"...หลังจากที่จําเลยดังกล่าวเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีจําเลยคนใดแจ้งความร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่บุคคลที่ร่วมกระทําความผิด จึงเชื่อว่าจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 สมัครใจทํางานโดยรู้ถึงความมุ่งหมายและเจตนาของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําอยู่แล้ว มิใช่กรณีอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือมีภอันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้..."
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2567 สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำเสนอข่าว ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2567 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำ 13 ราย โทรศัพท์หลอกลวงประชาชน โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่เฟดเอ็กซ์ (FedEx) สาขาเชียงราย แจ้งว่ามีพัสดุตกค้างซึ่งเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
ศาลพิพากษาจำคุก จำเลยที่ 2, 3, 4, 6, 7, 10, 11, 13 คนละ 5 ปี 108 เดือน ส่วนจำเลยที่ 5 เจ้าของบัญชีม้า พิพากษา จำคุก 3 ปี 100 เดือน นอกจากนี้ยังให้ จำเลยที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7, 10, 11, 13 ชดใช้เงิน 366,160 บาท แก่ผู้เสียหาย ยกฟ้องจำเลยที่ 1, 8, 9, 12 และสำนักข่าวอิศราระบุว่าจะสรึปและเรียบเรียงคำพิพากษาฉบับเต็มมานำเสนอให้สาธารณชนทราบต่อไป
ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ1541/2565 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำ 13 ราย โทรศัพท์หลอกลวงประชาชน ทั้งหมด 78 หน้า มีรายละเอียดที่สำคัญและน่าสนใจ ดังนี้
พนักงานอัยการสุงสุดจังหวัดสมุทรปราการ โจทก์
นายพงษ์ธนา พิมพา จำเลยที่ 1
นางสาวเจนนิสา นาเมืองจันทร์ จำเลยที่ 2
นางสาวชลธิชาหรือตอง เพชรบังเกิด จำเลยที่ 3
นางสาวพัชรินทร์ แก้วตา จำเลยที่ 4
นางสาวกัญญารัตน์ บุญหลง จำเลยที่ 5
นางสาวศิรินญา อํานวย จำเลยที่ 6
นางสาวศิริธนพร ไชยแสน จำเลยที่ 7
นายวราวุฒิ บุญมี จำเลยที่ 8
นายยศกร แก้วมุกดา จำเลยที่ 9
นางสาวสุทธิดา อายุวรรณะ จำเลยที่ 10
นางสาวดวงฤทัย คําจันทร์ จำเลยที่ 11
นางสาววาสนา กุนาคม จำเลยที่ 12
นางสาวขวัญนรินทร์ หรือนิว สายบุตร จำเลยที่ 13
เรื่อง อั้งยี่ ซ่องโจร ฉ้อโกง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการ ฟอกเงิน ความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ
ทั้งนี้โจทก์ฟ้องคดีจำเลยทั้ง 13 รายจำนวนหกสำนวน ศาลจังหวัดสมุทรปราการให้รวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้ง 13 ทั้งหมด 17 ข้อ สรุปใจความว่า จําเลยทั้งสิบสามกับนายขวัญชัย มีเจริญ จําเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ อ.148/2566 ของศาลนี้ ซึ่งให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว นางสาวอมรรัตน์หรือไก่ คงเอี่ยม จําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.166/2566 ของศาลนี้ นางสาวสุรพิชญาหรือวันทนา สังข์ยิ้ม จําเลยที่ 1 ในคดีอาญา หมายเลขแดงที่ อ.117/2566 ของศาลนี้ซึ่งให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว นางสาวรุ่งฤดี อุดมดี จําเลยที่ 1 ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1622-1623/2565 ของศาลนี้ซึ่งให้การรับสารภาพและศาลพิพากษาลงโทษไปแล้ว พวกของจําเลยทั้งสิบสามและพวกอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันกระทําความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน คือ จำเลยทั้งสิบสามกับพวกร่วมกันสมคบกันเป็นคณะบุคคลในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย โดยร่วมกันเป็นสมาชิกหรือเครือข่ายดําเนินงานขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อกระทําความผิดร้ายแรงฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน
และมีส่วนร่วมกระทําการใด ๆ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจกรรมหรือ การดําเนินการขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดยรู้ถึงเจตนาที่จะกระทําความผิดร้ายแรงนั้น และเป็นความผิดอาญาที่มีกําหนดโทษจําคุกขั้นสูงตั้งแต่สี่ปีขึ้นไป ด้วยการจัดตั้งระบบ อุปกรณ์โทรศัพท์และระบบคอมพิวเตอร์ในรูปสํานักงานเครือข่ายโทรศัพท์ (Call Center) และใช้การสื่อสารทางเสียงหรือโทรศัพท์ผ่านทางโครงข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการสุ่มหมายเลข โทรศัพท์ของประชาชนทั่วไปที่เปิดใช้ในราชอาณาจักรและที่ปรากฏข้อมูลอยู่ในระบบ คอมพิวเตอร์ แล้วส่งข้อความเสียงทางโทรศัพท์ติดต่อไปยังประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้เสียหาย ด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้หลงเชื่อและได้มาซึ่งผลประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ทางวัตถุอย่างอื่น ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมจากผู้ถูกหลอกลวง
จากนั้นนําเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการหลอกลวงออกนอกราชอาณาจักร อันเป็นความผิดที่กระทําในเขตแดนของรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐและเป็นความผิดที่กระทําในรัฐหนึ่ง แต่ผลของการกระทําที่สําคัญเกิดขึ้นในอีกรัฐหนึ่งอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมที่มีการกระทําผิดมากกว่าหนึ่งรัฐ โดยมีการตระเตรียม การวางแผน การสั่งการ การสนับสนุน หรือควบคุมการกระทําความผิดในอีกรัฐหนึ่ง เกี่ยวพันกันในราชอาณาจักรไทยและประเทศกัมพูชา ในลักษณะแก๊งคอลเซนเตอร์ แบ่งหน้าที่กันทําเป็นกลุ่มเป็นสายงานเป็นขั้นเป็นตอนเกี่ยวเนื่องกันเป็นขบวนการ
@ จําเลยทั้งสิบสามร่วมกระทําความผิดกับกลุ่มคนร้ายหรือไม่
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จําเลยทั้งสิบสามร่วมกระทําความผิดกับกลุ่มคนร้ายหรือไม่
โจทก์มีนายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ ผู้เสียหาย เป็นพยานเบิกความว่า คนร้ายคนแรก เป็นข้อความเสียงอัตโนมัติเป็นเสียงผู้หญิงพูดภาษาไทยสําเนียงภาคกลาง คนร้ายคนที่ 2 เป็น เสียงผู้ชายพูดภาษาไทยสําเนียงภาคกลาง คนร้ายคนที่ 3 เป็นเสียงผู้ชายพูดภาษาไทยสําเนียงภาคกลาง และคนร้ายคนที่ 4 เป็นเสียงผู้ชายพูดภาษาไทยสําเนียงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผู้เสียหายไม่ได้เห็นหน้าคนร้ายและไม่สามารถยืนยันได้ว่าคนร้ายคือจําเลยทั้งสิบสามหรือไม่
@ คำเบิกความพยาน: 'วารุณี สุวรรณกิจ' ถูกหลอกไปเป็นคอลเซ็นเตอร์แต่หนีมาได้
มีนางสาววารุณี สุวรรณกิจ เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ขณะนางสาววารุณี อยู่ที่จังหวัดมหาสารคามพบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “Nannaphat” ประกาศรับสมัครงานตําแหน่งแอดมิน ตอบแชทลูกค้า ทํางานที่จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา มีเงินเดือนสูง มีสวัสดิการที่พักและอาหาร บนเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า “เพจหางานมหาสารคาม” นางสาววารุณี ส่งข้อความไปพูดคุยและตกลงไปทํางาน ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวให้นางสาววารุณีถ่ายภาพตนเองคู่กับบัตรประจําตัวประชาชนแล้วส่งไปยืนยันการเดินทาง
วันที่ 24 มิถุนายน 2565 นางสาววารุณี ออกเดินทางจากจังหวัดมหาสารคามไปที่จังหวัดบุรีรัมย์และเดินทางต่อไปที่สถานี ขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เข้าพักที่โรงแรมแมมมอธ 1 คืน วันที่ 25 มิถุนายน 2565 เวลาประมาณ 13 นาฬิกา นางสาวรุ่งฤดี อุดมดีขับรถยนต์มารับพานางสาววารุณีไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติ
จากนั้นเดินทางต่อไปที่ตึกประตูดํา หน้าวัดตาด จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา มีพี่ขุนไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริงคนสัญชาติไทยที่พักอยู่ภายในตึกประตูดําออกมารับนางสาววารุณีเข้าไปในตึกประตูดํา บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าไปภายในตึกประตูดําได้ยกเว้นพนักงาน พี่ขุนพานางสาววารุณีไปพักเพื่อกักตัวที่ชั้น 6 ห้อง 611 เนื่องจากขณะนั้นมี สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 ภายในห้องมีคนสัญชาติไทยที่ได้ทํางาน แล้วพักอยู่ด้วยรวมกันประมาณ 7 ถึง 8 คน นางสาววารุณีถามรายละเอียดของงานที่ทําจากเพื่อนที่พักอยู่ห้องเดียวกันจึงทราบว่าเป็นงานคอลเซนเตอร์หลอกลวงคนไทยด้วยกัน ไม่ใช่งานแอดมิน นางสาววารุณีตกใจและคิดหาวิธีออกไป เพื่อนบอกว่าต้องนําเงินมาชําระค่าไถ่ 35,000 บาท ขณะที่พักอยู่ในตึกประตูดํานางสาววารุณีไม่ได้ถูกยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่และ หนังสือเดินทาง มีอาหารให้รับประทาน 3 มื้อ แต่ไม่สามารถออกไปข้างนอกตึกได้
ระหว่างกักตัวนางสาววารุณีกดติดตามเพจเฟซบุ๊กเกี่ยวกับอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา พบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” มีรูปประจําตัวแต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ นางสาววารุณีเข้าไปกดติดตามบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวพบข้อความกับภาพถ่ายการ ช่วยเหลือคนไทย รวมทั้งข่าวสารต่างๆ ในจังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา
@ รายละเอียดการทำงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์
ต่อมาวันที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลาประมาณ 10 นาฬิกา ตาแจ้ พี่ชัย พี่ยีนส์ ไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริง เข้ามาในห้องพักเพื่อสัมภาษณ์และคัดแยกบุคคล นางสาววารุณีถูกจัดให้ทํางานสายที่ 1 จากนั้นลงมาดูงานที่ชั้น 1 ภายในห้องสมาชิกทุกคนมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อไอโฟน หูฟัง กระดาษ และปากกา บางคนมีกล่องเก็บเสียง หัวหน้างานนําสมุดและปากกามาให้นางสาววารุณีใช้จดข้อความบทสนทนาที่จะใช้หลอกลวงคนไทยจากสมุดอีกเล่มหนึ่งที่จัดเตรียมไว้ให้ บทสนทนามีลักษณะเป็นข้อมูลของบริษัทขนส่งพัสดุแห่งหนึ่ง มีคําพูดตอบโต้กันไปมา มีรายละเอียดที่อยู่ของบริษัทและสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายในกล่องพัสดุ มีสมาชิกทําหน้าที่โทรศัพท์เข้ามาในประเทศไทย
หากมีคนรับสายและกดหมายเลข 1 หรือหมายเลข 9 ระบบจะโอนสายไปให้สมาชิกสาย 1 ที่อยู่ในตึกประตูดําทําหน้าที่สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นบอกว่า มีพัสดุตกค้าง ภายในมีสิ่งของผิดกฎหมาย มีเสื้อผ้า 5 ชุด บัตรเอทีเอ็ม 5 ใบ สมุดบัญชี และกัญชา หากคนรับสายหลงเชื่อสมาชิกสายที่ 1 จะบอกให้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตํารวจซึ่งเป็น สมาชิกสายที่ 2 ทําหน้าที่อ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจปลอม มีการตั้งเป้าหมายให้สมาชิก หลอกลวงคนไทยให้ได้อย่างน้อยวันละ 3 คน หากไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้อาจถูกกักขัง หากหลอกลวงคนไทยสําเร็จจะแบ่งเงินผลกําไรให้และได้รับเงินเดือนประมาณเดือนละ 20,000 ถึง 30,000 บาท
สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําจะติดต่อกันทางแอปพลิเคชั่นเทเลแกรม มีรูปแบบและลักษณะคล้ายแอปพลิเคชั่นไลน์ เมื่อหลอกลวงคนไทยสําเร็จจะต้องแจ้งชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ หากมีเลขบัตรประจําตัวประชาชนก็ให้แจ้งเข้าไปในกลุ่มเทเลแกรมดังกล่าวด้วย มีการประชุมสรุปผลงานในช่วงเย็นของทุกวัน ก่อนนางสาววารุณีเริ่มทํางานเคยมีข้อความแสดงความยินดีแก่สมาชิกที่หลอกลวงคนไทยสําเร็จได้เงินประมาณ 41,000,000 บาท และได้รับส่วนแบ่งประมาณ 800,000 บาท มีการจัดงานเลี้ยงฉลองกันภายใน
@ หลอกคนไทยแล้วรู้สึกไม่ดี
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นางสาววารุณีเริ่มหลอกลวงคนไทยแล้วรู้สึกไม่ดี หลังเลิกงานเวลาประมาณ 19 นาฬิกา นางสาววารุณีส่งข้อความไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” บอกว่าถูกหลอกมาทํางาน ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวขอพิกัดที่ตั้งและให้ถ่ายภาพบัตรประจําตัวประชาชนส่งไปให้ นางสาววารุณีส่งภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนของของตนเองและนางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน ไปให้ ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวบอกให้นางสาววารุณี เก็บรวบรวมข้อมูลและถ่ายภาพสถานที่ทํางาน ข้อความบทสนทนาที่ใช้หลอกลวง รวมทั้ง ลักษณะงานที่ได้พบเห็นและจดจําใบหน้าบุคคลภายในตึกให้ได้มากที่สุด
วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 นางสาววารุณีโทรไปหลอกลวงคนไทยว่าเป็นพนักงานของบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด สาขาเชียงราย มีคนรับสายและสามารถโอนสายไปให้สมาชิกสายที่ 2 ได้สําเร็จ มียอดเงินที่ หลอกลวงได้ 200 บาท ต่อมาผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” ลงประกาศข้อความ ประจานว่าบุคคลชื่อ “ยีนส์” ทํางานอยู่ในตึกประตูหน้าวัดตาด หลอกลวงคนไทยไปทํางาน จึงเกิดความวุ่นวายขึ้นในตึกประตูดํา มีการเรียกประชุมในช่วงดึกตรวจค้นโทรศัพท์และตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของสมาชิกทุกคน แต่ไม่พบโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องที่นางสาว วารุณีใช้ติดต่อผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา”
