"...“นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “มาตรการใหม่ในการป้องกันการกระทำผิดอุกฉกรรจ์ซ้ำซาก” พบว่า ร้อยละ 95.90 ระบุว่า ไม่ควรได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด ในขณะที่ ร้อยละ 4.10 ระบุว่า ควรได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด..."
.....................
สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง “มาตรการใหม่ในการป้องกันการกระทำผิดอุกฉกรรจ์ซ้ำซาก” ทำการสำรวจในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจาย ทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,002 หน่วยตัวอย่าง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.00
จากผลการสำรวจ เมื่อถามความคิดเห็นต่อการปล่อยตัวผู้ต้องขังที่กระทำความผิดซ้ำซากเป็นนิสัยในคดีร้ายแรงอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด พบว่า ร้อยละ 95.90 ระบุว่า ไม่ควรได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด ในขณะที่ ร้อยละ 4.10 ระบุว่า ควรได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำก่อนครบกำหนด
สำหรับการกระทำผิดที่ผู้พ้นโทษสมควรถูกกำกับ ติดตาม สอดส่องในระยะเวลายาวนานมากขึ้นและเข้มข้นขึ้น พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.00 ระบุว่า ข่มขืนกระทำชำเราเด็ก รองลงมา ร้อยละ 95.80 ระบุว่า ข่มขืนกระทำชำเราผู้ใหญ่ ร้อยละ 95.20 ระบุว่า ฆ่าคนตายโดยเจตนา ร้อยละ 93.60 ระบุว่า ค้ายาเสพติด ร้อยละ 92.20 ระบุว่า ทำร้ายร่างกายจนสาหัสหรือถึงแก่ความตาย ร้อยละ 91.40 ระบุว่า วางเพลิงเผาทรัพย์จนทำให้มีผู้เสียชีวิต และร้อยละ 87.40 ระบุว่า เรียกค่าไถ่
เมื่อถามความคิดเห็นต่อกฎหมาย/มาตรการใหม่ ๆ ในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดซ้ำซากเป็นนิสัยในคดีร้ายแรงอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.95 ระบุว่า ให้มีมาตรการทางการแพทย์ เพื่อป้องกัน การกระทำผิดซ้ำ (รักษาฮอร์โมน เช่น ฉีดยาให้ฝ่อฯ บำบัดสุขภาพจิต กรณีโรคจิตต้องรับยาฯ) รองลงมา ร้อยละ 46.45 ระบุว่า ให้มีมาตรการคุมประพฤติภายหลังพ้นโทษไม่เกิน 15 ปี ร้อยละ 42.91 ระบุว่า ให้มีคำสั่งคุมขังภายหลังพ้นโทษ และคำสั่งคุมขังฉุกเฉิน ในกรณีมีความเสี่ยงที่จะทำผิดซ้ำ และร้อยละ 33.07 ระบุว่า การแจ้งเตือนชุมชน
เมื่อถามถึงสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการกำหนดวิธีการลงโทษผู้กระทำความผิดซ้ำซากเป็นนิสัยในคดีร้ายแรงอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.00 ระบุว่า ความร้ายแรงของคดี รองลงมา ร้อยละ 45.80 ระบุว่า ประวัติการกระทำความผิด ร้อยละ 43.46 ระบุว่า สาเหตุแห่งการกระทำความผิด ร้อยละ 39.96 ระบุว่า ลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำความผิด ร้อยละ 27.12 ระบุว่า ความคิดเห็นของผู้เสียหาย และร้อยละ 25.72 ระบุว่า โอกาสในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.05 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 48.95 เป็นเพศชาย ตัวอย่างร้อยละ 7.29 มีอายุระหว่าง 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.93 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.73 มีอายุระหว่าง 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.57 มีอายุระหว่าง 46 – 59 ปี และร้อยละ 21.48 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 1.10 จบการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ร้อยละ 28.22 ระดับประถมศึกษา ร้อยละ 13.04 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 19.33 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. ร้อยละ 7.59
ระดับอนุปริญญา/ ปวส. ร้อยละ 26.22 ระดับปริญญาตรี ร้อยละ 4.05 ระดับปริญญาโท และร้อยละ 0.45 ระดับปริญญาเอก ตัวอย่างร้อยละ 22.13 ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 20.38 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน ร้อยละ 15.78 เป็นเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.84 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.34 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 10.64 เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 17.33 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 6.79 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 18.23 มีรายได้ 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 24.18 มีรายได้ 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 10.79 มีรายได้ 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 11.39 มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท และร้อยละ 11.29 ไม่ระบุรายได้