เริ่มแล้วมาตรการควบคุมพื้นที่สีแดงเข้ม 9 จังหวัดภาคกลางพ่วง 4 จังหวัดชายแดนใต้ งดเดินทาง ห้ามออกนอกบ้าน พร้อมให้ส่วนราชการ Work From Home 100% ด้าน ม.อ.หาดใหญ่ส่งทีมแพทย์ - พยาบาลช่วยฉีดวัคซีนชาวปัตตานี ขณะที่ อบจ.นราธิวาส จองโมเดอร์นา 10,000 โดส จากสภากาชาดไทย ฉีดกลุ่มเปราะบาง ส่วนแรงงานลักลอบข้ามแดนลดลง หลังไทย-มาเลย์ คุมเข้มล็อกดาวน์
วันจันทร์ที่ 19 ก.ค.64 หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 ได้ออกประกาศข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 28 ในการยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่จำเป็นและเร่งด่วน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ซึ่งมีสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และจังหวัดสงขลา ติดอยู่ด้วยนั้นและมีผลบังคับใช้วันที่ 20 ก.ค.64 โดยมีมาตรการและข้อกำหนดดังต่อไปนี้
- พื้นที่ควบคุมสูงสุดแลเข้มงวด งดเว้นภารกิจที่ต้องเดินทางออกนอกเคหสถาน
- ห้ามออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น
- จำหน่ายอาหารได้จนถึง 20.00 น. ห้ามนั่งในร้าน , ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า เปิดบริการได้เฉพาะซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านยา พื้นที่ฉีดวัคซีนหรือบริการทางการแพทย์ของรัฐจนถึงเวลา 20.00 น.
- โรงแรมเปิดได้ตามปกติ แต่งดจัดประชุมสัมมนา จัดเลี้ยง
- ร้านสะดวกซื้อและตลาดเปิดได้ถึงเวลา 20.00 น.
-ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มมากกว่า 5 คน
-ขนส่งสาธารณะจำกัดจำนวนผู้โดยสารไม่เกิน 50 % ของความจุผู้โดยสาร
-ส่วนราชการและหน่วยงานรัฐ ใช้มาตรการ Work From Home ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดและเต็มจำนวน
-ภาคเอกชนที่จำเป็นให้เจ้าหน้าที่และบุคลากร ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งขั้นสูงสุดเช่นเดียวกันบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนด 14 วันประเมินสถานการณ์ทุก 7 วัน
@@ม.อ.หาดใหญ่ส่งทีมแพทย์ - พยาบาลช่วยฉีดวัคซีนปัตตานี
รศ.อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า ศูนย์ฉีดวัคซีนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งดำเนินการโดยโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี ได้รับมอบหมายให้วัคซีนแก่ประชาชนปัตตานีรวม 2,989 คน ในการดำเนินการครั้งนี้ได้ระดมแพทย์ และพยาบาลจากทุกอำเภอของจังหวัดปัตตานีมาร่วมดำเนินการ แต่เนื่องจากทีมแพทย์ และพยาบาลในพื้นที่ส่วนใหญ่มีภารกิจล้นมือ จึงได้ขอความร่วมมือไปยังคณะแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะพยาบาลศาสตร์วิทยาเขตปัตตานี ให้มาร่วมฉีดวัคซีนร่วมกับบุคลากรทางการแพทย์ของจังหวัดปัตตานี
สำหรับบุคลากรจากคณะแพทยศาสตร์นำโดย ผศ. นพ.เทอดพงศ์ ทองศรีราช จำนวน 10 คน คณะพยาบาลศาสตร์วิทยาเขตหาดใหญ่ นำโดย ผศ.ดร.เนตรนภา คู่พันธวี จำนวน 7 คน คณะพยาบาลศาสตร์วิทยาเขตปัตตานี โดยการนำ ผศ.ดร.รอฮานิ เจะอาแซ จำนวน 6 คน
@@ยะลา เปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนพระราชทาน ซิโนฟาร์ม
ที่อาคารศรีนิบง ศูนย์เยาวชนเทศบาลนครยะลา จ.ยะลา นายชัยสิทธิ์ พานิชพงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ได้เป็นประธานในพิธีเปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีน “โครงการวัคซีนพระราชทาน ซิโนฟาร์ม" โดยใช้อาคารศรีนิบง และบ้านพักคนชรา(บ้านทักษิณยะลา) เป็นสถานที่บริการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งจังหวัดยะลาจะกำหนดฉีดวัคซีนพระราชทานขึ้นระหว่างวันที่ 19-20 ก.ค.64 นี้
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ที่จะได้วัคซีนพระราชทาน ซิโนฟาร์ม ประกอบด้วย กลุ่มเปราะบางในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1,200 คน ผู้พิการ 200 คน ผู้สูงอายุ 800 คน ชุมชนแออัด 200 คน โรงเรียนพระดาบสจังหวัดชายแดนภาคใต้ 100 คน อิหม่ามในพื้นที่จังหวัดยะลา 700 คน พระภิกษุสงฆ์ 109 รูป ผู้สูงอายุนอกเขตเทศบาล 500 คน ผู้พิการนอกเขตเทศบาล 200 คน ผู้ป่วยในพระบรมราชูปภัมถ์ 39 คน บ้านพักคนชรา (ทักษิณ) 77 คน ชุมชนแออัดนอกเขตเทศบาล 30 คน ผู้สูงอายุอื่น 200 คน และผู้พิการอำเภออื่น 200 คน รวมทั้งสิ้น 3,355 คน
@@อบจ.นราธิวาส จองโมเดอร์นา 10,000 โดส จากกาชาดไทยฉีดกลุ่มเปราะบาง