@ ซ่อนโทรศัพท์ที่ขอความช่วยเหลือไว้ ก่อนถูกปล่อยตัว
ต่อมาตึกประตูดํามีมาตรการเข้มงวดมากขึ้น เดิมก่อนเข้างานจะมีการยึดโทรศัพท์และคืนให้หลังเลิกงาน ต่อมาคืนให้เวลาประมาณ 23 นาฬิกา บางคนได้รับโทรศัพท์คืนตอนเช้าของอีกวัน วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 พี่โมกับพี่รุ้งไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริง เป็นหัวหน้าสาย 1 เรียกนางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ให้ขึ้นไปเก็บของที่ห้องพักให้เสร็จภายใน 10 นาที พร้อมกับสอบถามว่าได้ส่งข้อความไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นใช่หรือไม่ นางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ยอมรับว่าได้ส่งข้อความไปขอความช่วยเหลือ เมื่อเก็บของเสร็จพี่โมกับที่รังพานางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ไปพบหัวหน้าคนไทยชื่อเบียร์ ไม่ทราบชื่อและสกุลจริง จากนั้นยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนางสาววารุณีกับ นางสาวจิรารัตน์ไปตรวจสอบและทําลายซิมการ์ดทิ้ง แต่ไม่ใช่เครื่องที่นางสาววารุณีใช้ติดต่อผู้ใช้ บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” เนื่องจากนางสาววารุณีมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 เครื่อง
จากนั้นพานางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ลงมาชั้นล่างตรวจค้นกระเป๋าอย่างละเอียดอีกครั้ง แล้วปล่อยตัวออกจากตึกประตูดําและไม่จ่ายค่าจ้างให้ เมื่อออกมาได้นางสาววารุณีใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ซ่อนไว้ส่งข้อความไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวให้ไปรอที่หน้าด่านข้ามแดน รอได้ระยะหนึ่ง ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวบอกว่าวันนี้ไม่สามารถเดินทางข้ามแดนได้และให้ผู้ชายสัญชาติกัมพูชาสื่อสารภาษาไทย ได้มารับนางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ไปพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดปอยเปต ประเทศ กัมพูชา
ต่อมามีคนไทยชื่อน้องจีจี้ทํางานอยู่ที่ตึก 25 ชั้น มาพักอยู่ด้วย วันรุ่งขึ้นใกล้จะครบกําหนดออกจากโรงแรม ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” แนะนําให้นางสาววารุณี โทรศัพท์ติดต่อไปยืมเงินจากบุคคลอื่นนํามาเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทย แต่นางสาววารุณีไม่มีเงินและไม่รู้ว่าจะยืมเงินจากบุคคลใด จึงติดต่อขอความช่วยเหลือจากเพจ เฟซบุ๊กชื่อว่า “เพจตํารวจรถไฟ” เพจเฟซบุ๊กดังกล่าวให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสายด่วน 1441 นางสาววารุณีติดต่อไปมีร้อยตํารวจเอก กิตติศักดิ์ ออกรัมย์ รับสาย นางสาววารุณีบอกว่า ถูกหลอกมาทํางานที่จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา ต้องการเดินทางกลับประเทศไทยและขอความช่วยเหลือ ร้อยตํารวจเอก กิตติศักดิ์ ขอหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับและห้ามเดินไปที่ใด ให้รอสักครู่แล้ววางสาย
ต่อมาร้อยตํารวจเอก กิตติศักดิ์ติดต่อกลับไปและบอกหมายเลขโทรศัพท์ของพันตํารวจตรี มาโนชย์ ทองแก้ว นางสาววารุณีโทรไปหาพันตํารวจตรี มาโนชย์ พันตํารวจตรี มาโนชย์บอกให้อยู่กับที่ ป้องกันไม่ให้เจ้าหน้าที่ตํารวจประเทศกัมพูชาเห็นและจับกุมดําเนินคดี หลังจากนั้นมีคนสัญชาติกัมพูชาสื่อสารภาษาไทยได้มารับนางสาววารุณี กับพวกไปส่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยถูกเปรียบเทียบปรับ คนละ 800 บาท ฐานเข้าออกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านการตรวจ พันตํารวจตรี มาโนชย์ให้ไป รอที่หน้าร้านกาแฟอเมซอนและมีลูกน้องของพันตํารวจตรี มาโนชย์มารับไปที่จังหวัดชลบุรี
นางสาววารุณีให้ถ้อยคําว่ามีสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำหลอกลวงนายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ ผู้เสียหาย ได้โดยแจ้งข้อมูลเข้าไปในกลุ่มเทเลแกรมของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา นางสาววารุณีไม่รู้จักจําเลยที่ 1 และที่ 5 แต่รู้จักจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ถึงที่ 8 และที่ 10 ถึงที่ 13 เนื่องจากจําเลยที่ 2 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําทีมหลังบ้านและเป็นคนรักเก่าของคนที่ชื่อ “ยีนส์” คนที่ชื่อยีนส์เป็นผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “Nannapat”
จําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 10 ถึงที่ 13 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ประตูดําสายที่ 1 จําเลยที่ 8 เคยเข้าร่วมประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ส่วนจําเลยที่ 9 นางสาววารุณี ไม่รู้จักเหตุที่ชี้ยืนยันว่าจําเลยที่ 9 ทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา เนื่องจากจําเลยที่ 9 มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคนชื่อ “โก้” ที่ทํางานอยู่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสายที่ 1 ทําให้นางสาว วารุณีจําคนผิด
@ คำเบิกความพยาน: 'จิรารัตน์ จันแปงเงิน' ถูกหลอกไปเป็นคอลเซ็นเตอร์แต่หนีมาพร้อม 'วารุณี'
มีนางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน เป็นพยานเบิกความว่า ขณะนางสาวจิรารัตน์อยู่ที่ บ้านในจังหวัดเชียงรายพบผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “วราภรณ์” ประกาศรับสมัครงานตําแหน่งแอดมิน เงินเดือน 18,000 บาท ในกลุ่มหางานแม่สาย นางสาวจิรารัตน์ส่งข้อความไปสอบถาม ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวให้เพิ่มเพื่อนผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “เจียซิน” มีรูปประจําตัวเป็น รูปภาพผู้หญิงชาวเอเชียบอกว่าสถานที่ทํางานอยู่ที่ตึกประตูดํา จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา ให้นางสาวจิรารัตน์ส่งภาพถ่ายของตนเองพร้อมกับบัตรประจําตัวประชาชนไปให้
ต่อมาวันที่ 22 มิถุนายน 2565 นางสาวจิรารัตน์เดินทางจากบ้านในจังหวัดเชียงรายไปที่บ้านญาติใน จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 30 มิถุนายน 2565 นางสาวจิรารัตน์เดินทางจากบ้านญาติไปที่สถานีขนส่งจังหวัดสุพรรณบุรีและนั่งรถตู้โดยสารสาธารณะไปลงที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต จากนั้นนั่งรถตู้โดยสารสาธารณะไปที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ไปถึง เวลาประมาณ 16 นาฬิกา นางสาวจิรารัตน์ติดต่อผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “เจียซิน” บอกว่า ไปถึงแล้ว ผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กดังกล่าวบอกว่าให้รออยู่ละแวกนั้น เวลาผ่านไปประมาณ 10 นาที จําเลยที่ 1 ขับรถยนต์กระบะสีขาว จําหมายเลขทะเบียนไม่ได้ มารับนางสาวจิรารัตน์พาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติ ระหว่างเดินทางจําเลยที่ 1 สอบถามนางสาวจิรารัตน์ว่าข้ามไปทํา อะไร นางสาวจิรารัตน์บอกว่าไปทํางานเป็นแอดมิน จากนั้นนางสาวจิรารัตน์หลับไป รู้สึกตัวอีกทีก็ถึงจุดข้ามแดนทางธรรมชาติแล้ว มีผู้ชายสัญชาติกัมพูชามาช่วยขนกระเป๋าและพาลงเรือพลาสติกสีฟ้าข้ามคลองไปอีกฝั่ง
จากนั้นขับรถยนต์เก๋งไม่ทราบยี่ห้อและหมายเลขทะเบียนไปรับเพื่อนที่ห้องพักแถวซานโฮและพาไปส่งที่ร้านค้าใกล้ตึกประตูดํา มีคนในตึกประตูดําออกมารับ นางสาวจิรารัตน์เข้าไปในตึกประตูดํามีพนักงานตรวจหาเชื้อโควิดและค้นหาอาวุธ ผลการตรวจไม่พบเชื้อโควิด แต่ต้องกักตัวก่อน จากนั้นนางสาวยีนส์ไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริงลงมารับพา ขึ้นไปพักที่ห้อง 601 และย้ายไปพักที่ห้อง 611 ภายในห้องมีคนพักอาศัยอยู่รวมกัน 9 ถึง 10 คน เป็นคนไทยทั้งหมด สามารถออกจากห้องพักได้แต่ออกจากตึกไม่ได้ มีอาหารให้รับประทาน 3 มื้อ ตึกประตูดํามีรั้วรอบขอบชิด บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปได้ นางสาวจิรารัตน์ สอบถามเพื่อนที่พักอยู่ห้องเดียวกันทําให้ทราบว่างานที่มาทําเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ ไม่ใช่งานแอดมิน
นางสาวจิรารัตน์ไม่อยากทําและปรึกษานางสาววารุณีกับเพื่อนที่พักห้องเดียวกัน เพื่อนบอกว่าต้องขอความช่วยเหลือ หลังจากนั้นประมาณ 3 ถึง 4 วัน นางสาวจิรารัตน์ลงไปทดลอง ทํางานที่ชั้น 1 ดูสมาชิกที่ทํางานอยู่ก่อนทํางานและสังเกตการพูด สมาชิกที่อยู่ภายในห้อง ดังกล่าวทําหน้าที่รอรับสายโทรศัพท์และสอบถามว่าติดต่อเรื่องใด หากลูกค้าบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ให้สอบถามชื่อและชื่อสกุล รวมทั้งสอบถามว่าเคยนําชื่อและที่อยู่ไปกรอกข้อมูลบน เว็บไซต์ช็อปปี้หรือช่องทางอื่นๆหรือไม่ จากนั้นแจ้งกลับไปว่าตรวจสอบจากกรมศุลกากรแล้วพบมี พัสดุชื่อลูกค้าเป็นผู้ส่ง ภายในพัสดุมีสิ่งของผิดกฎหมายคือ เสื้อผ้า 4 ชิ้น บัตรเอทีเอ็ม 5 ใบ และสมุดบัญชี 8 เล่ม แนะนําให้ลูกค้าติดต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ หลังจากนั้นนางสาวจิรารัตน์ป่วยและ ไม่ได้ลงไปทํางานอีก
จนกระทั่งประมาณวันที่ 11 หรือ 12 กรกฎาคม 2565 จําได้ไม่แน่ชัด นางสาวจิรารัตน์ลงไปดูการทํางานอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้เริ่มทํางาน วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 นางสาวจิรารัตน์และนางสาววารุณีออกจากตึกประตูดํามาได้และนั่งรถสามล้อสาธารณะไปที่หน้าด่านตรวจคนเข้าเมืองพร้อมกับเข้าพักที่โรงแรม 1 คืน ต่อมามีน้องจีจี้จําชื่อและชื่อสกุลไม่ได้ ตามมาพักที่โรงแรมด้วย วันต่อมามีผู้ชายสัญชาติกัมพูชาพานางสาวจิรารัตน์กับพวกไปส่งที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเสียค่าปรับคนละ 800 บาท ฐานเข้าออกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านการตรวจ มีเจ้าหน้าที่ตํารวจมารับไปที่จังหวัดชลบุรี นางสาวจิรารัตน์ ให้ถ้อยคําไว้ต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ นางสาวจิรารัตน์ไม่รู้จัก จําเลยที่ 3 ที่ 5 ที่ 8 ถึงที่ 10 และที่ 12 แต่รู้จักจําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 11 และที่ 13 เนื่องจากจําเลยที่ 2 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ทําหน้าที่ปลอมหมายเรียกผู้ต้องหา ส่วนจําเลยที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 11 และที่ 13 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ประตูดําสายที่ 1 นางสาวจิรารัตน์พักอาศัยอยู่ที่ตึกประตูดําประมาณ 12 วัน และเคยเห็นจําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 11 และที่ 13 ในห้องประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและมีเพื่อนแนะนําให้รู้จัก
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ออกรัมย์
มีพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ออกรัมย์ เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ขณะพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ปฏิบัติหน้าที่ประจําศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ทางสายด่วน 1441 ได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือจากนางสาววารุณี สุวรรณกิจ ว่านางสาววารุณี นางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน นางสาวสุพิชา บัวขาว สมัครไปทํางานตําแหน่งแอดมินเว็บไซต์การพนัน แต่ถูกหลอกไปทํางาน เป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา สามารถหลบหนีออกมาได้ต้องการขอความช่วยเหลือ จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและประสานงานกับชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือชุด PCT 5 ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ให้ความช่วยเหลือบุคคลทั้งสาม มีพันตํารวจตรี มาโนชย์ ทองแก้ว (ยศขณะนั้น) และพันตํารวจตรี ชัยวัฒน์ เสวกวัง ร่วมกันช่วยเหลือบุคคลทั้งสามเดินทางกลับมายังประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย
นางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคําว่าก่อนที่จะเดินทางข้ามแดนไปทํางานที่ประเทศกัมพูชาได้ติดต่อสมัครงานกับผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “Waraporn Nannaphat Srisuwan” ซึ่งประกาศรับสมัครงานในเพจเฟซบุ๊กหางานต่างๆ นางสาววารุณีให้ข้อมูลว่า ทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสายที่ 1 อ้างตนเองเป็นพนักงานของบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด หรือบริษัทแฟลชเอ็กเพรส จํากัด สาขาเชียงราย ส่วนสายที่ 2 อ้างตนเองเป็นพนักงานสอบสวนเวร สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายหลอกลวงว่าผู้ได้รับการติดต่อถูกแอบอ้างและมีสิ่งของผิดกฎหมาย แนะนําให้ไปแจ้งความที่สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงราย หากไม่สะดวกเดินทางไปได้ก็ให้แจ้งความ ทางออนไลน์โดยการบันทึกเสียงทางโทรศัพท์ เมื่อผู้ได้รับการติดต่อหลงเชื่อก็จะแนะนําให้พูดคุยกับผู้บังคับบัญชายศตั้งแต่พันตํารวจโทถึงพันตํารวจเอกซึ่งทําหน้าที่หลอกลวงในสายที่ 3 หลอกลวงว่าผู้ได้รับการติดต่อร่วมกระทําความผิดกับผู้ต้องหาที่จับกุมได้ในคดีฟอกเงิน
