"...มีการนำวัสดุและอุปกรณ์มาติดตั้งในหมู่บ้าน/ชุมชนในลักษณะที่เหมือนกัน หรือซ้ำกันเป็นจำนวนมาก เช่น ซุ้มประตู สะพานไม้ไผ่ รูปปูนปั้น ฉากหลังสำหรับถ่ายรูป ซุ้มไม้ไผ่ แคร่ไม้ไผ่ ศาลาไม้ไผ่ และการนำต้นไม้มาจัดทำสวน และส่วนใหญ่ใช้วัสดุในการจัดทำที่เหมือน ๆ กัน เช่น ไม้ไผ่ ปูนปลาสเตอร์ และพลาสวูด ซึ่งในภาพรวมยังไม่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้อย่าง ชัดเจน..."
...............................
โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ที่เกิดขึ้นในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ใช้วงเงินจำนวน 9,328.12 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กำลังถูกจับตามอง เมื่อถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบว่า การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการพบว่ายังมีข้อเท็จจริงและข้อจำกัดที่สำคัญบางประการที่ทำให้การดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถียังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์และไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินกิจกรรมใน 5 กระบวนงานหลักไม่สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้อย่างแท้จริง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สตง. ได้เผยแพร่รายงานผลการตรวจสอบโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 9,328.12 ล้านบาท ให้ดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เกิดรายได้กับชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็งโดยการเปลี่ยนผ่านจากยุคการผลักดันขายสินค้า OTOP ออกจากชุมชนเพียงด้านเดียวสู่ช่องทางการเพิ่มรายได้ตามความต้องการ (Demand Driven Local Economy) โดยการขายสินค้าอยู่ในชุมชนที่มาจากการท่องเที่ยวโดยใช้เสน่ห์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และความคิดสร้างสรรค์แปลงเป็นรายได้เป็นชุมชนท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์ดึงดูดและมีคุณค่าเพียงพอให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนและใช้จ่ายเงินในทุกกิจกรรมของชุมชน รายได้จะกระจายอยู่กับคนในชุมชน ทุกคนมีความสุข เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน (Strength within) และเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง
การดำเนินโครงการกำหนดพื้นที่เป้าหมายจำนวน 3,273 หมู่บ้าน/ชุมชน ครอบคลุม 76จังหวัด และได้กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานโครงการไว้ในช่วงไตรมาส 3–4 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2561(เดือนเมษายน–กันยายน 2561) โดยจากการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการพบว่ายังมีข้อเท็จจริงและข้อจำกัดที่สำคัญบางประการที่ทำให้การดำเนินโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถียังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์และไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การดำเนินกิจกรรมใน 5 กระบวนงานหลักไม่สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้อย่างแท้จริง
ข้อตรวจพบที่ 1 การดำเนินกิจกรรมใน 5 กระบวนงานหลักไม่สามารถเป็นกลไกในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้อย่างแท้จริง
