จุฬาราชมนตรี สั่งงดละหมาดรายอฮัจย์ที่มัสยิดให้ละหมาดที่บ้าน ส่วนกุรบานจำกัดเฉพาะผู้เชือดลดการรวมกลุ่ม ส่วนที่ปัตตานี ชาวปาลัสร่วมใจปิดพื้นที่ 7 วัน หยุดการแพร่เชื้อโควิด ด้านนราธิวาสจ่อเปิด รพ.สนามแห่งที่ 7 ขณะที่สงขลา -ปัตตานี ป่วยโควิดใหม่โผล่กว่า 200 ราย
วันเสาร์ที่ 10 ก.ค.64 มีประกาศจากสำนักจุฬาราชมนตรี โดยนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ว่าด้วย แนวทางและวิถีปฏิบัติศาสนกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัจจุบันและการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มีการกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคดังต่อไปนี้
1.การละหมาดญะมาอะห์และการละหมาดวันศุกร์(ญุมอะห์)มัสยิด สำหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ให้งดละหมาด แต่ให้มีการอะซานทุกเวลาและให้ปกิบัติศาสนกิจประจำเวลาได้ไม่เกิน 3 คน เพื่อรักษาไว้ ซึ่งการละหมาดประจำมัสยิด และให้ปฏบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุมและพื้นที่เฝ้าระวัง ให้คณะกรรมการประจำมัสยิดประสานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดร่วมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด เพื่อพิจารณาผ่อนปรนให้สอดคล้องกับพื้นที่
2.การละหมาดอีฎิ้ลอัดฮา การเยี่ยมญาติ การเยี่ยมกุโบร์ และการเชือดสัตว์พลีทาน(กรุบาน) โดยให้งดละหมาดอีฎิ้ลอัดฮาที่มัสยิดและทุกสถานที่ที่จัดเตรียมเอาไว้ทั่วประเทศ ให้ละหมาดที่บ้านในครอบครัว ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดแจ้งให้อิหม่ามและผู้เกี่ยวข้องไม่เกิน 3 คน อ่านคุตบะห์ ออกเสี่ยงตามสายที่มัสยิด เพื่อแสดงสัญลักษณ์ของวันอีด และขอให้งดการเยี่ยมญาติและการเยี่ยมกุโบร์และงดจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกินกว่า 5 คน
ส่วนการเชือดสัตว์พลีทาน(กรุบาน) ขอให้จำกัดเฉพาะผู้เชือดและผู้ชำนาญการ เพื่อความรวมเร็วและจำกัดการรวมตัวเป็นกลุ่ม รวมถึงการปฏิบัติพิธีกรรมการเชือดสัตว์พลีทาน(กุรบาน) ให้ดำเนินการในสถานที่เหมาะสมถูกสุขลักษณะ และให้มัสยิดหรือเจ้าของสัตว์พลีทานเป็นผู้แจกจ่าย นำเนื้อกุรบานหรืออาหารปรุงสุกไปมอบให้ผู้อยากไร้ และกลุ่มผู้เดือดร้อนจากภัยพิบัตินี้
@@ชาวปาลัส ร่วมใจปิดพื้นที่ 7 วัน หยุดการแพร่เชื้อโควิด
ด้านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ในพื้นที่ จ.ปัตตานี ยังคงน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงในหลักร้อยทุกวัน และมีผู้ป่วยเสียชีวิตติดต่อกันเป็นวันที่ 6 แล้ว ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เริ่มกังวลและหามาตรการร่วมกันในพื้นที่ เพื่อหาทางป้องกันการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น
อย่างชาวบ้านในพื้นที่ ม.5 บ.ปาลัส ต.ลางา อ.มายอ จ.ปัตตานี ได้นำลวดหนาม แผงเหล็กและสายกั้นมากันขวางถนนทางเข้าหมู่บ้าน ทุกสาย เพื่อไม่ให้มีการผ่านเข้า-ออก โดยไม่ได้รับความเห็นชอบของคนในพื้นที่
ทั้งนี้เนื่องจากที่ผ่านมา อ.มายอ ได้มีการแพร่ระบาดอย่างหนัก โดยล่าสุดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มียอดสะสมอยู่ที่ 404 ราย โดยเฉพาะในพื้นที่ ม.5 บ.ปาลัส มีผู้ติดเชื้อแล้ว 61 รายและมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 200 ราย ทำให้ชาวบ้านต้องหาวิธีการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่กำลังเกิดขึ้น โดยได้ลงมติกันเองให้มีการปิดหมู่บ้านเป็นเวลา 7 วัน เริ่มวันที่ 10 ก.ค.64 เป็นวันแรกของการปิดหมู่บ้าน โดยมีร้านค้า ร้านอาหาร บ้านของชาวบ้านกว่า 400 หลังคาเรือน ร่วมใจกันปิด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการหยุดการแพร่เชื้อ
นายรุสดี บินอัรซาด กรรมการสภาชุมชน กล่าวว่า การปิดพื้นที่เป็นมติของกรรมการสภาชุมชน ม.5 บ.ปาลัส เพราะจากตัวเลขของผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ก็เลยมีมติของสภาว่า ให้มีการปิดหมู่บ้าน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขได้เข้า swapตรวจหาเชื้อของผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้เร็วที่สุดและทำการกักคนในพื้นที่เมื่อพบติดเชื้อ และไม่ให้ผู้คนเดินทางเข้า-ออกพื้นที่ เป็นเวลา 7 วัน