จากนั้นนําชื่อของผู้ได้รับการติดต่อไปใส่ในหมายเรียกผู้ต้องหาและสมุดบัญชีธนาคารที่ทําปลอมขึ้นแล้ว ให้ผู้ได้รับการติดต่อเพิ่มเพื่อนในแอปพลิเคชันไลน์และส่งเอกสารปลอมดังกล่าวไปดูให้ เมื่อกดเข้าไปเป็นเว็บไซต์ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และมีหมายเรียกผู้ต้องหาและสมุดบัญชีธนาคารระบุชื่อผู้ได้รับการติดต่อเป็นผู้ต้องหาและเจ้าของบัญชี รวมทั้งมีภาพถ่ายเจ้าหน้าที่แถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหาได้ จากนั้นให้ผู้รับการติดต่อโอนเงินไปตรวจสอบกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เมื่อตรวจสอบเสร็จจะโอนเงินคืนให้
จนกระทั่ง ผู้ได้รับการติดต่อหลงเชื่อโอนเงินไปให้ มีหัวหน้าแก๊งเป็นคนสัญชาติจีนหรือสัญชาติไต้หวัน ทําหน้าที่บริหารจ่ายเงินเดือน ค่าคอมมิชชัน ดูแลเรื่องอุปกรณ์สํานักงาน จัดหาสคริปต์หรือบทสนทนาและโทรศัพท์เคลื่อนที่สําหรับใช้หลอกลวง มีพนักงานยิงแอดเป็นผู้ควบคุมระบบการ โทรอัตโนมัติหรือสุ่มโทร ภาษาคอมพิวเตอร์เรียกว่าโทรแบบ VOIT เป็นการสุ่มโทรไปยัง หมายเลขโทรศัพท์ของประชาชนที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้ระบุเจาะจงว่าเป็นบุคคลใด มีผู้ได้รับติดต่อหลายคนที่ถูกสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหลอกลวงได้สําเร็จและส่งรายชื่อ ส่งเข้าไปในกลุ่มเทเลแกรมของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ซึ่งมีชื่อนายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ ผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย
@ เบอร์ขึ้นต้น +697 คอลเซนเตอร์นิยมใช้หลอกลวงประชาชน
ตามรายงานการสืบสวนพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ สอบถามสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติได้ความว่าหมายเลขโทรศัพท์ขึ้นต้นด้วย +697 เป็นสายเรียกเข้าจากต่างประเทศมีลักษณะเป็นการให้บริการเสียงผ่านการให้บริการอินเทอร์เน็ต (Voice over Internet Protocol หรือ Internet telephony) หรือเรียกว่า VoIP เป็นข้อความเสียงอัตโนมัติที่กลุ่มแก๊งคอลเซนเตอร์นิยมใช้หลอกลวงประชาชนทั่วไป ตามข้อมูลลักษณะการ ให้บริการเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)และข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ขึ้นต้นด้วย +697 ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 มีผู้แจ้งความร้องทุกข์ทางออนไลน์กรณีถูกแก๊งคอลเซนเตอร์หลอกลวงโดยอ้างตนเองเป็นเจ้าพนักงานตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายประมาณ 3,000 กว่าคดี มีกรณีนายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ ผู้เสียหาย ถูกหลอกลวงได้เงินไปประมาณ 300,000 บาทเศษ นายชาญชัย อิงคเวช ถูกหลอกลวงได้เงินไปประมาณ 41,000,000 บาท นางชญานิษฐ์ บุญตระกูล และนางสาว ศิริวรรณ บุญตระกูล แพทย์ที่จังหวัดชุมพรถูกหลอกลวงได้เงินไปประมาณ 101,000,000 บาท รวมอยู่ด้วยซึ่งมีรูปแบบการหลอกลวงตรงกันกับรูปแบบการหลอกลวงแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
ตามบันทึกแจ้งผลการตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลคดี เอกสารประกอบศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ บันทึกข้อความผลการปฏิบัติงาน ภาพถ่ายบทสนทนา และรายงานสืบสวนขยายผล เจ้าหน้าที่ตํารวจจับนายชลวิชา ปานสมุทรได้ ต่อมานายชลวิชาให้การรับต่อพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ พันตํารวจตรี ชัยวัฒน์ เสวกวัง และ พันตํารวจตรี ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ว่านายชลวิชาเป็นสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสายที่ 3 เป็นผู้หลอกลวงแพทย์หญิงที่จังหวัดชุมพรได้เงิน 101,000,000 บาท และหลอกลวง นายชาญชัย อิงคเวช ได้เงิน 41,000,000 บาท โดยนายชลวิชาอ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจ ตําแหน่งผู้กํากับการ สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงราย ชื่อว่า “พันตํารวจเอก กิตติพงษ์ สุขวัฒนพันธ์” พนักงานสอบสวนและเจ้าหน้าที่ตํารวจชุดสืบสวนตรวจสอบข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 1 แล้วส่งไปให้พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ตรวจวิเคราะห์ข้อมูลพบหลักฐานการโอนเงินระหว่างจําเลยที่ 1 กับนายอรรถชัย มีโพธิ์ จํานวนมาก เจ้าหน้าที่ตํารวจ จับจําเลยที่ 2 ได้พร้อมกับตรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 2 ส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน
เมื่อตรวจสอบเสร็จกองพิสูจน์หลักฐานส่งผลการตรวจกลับมาที่พนักงานสอบสวน สถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนขอให้พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ช่วยตรวจสอบพบภาพถ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กที่เปิดหน้าจอแสดงโปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อชื่อผู้เสียหายเพื่อปลอมลงในสมุดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) มีข้อความขีดเส้น ด้วยน้ําหมึกสีแดงว่าใช้สําหรับเป็นหลักฐานในการดําเนินคดี รวมทั้งมีภาพถ่ายสมุดบัญชีธนาคารปลอมและภาพถ่ายสถานที่ตึกประตูดําตรงกับรูปแบบการหลอกลวงที่คนร้ายใช้ หลอกลวงผู้เสียหายคดีนี้และคดีอื่น พนักงานสอบสวนส่งข้อมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจำเลยที่ 3 ให้พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ตรวจวิเคราะห์พบการทําธุรกรรมและข้อมูลการติดต่อลักษณะคล้ายกับนางสาวรุ่งฤดี อุดมดี เจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุมนางสาวพรรณพรหรือยีนส์ สิทธินวล ได้
ต่อมานางสาวพรรณพรให้การรับว่าเป็นผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กประกาศรับสมัครงานเพื่อหาคนไป ทํางานที่ตึกประตูดําและเป็นคนรักของจําเลยที่ 2 เจ้าหน้าที่ตํารวจตรวจวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ โทรศัพท์ของผู้ต้องหาโดยจัดทําในรูปแบบแผ่นบันทึกภาพและเสียงไว้ตามวัตถุพยาน พนักงานสอบสวนและพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ตรวจสอบข้อมูลบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด และสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงรายแล้วไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลอกลวงผู้เสียหาย ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 และโอนออกไปเป็นทอด ๆ
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจโท มาโนชย์ ทองแก้ว
มีพันตํารวจโท มาโนชย์ ทองแก้ว เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุพันตํารวจโทมาโนชย์รับราชการอยู่ที่ กองบัญชาการตํารวจภูธรภาค 2 และเป็นเจ้าหน้าที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือ PCT5 มีพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดสระแก้วมีอํานาจ สืบสวนจับกุมผู้กระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ขณะเกิดเหตุมีสถานการณ์ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีแก๊งคอลเซนเตอร์โทรศัพท์หลอกลวง ประชาชนเป็นวงกว้าง ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจ แห่งชาติ มอบหมายให้พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกสืบสวนสอบสวนการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มแก๊งคอลเซนเตอร์ที่มีฐานการกระทําความผิดอยู่ในต่างประเทศแถบประเทศเพื่อนบ้าน มีสายด่วน 1441 ทําหน้าที่รับแจ้งความ ร้องทุกข์ทางออนไลน์เกี่ยวกับการกระทําความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ ออกรัมย์ เจ้าหน้าที่ ตํารวจ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศแจ้งต่อพันตํารวจโท มาโนชย์ว่า มีคนไทย 3 คน คือ นางสาววารุณี สุวรรณกิจ นางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน และเด็กหญิงอายุ ประมาณ 16 ปี ถูกหลอกไปทํางานที่ประเทศกัมพูชาต้องการกลับมาประเทศไทยและติดต่อขอความช่วยเหลือ รออยู่ที่บริเวณวงเวียนน้ําพุ เมืองปอยเปต ประเทศกัมพูชา พันตํารวจโท มาโนชย์รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบพร้อมกับติดต่อเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยและประเทศ กัมพูชาเพื่อให้การช่วยเหลือและสามารถช่วยเหลือบุคคลทั้งสามกลับมายังประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและนําตัวไปที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตํารวจภูธรภาค 2 นางสาววารุณีและ นางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคําว่าถูกหลอกไปทํางานที่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ข้างวัดตาด จังหวัด ปอยเปต ประเทศกัมพูชา ก่อนที่นางสาววารุณีจะถูกหลอกไปทํางาน พบประกาศรับสมัครงานตําแหน่งแอดมินทํางานที่ประเทศกัมพูชาบนแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กจึงติดต่อสมัครไปทํางานและนั่งรถโดยสารรถสาธารณะไปลงที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จากนั้นเข้าพักที่โรงแรมแมมมอธ 1 คืน วันต่อมามีผู้หญิงขับรถยนต์กระบะสีขาวยี่ห้ออีซูซุมารับนางสาววารุณีพา ไปส่งที่บ้านพักบริเวณชายแดนเขตอําเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว หลังจากนั้นเดินเท้าข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชา
แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหลอกลวงผู้ได้รับการติดต่อว่า มีพัสดุของบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด ตกค้างและภายในพัสดุมีสิ่งของผิดกฎหมาย ให้ผู้นั้นติดต่อไปยัง สถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงราย ตลอดระยะเวลาที่นางสาววารุณีทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําได้พยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากช่องทางออนไลน์ต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก และได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กชื่อว่า “ก็แค่คนธรรมดา” และมีข้อมูลของ บุคคลที่ถูกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหลอกลวงสําเร็จประมาณ 5 ถึง 6 คน ส่งเข้าไปในกลุ่ม เทเลแกรมของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา นางสาวจิรารัตน์พบประกาศรับสมัครงานบนแอปพลิเคชันเฟชบุ๊ก จากนั้นเดินทางจากจังหวัดเชียงรายมาที่กรุงเทพมหานครและเดินทางไปที่ สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว มีคนขับรถมารับนางสาวจิรารัตน์พาไปส่งที่จุด ข้ามแดนทางธรรมชาติและโดยสารเรือข้ามไปยังประเทศกัมพูชา เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดสืบสวนนําชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่ถูกหลอกลวงตามที่นางสาววารุณีให้ข้อมูลไปตรวจสอบพบชื่อ นายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ ผู้เสียหาย มีหมายเลขโทรศัพท์ตรงกับบุคคลที่แจ้งความออนไลน์ ไว้ที่สถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการ
นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ให้การว่าแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําติดต่อพูดคุยและทํางานทางแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊ก นางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์สามารถจดจําบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคvลเซนเตอร์ประตูดำได้ เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดสืบสวนตรวจสอบข้อมูลบุคคลตามที่นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคําแล้ว สามารถระบุชื่อสมาชิกในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําได้บางส่วนและรวบรวมข้อมูลส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการ จากการสืบสวนทราบว่าผู้เสียหายถูกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหลอกลวง จนกระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินเข้าบัญชีของจําเลยที่ 5 หลายครั้ง จากนั้นคนร้ายโอนเงินต่อไปอีกหลายบัญชี จําเลยที่ 5 มีรายได้เดือนละประมาณ 15,000 บาท แต่มีรานการโอนเงินเข้าบัญชีหลายครั้งและมีจํานวนมากรวมมูลค่ากว่า 10,000,000 บาท ก่อนรับโอนเงินแต่ละครั้งมีการโอนเงินเข้าบัญชีครั้งละ 1 บาท เพื่อทดสอบว่าบัญชีดังกล่าวถูกอายัดหรือไม่ มีลักษณะเช่นเดียวกับบัญชีม้า
ตามรายการเดินบัญชีของผู้เสียหาย สําเนาใบสมัครเปิดบัญชีเงิน ฝาก/บัตรเดบิต/บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และรายการเดินบัญชีของจําเลยที่ 5 สําเนาคําขอเปิด บัญชีเงินฝาก/ใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ของนางสาวชัญญานุช ใคร่ครวญ และพันตํารวจโท มาโนชย์นําภาพถ่ายนางสาวรุ่งฤดี อุดมดี มาให้นางสาววารุณี นางสาววารุณีดูแล้วยืนยันว่าเป็นคนที่ขับรถยนต์กระบะยี่ห้ออีซูซุไปรับนางสาววารุณีที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับนางสาวรุ่งฤดีได้พร้อมกับยึดรถยนต์ กระบะยี่ห้ออีซูซุสีขาว โทรศัพท์เคลื่อนที่ และสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารจํานวนหลายเล่ม เป็นของกลาง นางสาวรุ่งฤดีให้การรับว่าขับรถไปรับคนพาไปพักที่บ้านแล้วพาไปส่งให้ผู้ชายสัญชาติกัมพูชาเพื่อพาข้ามแดนไปยังประเทศกัมพูชาทำมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ได้รับ ค่าจ้างครั้งละ 1,000 บาท นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ชี้ยืนยันตัวนางสาวรุ่งฤดีไว้