นายกูเซ็ง ยาวอหะซัน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส กล่าวในการแถลงข่าวมาตรการ จ.นราธิวาส ว่า จากที่ทางสภากาชาดไทยเป็นหน่วยงานหนึ่งในการสั่งนำเข้าวัคซีนมาฉีดให้แก่ประชาชน ซึ่งทางสภากาชาดไทยได้สั่งจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โมเดอร์นาจำนวนหนึ่งจากผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยผ่านองค์การเภสัชกรรม เพื่อนำมาฉีดบริการให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มต่างๆ โดยไม่คิดมูลค่าตามพันธกิจของสภากาชาดไทย
โดยสภากาชาดไทยได้จัดสรรโควตาวัคซีนจำนวนหนึ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสภากาชาดไทย โดยต้องสนับสนุนงบประมาณค่าวัคซีนโมเดอร์นา 1,300 บาทต่อโดส เพื่อนำไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มต่างๆ ในพื้นที่ โดยมีเงื่อนไขสำคัญว่า ต้องดำเนินการฉีดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและแผนการฉีดวัคซีนดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนราธิวาส ได้ขอรับวัคซีนตามโครงการ เพื่อนำไปฉีดบริการให้กับประชาชนตามเงื่อนไขดังกล่าว จำนวน 10,000 โดส เป็นเงินทั้งสิ้น 13,000,000 บาท โดยทางสภากาชาดไทย จะทยอยจัดสรรวัคซีนให้ได้ในเดือน ต.ค.64 เป็นต้นไป
@@แรงงานลักลอบเข้าข้ามแดนลดลง หลังไทย-มาเลย์ คุมเข้มและล็อกดาวน์
ด้านบรรยากาศที่ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก ซึ่งยังเปิดให้คนไทยเดินทางเข้าประเทศทุกวันจันทร์ พุธ ศุกร์ วันละ 100 คน โดยมีโควตาจำนวนผู้ลงทะเบียนกลับ มีคนไทยเดินทางเข้ามา จำนวน 8 ราย หลบหนีผ่านช่องทางธรรมชาติ 1 ราย ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมา มีคนไทยเดินทางกลับจากมาเลเซียทั้งที่ถูกและไม่ถูกกฎหมายเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้เดินทางทุกคนได้รับการตรวจคัดกรองโควิด-19 และกักกันตัวในสถานที่ที่รัฐจัดให้ หากรายใดมีอาการผิดปกติจะถูกส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลทันทีและทำการตรวจหาเชื้อ
พ.ต.อ.ศุภชาติ เวชพร ผกก.ตม จว.นราธิวาส กล่าวว่า ปัจจุบันยังคงมีแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย อาจจะมีการลักลอบเข้ามาผ่านช่องทางธรรมชาติ ทำให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบตามแนวชายแดนอยู่แล้ว มีการบูรณาการการทำงานร่วมกันตลอด ทั้งในเรื่องการข่าว การสนธิกำลัง
สำหรับสถิติที่ผ่านมา มีแนวโน้มการลักลอบข้ามแดนผิดกฎหมายลดลง สืบเนื่องจากทางประเทศมาเลเซียเองก็มีมาตรการในเรื่องของการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น และช่วงที่ผ่านมาปริมาณของแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปัจจุบันล่าสุดเดือน ก.ค. มีเพียง 6 ราย เท่านั้น ซึ่ง 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่เกิน 10 ราย โดยผ่านเข้ามาแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวผ่านกระบวนการคัดกรองโรค และเข้าสู่ LQ เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ของเชื้อโควิด-19
@@โรงพยาบาลหลักนราธิวาสเตียงติดลบมากว่า 1 สัปดาห์
ด้านรายงานข้อมูลเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19 จากสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 กรมประชาสัมพันธ์ เป็นข้อมูล ณ เวลา 15.30 น. ของวันที่ 19 ก.ค.64 มีข้อมูลดังนี้
จ.สงขลา โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 834 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 834 เตียง ไม่เหลือเตียงว่างเลย ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 2,047 เตียง ใช้ไป 2,024 เตียง คงเหลือ 23 เตียง ขณะที่อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อจำนวนผู้ป่วยใน รพ.สนาม 1:144
จ.ปัตตานี โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 480 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 453 เตียง คงเหลือ 27 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 1,835 เตียง ใช้ไป 1,420 เตียง คงเหลือ 415 เตียง ขณะที่อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อจำนวนผู้ป่วยใน รพ.สนาม 1:13
จ.ยะลา โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 591 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 555 เตียง คงเหลือ 36 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 1,088 เตียง ใช้ไป 729 เตียง คงเหลือ 359 เตียง ขณะที่อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อจำนวนผู้ป่วยใน รพ.สนาม 1:104
จ.นราธิวาส โรงพยาบาลหลักมีเตียงทั้งหมด 515 เตียง ใช้ไปทั้งสิ้น 598 เตียง คงเหลือ -83 เตียง ส่วนในโรงพยาบาลสนามมีเตียงทั้งหมด 900 เตียง ใช้ไป 489 เตียง คงเหลือ 411 เตียง ขณะที่อัตราส่วนเจ้าหน้าที่ต่อจำนวนผู้ป่วยใน รพ.สนาม 1:98
@@ป่วยโควิดใหม่ยังพุ่งทุกจังหวัด ปัตตานีมากสุด 259 ราย
