เปิดรายละเอียด 2 คำสั่ง ปปง.อายัดทรัพย์บ.ดิไอคอน กรุ๊ป พวก 12 รายการ 127 ล. จากยอด 4 ครั้ง 320.3 ล. ก้อนใหญ่ บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ บ.บัวหลวง ‘วรัตน์พล วรัทย์วรกุล’105 ล. ขณะที่‘บอสกันต์’ เงินซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล 8.6 ล. พฤติการณ์ เน้นชักชวนลงทุนมากกว่าขายของ ตั้งราคาสูงกว่าคู่แข่ง
สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวกแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง ได้แก่ คำสั่งที่ ย. 214/2567 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2567, คำสั่งที่ ย. 222/2567 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ,คำสั่งที่ ย. 223/2567 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2567 และคำสั่งที่ ย.224/2567 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ( จำนวนวน 89 รายการ มูลค่าประมาณ 144,275,765 บาท) รวม 4 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดเป็นเงินประมาณ 320,320,308 บาท
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า รายละเอียดทรัพย์สินที่ถูกอายัด 2 คำสั่ง ได้แก่ คำสั่งที่ ย. 214/2567 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 และ คำสั่งที่ ย. 222/2567 (เพิ่มเติม) ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2567 มีดังนี้
คำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการ ปปง. ที่ ย. 214/2567 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 อายัดทรัพย์สิน ของบริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล , นายณิชพน ทองมี ,น.ส.จิตตญา หงษ์อุปถุมภ์โชย และ นายกันต์ กันตถาวร ซึ่งเป็นทรัพย์สินประเภทเงินในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ และเงินในบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลและสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 11 รายการ รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 125,548,076.99 บาท มีดังนี้
1.เงินในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ของบริษัทบัวหลวง จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีนายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล จำนวน 105,047,616.75 บาท
2.เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรามอินทรา ชื่อบัญชี บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด มูลค่า 30,000 บาท
3.เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนรามอินทรา ชื่อบัญชี บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด มูลค่า 10,745,690.37 บาท
4.เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันธนาคารกสิกรไทย สาขาคริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ ชื่อบัญชี นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล จำนวน 10,000 บาท
5.เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย สาขาเอสพะนาด รัชดาภิเษก นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล จำนวน 9,425.12 บาท
6.เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารกสิกรไทย สาขาเอ็มควอเทียร์ ชื่อบัญชี นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล จำนวน 335,758.48 บาท
7.เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเดอะมอลล์บางกะปิ ชื่อบัญชีนายณิชพน ทองมี จำนวน 5,628.72 บาท
8.เงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ ชื่อบัญชี นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล จำนวน 674,687.75 บาท
9.เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล หรือนายณิชพน ทองมี และนางสาวฐิตตญา หงษ์อุปถัมภ์ชัย จำนวน 4,912.62 บาท
10.เงินในบัญชีซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคลับ ออนไลน์ จำกัด ชื่อบัญชีนายกันต์ กันตถาวร จำกัด มูลค่า 8,680,545.44 บาท
11.สินทรัพย์ดิจิทัลของบริษัท บิทคลับ ออนไลน์ จำกัด ชื่อบัญชีนายกันต์ กันตถาวร จำกัด ประกอบด้วยเหรียญ LUNA 2 จำนวน 310.14964943 เหรียญ มูลค่า 3,811.74 บาท
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ 222/2567 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2567 ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) ราย บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ได้แก่ เงินในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีนายทรงกลด เศรษฐนันท์ ยอดเงินคงเหลือ 1,538,304.52 บาท
รวมอายัดทรัพย์สิน 2 คำสั่ง จำนวน 12 รายการ 127,086,381.51 บาท
@เปิดพฤติการณ์ บ.ดิไอคอน เน้นชักชวนลงทุนมากกว่าขายของ
รายละเอียดความเป็นมาในการสั่งอายัดทรัพย์สิน ราย บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด ตามคำสั่งเลขาธิการ คณะกรรมการ ปปง. ที่ ย. 214/2567 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 มีรายละเอียดดังนี้