วันที่ 26 สิงหาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับจําเลยที่ 2 ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองลึกขณะที่กําลังจะเดินทางออกไปประเทศกัมพูชา จําเลยที่ 2 ให้การรับว่าทำงานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำและมีความสนิทสนมกับนางสาวพรรณพร สุทธินวล ซึ่งนางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ยืนยันว่า นางสาวพรรณพรเป็นผู้ประกาศรับสมัครงานบนแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กและเป็นฝ่ายบุคคลของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ทําหน้าที่จัดหาคนไปทํางาน
วันที่ 15 กันยายน 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับจําเลยที่ 3 ได้พร้อมกับตรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแอปเปิล รุ่นไอโฟน 11 สีขาว พร้อมซิมการ์ดหมายเลข 0902180559 จํานวน 1 เครื่อง เป็นของกลาง
วันที่ 20 ตุลาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์ จับจําเลยที่ 4 ได้ จําเลยที่ 4 เขียนข้อความยืนยันภาพถ่ายบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและลงลายมือชื่อกํากับไว้
วันที่ 18 ตุลาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับ จําเลยที่ 5 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 5 ให้การว่านางสาวอาราดาหรือฟิล์ม เนตรตุ้ม รุ่นน้องของจําเลยที่ 5 ขอให้เปิดบัญชีให้ จําเลยที่ 5 เปิดบัญชีและขายบัญชีดังกล่าวให้รุ่นน้องไป จําเลยที่ 5 ไม่รู้ว่ามีเงินโอนเข้าออกจากบัญชีดังกล่าว ต่อมาเจ้าหน้าที่ตํารวจจับนางสาวชัญญานุช ใคร่ครวญ และผู้ร่วมกระทําความผิดอื่นได้
วันที่ 20 ตุลาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับจําเลยที่ 6 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 6 ให้การว่าเคย พบเห็นนางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์อยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา จําเลยที่ 6 เขียนข้อความยืนยันภาพถ่ายบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและลงลายมือชื่อกํากับไว้
วันที่ 28 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกร่วมกันจับกุมนายอรรถชัยหรือ เอ็ด มีโพธิ์ ได้ โดยเจ้าหน้าที่ตํารวจชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือ PCT 5 ปลอมตัวเป็นสายลับติดต่อ สมัครงานทางแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กตามที่นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์เคยสมัครไปทํางาน นางสาวพรรณพรนัดหมายให้สายลับเดินทางไปที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อถึงตามที่นัดหมาย นายอรรถชัยขับรถยนต์มารับสายลับพาไปส่งที่ชายแดนประเทศกัมพูชา พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกแสดงตนเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจร่วมกันจับนายอรรถชัย นายอรรถชัยให้การรับว่านางสาวณัชชา สุพัชญาภาณิศ ว่าจ้างให้นายอรรถชัยขับรถไปรับสายลับพาไปส่งที่จุดข้ามแดนไปประเทศกัมพูชา
ลักษณะการกระทําความผิดของแก๊งคอลเซนเตอร์จะเปลี่ยนรูปแบบการหลอกลวงไปทุก 3 เดือน เช่น สามเดือนแรกหลอกลวงว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด สามเดือนต่อมาอาจหลอกลวงว่าเป้นเจ้าหน้าที่ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด โดยจะเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการหลอกลวงไปเรื่อย ๆ คนร้ายส่งเว็บลิงก์ไปหลอกลวงผู้เสียหาย พันตํารวจโท มาโนชย์กล่าวโทษให้ดําเนินคดีแก่ผู้ต้องหา 58 คน ในข้อหาร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นอั้งยี่ เป็นซ่องโจร ฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจตรี ชัยวัฒน์ เสวกกัง
มีพันตํารวจตรี ชัยวัฒน์ เสวกกัง เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจตรี ชัยวัฒน์กับพวกร่วมกันจับจําเลยที่ 1 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธ แต่รับว่า รับจ้างจากนายอรรถชัยหรือบัง มีโพธิ์ รับคนพาไปส่งได้รับค่าจ้างวันละ 1,000 บาท ทํามาแล้ว ประมาณ 20 ครั้ง พันตํารวจตรี ชัยวัฒน์นําภาพถ่ายนางสาวจิรารัตน์มาให้จําเลยที่ 1 ดู จําเลยที่ 1 ดูรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับที่เคยไปรับพาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยัง ประเทศกัมพูชา
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจตรี ทินกร ปาติโต
มีพันตํารวจตรี ทินกร ปาติโต เป็นพยานเบิกความว่า เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2565 พันตํารวจตรี ทินกรกับพวกร่วมกันจับจําเลยที่ 9 และควบคุมตัวไปส่งมอบให้แก่พนักงาน สอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการ พันตํารวจตรี ทินกรตรวจสอบข้อมูลรถยนต์คันที่จําเลยที่ 1 ขับไปรับคนพาไปส่งที่ จุดข้ามแดนไปยังประเทศกัมพูชาแล้วพบว่านายอรรถชัย มีโพธิ์ เป็นผู้มีชื่อครอบครอง
@ คำเบิกความพยาน:พันตํารวจตรี ภัสน์กร เฉลี่ยวบุตร
มีพันตํารวจตรี ภัสน์กร เฉลี่ยวบุตร เป็นพยาน เบิกความว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจตรี ภัสน์กรกับพวกร่วมกันจับนาย อรรถชัย มีโพธิ์ นายอรรถชัยให้ถ้อยคําว่านายอรรถชัยรับจ้างจากนางสาวณัชชาหรือนานา สุพัชญาภาณิศ ทํางานอยู่ที่ประเทศกัมพูชาซึ่งติดต่อกันทางแอปพลิเคชันไลน์โดยให้นายอรรถชัยไปรับคนตามสถานที่ต่าง ๆ ในอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว แล้วขับรถพาไปส่ง ที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติ จากนั้นคนสัญชาติกัมพูชามารับบุคคลดังกล่าวเดินทางต่อไปยัง ประเทศกัมพูชาได้ค่าจ้างคนละ 5,000 ถึง 8,000 บาท เมื่อส่งคนตามที่รับจ้างแล้ว นางสาวณัชชาจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของนางสาวณัชชาไปเข้าบัญชีของภรรยานายอรรถชัย ในการรับงานนายอรรถชัยติดต่อกับสมาชิกทางแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่มมีสมาชิก 4 คน คือ นายอรรถชัย นายอํานาจ โพธิ์สา จําเลยที่ 1 นายวิน ไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริง สัญชาติกัมพูชา หากมีงานก็จะมาพูดคุยกันในกลุ่มดังกล่าวว่า บุคคลใดจะรับหน้าที่ไปรับคนพาไปส่งตามสถานที่ที่ถูกว่าจ้าง จําเลยที่ 1 ใช้บัญชีแอปพลิเคชันไลน์ชื่อว่า “พี่ตั้ว” หมายเลขโทรศัพท์ 086 827 2954
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจตรี วุฒินันท์ คงดี
มีพันตํารวจตรี วุฒินันท์ คงดี เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุพันตํารวจตรี วุฒินันท์ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ศูนย์ปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือชุด PCT 5 มีพันตํารวจโท มาโนชย์ ทองแก้ว เป็นหัวหน้าชุด เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจตรี วุฒินันท์สอบถ้อยคํานางสาววารุณี สุวรรณกิจ ได้ความว่าเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นางสาววารุณีพบประกาศหาคนไปทํางานที่จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา บนเพจ เฟซบุ๊กจึงติดต่อพูดคุยและตกลงไปทํางาน วันที่ 24 มิถุนายน 2565 นางสาววารุณีเดินทางจังหวัดมหาสารคามไปที่อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อไปถึงมีคนขับรถมารับพาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชา เมื่อไปถึงที่ตึกประตูดําจังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา จึงทราบว่าเป็นงานคอลเซนเตอร์และไม่อยากทําพยายามติดต่อขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
วันที่ 13 กรกฎาคม 2565 สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําบอกให้ นางสาววารุณีกับนางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน เก็บของและออกไปจากตึกประตู เนื่องจากนางสาววารุณีกับพวกขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น หลังจากออกมาจากตึกประตูดําแล้ว นางสาววารุณีติดต่อไปที่สายด่วน 1441 เพื่อขอความช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศไทย พันตํารวจโท มาโนชย์กับพวกให้ความช่วยเหลือนางสาววารุณี นางสาวจิรารัตน์ และนางสาว สุพิชา บัวขาว เดินทางกลับมายังประเทศไทยทางด่านตรวจคนเข้าเมืองได้สําเร็จและพาไปที่ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตํารวจภูธรภาค 2 นางสาววารุณีให้การว่า นางสาววารุณีตั้งใจ จะไปทํางานโดยไม่ทราบว่าเป็นงานคอลเซนเตอร์ เมื่อทราบก็ไม่อยากทํางานดังกล่าวและต้องการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์
แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา แบ่งงานออกเป็น 3 สาย สายที่ 1 อ้างตนเองเป็นพนักงานของบริษัทขนส่งพัสดุ สายที่ 2 อ้าง ตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจยศร้อยตํารวจตรีขึ้นไป ส่วนสายที่ 3 อ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจ ยศพันตํารวจโทขึ้นไปตามบันทึกคําให้การของนางสาววารุณี พันตํารวจตรี วุฒินันท์สอบถามนางสาววารุณีว่ารู้จักบุคคลที่อยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหรือไม่ นางสาววารุณีเปิดแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กของตนเองแล้วดูบัญชีเฟซบุ๊กของบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำเท่าที่จำได้
จากนั้นนำภาพถ่ายและบัญชีเฟซบุ๊กของบุคคลดังกล่าวมาให้พันตํารวจตรี วุฒินันท์ตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎร จากนั้นนําข้อมูลทะเบียน ราษฎรไปให้นางสาววารุณีดู หากนางสาววารุณียืนยันว่าเป็นบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําก็จะเขียนข้อความยืนยันและลงลายมือชื่อไว้โดยแยกประเภทบุคคลออกเป็นกลุ่มตามสายงานที่ทําในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา หากบุคคลใดที่นางสาววารุณีไม่แน่ใจหรือจําไม่ได้ ก็จะเขียนข้อความว่าไม่รู้จักและลงลายมือชื่อไว้ โดยหัวหน้าแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำเป็นคนสัญชาติจีน
@ คำเบิกความพยาน: ร้อยตํารวจเอก วรภัทร แสงเทียนประไพ
มีร้อยตํารวจเอก วรภัทร แสงเทียนประไพ เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุร้อยตํารวจเอก วรภัทรปฏิบัติหน้าที่ ราชการอยู่ที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือชุด PCT 5 มีพันตํารวจโท มาโนชย์ ทองแก้ว เป็นหัวหน้าชุด เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจโท มาโนชย์ให้การช่วยเหลือนางสาววารุณี สุวรรณกิจ นางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน และเยาวชนอีก 1 คน ชื่อเล่นว่า จี้ จําชื่อและชื่อสกุลจริงไม่ได้ที่เดินทางไปทํางานที่ตึกประตูดํา ประเทศกัมพูชา และหลบหนีออกมาได้ ร้อยตํารวจเอก วรภัทร สอบถ้อยคํานางสาวจิรารัตน์ได้ความว่า นางสาวจิรารัตน์สมัครงานทางแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กกลุ่ม หางานแม่สาย มีผู้ประกาศรับสมัครงานแอดมิน มีรายได้สูง มีค่าคอมมิชชั่นให้ นางสาวจิรารัตน์ สนใจติดต่อสมัครงานไปโดยส่งภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนและแจ้งกําหนดเดินทางไปให้
จากนั้นนางสาวจิรารัตน์เดินทางจากจังหวัดเชียงรายไปที่บ้านญาติในจังหวัดสุพรรณบุรีแล้ว เดินทางต่อไปที่ห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต จากนั้นเดินทางไปที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว เมื่อไปถึงรออยู่ที่หน้าร้านสะดวกซื้อเซเว่นอิเลฟเว่นมีคนขับรถมารับพาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชาและเดินทางไปที่ตึกประตูดำ เริ่มฝึกงานโดยอ้างตนเองเป็นพนักงานบริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด มีโทรศัพท์เคลื่อนที่และหูฟัง สําหรับใช้ทํางานจัดเตรียมไว้ให้ ระบบคอมพิวเตอร์จะสุ่มโทรไปยังคนไทยที่อยู่ในประเทศไทย
เมื่อคนไทยรับสายก็จะมีข้อความเสียงอัตโนมัติหลอกลวงว่ามีพัสดุตกค้าง ติดต่อเจ้าหน้าที่กด หมายเลข 0 หากคนไทยกดหมายเลข 0 ระบบจะโอนสายไปที่พนักงานกลุ่มของนางสาวจิรารัตน์ นางสาวจิรารัตน์กับพวกมีหน้าที่หลอกลวงว่ามีพัสดุตกค้าง ภายในเป็นสิ่งของผิดกฎหมาย จากนั้นออกอุบายให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ หากไม่สะดวกเดินทางไปแจ้งความร้องทุกข์ในท้องที่จะโอนสายไปให้เจ้าหน้าที่ตํารวจ ซึ่งเป็นสมาชิกอีกกลุ่มหนึ่งอ้างตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจ หลอกลวงว่าหากไม่ดําเนินการอาจถูกออกหมายจับให้แสดงความบริสุทธิ์ใจด้วยการโอนเงินไปตรวจสอบตามเลขบัญชีที่ส่งให้ทางแอปพลิเคชันไลน์ นางสาวจิรารัตน์เปิดแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กของตนเองดูบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําเท่าที่จําได้ จากนั้นนําภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้ เฟซบุ๊กของบุคคลดังกล่าวมาให้ร้อยตํารวจเอก วรภัทรตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎร จากนั้นนําข้อมูลทะเบียนราษฎรมาให้นางสาวจิรารัตน์ดูเพื่อยืนยันตัวบุคคลอีกครั้ง หากเป็นบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําก็ให้นางสาวจิรารัตน์เขียนข้อความยืนยันและลงลายมือชื่อกํากับไว้
