ราชกิจจาฯเผยแพร่กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 กำหนดรายละเอียด 9 ข้อ กรณีลูกจ้างเจ็บป่วย บาดเจ็บ
สำนักขาวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา 9 เม.ย.2563 เผยแพร่ กฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 เนื้อหาดังนี้
อาศัยอานาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 และมาตรา 13 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิก
(1) กฎกระทรวงกาหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2558
(2) กฎกระทรวงกาหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
ข้อ 2 เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกินห้าหมื่นบาท
ข้อ 3 ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 2 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็นเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินหนึ่งแสนบาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
(2) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ
(4) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท
(5) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม
(6) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี รังสี ไฟฟ้า หรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิวของร่างกาย
(7) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ 4 ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 3 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 และข้อ 3 แล้วต้องไม่เกินสามแสนบาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป
(2) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (1) ถึง (6) ที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป
(3) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จำเป็นต้องรักษาตัวในสถานพยาบาลตั้งแต่สามสิบวันติดต่อกัน
(4) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ 3 (7) ซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง
(ก) เป็นผลให้อวัยวะสำคัญล้มเหลว
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์
ข้อ 5 ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 4 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีก ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 4 แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท
ข้อ 6 ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ 5 ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจาเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาท เว้นแต่กรณีที่ลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล ในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
ในกรณีที่ลูกจ้างมีความจำเป็นหรือมีเหตุผลสมควรที่ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐตั้งแต่เริ่มแรก แต่ภายหลังได้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล
การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ข้อ 7 การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาให้ความเห็นว่านายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามข้อ 5 หรือข้อ 6 ให้เป็นไปตามลักษณะที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ 8 การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 หรือข้อ 6 หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร และค่าบริการพยาบาล ให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละหนึ่งพันสามร้อยบาท
ข้อ 9 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับและยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ
ให้ไว้ ณ วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 3563
หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 13 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2561 บัญญัติว่า เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วยนั้น และให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กาหนดในกฎ กระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/A/028/T_0003.PDF