”เอกนัฏ“ เผยผลตรวจเยี่ยมส่วนราชการตรัง พัทลุง สงขลา มอบนโยบาย และพบปะภาคเอกชนจังหวัดตรัง พัทลุง และสงขลา เตรียมตั้ง ”กองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน“ พร้อมแก้ กม. พัฒนา ”วิสาหกิจยุคใหม่“
สำนักข่าวอิศรา (www.israenews.org) รายงานว่าเมื่อ 14 ต.ค. นายเอกณัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยียม ให้กำลังใจผู้บริหารเจ้าหน้าที่หน่วยในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมในจังหวัด พร้อมประชุมร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสงขลา เพื่อรับฟัง และให้รับทราบเป้าหมายการทำงานในบทบาทรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ว่า
“ตลอด 3 สัปดาห์ ที่เข้ามารับตำแหน่ง ผมได้ทำความเข้าใจกับผู้บริหารกระทรวงฯและเจ้าหน้าที่ให้ทุกคนปฎิบัติโดยมีเป้าหมายเดียวกัน โดยประกาศเอาไว้ว่าจะทำ 3 เรื่อง ๆ แรก คือ การต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม กับกลุ่มธุรกิจที่ไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม หากินบนความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ปรากฎการณ์ กากพิษ “วินโพรเสส” ที่จังหวัดระยอง ซึ่งผมได้ส่งสัญญาณไปยังเจ้าหน้ากระทรวงอุตสาหกรรม ให้มีความกล้าที่จะต่อสู้กับกากพิษ ขยะอุตสาหกรรมที่ทำร้ายชีวิตประชาชน”
เรื่องที่สอง ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก หากมองอีกมุมมันเป็นเรื่องความท้าทาย และเป็นปัญหาซึ่งบางคนอาจจะมองว่าเป็นวิกฤติ แต่ตนมองว่า มันเป็นโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นทุกวัน จึงอยากปฎิรูประบบอุตสาหกรรมเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ด้วยการเก็บเกี่ยวสิ่งใหม่ ๆ จากทั่วโลกมาสู่ประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน เมื่อมีโอกาสใหม่ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะมากับกลุ่มธุรกิจใหญ่ เป็นโรงงานขนาดใหญ่ ซึ่งสิ่งที่สำคัญ คือการกระจายโอกาสใหม่ ๆ เหล่านั้น ให้ทั่วถึงกับกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก (SME) ให้ได้รับประโยชน์ด้วย จึงเป็นที่มาของเรื่องที่สาม คือการเซฟตี้อุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะ(SME)ไทย
”ผมส่งสัญญาณ ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงต่างๆ หรือหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น SME , การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเรื่องการออกมาตรการในการบริหารงบประมาณในจำนวนที่มีอยู่แล้ว และที่ยังไม่มีงบประมาณ”
โดยมีแนวคิดที่จะจัดตั้ง “กองทุนปฎิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” เพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปเยียวยาให้กับผู้ได้รับผลกระทบกับการประกอบการอุตสาหกรรม ด้วยการนำเงินจากคนที่สร้างปัญหามาเยียวยาโดยไม่ต้องรอเงินงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชน
ทั้งยังมีเรื่องการแก้กติกา และกฎกระทรวงฯ ด้วยการจัดตั้ง “คณะกรรมปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อปฎิรูปอุตสาหกรรม” โดยมีภารกิจสำคัญ คือ การปฎิรูปประกาศหรือกฎหมายที่ใช้ในกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางควบคุมกากพิษและขยะอุตสาหกรรม เช่น การปรับแก้พ.ร.บ.โรงงานอุตสาหกรรม ,พ.ร.บ.วัตถุอันตราย และอีกหลายพ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องมาปรับปรุงให้การควบคุมมีมาตรฐานขึ้น และความโปร่งใส สะดวก เป็นธรรมกับผู้ประกอบการด้วย
“ที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่สามารถสำเร็จได้ หากไม่ได้รับความร่วมมือ และมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ประชาชน ผู้ประกอบการ ดังนั้น 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงให้เวลาส่วนหนึ่งในการลงพื้นที่ตรวจสอบและเยี่ยมประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกากพิษที่จังหวัดระยอง และนำท่อน้ำประปาไปช่วยเหลือพี่น้องชาวภาคเหนือที่ประสบอุทกภัย ให้ได้มีน้ำสะอาดใช้เพื่อในการอุปโภคและบริโภค และลงพื้นที่ไปดูอุทยานเขางู ที่จะนำมาพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ในจังหวัดราชบุรี
สำหรับ การลงพื้นที่จังหวัดตรัง พัทลุง และสงขลา คือการมาพบปะกับภาคเอกชน และประชาชน เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติ และแนวทางในการร่วมกันทำงานภายใต้เป้าหมายเดียวกัน
”วันนี้ภารกิจไม่ใช่เป็นเพียงการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ให้ประเทศเท่านั้น แต่ต้องมองให้เป็นเรื่องของความท้าทายในการรับมือกับสิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาภูมิอากาศ รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม ที่ทุกคนค้องมาทำร่วมกัน” นายเอกนัฏ กล่าว และว่า