@ คำเบิกความพยาน: พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ
มีพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ จุลพิภพ เป็นพยานเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ชุดปฏิบัติการที่ 5 เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ได้รับแจ้งจากสายด่วน 1441 ว่ามีบุคคลถูกหลอกไปทํางานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา ประสงค์จะเดินทางกลับมาประเทศไทย 3 คน และขอความช่วยเหลือ ลูกน้อง ของพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ไปรับตัวบุคคลทั้งสามพามาที่กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตํารวจภูธรภาค 2 บุคคลทั้งสามประสงค์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําเพื่อ ปราบปรามแก๊งคอลเซนเตอร์ดังกล่าว พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์กับพวกร่วมกันสอบถ้อยคํา นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์แยกสอบคนละห้อง ส่วนเยาวชนอีกคนได้ส่งตัวกลับบ้านไปก่อน พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์กับพวกตรวจสอบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนางสาววารุณีแล้วพบว่า มีภาพถ่ายอาคารที่ตั้งแก๊งคอลเซนเตอร์ ภาพถ่ายบรรยากาศในจังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา
บทสนทนาทางแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กที่มีรายละเอียดยอดเงินที่บุคคลอื่นถูกหลอกลวงตรงกับข้อมูลที่เจ้าหน้าที่ตํารวจเคยรับแจ้งความออนไลน์ไว้ แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตั้งอยู่ที่ตึกประตูดําหน้าวัดตาด จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา มีรูปแบบการหลอกลวงอ้างตนเองเป็นพนักงาน บริษัทเฟดเอ็กซ์ จํากัด และเป็นเจ้าหน้าที่ตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองเชียงราย
@ 'วารุณี' ขอความช่วยเหลือ 12 ครั้ง
นางสาววารุณี ให้การว่าเดินทางไปทํางานได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ และหลบหนีออกมาได้ ตรวจสอบแอปพลิเคชันติ๊กต๊อกของนางสาววารุณีพบว่ามีการขอความช่วยเหลือ 12 ครั้ง นางสาววารุณีพบเห็นบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ใช้รูปประจําตัวเป็นรูปมนุษย์อวกาศประกาศรับสมัครงานบนเพจเฟซบุ๊กหางาน มหาสารคาม ตําแหน่งแอดมิน สถานที่ทํางานจังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา จึงติดต่อพูดคุย มิถุนายน นางสาววารุณีนั่งรถโดยสารสาธารณะไปลงที่อําเภอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และเข้าพักที่โรงแรมแมมมอท วันที่ 25 มิถุนายน 2565 นางสาวรุ่งฤดี อุดมดี ขับรถยนต์มารับนางสาววารุณีพาไปส่งที่จุดข้ามแดน เมื่อไปถึงตึกประตูดําทราบว่าผู้ใช้บัญชีเฟซบุ๊กที่มีรูปประจําตัวเป็นรูปมนุษย์อวกาศคือนางสาวพรรณพร หรือยีนส์ สิทธินวล นางสาวจิรารัตน์ให้การว่า นางสาวจิรารัตน์พบประกาศรับสมัครงานบนเพจเฟซบุ๊กชื่อเพจหางานแม่สายติดต่อพูดคุยและตกลงไปทํางานที่จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา นางสาวจิรารัตน์เดินทางไปที่สถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
ระหว่างรอคนขับรถมารับมีหมายเลขโทรศัพท์ 08 6872 2954 ติดต่อมาบอกว่าจะมารับพาไปส่งที่จุด ข้ามแดนไปยังประเทศกัมพูชา พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าว แล้วพบว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของจําเลยที่ 1 จึงนําภาพถ่ายข้อมูลทะเบียนราษฎรของ จําเลยที่ 1 มาให้นางสาวจิรารัตน์ดู นางสาวจิรารัตน์ดูแล้วยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับคนที่ไปรับนางสาวจิรารัตน์พาไปส่งที่จุดข้ามแดนไปยังประเทศกัมพูชา นางสาวจิรารัตน์ไปพักอยู่ที่ตึกประตูดํามีภาพถ่ายขณะนอนให้น้ําเกลืออยู่ที่ตึกประตูตํา และให้การถึงรูปแบบการหลอกลวงของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําไว้เช่นเดียวกับนางสาววารุณี
นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ยืนยันตัวบุคคลที่อยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําจากภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊ก พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ นําข้อมูลดังกล่าวไปตรวจสอบกับข้อมูลทะเบียนราษฎรแล้ว นํามามาให้นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ยืนยันตัวบุคคลอีกครั้ง นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ดูแล้วยืนยันว่าบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูโดยเขียนข้อความยืนยัน และลงลายมือชื่อกํากับไว้
@ กัมพูชามีแก๊งคอลเซนเตอร์เป็นเหมือนบริษัทแฟรนด์ไชส์
พันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ซักถามถ้อยคํานางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์โดยไม่ได้ให้คํามั่นสัญญาว่าจะไม่ดําเนินคดีแก่บุคคลทั้งสอง ประเทศกัมพูชามีแก๊งคอลเซนเตอร์เป็นเหมือนบริษัทแฟรนด์ไชส์ตั้งอยู่ใน 4 เมือง คือ เมืองปอยเปต เมืองพนมเปญ เมืองสีหะนุ และเมือง ทะวายเลียง ซึ่งเมืองสีหะนุกับเมืองทะวายเลี้ยงมีการกักขังสมาชิกอย่างจริงจัง ส่วนเมืองปอยเปตกับเมืองพนมเปญไม่รุนแรงเท่ากับเมืองสีหะนุกับเมืองทะวายเลียง
@ คำเบิกความพยาน: ร้อยตํารวจเอกหญิง อรุณศรี กอบผดุงเกียรติ
และมีร้อยตํารวจเอกหญิง อรุณศรี กอบผดุงเกียรติ พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า เจ้าหน้าที่ตํารวจศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ชุดปฏิบัติการที่ 5 หรือชุด PCT 5 ทํารายงานการสืบสวน รวมทั้งสอบถ้อยคํานางสาววารุณี สุวรรณกิจ กับนางสาว จิรารัตน์ จันแปงเงิน แล้วส่งมอบรายงานการสืบสวนและบันทึกคําให้การให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนยื่นคําร้องขอออกหมายจับ ผู้ต้องหา 58 คน ตามที่นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคํายืนยันและมีหนังสือแจ้งให้อัยการสูงสุดทราบ
อัยการสูงสุดมอบหมายให้พนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการทําการสอบสวนร่วมกับพนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ มีผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธรเมืองสมุทรปราการเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เมื่อสอบสวนเสร็จสิ้นให้สรุปสํานวนส่งไปยังพนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อส่งต่อให้อัยการสูงสุดพิจารณามีคําสั่งต่อไปตามหนังสือมอบหมายหน้าที่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเอกสารหมาย จ.154
เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดสืบสวนทํารายงานการสืบสวนขยายผล ส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนตรวจสอบข้อมูลการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของจําเลยทั้งสิบสามไว้ตามเอกสารหมาย จ.39 เจ้าหน้าที่ตํารวจจับนางสาวรุ่งฤดี อุดมดี ซึ่งเป็นคนขับรถไปรับคนพาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชาได้ และจับจําเลยที่ 1 ถึง 12 ได้
ตรวจสอบข้อมูลรถยนต์คันที่จําเลยที่ 1 ขับไปรับคนพาไปส่งที่จุดข้ามแดนแล้วปรากฏว่ามีชื่อนายอรรถชัย มีโพธิ์ เป็นผู้ครอบครอง เจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุมตัวนายอรรถชัย มีโพธิ์ ได้และถูกดําเนินคดีที่ศาลอื่น เจ้าหน้าที่ตํารวจชุดสืบสวนทํารายงานการสืบสวนขยายผลและส่งมอบให้แก่พนักงานสอบสวนตรวจสอบข้อมูลรถยนต์คันที่นางสาวรุ่งฤดีขับไปรับคนพาไปส่งที่จุดข้ามแดนแล้ว ปรากฏว่ามีชื่อนายณัฐพล พะวงษ์ เป็นผู้ครอบครอง กองพิสูจน์หลักฐานส่งผลการตรวจข้อมูลการใช้โทรศัพท์ของจําเลยที่ 1 ที่ 2 และนางสาวรุ่งฤดีมาให้แก่พนักงานสอบสวน นายจักรี องอาจ ผู้เสียหายในคดีอื่นมอบข้อมูลบทสนทนาผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ หลักฐานการ โอนเงิน รายละเอียดหมายเลขโทรศัพท์ เอกสารรับแจ้งความออนไลน์ให้แก่พนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนสอบคําให้การนายบุญธรรม แสงแก้ว เจ้าหน้าที่สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติเกี่ยวกับหมายเลขโทรศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วย +697 ได้ความว่าเป็นหมายเลข โทรศัพท์ที่มีสายเรียกเข้าจากต่างประเทศตามบันทึกคําให้การว่าที่ร้อยตรี ประมัย โสดากุล ว่าที่ร้อยตํารวจเอก ณรงค์ฤกษ์ คําแสนราช นายณัฐพล พะวงษ์ ร้อยตํารวจเอก ไทยสถิต โทและ นายจักรี องอาจ ดาบตํารวจ คมสัน ทิศทิพย์ ร้อยตํารวจเอก พิชชากร กองสวัสดิ์
เจ้าหน้าที่ตํารวจจับจําเลยที่ 13 ได้ ตรวจสอบประวัติการกระทําความผิดของจําเลยที่ 13 ไว้ตามผลการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่จําเลยทั้งสิบสามว่า ร่วมกันมีส่วน ร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันเป็นอั้งยี่ ร่วมกันเป็นซ่องโจร ร่วมกันฉ้อโกง ประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ร่วมกันโดยทุจริตหรือหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็น เท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน
จําเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ
จําเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 3 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การรับสารภาพ
จําเลยที่ 4 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 5 จําเลยที่ 6 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
จ่าเลยที่ 7 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 8 ให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 9 ให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 10 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 11 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 12 ให้การปฏิเสธ
จําเลยที่ 13 ให้การในฐานะพยานและในฐานะผู้ต้องหาโดยให้การปฏิเสธ
สอบคําให้การพันตํารวจตรี มาโนชย์ ทองแก้ว นางสาววารุณี สุวรรณกิจ นางสาวจิรารัตน์ จันแปงเงิน นายนัฐวุฒิ เนตรจันทร์ จากนั้นสรุปสํานวนส่งมอบให้แก่พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการ
พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการส่งสํานวนไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาต่อ
@ อัยการสูงสุดสั่งฟ้องผู้ต้องหา 58 ราย ยกเว้น 'วารุณี-จิรารัตน์'
อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 58 คน ตามข้อกล่าวหา แต่ไม่ได้มีคําสั่งให้ดําเนินคดีแก่ นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์
เห็นว่า สําหรับจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 นั้น นางสาววารุณีพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายถูกคนร้าย หลอกลวง นางสาววารุณีทํางานและพักอาศัยอยู่ที่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา หลังเลิกงานทุกวัน นางสาววารุณีกับพวกได้เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําจดจําได้ว่า จําเลยที่ 2 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําทีมหลังบ้านทําหน้าที่ปลอมหมายเรียก ผู้ต้องหา หน้าสมุดบัญชี และภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ตํารวจแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหา จําเลยที่ 2 เป็นคนรักเก่าของนางสาวพรรณพรหรือยีนส์ สิทธินวล ซึ่งทําหน้าที่จัดหาคนไปทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
ส่วนจําเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสาย 1 ทําหน้าที่อ้างตนเองเป็นพนักงานบริษัทเฟดเอกซ์ (FedEx) สาขาเชียงราย หลอกลวงว่ามีพัสดุตกค้าง ภายในพัสดุมีสิ่งของผิดกฎหมาย และสอบถาม ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกหลอกลวง รวมทั้งข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารและบัตรเครดิตของผู้ถูกหลอกลวง เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวและโอนสายต่อไปให้สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตู สายที่ 2 ทําหน้าที่หลอกลวงผู้นั้นต่อ และมีนางสาวจิรารัตน์พยานโจทก์อีกคนเบิกความยืนยัน ทํานองเดียวกันว่าในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายถูกคนร้ายหลอกลวง นางสาวจิรารัตน์ฝึกงานและพักอาศัยอยู่ที่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา หลังเลิกงานทุกวันนางสาวจิรารัตน์กับพวกได้เข้าร่วมประชุมในที่ประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตู จดจําได้ว่าจําเลยที่ 2 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําทีมหลังบ้าน ทําหน้าที่ปลอมหมายเรียกผู้ต้องหา หน้าสมุดบัญชี และภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ตํารวจแถลงข่าวจับกุมผู้ต้องหา
ส่วนจําเลยที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 11 และที่ 13 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดําสาย 1 ทําหน้าที่อ้างตนเองเป็นพนักงานบริษัทเฟดเอกซ์ (FedEx) สาขาเชียงราย หลอกลวงว่ามีพัสดุตกค้าง ภายในพัสดุมีสิ่งของผิดกฎหมาย และสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ถูกหลอกลวง รวมทั้งข้อมูลบัญชีเงินฝากธนาคารและบัตรเครดิตของผู้ถูกหลอกลวง เพื่อส่งข้อมูลดังกล่าวและโอนสายต่อไปให้สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำสายที่ 2 ทําหน้าที่หลอกลวงผู้นั้นต่อ
โดยมีพันตํารวจตรี วุฒินันท์พยานโจทก์เบิกความสนับสนุนคําเบิกความของนางสาววารุณีว่าพันตํารวจตรี วุฒินันท์ สอบถามนางสาววารุณีว่ารู้จัก บุคคลที่อยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําหรือไม่ นางสาวว่ารุณีเปิดแอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กของตนเองแล้วดูบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของบุคคลที่ทำงานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำเท่าที่จำได้ จากนั้นนําภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวมาให้พันตํารวจตรี วุฒินันท์ตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎร จากนั้นนําข้อมูลทะเบียนราษฎรไปให้นางสาววารุณี นางสาววารุณี ดูแล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 เป็นบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา โดยนางสาววารุณีเขียนข้อความยืนยันตําแหน่งหน้าที่ในการทํางาน ของจําเลยแต่ละคนไว้ สอดรับกับคําเบิกความของนางสาววารุณีและเอกสารหมาย จ.30
ร้อยตํารวจเอก วรภัทรพยานโจทก์เบิกความสนับสนุนคําเบิกความของนางสาวจิรารัตน์ว่า นางสาวจิรารัตน์เปิดแอปพลิเคชันเฟซบุ๊กบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําเท่าที่จําได้ จากนั้นนํามาภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวมาให้ ร้อยตํารวจเอก วรภัทรตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎร จากนั้นนําข้อมูลทะเบียนราษฎรมาให้นางสาวจิรารัตน์ดู นางสาวจิรารัตน์ดูแล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 11 และที่ 13 เป็นบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําโดยนางสาวจิรารัตน์เขียนข้อความยืนยันตําแหน่งหน้าที่ในการทํางานของจําเลยแต่ละคนไว้ สอดรับกับคําเบิกความของนางสาวจิรารัตน์และเอกสารหมาย จ.34
นอกจากนี้ยังมีพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์เบิกความยืนยันสนับสนุนคําเบิกความของนางสาววารุณีและเอกสารหมาย จ.34 นางสาวจิรารัตน์เช่นเดียวกันกับพันตํารวจตรี วุฒินันท์และร้อยตํารวจเอก วรภัทร รวมทั้งมีพันตํารวจตรี กิตติศักดิ์พยานโจทก์อีกคน เบิกความว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจจับจําเลยที่ 2 ได้พร้อมกับยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 2 ส่งไปตรวจพิสูจน์ที่กองพิสูจน์หลักฐาน พนักงานสอบสวนขอให้พันตํารวจตรี กิตติศักดิ์ช่วยตรวจสอบผลการตรวจพิสูจน์โทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 2 ตรวจสอบแล้วพบภาพถ่ายเครื่องคอมพิวเตอร์โน้จบุ๊กที่เปิดหน้าจอแสดงโปรแกรมที่ใช้สำหรับการตัดต่อชื่อผู้เสียหายเพื่อปลอมลงในสมุดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) มีข้อความขีดเส้นด้วยน้ําหมึกสีแดงว่า ใช้สําหรับเป็นหลักฐานในการดําเนินคดีและมีภาพถ่ายตึกประตูดํารวมอยู่ด้วย
@ จำเลย (ผู้ต้องหา) ให้การยืนยันสมาชิกแก๊งงคอลเซ็นเตอร์เป็นทอด ๆ
สอดรับกับพันตํารวจโท มาโนชย์ พยานโจทก์เบิกความว่าพันตํารวจโท มาโนชย์ กับพวกจับจําเลยที่ 2 ได้ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองคลองลึกขณะที่กําลังจะเดินทางออกไป ยังประเทศกัมพูชา จําเลยที่ 2 ให้การรับว่าทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและมีความสนิทสนมกับนางสาวพรรณพร สุทธินวล จับกุมจําเลยที่ 3 ได้พร้อมกับยึด โทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแอปเปิล รุ่นไอโฟน 11 สีขาว พร้อมซิมการ์ดหมายเลข 09 0218 0559 จํานวน 1 เครื่อง เป็นของกลาง จับจําเลยที่ 4 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 4 เขียนข้อความยืนยันภาพถ่ายจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 6 เป็นบุคคลที่ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดําและลงลายมือชื่อกํากับไว้ จับกุมจําเลยที่ 6 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 6 เขียนข้อความยืนยันว่าเคยเห็นนางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์อยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและเขียนข้อความยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 11 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตรงกับที่นางสาววารุณี และนางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคํายืนยัน
และร้อยตํารวจเอกหญิง อรุณศรี พนักงานสอบสวนเบิกความว่าเจ้าหน้าที่ตํารวจจับจําเลยที่ 7 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 7 เขียนข้อความยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 11 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตรงกับที่นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ให้ถ้อยคํายืนยัน จับจําเลยที่ 10 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 10 เขียนข้อความยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 และที่ 11 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตรงกับที่นางสาววารุณีให้ถ้อยคํายืนยันไว้ จับจําเลยที่ 11 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 11 เขียนข้อความยืนยันว่าจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตรงกับที่นางสาววารุณีให้ถ้อยคํายืนยันไว้ และจับจําเลยที่ 13 ได้ ต่อมาจําเลยที่ 13 เขียนข้อความ ยืนยันว่าจําเลยที่ 2 และที่ 3 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําตรงกับที่นางสาววารุณี ให้ถ้อยคํายืนยันไว้ โดยพยานโจทก์ดังกล่าวทุกปากไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 มาก่อน
อีกทั้งเบิกความถึงเหตุการณ์และบุคคลที่ เกี่ยวข้องสอดรับกับพยานเอกสารมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเหตุให้ต้องระแวงสงสัยว่าจะปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อปรักปรําให้ร้ายจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 ให้ได้รับโทษทางอาญา จึงเชื่อว่าพยานโจทก์ดังกล่าวทุกปากเบิกความไปตามความจริง ประกอบจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 เบิกความยอมรับว่าในช่วงเวลาเกิดเหตุตนเองพักอาศัยและทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
@ จำเลยที่ 2,3,4,6,7,10,11,13 เป็นสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
จึงฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุ จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 พักอาศัยและทํางานอยู่ที่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา โดยจําเลยดังกล่าวมีตําแหน่งหน้าที่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําด้วย ถือได้ว่าจําเลยดังกล่าวเป็นสมาชิกและเป็นส่วนหนึ่งของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา เมื่อแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นอั้งยี่ และเป็นซ่องโจรที่มีความมุ่งหมายเพื่อกระทําความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ฐานโดยทุจริตหรือหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายของประชาชนและร่วมกันฟอกเงิน
@ จำเลยที่ 2,3,4,6,7,10,11,13 ต้องรับผิดทุกคน
แม้ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันได้ว่าจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 เป็นผู้ลงมือหลอกลวงผู้เสียหายและเป็นผู้โอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุช ใคร่ครวญ แต่จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 อยู่ด้วยในที่ประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำ และรู้เห็นถึงความมุ่งหมายและเจตนาของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำ แต่ไม่คัดค้านในการตกลงให้กระทำความผิดดังกล่าว
เมื่อมีสมาชิกของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำคนหนึ่งคนใดได้หลอกลวงประชาชน รวมทั้งผู้เสียหายโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายเรียกผู้ต้องหาครั้งที่ 1 ปลอม หน้าสมุดธนาคารปลอม และภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ตํารวจแถลงข่าวปลอม อันเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน หลอกลวงประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้เสียหายโดยแสดงตนเป็นคนอื่นด้วยข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชนรวมทั้งผู้เสียหาย
และโดยการหลอกดังกล่าวได้ไปซึ่งเงินอันเป็นทรัพย์สินจาก ผู้เสียหายและโอนเงินดังกล่าวต่อไปเพื่อซุกซ่อนปิดบังอําพรางการได้มาและแหล่งที่ตั้งของ ทรัพย์สินนั้น ซึ่งเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ฐานร่วมกันโดยทุจริตหรือหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและฐานร่วมกันฟอกเงิน ตามความมุ่งหมายและเจตนาของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำแล้ว อันเป็นความผิดฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ร่วมกันเป็นอั้งยี่ ร่วมกันเป็นซ่องโจร ร่วมกันฉ้อโกงประชน โดยแสดงตนเป็นคนอื่น ร่วมกันโดยทุจริตหรือหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชนชนและร่วมกันฟอกเงิน จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 จึงต้องรับผิดสําหรับความผิดนั้นทุกคน
@ จำเลยที่ 2,3,4,6,7,10,11,13 ไม่มีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน
สําหรับความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินนั้น ได้ความจากรายการเดินบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ว่าก่อนผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 มียอดเงินในบัญชีคงเหลือ 98.20 ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ครั้งที่ 1 ถึง 6 รวมเป็นเงิน 119,160 บาท จากนั้นคนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุช ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 6 รวมเป็นเงิน 119,091 บาท คงเหลือยอดเงินของผู้เสียหายในบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 เป็นเงิน 69 บาท
ก่อนคนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 7 มีเงินโอนเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 จํานวน 4,532.69 บาท ซึ่งไม่ใช่เงินของผู้เสียหาย คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 7 จํานวน 4,555 บาท แสดงว่ายอดเงินที่คนร้ายโอนออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุช ครั้งที่ 7 มีเงินของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย 69 บาท
ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ครั้งที่ 7 จํานวน 68,000 บาท คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของ นางสาวชัญญานุชครั้งที่ 8 จํานวน 68,111 บาท มีเงินของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย 68,000 บาท
ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ครั้งที่ 8 จํานวน 47,000 บาท คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 9 จํานวน 47,000 บาท ซึ่งเป็นเงินของผู้เสียหายทั้งจํานวนและไม่มีเงินของผู้เสียหายเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 อีก คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 10 จํานวน 1 บาท ไม่ใช่เงินของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ครั้งที่ 9 จํานวน 75,000 บาท คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 11 จำนวน 79,888 บาท มีเงินของผู้เสียหายรวมอยู่ด้วย 75,000 บาท และไม่มีเงินของผู้เสียหายเหลืออยู่ในบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 อีก คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 12 จํานวน 200 บาท และครั้งที่ 13 จํานวน 1 บาท ไม่ใช่เงินของผู้เสียหาย
ผู้เสียหายโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ครั้งที่ 10 จํานวน 57,000 บาท คนร้ายโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้า บัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุชครั้งที่ 14 จํานวน 56,999 บาท และครั้งที่ 15 จํานวน 1 บาท รวมเป็นเงิน 56,999 บาท เงินดังกล่าวเป็นของผู้เสียหายทั้งจํานวน ดังนั้นการโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาชัญญานุชจึงมีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินตามฟ้องรวม 12 กระทง