โดยทางสภาขอความร่วมมือไปยังร้านค้า ชาวบ้านในพื้นที่ โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะทุกคนรู้ว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อในขณะนี้ เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในพื้นที่นี้ เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของอ.มายอ ทำให้ร้านค้ากว่า 100 ร้าน บ้านเรือนราษฎร กว่า 400 หลังคาเรือน ประชาชนกว่า 1,000 คน ยอมปิดตัวเอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 ในครั้งนี้
@@นราธิวาสจ่อเปิด รพ.สนามแห่งที่ 7
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ที่ล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นจำนวนมากขึ้นทุกวัน ส่งผลให้ทาง ศบค.จ.นราธิวาส เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งตระเตรียมหาสถานที่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับกับผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยขณะนี้ปริมาณเตียงของ โรงพยาบาลสนามที่มีอยู่จำนวน 6 แห่งเมื่อเทียบกับยอดผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นรายวัน ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความกังวลว่า จะมีไม่เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยได้ ซึ่งทาง จ.นราธิวาส เตรียมการเปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่ 7 ในพื้นที่ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ซึ่งจะรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 300 เตียง
สำหรับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่ จ.นราธิวาส เป็นไปในลักษณะการติดเชื้อในครอบครัวและที่ทำงาน ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยติดเชื้อจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้เตียงรองรับผู้ป่วยอีกเป็นจำนวนมาก
@@ เบตง เปิดพื้นที่ชุมชนเบตงฮูลู หลังไม่พบติดเชื้อ
ที่ อ.เบตง นายเอก ยังอภัย ณ สงขลา นายอำเภอเบตง พร้อมด้วยนายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ร่วมทำการเปิดพื้นที่ชุมชนเบตงฮูลู หลังจากปิดตามคำสั่ง ศบค.ยะลา เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมาและปัจจุบันไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มหลังจากปิดพื้นที่มาแล้วมากกว่า 14 วัน
ฃโดยได้มีการทำพิธีดุอาร์ขอพร เพื่อขอให้พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เกิดความสงบสุขและผ่านพ้นภัยจากโรคร้าย ตลอดจนได้ร่วมแสดงความยินดีกับชาวบ้านในชุมชนที่สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งหลังจากทำการเปิดชุมชนแล้วเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองเบตงได้ดำเนินการฉีดน้ำทำความสะอาดชุมชนพร้อมฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยเครื่องพ่นละอองฝอยตามบ้านเรือนโดยรอบชุมชนพร้อมขอให้ชาวเบตงทุกคนปฏิบัติตามมาตรการ D-M-H-T-T-A. อย่างเคร่งครัด
สำหรับสถานการณ์โควิด -19 ของ อ.เบตง วันที่ 10 ก.ค.64 พบผู้ป่วยรายใหม่ 10 ราย เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 10 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 258 ราย แยกเป็นผู้ป่วยใน อ.เบตง 256 ราย พบใน state Quarantine จำนวน 2 ราย กำลังรักษา 48 ราย รักษาหายแล้ว 204 ราย ส่งต่อ 1 ราย และเสียชีวิตสะสม 5 ราย
@@ ปัตตานี-สงขลา ป่วยใหม่โผล่กว่า 200 ราย
ด้านรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้และสงขลา ประจำวันเสาร์ที่ 10 ก.ค.64 มีดังนี้
จ.ยะลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 158 ราย ทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มเป็น 3,397 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 1,753 ราย รักษาหายแล้ว 1,617 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย มำให้มีผู้เสียชีวิตสะสม 27 ราย อยู่ระหว่างรอผล 2,341 ราย