ข้อสรุปในการลงพื้นที่ ทำให้เห็นกลุ่มผู้ประกอบรัฐวิสาหกิจในพื้นที่ ทั้งสงขลา พัทลุง และตรัง ซึ่งมีความพยายามพัฒนาตัวเอง เพื่อยกระดับให้เป็น “วิสาหกิจยุคใหม่” ซึ่งตรงกับเจตนรมณ์ในการปฎิรูปอุตสาหกรรม ยุคใหม่ มาแทนอุตสาหกรรมเก่าๆ ที่แยกกันทำ โดยไม่ทีความเชื่อมโยง ทั้งธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เข้าด้วยกันหรือเรียกว่า “อุตสาหกรรมยุคใหม่” ที่ทำให้ห่วงโซ่ต่างๆ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง เกิดมูลค่าสูงสุด เช่น จากธุรกิจขนาดเล็ก ต้องปรับเป็นธุรกิจ(SME) หรือธุรกิจขนาดกลางยุคใหม่ ซึ่งค้องทีความทันสมัยในระบบดิจิทรอล และต้องเพิ่มนวัตกรรมในการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพ และความยั่งยืนให้กับตัวเอง และมีความรับผิดชอบค่อสังคม
เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหัตถกรรมกระจูดวรรณี จังหวัดพัทลุง ซึ่งอดีตผลิตเสื่อ แต่ปัจจุบันพัฒนามาผลิตกระเป๋า และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ส่งขายในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอนด้วย ส่วนจังหวัดสงขลา มีใบขลู่ ซึ่งเป็น พืชสมุนไพร ทีมีมากบริเวณริมทะเลสาบสงขลา ที่นำมาชงน้ำร้อนดื่มเป็นยาสมุนไพร และในอนาคตยังพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นด้วย
“นี้คือตัวอย่างของวิหากกิจยุคใหม่”
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า ในโอกาสนี้ ยังมีโอกาสพบปะกับผู้นำภาคเอกชน และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา ,ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา ,ดร.ไพโรจน์ ชัยจีระธิกุล จากสมาคมเอสเอ็มอี และสมาคมโลจิสติกส์ รวมถึงตัวแทนจากภาคธุรกิจในจังหวัดสงขลา ซึ่งทำให้เห็นว่าในระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมใหม่ ส่วนหนึ่งเป็นการเข้ามาเพื่อเติมเต็มห่วงโซ่อุตสาหกรรม ตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม และในขณะเดียวกันกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมก็ต้องช่วยกันให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริม และเติมเต็มเพื่อให้เป็นระบบ “อุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่มาจากฐานความเข้าใจและตรงกับสภาพภูมิศาสตร์ และความต้องการของแต่ละพื้นที่ เช่น สงขลา เป็นเมืองด่านชายแดน มีท่าเรือ มีทะเล มียางพารา มีปาล์ม มีการท่องเที่ยว ที่สามารถนำมาพัฒนาในระบบอุตสาหกรรมยุคใหม่ได้
”ในฐานะรัฐบาลยืนยันว่าจะส่งเสริมและขับเคลื่อน ทั้งวิสาหกิจและอุตสาหกรรมดังที่กล่าวมาไปสู่อุตสาหกรรมวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง”
นายเอกณัฎ กล่าวถึงปัญหาและข้อเรียกร้องได้รับการเสนอจากภาคเอกชนในพื้นที่ว่า จังหวัดสงขลาขอให้รัฐบาลผักดันโครงการท่าเที่ยบเรือน้ำลึก เรื่องระบบการขนส่ง เรื่องอุตสาหกรรมไม้ยาพารา และเรื่องพลังานไฟฟ้าชีวมวล แต่สิ่งที่จะต้องทำอย่างเรงด่วน คือการต่อยอด ส่งเสริมธุรกิจวิสาหกิจชุมชนให้เป็นที่รู้จักของประชาชนคนทั่วไปให้มากขึ้น และในฐานะของรัฐบาล ตนเห็นด้วยกับข้อเสนอและมีความเข้าใจในข้อเสนอของภาคเอกชน แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็มีขอบเขตการดำเนินการ ซึ่งทั้งหมดจะต้องมีการปรับแก้กฎกระทรวง หรือระเบียบต่างๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
สำหรับนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้(ฉลุง) ในอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ซึ่งในปัจจุบัน ถือว่ายังไม่ปะสบความสำเร็จนั้น นายเอกณัฎ กล่าวว่า จากข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งคาดว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดมาจากการปฎิบัติตามนโยบายของรัฐ ที่อยากจะทำอะไรก็ทำโดยที่คิดไปเอง โดยไม่ได้มีการพูดคุยระหว่างหน่วยงานของรัฐ และไม่มีการตรวจสอบความต้องการของภาคเอกชน หรือความเห็นของประชาชนในพื้นที่ เป็นหลัก จึงทำให้นิคมอุตสาหกรรมฉลุง หรือนิคมที่เกิดขึ้นในพื้นที่อื่น ๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และบางแห่งเป็นอนุสรณ์สถาน
“หลังจากได้ร่วมพูดคุยกับภาคธุรกิจ ซึ่งจะมาช่วยกันคิดเพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อน และจะใช้หลักการพูดคุย ทำความเข้าใจ ร่วมกันจากภาคส่วนต่างๆในการแก้ปัญหาของนิคมอุตสาหกรรมที่เป็นปัญหาทุกแห่งให้กลับมาใช้งานเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดให้ประเทศชาติต่อไป” นายเอกณัฎ กล่าว