การดำเนินงานตามโครงการ 5 กระบวนงาน ที่ดำเนินการโดยส่วนภูมิภาค ได้รับการจัดสรรงบประมาณจำนวน 8,344.26 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 89.45 ของงบประมาณทั้งหมดของโครงการ จากการสุ่มตรวจสอบหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 74 แห่ง ในพื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่จังหวัด ตรัง นครนายก บุรีรัมย์พระนครศรีอยุธยา แพร่ ราชบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สตูล สมุทรสงคราม และอุบลราชธานี พบว่า ในแต่ละกระบวนงานมีสภาพข้อเท็จจริงและปัญหาหลายประการ ดังนี้
@ กระบวนงานที่ 1 การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
1.1 ตัวแทนหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมบำงส่วนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เป็นบุคลากรด้านการท่องเที่ยวได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางส่วนไม่มีพื้นฐานความรู้ที่จำเป็นมาก่อน ประกอบกับระยะเวลาการอบรมที่สั้น กิจกรรมหรือหลักสูตรละประมาณ 1–5 วัน รวมถึงมีตัวแทนจำนวนมากที่ต้องอบรมหลายหลักสูตรจนเกิดความสับสน ส่งผลทำให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมยังไม่มีความพร้อมในปฏิบัติหน้าที่จริงได้นอกจากนี้ บางส่วนยังไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ได้อย่างสม่ำเสมอเนื่องจากข้อจำกัดส่วนบุคคล เช่น ผู้สูงอายุที่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพและความคล่องตัว หรือตัวแทนในวัยทำงานหรือวัยเรียนส่วนใหญ่ที่มีภารกิจส่วนตัว
ทั้งนี้ การกำหนดวิธีการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดที่สุ่มตรวจสอบทั้ง 11 จังหวัด ในพื้นที่จังหวัดเดียวกันจะมีกิจกรรมหลักเหมือนกัน และกำหนดตัวแทนจากหมู่บ้าน/ชุมชนเพื่อรับการฝึกอบรมในจำนวนที่เท่ากันทุกแห่ง ในขณะที่แต่ละพื้นที่ต่างมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม เช่น การกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรมที่เท่ากันหมู่บ้าน/ชุมชนละ 20–50 คน นับว่าเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในพื้นที่ ทำให้แต่ละแห่งต้องส่งตัวแทนที่อาจไม่มีความพร้อมเข้าร่วมฝึกอบรมเพื่อให้เต็มจำนวน และหลายคนต้องเข้าร่วมมากกว่า 1 กิจกรรม ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากที่ยังสับสน จำไม่ได้ว่าได้เข้าอบรมเรื่องใดไปแล้วบ้าง
นอกจากนี้ ยังไม่พบว่าการดำเนินโครงการทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ หรือหมู่บ้าน/ชุนชน มีแนวทางที่ชัดเจนในการต่อยอดเพื่อให้เกิดบุคลากรที่มีศักยภาพเพื่อเป็นกลไกในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เช่น ทุกพื้นที่ที่มีการอบรมหลักสูตรการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ยังไม่มีการนำความรู้มาถ่ายทอดต่อ ทำให้ไม่สามารถสร้างโครงข่ายการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้เกิดขึ้นทั่วทั้งพื้นที่ตามหลักการของการท่องเที่ยวชุมชน หรือยังไม่มีการส่งต่อความรู้เพื่อทดแทนบุคลากรเดิมที่ได้รับการอบรม ทั้งกรณีของผู้สูงอายุผู้ที่อยู่ในวัยทำงานหรือนักเรียนนักศึกษา ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปอาจมีข้อจำกัดมากขึ้นจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
1.2 แผนธุรกิจชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนำตำมวัตถุประสงค์ของโครงกำรได้พบว่าหมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบเกือบทั้งหมดยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ของแผนธุรกิจ บางแห่งยังจำไม่ได้ว่าเคยมีการจัดทำแผนธุรกิจชุมชนท่องเที่ยวของพื้นที่ตนเอง นอกจากนี้ หมู่บ้าน/ชุมชนส่วนใหญ่ยังไม่มีความชัดเจนในการนำแผนธุรกิจชุมชนท่องเที่ยวที่จัดทำไปดำเนินการต่ออย่างเป็นรูปธรรม