ด้านรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และสงขลา ประจำวันจันทร์ที่ 19 ก.ค.64 มีดังนี้
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 220 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 5,044 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 2,223 ราย รักษาหายแล้ว 2,779 ราย มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 42 ราย อยู่ระหว่างรอผล 1,809 ราย ซึ่งจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 2,062 ราย, อ.กรงปินัง 531 ราย, อ.เบตง 318 ราย, อ.รามัน 379 ราย, อ.บันนังสตา 786 ราย, อ.กาบัง 199 ราย อ.ธารโต 345 ราย และ อ.ยะหา 424 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 2,223 ราย แยกเป็น โรงพยาบาลยะลา 160 ราย โรงพยาบาลเบตง 65 ราย รพช. 6 แห่ง 358 ราย โรงพยาบาลสิโรรส 47 ราย โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 670 ราย โรงพยาบาลสนามเบตง 12 ราย โรงพยาบาลสนามรามัน 2 แห่ง 274 ราย โรงพยาบาลสนามบันนังสตา 48 ราย Bubble & Seal (3 แห่ง) 232 ราย รักษาตัวที่บ้าน/ปฏิเสธการรักษา 53 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการเข้าระบบ 304 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ป่วยรายใหม่ 200 ราย แยกเป็น พื้นที่ อ.ระแงะ 43 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 7 ราย, อ.เจาะไอร้อง 20 ราย, อ.เมือง 13 ราย, อ.สุไหงปาดี 11 ราย, อ.ศรีสาคร 6 ราย, อ.ตากใบ 23 ราย, อ.ยี่งอ 9 ราย, อ.จะแนะ 9 ราย, อ.รือเสาะ 5 ราย อ.สุคิริน 10 ราย และ อ.บาเจาะ 14 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 4,184 ราย รักษาหายสะสม 2,862 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมเป็น 37 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 997 ราย, อ.ระแงะ 475 ราย, อ.รือเสาะ 197 ราย, อ.บาเจาะ 357 ราย, อ.จะแนะ 267 ราย, อ.ยี่งอ 195 ราย, อ.ตากใบ 639 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 171 ราย, อ.สุไหงปาดี 198 ราย, อ.ศรีสาคร 208 ราย, อ.แว้ง 175 ราย, อ.สุคิริน 123 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 182 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 259 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 6,377 ราย รักษาหายแล้ว 3,561 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 4 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 69 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 176 ราย โรงพยาบาลสนามจังหวัด 789 ราย โรงพยาบาลประจำอำเภอ 661 ราย โรงพยาบาลชุมชน 404 ราย โรงพยาบาลสิโรรส 36 ราย สิโรรส-ปาร์ควิว Hospitel 177 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาแอดมิท 498 ราย ส่งต่อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) 6 ราย
จำนวนผู้ป่วยแยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 2,017 ราย, อ.หนองจิก 963 ราย, อ.โคกโพธิ์ 421 ราย, อ.ยะหริ่ง 727 ราย, อ.สายบุรี 295 ราย, อ.ไม้แก่น 99 ราย, อ.แม่ลาน 145 ราย, อ.ยะรัง 522 ราย, อ.ปะนาเระ 265 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 163 ราย, อ.มายอ 599 ราย และ อ.กะพ้อ 100 ราย
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 179 ราย แยกเป็นกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ 96 ราย กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในโรงงาน 50 ราย กลุ่มรอสอบสวนโรค 5 ราย และกลุ่มสัมผัสเสี่ยงอื่นๆ 28 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 9,330 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 9,307 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 2,840 ราย รักษาหายแล้ว 6,449 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 41 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 489 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 2,312 ราย, อ.เมืองสงขลา 1,576 ราย, อ.จะนะ 1,122 ราย, อ.สิงหนคร 663 ราย, อ.เทพา 652 ราย, อ.สะเดา 466 ราย, อ.สะบ้าย้อย 320 ราย, สทิงพระ 287 ราย, อ.บางกล่ำ 225 ราย, อ.นาทวี 158 ราย, อ.รัตภูมิ 97 ราย, อ.นาหม่อม 88 ราย, อ.ระโนด 83 ราย, ควนเนียง 59 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 38 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 11 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,101 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 49 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย