"...ในงานอภิปราย รศ.ประภาภัทร นิยม นักการศึกษาทางเลือก ผอ.โรงเรียนรุ่งอรุณ ยังให้แนวคิดเรื่องการเรียนรู้และกระบวนการคิดถึงความหมายของผู้เรียน ว่า สิ่งที่เรียนต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียน มันมีความหมายต่อชีวิตของเขา และเขาจะเอาไปทำอะไร และจะสอนเขาจะรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้อันนี้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เขาเป็นผู้ถูกสอน แต่เป็นผู้ที่เรียนแล้วกระตือรือร้นการรู้คิดจริงๆ..."
เมื่อวันที 26 พ.ย. 2563 ณ ลิโด้ 1 สยามสควร์ มีการงานอภิปรายในเรื่อง #สอน #ประวัติศาสตร์ อย่างไร เมื่อ #คนรุ่นใหม่ #ตื่นตัว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) จึงคัดแยกประเด็น ในบางช่วงบางตอนของการอภิปราย
ในงานอภิปราย รศ.ประภาภัทร นิยม นักการศึกษาทางเลือก ผอ.โรงเรียนรุ่งอรุณ ยังให้แนวคิดเรื่องการการเรียนรู้และกระบวนการคิดถึงความหมายของผู้เรียน ว่า สิ่งที่เรียนต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียน มันมีความหมายต่อชีวิตของเขา และเขาจะเอาไปทำอะไร และจะสอนเขาอย่างไรให้รู้สึกว่าผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความรู้อันนี้ขึ้นด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่เขาเป็นผู้ถูกสอน แต่เป็นผู้ที่เรียนแล้วกระตือรือร้นต่อการรู้คิดจริงๆ...
ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กล่าวถึงกระบวนการจัดทำและประเภทแบบเรียน ว่า ในส่วนของหนังสือแบบเรียน มีสองส่วนด้วยกัน ส่วนหนึ่งก็คือ ฉบับของกระทรวงศึกษาธิการ หากเป็นส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ซึ่งคณะกรรมการนั้นจะประกอบไปด้วย นักศึกษา และ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย
และส่วนที่สองที่เขียนโดยสำนักพิมพ์เอกชน ซึ่งหนังสือที่ทางสำนักพิมพ์เอกชนเขียน ต้องอิงจากหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อเขียนแล้วจึงส่งมาให้ สพฐ. ตรวจสอบคุณภาพเป็นลำดับถัดไป ในกระบวนการของการรับรองคุณภาพนั้น เป็นการดูในภาพกว้าง ทั้งประเด็นของความมั่นคง และ ประเด็นของการถูกหลักวิชาการ ซึ่งต้องตั้งคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วย นักวิชาการที่มาจากมหาวิทยาลัย และ นักวิชาการอิสระ เข้ามาช่วยดูในเชิงคุณภาพของเนื้อหา