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงาน จากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตามหนังสือที่ ตช 0026.(11)07/4296 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2567 เรื่อง รายงานคดีซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการน้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน รายบริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กล่าวคือ
สืบเนื่องจากประมาณปี พ.ศ. 2564 ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ได้ร่วมกันโฆษณาชวนเชื่อทางสื่อสังคมออนไลน์ สถานีโทรทัศน์ วิทยุ และป้ายโฆษณาตามสถานที่ต่าง ๆ โดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ปิดบังเกี่ยวกับธุรกิจขายตรง โฆษณาชวนเชื่อเพียงว่า สอนขายสินค้าออนไลน์ สอนทำวิธีโอคอนเทนต์ โดยตั้งราคาที่เรียนประมาณ 97 บาท ถึง 299 บาท จากนั้นบริษัทดังกล่าวได้จัดให้มีการเรียนการสอนจริง และจะมีตัวแทนหรือแม่ข่ายชักชวนให้ผู้เสียหายซื้อสินค้ากับทางบริษัทเพื่อเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า และโน้มน้าวให้ผู้เสียหายเพิ่มการลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายมีสิทธิรับตัวแทนจำหน่ายซึ่งจะมาเป็นลูกทีมของตน โดยลูกทีมนั้นจะมาช่วยขายสินค้าและทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หลังจากนั้นผู้เสียหายจึงมาทราบความจริงในภายหลังว่าเป็นการชวนให้ร่วมลงทุน โดยเน้นชักชวนคนมาเป็นเครือข่ายมากกว่าการขายสินค้า
@รู้อยู่แล้วว่าสินค้าขายไม่ได้ ราคาสูงกว่าคู่แข่ง ไม่สอดคล้องกับคุณภาพ
บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ทราบข้อเท็จจริงอยู่แล้วว่าสินค้าของบริษัทไม่สามารถ ขายให้กับบุคคลอื่นได้ เพระเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ มีราคาสูงกว่าคู่แข่ง ราคาไม่สอดคล้องกับคุณภาพสินค้า การกระทำดังกล่าวของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ทำให้ผู้เสียหาย กับพวก รวม 90 ราย ได้รับความเสียหายและสูญเสียเงินเป็นจำนวนประมาณ 35 ล้านบาท จึงมาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ดำเนินคดี กับบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ในควานผิดฐานกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอม ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 12 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) แห่งพระราชบัญญัติญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
@พบเคลื่อนไหวขายหุ้นจากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ 105 ล.
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และเนื่องจากสำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยจากบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ว่า นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล กรรมการบริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เลขที่บัญชี 94736XX และเลขที่บัญชี 3737XX เปิดบัญชีเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2567 นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ได้ขายหุ้นทั้งหมดออกจากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตน โดยจะครบกำหนดในวันที่ 15 ตุลาคม 2567 และจะมีเงินสดในบัญชีที่สามารถโอนออกได้เมื่อครบกำหนด จำนวน 105,047,616.75 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน
จากการรวบรวมพยานหลักฐานพบว่า บริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 11 รายการ และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทเงิน หุ้น และสินทรัพย์ดิจิทัลในบัญชี อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือช่อบเร้นทรัพย์สินดังกล่าว รวมทั้งหากเนิ่นช้ากว่าจะประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณาอาขัตพรัพย์สินในกรณีดังกล่าวทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคนี้อาจมีกจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นเสียได้ อันเป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน
@สั่งอายัดไว้ 90 วันก่อน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48 วรรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่อง การตรวจสอบการพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 38 เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงินจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 11 รายการ พร้อมตอกผลมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่มีที่มีคำสั่ง กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 12 มกราคม 2568 โดยมีรายการพรัพย์สิบที่อายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้
ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวหรือสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์หรือดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวด้วย
ข่าวเกี่ยวข้อง:
- ปปง.สั่งอายัดเพิ่มอีก 1.5 ล้านบาท 'ดิไอคอน' หลังพบโอนยักย้ายหลักทรัพย์
- ปปง.ออกคำสั่ง อายัดทรัพย์ ‘ดิไอคอนฯ’ เพิ่มอีก 89 รายการ มูลค่า 144 ล้านบ.
- DSI แจ้งข้อกล่าวหาบริษัท-18 บอส ดิไอคอนเพิ่มอีก 3 ข้อหา ผิดกฎหมายขายตรง-แชร์ลูกโซ่