@ กระบวนงานที่ 2 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวก
2.1 กิจกรรมพัฒนำแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกเน้นการตกแต่งและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อสร้างแลนด์มาร์คและจุดเช็คอิน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา
คุณภาพของแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เน้นการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อจัดทำแลนมาร์ค (Landmark) และจุดเช็คอิน (Check–in) โดยการนำวัสดุอุปกรณ์จากภายนอกไปติดตั้งในพื้นที่ เช่น ซุ้มประตู สะพานไม้ไผ่ ซุ้มไม่ไผ่ ศาลาไม้ไผ่ ฉากหลังถ่ายรูป ป้ายต่าง ๆ และต้นไม้ประดับ ซึ่งเป็นเพียง การตกแต่งรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ยังไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนด้านการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าหมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบส่วนใหญ่ไม่มีสถานที่หรือแหล่งท่องเที่ยวอยู่เดิมที่สามารถพัฒนาให้เกิดความน่าสนใจได้
2.2 วัสดุและอุปกรณ์ในการปรับปรุงภูมิทัศน์มีรูปแบบไม่แตกต่างกัน ใช้วัสดุชนิดเดียวกัน ไม่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและแตกต่างอย่างชัดเจน จากการตรวจสอบทั้ง 11 จังหวัดที่สุ่ม ตรวจสอบ พบข้อเท็จจริง ดังนี้
2.2.1 มีการนำวัสดุและอุปกรณ์มาติดตั้งในหมู่บ้าน/ชุมชนในลักษณะที่เหมือนกัน หรือซ้ำกันเป็นจำนวนมาก เช่น ซุ้มประตู สะพานไม้ไผ่ รูปปูนปั้น ฉากหลังสำหรับถ่ายรูป ซุ้มไม้ไผ่ แคร่ไม้ไผ่ ศาลาไม้ไผ่ และการนำต้นไม้มาจัดทำสวน และส่วนใหญ่ใช้วัสดุในการจัดทำที่เหมือน ๆ กัน เช่น ไม้ไผ่ ปูนปลาสเตอร์ และพลาสวูด ซึ่งในภาพรวมยังไม่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของพื้นที่ได้อย่าง ชัดเจน
2.2.2 วัสดุและอุปกรณ์ที่นำไปติดตั้งในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ไม่เสริมสร้างให้เกิด ความสวยงามหรือความโดดเด่นของพื้นที่ บางหมู่บ้าน/ชุมชนมีการปรับภูมิทัศน์ที่มีลักษณะไม่เหมาะสม กับพื้นที่หรือสภาพแวดล้อมโดยรอบ ซึ่งพบว่าการออกแบบและพัฒนาภูมิทัศน์ส่วนใหญ่เกิดจาก ความคิดของผู้รับจ้างเป็นหลัก ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมเพียงเล็กน้อย เช่น ให้ข้อมูลพื้นฐานของ หมู่บ้าน/ชุมชน เลือกแบบที่ผู้รับจ้างออกแบบมาให้เลือกสถานที่จัดวางในหมู่บ้าน ซึ่งผลที่ได้ไม่สะท้อน มาจากแนวคิดของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง
2.2.3 การปรับปรุงภูมิทัศน์ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่คงทน อายุการใช้งานสั้น ชำรุดเสียหาย ได้ง่าย ตลอดจนไม่ได้รับการดูแลบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ได้นำไปติดตั้ง ใช้วัสดุหลักที่ไม่คงทน มีอายุการใช้งานสั้น เช่น ไม้ไผ่ และการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งพบว่ามีหมู่บ้าน/ ชุมชน จำนวน 26 แห่ง ที่วัสดุและอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่ชำรุดเสียหาย บางแห่งไม่สามารถซ่อมแซม ให้กลับมาใช้งานได้อีก และบางแห่งไม่สามารถดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ให้อยู่ในสภาพที่สวยงามได้ อย่างทั่วถึง ทำให้มีสภาพทรุดโทรม เหี่ยวเฉา ยืนต้นตาย โดยไม่มีการปลูกทดแทน นอกจากนี้ อุปกรณ์ ตกแต่งที่เป็นกระถางต้นไม้ ตุ๊กตาปูนปั้นบางแห่งชำรุด เสียหาย หรือสูญหาย
2.2.4 วัสดุและครุภัณฑ์ที่จัดสรรให้บางพื้นที่ไม่ตรงกับความต้องการหรือสภาพ ข้อเท็จจริงของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือใช้ไม่ตรงวัตถุประสงค์ ทั้ง 11 จังหวัดที่สุ่มตรวจสอบมีการจัดหาวัสดุและครุภัณฑ์ให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยใน 8 จังหวัด มีหมู่บ้าน/ชุมชนในพื้นที่อำเภอหรือจังหวัดเดียวกันได้รับการจัดหาวัสดุหรือครุภัณฑ์ที่เหมือนกัน เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้พบว่าการจัดสรรไม่มีการสำรวจความต้องการที่แท้จริงของแต่ละพื้นที่ วัสดุและ ครุภัณฑ์จำนวนมากไม่ตรงกับความต้องการของชุมชน บางรายการได้รับเกินกว่าความต้องการ
จากการสังเกตการณ์พบว่า วัสดุและครุภัณฑ์จำนวนมากไม่มีการใช้งาน บาง รายการนำไปใช้ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ เช่น มีหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนมากที่ได้รับการจัดหาจักรยาน หรือเรือคายัคและเสื้อชูชีพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว แต่ยังไม่มีความพร้อมทั้งสภาพพื้นที่ และไม่มีกิจกรรมเพื่อรองรับการใช้วัสดุและครุภัณฑ์ดังกล่าว นอกจากนี้ ยังพบว่าครุภัณฑ์จำนวนมากยังจัดเก็บ ไม่เหมาะสม เสี่ยงต่อการสูญหาย หรือเสื่อมสภาพ ชำรุด เสียหาย เช่น จักรยานและเรือคายัคจำนวน หนึ่งจัดเก็บไว้กลางแจ้ง ตากแดดตากฝน
@ กระบวนงานที่ 3 การพัฒนาสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว
3.1 หมู่บ้าน/ชุมชนมีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าและบริการได้ไม่ถึง 10 ผลิตภัณฑ์ ตามเป้าหมายของโครงการ โครงการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยว อย่างน้อยหมู่บ้าน/ชุมชนละ 10 ผลิตภัณฑ์ เท่ากันในทุกพื้นที่ซึ่งไม่ตรงกับสภาพความพร้อมของแต่ละ หมู่บ้าน/ชุมชน โดยพบว่าทั้ง 74 หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบมีความพร้อมในการพัฒนาสินค้าและ บริการ (ผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่ม D) เฉลี่ยเพียง 1–3 ผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เมื่อเข้าร่วมโครงการจึงต้องคิดค้นสินค้าและบริการเพิ่มเติมเพื่อให้ครบตามเป้าหมาย จึงมีการนำผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน มาเปลี่ยนรูปแบบ ดัดแปลงส่วนผสม หรือรูปลักษณ์ภายนอกเพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ให้ ครบตามเป้าหมาย
3.2 จำนวนผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าสู่กระบวนการการพัฒนาไม่สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินการ ทั้ง 11 จังหวัดที่สุ่มตรวจสอบส่วนใหญ่มีผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่ต้องพัฒนาไม่ต่ำกว่า 100–300 ผลิตภัณฑ์ แต่ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาจำกัด สูงสุดไม่เกิน 90 วัน โดยกระบวนการพัฒนาสินค้าใช้วิธีการ ให้ผู้ประกอบการนำสินค้าต้นแบบมารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งไม่มีเวลาเพียงพอในการแสวงหา ข้อมูลที่จำเป็นในการพัฒนา ทำให้สินค้าและบริการยังไม่มีความโดดเด่นที่แสดงถึงอัตลักษณ์หรือ ลักษณะเฉพาะของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชนที่เป็นจุดขายในเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นฐานในการ สร้างรายได้ให้แก่หมู่บ้าน/ชุมชนได้อย่างยั่งยืน