แต่การโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาชัญญานุช 0eo;o 3 ครั้ง ครั้งที่ 1 โอนเงิน 1 บาท ครั้งที่ 2 โอนเงิน 700 บาท ครั้งที่ 3 โอนเงิน 1 บาท ไม่ใช่เงินของผู้เสียหาย จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินตามฟ้อง
@ จำเลยที่ 2,3,4,6,7,10,11,13 อ้างหลอกประชาชนเพราะจำเป็น
ส่วนที่จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 นําสืบว่าถูกหลอกไปทํางานแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา โดยจําเลยดังกล่าวสมัครไปทํางานตําแหน่งแอดมินเกี่ยวกับเว็บไซต์การพนันและบ่อนการพนัน แต่เมื่อไปถึงตึกประตูดําต้องทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําแทน หากไม่มีเงินและไม่ทํางานหรือทํางานไม่ได้จะถูกกักขัง ถูกทําร้าย และถูกขายไปที่อื่น จําเลย 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 ไม่มีเงินค่าไถ่ จึงจําเป็นต้องทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา นั้น
เห็นว่า แม้นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์พยานโจทก์จะเบิกความสอดรับกับทางนําสืบของจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 ว่าสมัครไปทํางานตําแหน่งแอดมินเว็บไซต์การพนัน แต่เมื่อไปถึงตึกประตูดําได้ทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา หากไม่ทํางานจะต้องหาเงินมาชําระค่าไถ่คนละประมาณ 30,000 บาท ถึง 35,000 บาท และถูกข่มขู่ หากไม่มีเงินและไม่ทํางานหรือทํางานไม่ได้จะถูกกักขัง ถูกทําร้าย และถูกขายไปที่อื่น
แต่นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์ก็เบิกความว่าขณะที่พักอาศัยอยู่ที่ตึกประตูหลังเลิกงาน ทุกคนสามารถใช้โทรศัพท์เครื่องที่ของตนเองเพื่อติดต่อบุคคลอื่นได้ แสดงว่าภายในตึกประตูดําไม่ได้มีมาตรการเข้มงวดเพื่อป้องการการหลบหนีหรือขอความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกอย่างจริงจัง ดังจะเห็นได้จากนางสาววารุณีสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นได้ และเมื่อสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำระดับหัวหน้างานรู้เรื่องดังกล่าวก็ให้นางสาววารุณีและนางสาวจิรารัตน์เก็บสัมภาระและปล่อยตัวออกจากตึกประตูดําในทันที โดยไม่ปรากฏว่าบุคคลทั้งสองถูกทําร้ายร่างกาย ถูกกักขัง หรือถูกส่งไปขายที่อื่นดังที่เบิกความไว้ในตอนต้น
นอกจากนี้จําเลยที่ 4 ที่ 6 ที่ 10 และที่ 13 เบิกความว่าหลังเกิดเหตุประมาณเดือนกันยายน 2565 จําเลยดังกล่าวร่วมกับพวกรวมกันประมาณ 40 คน ใช้ค้อนทุบกุญแจประตูหลบหนีออกมาได้ โดยจําเลยที่ 10 เบิกความเพิ่มเติมว่าขณะร่วมกันหลบหนีมีพนักงานรักษาความปลอดภัยอยู่เพียง 2 คน ทําให้หลบหนีออกมาได้และประมาณเดือนมิถุนายน 2565 เคยมีเพื่อนของจําเลยที่ 10 หลบหนีออกมาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดำได้สำเร็จ ยิ่งเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นว่าแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําไม่ได้มีมาตรการกักขังหรือทําร้ายร่างกายสมาชิกอย่างที่จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 กล่าวอ้าง มิฉะนั้น นางสาววารุณี นางสาวจิรารัตน์ และกลุ่มจําเลยกับพวกดังกล่าวคงจะไม่สามารถหลบหนีออกมาจากตึกประตูดําได้อย่างปลอดภัยและโดยง่ายเช่นนี้
@ อ้างว่ากระทําความผิดด้วยความจําเป็นไม่ได้
อีกทั้งจําเลยที่ 3 ที่ 7 และที่ 11 เบิกความว่ายินยอมทํางานเพื่อนําเงินค่าจ้างมาชําระค่าไถ่และทํางานจนกระทั่งครบกําหนดเวลาตามสัญญาและถูกปล่อยออกมา ยิ่งไปกว่านั้น หลังจากที่จําเลยดังกล่าวเดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีจําเลยคนใดแจ้งความร้องทุกข์ให้ดําเนินคดีแก่บุคคลที่ร่วมกระทําความผิด จึงเชื่อว่าจําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 สมัครใจทํางานโดยรู้ถึงความมุ่งหมายและเจตนาของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําอยู่แล้ว มิใช่กรณีอยู่ในที่บังคับหรือภายใต้อํานาจซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้หรือมีภอันตรายที่ใกล้จะถึงและไม่สามารถหลีกเลี่ยงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ จําเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 จึงอ้างว่ากระทําความผิดด้วยความจําเป็นไม่ได้
ส่วนที่จําเลยที่ 4 และที่ 7 นําสืบว่าเคยขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นโดยมีภาพถ่ายบทสนทนามาเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนนั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณาภาพถ่ายบนทสนาโดยละเอียดแล้วจะเห็นได้ว่า จําเลยที่ 4 และที่ 7 เพียงแต่ปรับทุกข์เกี่ยวกับการทํางานของตนเองและยังประสงค์จะทํางานในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําต่อไป มิได้มีเจตนาที่จะขอความช่วยเหลือเพื่อเดินทางกลับประเทศไทยอย่างจริงจัง พยานหลักฐานจําเลยดังกล่าวที่นําสืบมาไม่มีน้ำหนักให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักมั่นคงให้รับฟังได้ว่า จําเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ที่ 6 ที่ 2 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 ร่วมกันกระทําความผิดตามฟ้อง
สําหรับจ๋าเลยที่ 5 นั้น เห็นว่า การกระทําความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นอั้งยี่ เป็นซ่องโจรตามคําฟ้องของโจทก์ มีองค์ประกอบของความผิด คือ เป็นสมาชิกหรือเป็นเครือข่ายดําเนินงานขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติหรือร่วมกันสมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทําความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 มาตรา 5(1)และ(2) เป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 สมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป เพื่อกระทําความผิดอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาและความผิดนั้นมีกําหนดโทษจําคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้นิยามความหมายของคําว่า สมาชิก หมายถึง ผู้มีสิทธิและมีส่วนร่วมในสมาคม องค์การ หรือกิจกรรมใด ๆ คําว่า เครือข่าย หมายถึง ระบบ เส้นทาง หรือการปฏิบัติงานที่ติดต่อประสานกันเป็นโยงใย กลุ่ม บุคคลหรือองค์กรที่มีความเห็นใกล้เคียงกัน มีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน และคําว่า สมคบ หมายถึง ร่วมคบคิดกัน
ดังนี้ การเป็นสมาชิกในองค์กรใด ผู้นั้นต้องมีสิทธิและมีส่วนร่วมเป็นผู้หนึ่งในองค์กรนั้น ส่วนการเป็นเครือข่ายในองค์กรใด ผู้นั้นต้องมีความสัมพันธ์กับองค์กรนั้นในลักษณะประสานกันเป็นโยงใย มีความเห็นใกล้เคียงกัน และมีการติดต่อสนับสนุนซึ่งกันและกัน ส่วนการสมคบกันผู้นั้นต้องร่วมกันคบคิดตระเตรียมการประชุมหารือและวางแผนกัน เพื่อกระทําความผิดซึ่งมีสภาพเป็นการกระทําระหว่างผู้ร่วมกระทําความผิดด้วยกัน
เมื่อไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันว่าจําเลยที่ 5 เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือหรือร่วมวางแผน กับแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ลําพังเพียงมีคนร้ายเป็นสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา หลอกลวงผู้เสียหายและใช้เข้าบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 รับโอนเงินจากผู้เสียหายและโอนเงินออกจากบัญชีเงินฝากของจําเลยที่ 5 ไปเข้าบัญชีเงินฝากของนางสาวชัญญานุช ใคร่ครวญ ยังไม่อยู่ในความหมายของคําว่าสมาชิกหรือเครือข่ายหรือสมคบกัน การกระทําของจําเลยที่ 5 จึงไม่เป็นความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นอั้งยี่ และเป็นซ่องโจร ตามฟ้อง
@ ขายบัญชีม้า บัญชีละ 900 บาท
อย่างไรก็ดี จําเลยที่ 5 เบิกความรับว่าจําเลยที่ 5 เปิดบัญชีเงินฝากดังกล่าว พร้อมกับใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดของนางสาวอารดา เนตรตุ้ม รุ่นน้องของจําเลยที่ 5 สมัครใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แอปลิเคชันเคพลัสรวม 3 บัญชี จากนั้นขายบัญชีเงินฝากดังกล่าวทั้งหมดพร้อมกับส่งมอบโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดดังกล่าวให้แก่นางสาวอารดาไปในราคาบัญชีละ 900 บาท ซึ่งจากพฤติการณ์ดังกล่าววิญญูชนทั่วไปย่อมคาดหมายหรือเล็งเห็นได้ว่า นางสาวอารดาจะต้องนําบัญชีเงินฝากไปใช้ในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อบัญชีเงินฝากดังกล่าวตกไปอยู่ในความครอบครองของสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําและนำบัญชีเงินฝากดังกล่าวไปใช้รับโอนเงินที่ได้รับจากการหลอกลวงผู้เสียหายอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น แล้วโอนเงินที่ได้จากการกระทําความผิดดังกล่าวไปเพื่อ ซุกซ่อนปิดบังอําพรางการได้มาและแหล่งที่ตั้งของเงินนั้นอันเป็นความผิดฐานฟอกเงิน ถือได้ว่าจําเลยที่ 5 มีส่วนช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่การกระทําความผิดดังกล่าวของสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดำ ไม่ว่าสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูจะรู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความ สะดวกของจําเลยที่ 5 หรือไม่
การกระทําของจําเลยที่ 5 ก็เป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน ฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่นและร่วมกันฟ้องเงินตามฟ้องข้อ แม้โจทก์ฟ้องและมีคําขอท้ายฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ 5 ฐานตัวการกระทําความผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่าจําเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนการกระทําความผิด ซึ่งแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง แต่ข้อแตกต่างนั้นมิใช่สาระสําคัญและจําเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจําเลยที่ 5 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง
ส่วนความผิดฐานโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนนั้น เมื่อไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันว่า จําเลยที่ 5 ร่วมรู้เห็นหรือร่วมตกลงหรือช่วยเหลือการนําหมายเรียกผู้ต้องหา ปลอม หน้าสมุดบัญชีธนาคารปลอม และภาพถ่ายเจ้าหน้าที่ตํารวจแถลงข่าวจับผู้ต้องหาปลอม เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จึงฟังไม่ได้ว่า จําเลยที่ 5 ร่วมกระทําความผิดฐานนี้
@ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำผิด
สําหรับจําเลยที่ 1 นั้น เห็นว่า นางสาวจิรารัตน์พยานโจทก์เบิกความว่า จําเลยที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์ไปรับนางสาวจิรารัตน์ที่บริเวณสถานีขนส่งอําเภออรัญประเทศ จังหวัด สระแก้ว ไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชา สอดรับที่พันตํารวจตรี ภัสส์กร พยานโจทก์เบิกความว่า นายอรรถชัย มีโพธิ์ ให้ถ้อยคําว่านายอรรถชัยรับจ้างจากนางสาวณัชชา หรือนานา สุพัชญาภาณิศ ซึ่งทํางานอยู่ที่ประเทศกัมพูชาให้รับส่งคนไทยจากสถานที่ต่าง ๆ ในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชา และให้คนสัญชาติกัมพูชามารับบุคคลดังกล่าวเดินทางต่อไปยังประเทศกัมพูชาเพื่อไปทํางานแก๊งคอลเซนเตอร์และเว็บไซต์การพนัน โดยรับงานและติดต่อกันผ่านแอปพลิเคชันกลุ่มไลน์มี สมาชิก 4 คน คือ 1.นายอรรถชัย 2.จําเลยที่ 1 3.นายอํานาจ โพธิ์สา ทําหน้าที่รับส่งคนฝั่งประเทศไทย 4.นายวิน ไม่ทราบชื่อและชื่อสกุลจริง สัญชาติกัมพูชา ทําหน้าที่รับส่งคนฝั่งประเทศกัมพูชา
จําเลยที่ 1 มีบัญชีผู้ใช้แอปพลิเคชันไลน์ชื่อว่า “พี่ตั้ว” หมายเลขโทรศัพท์ 08 6827 2954 และพันตํารวจตรี ทินกรพยานโจทก์ เบิกความว่า ตรวจสอบรถยนต์คันที่จําเลยที่ 1 ขับไปรับนางสาวจิรารัตน์พาไปส่งที่จุดข้ามแดน ทางธรรมชาติแล้วปรากฏว่ามีชื่อ นายอรรถชัย มีโพธิ์ เป็นผู้ครอบครอง นอกจากนี้พันตํารวจตรี ชัยวัฒน์ เสวกทั้ง พยานโจทก์เบิกความว่า หลังจากจับกุมจําเลยที่ 1 ได้ จําเลยที่ 1 รับว่าเป็นคนขับรถยนต์ของนายอรรถชัยไปรับและส่ง นางสาวจิรารัตน์ที่จุดข้ามแดนทางช่องทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชา โดยนายอรรถชัยเป็นผู้ว่าจ้างให้ไปรับส่ง และมีร้อยตํารวจเอกหญิง อรุณศรี กอบผดุงเกียรติ พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความว่า จําเลยที่ 1 ให้การรับว่าเคยรับจ้างจากนายอรรถชัย ให้รับส่งคนข้ามแดนไปทํางานที่ประเทศกัมพูชาผ่านจุดข้ามแดนทางธรรมชาติแถวหนองเอี่ยม โดยพยานโจทก์ดังกล่าวทุกปากไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองจําเลยที่ 1 มาก่อน
อีกทั้งเบิกความถึงเหตุการณ์และบุคคลที่เกี่ยวข้องสอดรับกันกับพยานเอกสารมีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกันอย่างสมเหตุสมผล โดยไม่มีเหตุให้ต้องระแวงสงสัยว่าจะปั้นแต่งเรื่องขึ้นเพื่อปรักปรําให้ร้ายจําเลยที่ 1 เพื่อให้ได้รับโทษทางอาญา จึงเชื่อว่าพยานโจทก์ดังกล่าวทุกปากเบิกความไปตามความจริง
