัคซีนไปแล้วภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่า ยังน้อยอยู่ เพราะเกรงว่า อาจเกิดการระบาดขึ้นมาในช่วงปลายเดือน ก.ย.นี้ จึงต้องเร่งให้พี่น้องประชาชนฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดเพื่อที่จะไม่เข้าสู่สถานการณ์ที่เลวร้ายอีก
@@ผู้ว่านราธิวาสสั่งซ่อมแซม รพ.สนามศรีสาคร หลังเจอพายุถล่ม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเย็นวันที่ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เกิดฝนตกหนัก พายุรุนแรงพัดถล่มอาคารผู้ป่วยที่โรงพยาบาลสนามพลวงชมพู โรงเรียนศรีวาริยทร์ อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส ขณะที่เกิดเหตุมีผู้ป่วยนอนรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสนามแห่งนี้ จำนวน 79 คน ด้านเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสนามพลวงชมพู ต้องรีบช่วยกันเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกอย่างเร่งด่วนไปยังที่ปลอดภัยอย่างโกลาหล
สำหรับโรงพยาบาลสนามแห่งนี้ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 100 ราย จะเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวและผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง เมื่อเกิดพายุเข้ามาอย่างรุนแรง ส่งผลทำให้อาคารเสียหายจำนวน 1 หลัง หลังคาปลิวว่อน เตียงและที่นอน รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น พัดลม ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปทั่ว โดยพายุฝนดังกล่าวได้พัดกระหน่ำอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมงกว่าจะสงบลง
ล่าสุดนายเจษฎา จิตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้เดินทางเข้าไปสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการทำความสะอาด และซ่อมแซมในส่วนที่เสียหายให้เร็วที่สุดเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
@@ รพ.สนามนราธิวาส แพทย์ 1 คน ดูแลผู้ป่วย 248 คน
ด้านรายงานข้อมูลเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 จากสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นข้อมูล ณ เวลา 16.00 น. ของวันที่ 22 ส.ค.64 มีข้อมูลดังนี้
จ.สงขลา โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 1,051 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 790 เตียง คงเหลือ 261 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 3,831 เตียง ใช้ไป 2,362 เตียง คงเหลือ 1,469 เตียง ขณะที่อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม 1:168
จ.ปัตตานี โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 1,367 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 907 เตียง คงเหลือ 460 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 2,870 เตียง ใช้ไป 1,185 เตียง คงเหลือ 1,685 เตียง ขณะที่อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม อยู่ที่ 1:12
จ.ยะลา โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 791 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 580 เตียง คงเหลือ 211 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 1,088 เตียง ใช้ไป 624 เตียง คงเหลือ 464 เตียง ขณะที่อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม 1:89
จ.นราธิวาส โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 871 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 837 เตียง คงเหลือ 34 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 2,640 เตียง ใช้ไป 1,240 เตียง คงเหลือ 1,400 เตียง ขณะที่อัตราส่วนบุคลากรทางการแพทย์ต่อจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม 1:248
@@นราธิวาสติดเชื้อยังพุ่ง 307 ราย ปัตตานีเสียชีวิตสะสมทะลุ 200 ราย
ด้านรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และสงขลา ประจำวันอาทิตย์ที่ 22 ส.ค.64 มีดังนี้
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 252 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 14,233 ราย รักษาหายแล้ว 10,397 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 5 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 201 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 130 ราย, โรงพยาบาลสนามจังหวัด 307 ราย, โรงพยาบาลสนามเรือนจำ 43 ราย, โรงพยาบาลประจำอำเภอ 659 ราย, โรงพยาบาลชุมชน 485 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 45 ราย, สิโรรส-ปาร์ควิว ฮอสพิเทล 176 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์สะพานปูน 2 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์โรงยิมบานา 35 ราย, โรงพยาบาลธัญรักษ์ เซาท์เทิร์น วิว 58 ราย และ Home Isolation จำนวน 62 ราย
จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 อยู่ระหว่างรักษารวม 3,063 ราย แยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 1,279 ราย, อ.หนองจิก 335 ราย, อ.โคกโพธิ์ 129 ราย, อ.ยะหริ่ง 206 ราย, อ.สายบุรี 144 ราย, อ.ไม้แก่น 10 ราย, อ.แม่ลาน 13 ราย, อ.ยะรัง 362 ราย, อ.ปะนาเระ 163 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 82 ราย, อ.มายอ 256 ราย และ อ.กะพ้อ 45 ราย
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 152 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 10,408 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 1,859 ราย รักษาหายแล้ว 8,447 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 102 ราย อยู่ระหว่างรอผล 444 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 4,031 ราย, อ.กรงปินัง 764 ราย, อ.เบตง 556 ราย, อ.รามัน 1,002 ราย, อ.บันนังสตา 1,895 ราย, อ.กาบัง 310 ราย, อ.ธารโต 834 ราย และ อ.ยะหา 1,016 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 1,859 ราย แยกเป็น โรงพยาบาลยะลา 162 ราย, โรงพยาบาลเบตง 62 ราย, โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) 6 แห่ง 356 ราย, โรงพยาบาลสิโรรส 82 ราย, โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 599 ราย, โรงพยาบาลสนามเบตง 25 ราย, โรงพยาบาลสนามรามัน 44 ราย, โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 157 ราย, โรงพยาบาลสนามยะหา 53 ราย, โรงพยาบาลสนามธารโต 12 ราย, โรงพยาบาลสนามกรงปินัง 87 ราย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศอ.12 ยะลา 25 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) จำนวน 25 ราย, ผู้ป่วยแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) 44 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการเข้าระบบ 126 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 307 ราย แยกเป็น พื้นที่ อ.เมือง 106 ราย, อ.ตากใบ 61 ราย, อ.ยี่งอ 26 ราย, อ.จะแนะ 2 ราย, อ.แว้ง 1 ราย, อ.รือเสาะ 20 ราย, อ.บาเจาะ 29 ราย, อ.ระแงะ 41 ราย, อ.เจาะไอร้อง 1 ราย และ อ.สุไหงปาดี 20 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 11,251 ราย รักษาหายสะสม 8,738 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 3 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 132 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 2,366 ราย, อ.ระแงะ 1,310 ราย, อ.รือเสาะ 593 ราย, อ.บาเจาะ 817 ราย, อ.จะแนะ 609 ราย, อ.ยี่งอ 733 ราย, อ.ตากใบ 1,376 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 763 ราย, อ.สุไหงปาดี 686 ราย, อ.ศรีสาคร 404 ราย, อ.แว้ง 784 ราย, อ.สุคิริน 296 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 514 ราย
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 240 ราย แยกเป็นกลุ่มสัมผัสผู้ติดเชื้อในพื้นที่ 220 ราย, กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในโรงงาน 20 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 17,858 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 17,835 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 2,974 ราย รักษาหายแล้ว 14,784 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 100 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 591 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 4,919 ราย, อ.เมืองสงขลา 2,685 ราย, อ.สิงหนคร 2,041 ราย, อ.จะนะ 1,806 ราย, อ.สะเดา 1,263 ราย, อ.เทพา 961 ราย, อ.สะบ้าย้อย 769 ราย, อ.รัตภูมิ 518 ราย, สทิงพระ 365 ราย, อ.บางกล่ำ 330 ราย, อ.นาหม่อม 309 ราย, อ.นาทวี 250 ราย, อ.ระโนด 157 ราย, ควนเนียง 102 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 99 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 12 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,103 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 139 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย