"...สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “วันวาน...วันนี้ ของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้” จากการสำรวจเมื่อถามถึงการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.14 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ รองลงมา ร้อยละ 30.04 ระบุว่า จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 20.38 ระบุว่าเป็น จะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 0.84 ระบุว่า จะไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และร้อยละ 0.60 ระบุว่า จะไม่ไปเลือกตั้ง..."
.........................
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “วันวาน...วันนี้ ของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 13 ตุลาคม 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,315 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับวันวาน...วันนี้ของพรรคประชาธิปัตย์ในภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการเคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่มีสิทธิเลือกตั้ง พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.94 ระบุว่า เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ รองลงมา ร้อยละ 13.08 ระบุว่า ไม่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.45 ระบุว่า ยังไม่เคยไปเลือกตั้งเลย และร้อยละ 0.53 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา (เฉพาะผู้ที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.41 ระบุว่า เลือกพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 38.59 ระบุว่า ไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในจำนวนผู้ที่ไม่ได้เลือกพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 39.68 ระบุว่า เลือกพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 29.93ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ร้อยละ 9.05 ระบุว่า ไม่ได้ไปเลือกตั้ง ร้อยละ 6.73 ระบุว่า เลือกพรรคอนาคตใหม่ ร้อยละ 4.18 ระบุว่า เลือกพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.79 ระบุว่า เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 2.55 ระบุว่า ไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) ร้อยละ 1.86 ระบุว่า เลือกพรรคประชาชาติ ร้อยละ 1.39 ระบุว่า เลือกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ร้อยละ 0.46 ระบุว่า เลือกพรรคเสรีรวมไทย พรรคเศรษฐกิจใหม่และพรรคเพื่อชาติ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 0.23 ระบุว่า เลือกพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคชาติพัฒนา ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.14 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ รองลงมา ร้อยละ 30.04 ระบุว่า จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 20.38 ระบุว่าเป็น จะไม่เลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 0.84 ระบุว่า จะไปลงคะแนน ไม่เลือกใคร (Vote NO) และร้อยละ 0.60 ระบุว่า จะไม่ไปเลือกตั้ง
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 100.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำแนกตามจังหวัด ในพื้นที่ภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 17.19 ระบุว่าเป็น สงขลา รองลงมา ร้อยละ 16.88 ระบุว่าเป็น นครศรีธรรมราช ร้อยละ 13.61 ระบุว่าเป็น สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 6.31 ระบุว่าเป็น ชุมพรและภูเก็ต ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 5.86 ระบุว่าเป็น ตรัง ร้อยละ 5.55 ระบุว่าเป็น พัทลุง ร้อยละ 5.40 ระบุว่าเป็น กระบี่ ร้อยละ 4.94 ระบุว่าเป็น นราธิวาส ร้อยละ 4.79 ระบุว่าเป็น ปัตตานี ร้อยละ 4.64 ระบุว่าเป็น ยะลา ร้อยละ 3.27 ระบุว่าเป็น สตูล ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พังงา และร้อยละ 2.21 ระบุว่าเป็น ระนอง
ตัวอย่างร้อยละ 48.90 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.10 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.00 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.68 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.51 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.01 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 23.80 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 80.31 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 18.86 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.53 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุศาสนา
ตัวอย่างร้อยละ 18.55 สถานภาพโสด ร้อยละ 78.48 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.51 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.46 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 24.87 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.83 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.29 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.92 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.18 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.91 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.80 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.82 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.50 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.89 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.99 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 22.51 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.42 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.07 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 20.91 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.22 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.95 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.71 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 11.71 ไม่ระบุรายได้