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจําเลยที่ 1 รับจ้างจากนายอรรถชัยให้ขับรถยนต์ของนายอรรถชัยไปรับนางสาวจิรารัตน์พาไปส่งที่จุดข้ามแดนทางธรรมชาติไปยังประเทศกัมพูชาจริง แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันว่าจําเลยที่ 1 รู้ถึงความมุ่งหมายหรือเจตนาในการกระทําความผิดของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูและจําเลยที่ 1 ได้สมคบตกลงวางแผนหรือเข้าร่วมประชุมในที่ประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา อีกทั้งนางสาวจิรารัตน์พยาน โจทก์เบิกความว่าระหว่างเดินทางจําเลยที่ 1 ถามนางจิรารัตน์ว่าเดินทางไปอะไร นางสาวจิรารัตน์ ตอบว่า ไปทํางานแอดมินเว็บการพนันแล้วก็หลับไป แม้โจทก์จะมีบันทึกถ้อยคําของนายอรรถชัยมาเป็นพยานยืนยันว่านายอรรถชัยรับจ้างรับพาตนไปส่งข้ามแดนทางธรรมชาติเพื่อไปทํางาน
เว็บไซต์การพนันและแก๊งคอลเซนเตอร์ แต่ไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันว่าจําเลยที่ 1 จะรู้ถึงข้อตกลงดังกล่าวระหว่างนายอรรถชัยกับผู้ว่าจ้างหรือมีส่วนรู้เห็นหรือร่วมประชุมวางแผนและตกลงร่วมกระทําความผิดกับแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา คงฟังได้แต่เพียงว่าจําเลยที่ 1 ไปรับนางสาววารุณีพาไปส่งเพื่อมุ่งหวังได้รับค่าจ้างเท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบมา จึงยังฟังไม่ได้ว่า จําเลยที่ 1 ร่วมกระทําความผิดกับกลุ่มคนร้ายตามฟ้อง
@ จำเลยที่ 8 ไม่ได้ทำผิด
สําหรับจําเลยที่ 8 นั้น เห็นว่า โจทก์มีเพียงนางสาววารุณีพยานโจทก์เบิกความ ยืนยันว่าเคยเห็นจําเลยที่ 8 เข้าร่วมประชุมในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดํา โดยมีพันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์เบิกความสนับสนุนว่านางสาววารุณีเปิดแอปลิเคชั่นเฟซบุ๊ก ดูบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 8 แล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 8 เคยเข้าร่วมประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา จากนั้นพันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์นําภาพถ่ายและบัญชีเฟซบุ๊ก ของจําเลยที่ 8 ไปตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎรของจําเลยที่ 8 แล้วนํามาให้ นางสาววารุณี นางสาววารุณีดูแล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 8 เคยเข้าร่วมประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา โดยพยานโจทก์ปากอื่นรวมทั้งจําเลยอื่นไม่มีใครรู้จักหรือเคยเห็นจําเลยที่ 8 ทํางานหรืออยู่ร่วมประชุมในที่ประชุมแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
อีกทั้งนางสาววารุณีทางงานและพักอาศัยอยู่ที่ตึกประตูดําไม่ถึง 1 เดือน และไม่เคยรู้จักจําเลยที่ 8 มาก่อน อาจจดจําบุคคลคลาดเคลื่อนได้
เมื่อจําเลยที่ 8 นําสืบว่าจําเลยที่ 8 เดินทางไปถึงตึกประตูดําในวันที่ 8 มีนาคม 2565 หลังจากกักตัวครบ 2 วัน ล่ามพาจําเลยที่ 8 ไปดูงานที่ ชั้น 4 จําเลยที่ 8 สอบถามล่ามจึงทราบว่าเป็นงานคอลเซนเตอร์ จําเลยที่ 8 ไม่อยากทําและขอกลับบ้าน ล่ามบอกให้หาเงินมาชําระค่าไถ่ 30,000 บาท จําเลยที่ 8 ส่งข้อความทาง แอปพลิเคชั่นเฟซบุ๊กไปหานายกรกฎา พะลัง เพื่อขอความช่วยเหลือและส่งตําแหน่งที่ตั้งตึกประตูดําไปให้ด้วย ผ่านไปประมาณ 5 นาที ล่ามมาตรวจยึดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของจําเลยที่ 8 และรุมทําร้าย จากนั้นกักขังไว้ในห้องพักโดยใส่กุญแจข้อมือยึดไว้กับขาเตียง ให้รับประทาน อาหารวันละ 2 มื้อ น้ําวันละ 1 ขวด
หลังจากถูกกักขัง 4 วัน มีคนสัญชาติจีนมารับจําเลยที่ 8 พาไปทํางานเว็บไซต์เทรดหุ้นที่เมืองซานโฮ ทํางานที่ดังกล่าวได้ประมาณ 6 เดือนก็ถูกปล่อยตัวกลับบ้าน สอดรับกับภาพถ่ายบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 8 และภาพถ่ายบทสนทนาและภาพถ่ายบาดแผล ยิ่งไปกว่านั้น จําเลยที่ 8 ให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงเชื่อว่าคําเบิกความของจําเลยที่ 8 เป็นความจริง พยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบมายังฟังไม่ได้ว่า จําเลยที่ 8 ร่วมกระทําความผิดกับกลุ่มคนร้ายตามฟ้อง
@ จำเลยที่ 9 ไม่ได้ทำผิด
สําหรับจําเลยที่ 9 นั้น เห็นว่า โจทก์มีพันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์เบิกความยืนยันว่านางสาววารุณีเปิดแอปลิเคชั่นเฟซบุ๊กบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของ จําเลยที่ 9 แล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 9 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา จากนั้นพันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์นําภาพถ่ายและบัญชีเฟซบุ๊กของจําเลยที่ 9 ไปตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎรของจําเลยที่ 9 แล้วนํามาให้นางสาววารุณีดู นางสาววารุณีดูแล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 9 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา โดยพยานโจทก์ปากอื่นรวมทั้งจําเลยอื่นไม่มีใครรู้จักหรือเคยเห็นจําเลยที่ 9 ทํางานหรืออยู่ร่วม ประชุมในที่ประชุมของแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ประกอบนางสาววารุณีเบิกความว่าไม่รู้จัก จําเลยที่ 9 เหตุที่เคยชี้ยืนยันภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 9 เนื่องจากจําคนผิด
จําเลยที่ 9 มีรูปร่างหน้าตาคล้ายนายธนทัตหรือโก้ มูลประโคน สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสายที่ 1 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบภาพถ่ายของจําเลยที่ 9 กับนายธนทัตจะเห็นได้ว่ามีรูปใบหน้าคล้ายกันอย่างชัดเจน เมื่อนางสาววารุณีไม่เคยรู้จักหรือมีสาเหตุโกรธเคืองกับจําเลยที่ 9 มาก่อน ประกอบกับนางสาววารุณีทํางานและพักอาศัยอยู่ที่ตึกประตูดําไม่ถึง 1 เดือน อาจจดจําบุคคลผิดได้ จึงเชื่อว่าความจริงเป็นไปตามที่นางสาววารุณีเบิกความในชั้นพิจารณา
ยิ่งไปกว่านั้น จําเลยที่ 9 เบิกความว่าจําเลยที่ 9 ทํางานและพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดลําพูน ต่อมากลับมาพักอาศัยที่จังหวัดแพร่ประกอบอาชีพทําไร่ทํานา สอดรับกับสัญญาจ้างพนักงานฝ่ายผลิตระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 หลักฐานแสดงที่อยู่ในการส่งพัสดุในช่วงระหว่างวันที่ 6 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 28 เมษายน 2565 และภาพถ่ายบทสนทนาและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 9 ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2565 ถึงวันที่ 11 ธันวาคม 2565 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 9 พักอาศัยอยู่ในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมีนายธราเทพ พูนลาภสวัสดิ์ พยานจําเลยเบิกความยืนยันฐานที่อยู่ของจําเลยที่ 9 ในทํานองเดียวกัน จึงเชื่อว่าพยานจําเลยที่ 9 เบิกความไปตามความจริง พยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบมาไม่มีน้ําหนักให้ฟังได้ว่า จําเลยที่ 9 ร่วมกระทําความผิดกับกลลุ่มคนร้ายตามฟ้อง
@ จำเลยที่ 12 ไม่ได้ทำผิด
สําหรับจําเลยที่ 12 นั้น เห็นว่า เมื่อไม่มีพยานโจทก์ปากใดเบิกความยืนยันว่า จําเลยที่ 12 เดินทางไปทํางานที่แก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําเมื่อใด คงมีนางสาววารุณีพยานโจทก์เบิกความยืนยันว่าจําเลยที่ 12 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําสายที่ 1 โดยมีพันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์เบิกความสนับสนุนยืนยันว่านางสาววารุณี เปิดแอปลิเคชันเฟซบุ๊กของตนเองดูบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 12 แล้วยืนยันว่าจําเลยที่ 12 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
จากนั้นนำภาพถ่ายและบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กของจําเลยที่ 9 มาให้พันตํารวจตรี วุฒินันท์และพันตํารวจตรี ธัญพีรสิษฐ์ตรวจเปรียบเทียบกับข้อมูลทะเบียนราษฎร แล้วนํามาให้นางสาววารุณีดู นางสาววารุณียืนยันว่าจําเลยที่ 12 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา ก็ยังไม่เพียงพอที่จะฟังได้ว่าขณะเกิดเหตุ จําเลยที่ 12 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดํา
เมื่อจําเลยที่ 12 เบิกความยืนยันว่า เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 จําเลยที่ 12 เดินทางจากจังหวัดสระแก้วไปที่ตึกประตูดํา จังหวัดปอยเปต ประเทศกัมพูชา เมื่อไปถึงต้องกักตัว 5 วัน ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2565 สมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์ประตูดําพาไปดูงานจึงทราบว่าเป็นงานคอลเซนเตอร์ จําเลยที่ 12 ไม่อยากทําและสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์บอกว่าถ้าไม่อยากทํางานต้องชําระค่าไถ่ 30,000 บาท จําเลยที่ 12 โทรหานางสาวมนิดเล่าเรื่องราวให้ฟัง นางสาวมนิดโอนเงินมาให้จําเลยที่ 12 จํานวน 35,000 บาท จําเลยที่ 12 ติดต่อสมาชิกแก๊งคอลเซนเตอร์และโอนเงินชําระค่าไถ่ จากนั้นได้รับการปล่อยตัวออกจากตึกประตูดําและเดินทางกลับบ้าน สอดรับกับหลักฐานการโอนเงิน จึงเชื่อว่าความจริงเป็นไปตามที่จําเลยที่ 12 เบิกความ
ส่วนที่นางสาววารุณีเบิกความว่าจําได้ว่าจําเลยที่ 12 ทํางานอยู่ในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประตูดํา สายที่ 1 นั้นก็อาจเป็นช่วงเวลาก่อนเกิดเหตุที่จําเลยที่ 12 ลงไปดูงานก็เป็นไปได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นําสืบมายังไม่เพียงพอให้ฟังได้ว่าจําเลยที่ 12 ร่วมกระทําความผิดกับกลุ่มคนร้ายตามฟ้อง
สําหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ยี่ห้อแอปเปิล รุ่นไอโฟน 11 สีขาว พร้อมซิมการ์ด หมายเลข 09 0218 0559 เครือข่ายทรู 1 เครื่อง ของจําเลยที่ 3 เมื่อฟังได้ว่า จําเลยที่ 3 ร่วมกระทําความผิดตามฟ้อง และจําเลยที่ 3 ไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงเชื่อว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยที่ 3 ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทําความผิด จึงให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (1)
@ พิพากษาจำคุก จําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13
พิพากษาว่า จําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 มี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 209 วรรคหนึ่ง, 210 วรรคหนึ่ง, 213, 343 วรรคสอง ประกอบมาตรา 342 (1) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1) วรรคหนึ่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (3), 5 (1), 60 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 25 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
ขณะกระทําความผิดจําเลยที่ 3 อายุ 18 ปีเศษ รู้ผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงเห็นสมควรไม่ลดมาตราส่วนโทษให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76
จําเลยที่ 5 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคสอง ประกอบมาตรา 342 (1) และมาตรา 86 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 (3), 5 (1), 7 (1), 60
การกระทําของจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ฐานร่วมกัน เป็นอั้งยี่ ฐานร่วมกันเป็นช่องโจร ฐานร่วมกันโดยทุจริตหรือหลอกลวงนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายกฎหมายอาญา มาตรา 80 จําคุกคนละ 5 ปี ฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ จําคุกคนละ 4 ปี ฐานร่วมกันฟอกเงิน จําคุกคนละกระทงละ 1 ปี รวม 12 กระทง เป็นจําคุกคนละ 12 ปี
ทางนําสืบของจําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คนละกระทงละหนึ่งในสาม ฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น คงจําคุกคนละ 3 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ คงจําคุกคนละ 2 ปี 8 เดือน ฐานร่วมกันฟอกเงิน คงจําคุกคนละ 96 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว คงจําคุกคนละ 5 ปี 108 เดือน
@ พิพากษาจำคุกจำเลยที่ 5
การกระทําของจําเลยที่ 5 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานเป็นผู้สนับสนุนฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น จําคุก 3 ปี 4 เดือน ฐานร่วมกันฟอกเงิน จําคุกกระทงละ 8 เดือน รวม 12 กระทง เป็นจําคุก 96 เดือน เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วคงจําคุก 3 ปี 100 เดือน
ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษจําคุก จําเลยที่ 13 ต่อจากโทษจําคุกของจําเลยในคดีอาญาหมายเลขดําที่ อ.2436/2566 ของศาลอาญา ทางนําสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าศาลอาญาพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยในคดีดังกล่าวแล้ว ไม่อาจนับโทษจําคุกของจําเลยที่ 13 ในคดีนี้ต่อจากโทษจําคุกของจําเลยในคดี ดังกล่าวได้ จึงให้ยกคําขอในส่วนนี้ของโจทก์
ให้จําเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 2 ที่ 10 ที่ 11 และที่ 13 กับพวก ร่วมกันคืนหรือชดใช้เงิน 366,160 บาท แก่ผู้เสียหาย ริบโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ดของกลาง ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก และยกฟ้องจําเลยที่ 1 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 12