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 1,753 ราย แยกเป็น โรงพยาบาลยะลา 135 ราย โรงพยาบาลเบตง 46 ราย รพช. 6 แห่ง 339 ราย โรงพยาบาลสิโรรส 50 ราย โรงพยาบาลสนาม อ.เมือง 761 ราย โรงพยาบาลสนามเบตง 7 ราย โรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ 389 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการเข้าระบบ 26 ราย
ส่วนจำนวนผู้ป่วยแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.เมืองยะลา 1,507 ราย, อ.กรงปินัง 382 ราย, อ.เบตง 258 ราย, อ.รามัน 191 ราย, อ.บันนังสตา 470 ราย, อ.กาบัง 132 ราย อ.ธารโต 247 ราย และ อ.ยะหา 210 ราย
จ.นราธิวาส มีผู้ป่วยรายใหม่ 90 ราย แยกเป็น พื้นที่ อ.ระแงะ 17 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 9 ราย,อ.เจาะไอร้อง 3 ราย, อ.เมือง 18 ราย, อ.สุไหงปาดี 2 ราย, อ.ศรีสาคร 7 ราย, อ.ตากใบ 2 ราย, อ.ยี่งอ 3 ราย, อ.จะแนะ 11 ราย, อ.แว้ง 9 ราย, อ.รือเสาะ 2 ราย, อ.บาเจาะ 6 ราย และ อ.สุคิริน 1 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 2,892 ราย รักษาหายสะสม 2,109 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 2 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมเป็น 20 ราย
ผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ อ.เมือง 839 ราย, อ.ระแงะ 244 ราย, อ.รือเสาะ 137 ราย, อ.บาเจาะ 258 ราย, อ.จะแนะ 195 ราย, อ.ยี่งอ 117 ราย, อ.ตากใบ 507 ราย, อ.สุไหงโก-ลก 76 ราย, อ.สุไหงปาดี 107 ราย, อ.ศรีสาคร 153 ราย, อ.แว้ง 76 ราย, อ.สุคิริน 81 ราย และ อ.เจาะไอร้อง 102 ราย
จ.ปัตตานี มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 215 ราย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 4,281 ราย รักษาหายแล้ว 2,190 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้ผู้เสียชีวิตสะสม 39 ราย ผู้ป่วยแยกรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลปัตตานี 195 ราย โรงพยาบาลสนามจังหวัด 799 ราย โรงพยาบาลประจำอำเภอ 484 ราย โรงพยาบาลชุมชน 346 ราย โรงพยาบาลสิโรรส 51 ราย สิโรรส-ปาร์ควิว Hospitel 148 ราย อยู่ระหว่างพิจารณาแอดมิท 21 ราย ส่งต่อโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (ม.อ.) 8 ราย
จำนวนผู้ป่วยแยกรายอำเภอ ได้แก่ อ.เมือง 1,380 ราย, อ.หนองจิก 576 ราย, อ.โคกโพธิ์ 259 ราย, อ.ยะหริ่ง 533 ราย, อ.สายบุรี 182 ราย, อ.ไม้แก่น 92 ราย, อ.แม่ลาน 102 ราย, อ.ยะรัง 314 ราย, อ.ปะนาเระ 159 ราย, อ.ทุ่งยางแดง 124 ราย, อ.มายอ 428 ราย และ อ.กะพ้อ 92 ราย
จ.สงขลา มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 225 ราย แยกเป็นกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ 137 ราย กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงในโรงงาน 27 ราย กลุ่มรอสอบสวนโรค 13 ราย กลุ่มสัมผัสเสี่ยงอื่นๆ 48 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 7,618 ราย ติดเชื้อภายในประเทศ 7,595 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 23 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 2,908 ราย รักษาหายแล้ว 4,680 ราย มีผู้เสียชีวิตใหม่ 1 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมรวม 30 ราย อยู่ระหว่างรอผลตรวจ 742 ราย
จำนวนผู้ติดเชื้อแยกตามพื้นที่ ได้แก่ อ.หาดใหญ่ 1,832 ราย, อ.เมืองสงขลา 1,290 ราย, อ.จะนะ 876 ราย, อ.เทพา 564 ราย, อ.สิงหนคร 473 ราย, อ.สะเดา 392 ราย, สทิงพระ 250 ราย, อ.บางกล่ำ 187 ราย, อ.สะบ้าย้อย 174 ราย, อ.นาทวี 113 ราย, อ.รัตภูมิ 81 ราย, อ.นาหม่อม 74 ราย, อ.ระโนด 72 ราย, ควนเนียง 41 ราย, อ.คลองหอยโข่ง 35 ราย, อ.กระแสสินธุ์ 11 ราย, เป็นกรณีเรือนจำ รวม 1,089 ราย เป็นคนต่างจังหวัด 41 ราย และจากต่างประเทศ 23 ราย