ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยเรื่องการเตรียมการรองรับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อให้ผู้ร่วมตลาดการเงินของโลกเตรียมความพร้อมในการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาดการเงินโลก
ธปท. ร่วมกับ กลุ่มธนาคารกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (Executives’ Meeting of East Asia-Pacific Central Banks: EMEAP) จัดทำรายงาน เรื่องการเตรียมการรองรับการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Study on the Implication of Financial Benchmark Reforms) เพื่อสร้างความตระหนักให้แก่ผู้ร่วมตลาดการเงินของโลกให้เตรียมความพร้อมในการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงของตลาดการเงินโลก (Financial Benchmark Reforms) ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลจำเป็นต้องปฏิรูปการจัดทำอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงให้มีมาตรฐาน ความโปร่งใส และความน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากสาธารณชนในการนำไปใช้อ้างอิงในสัญญาทางการเงินประเภทต่าง ๆ โดยการศึกษาต้องการดูผลกระทบทางนโยบายต่อการปฏิรูปอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในตลาดการเงินใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) การยุติการเผยแพร่อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง LIBOR – อัตราดอกเบี้ย LIBOR ถือเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีการกำหนดเป็นรายวัน ณ เวลา 11.45 น.ตามเวลาลอนดอน โดยธนาคารต่างๆจะเสนอตัวเลขอัตราดอกเบี้ยที่ทางธนาคารคาดว่าจะสามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารอื่นๆ และต่อมาจะมีการหาค่าเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับการขอสินเชื่อเพื่อการจำนอง และสำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน เมื่อปี 2560 สำนักงานกำกับตลาดการเงินอังกฤษ (FCA) ได้ประกาศว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างธนาคารของตลาดลอนดอน (LIBOR) จะถูกทดแทนด้วยทางเลือกอื่นที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าภายในสิ้นปี 2021
(2) การปรับเกณฑ์กำกับดูแลอัตราอ้างอิงของสหภาพยุโรป (EU Benchmark Regulation: BMR) และ
(3) การยกระดับอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสกุลต่าง ๆ ในกลุ่ม EMEAP
รายงานฉบับเต็ม : http://www.emeap.org/wp-content/uploads/2019/09/Study-on-the-Implications-of-Financial-Benchmark-Reforms.pdf