3.3 การพัฒนาสินค้าและบริการไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อเข้าสู่กระบวนการ รับรองมาตรฐาน จาก 11จังหวัดที่สุ่มตรวจสอบมีเพียง 2 จังหวัดเท่านั้น ได้แก่ จังหวัดแพร่และจังหวัด นครนายก ที่ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการในขอบเขต ของสัญญาจ้าง (Term of Reference: TOR) นอกจากนี้ยังพบว่ามีเพียง 56 ผลิตภัณฑ์จาก 750 ผลิตภัณฑ์ที่สุ่มตรวจสอบ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.46 เท่านั้นที่มีการขอรับรองมาตรฐาน ซึ่งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอในจังหวัดที่สุ่มตรวจสอบ ได้ให้ข้อมูลว่า การดำเนินงานส่วนใหญ่มุ่งเน้นการพัฒนารูปแบบ สร้างตราสินค้า รวมถึงการออกแบบ บรรจุภัณฑ์เป็นสำคัญ แต่การพัฒนามาตรฐานของผลิตภัณฑ์เน้นเพียงการเตรียมความพร้อมและสร้าง ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบการเท่านั้น ยังไม่นำไปสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานอย่างเต็มรูปแบบ
3.4 ผลิตภัณฑ์ที่เข้าสู่กระบวนการพัฒนาจำนวนมากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาซื้อได้ ทั่วไป ไม่มีความโดดเด่นและแตกต่าง และเป็นประเภทสินค้ำชนิดเดียวกัน หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่ม ตรวจสอบจำนวน 74 แห่ง มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาที่เป็นชนิดเดียวกัน หรือมีลักษณะซ้ำ ๆ กันเป็นจำนวนมาก และเป็นสินค้าที่ผลิตเพื่อบริโภคและใช้สอยในครัวเรือนหรือในชีวิตประจำวันในพื้นที่อยู่แล้ว สามารถหาซื้อได้โดยทั่วไป ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นที่สามารถแสดงได้ว่าหากต้องการ สินค้าชนิดนี้ต้องมาซื้อที่หมู่บ้าน/ชุมชนแห่งนี้เท่านั้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ข้อมูล ได้ว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมีเรื่องราวหรือมีอัตลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นหรือมีความแตกต่าง ในการสร้างความสนใจหรือดึงดูดผู้บริโภคได้แต่อย่างใด
3.5 บรรจุภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาตามโครงการส่วนใหญ่ยังไม่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ไม่เหมาะสม และไม่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ได้อย่างแท้จริง
3.5.1 บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาตามโครงการไม่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ดึงดูด และ สร้างการจดจำให้กับสินค้าได้ สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามท้องตลำด ผู้ประกอบการบางรายให้ข้อมูล ว่า บรรจุภัณฑ์ตามรูปแบบที่ได้รับการพัฒนา ผู้ประกอบการสามารถคิดและจัดหาเองได้ เช่น กล่องพลาสติกใส ถุงพลาสติกใส ขวดพลาสติกใส โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญ บางส่วนเป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีการใช้อยู่แต่เดิมแล้ว ไม่มีการพัฒนาให้มีความแตกต่าง มีคุณภาพ หรือ สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าบางหมู่บ้าน/ชุมชน มีบรรจุภัณฑ์เหมือนกัน แต่ใช้กับหลายผลิตภัณฑ์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์โดยไม่ค านึงถึงคุณลักษณะเฉพาะ ของแต่ละผลิตภัณฑ์
3.5.2 รูปทรงและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ไม่เหมำะสมกับผลิตภัณฑ์ โดยพบว่า บรรจุภัณฑ์บางรายการมีขนาดเล็กกว่าตัวผลิตภัณฑ์ รูปแบบไม่สัมพันธ์กับรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ไม่สร้างความปลอดภัยให้กับตัวผลิตภัณฑ์ได้ไม่สะดวกในการพกพา วัสดุที่ใช้ท าบรรจุภัณฑ์มีคุณสมบัติ ไม่เหมาะสมกับชนิดและลักษณะของผลิตภัณฑ์ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบางรายให้ความเห็นว่าไม่ได้น า บรรจุภัณฑ์ที่ได้รับมาใช้ในการจ าหน่ายผลิตภัณฑ์เพราะไม่ตรงกับความต้องการหรือเห็นว่าไม่เหมาะสม กับผลิตภัณฑ์
3.5.3 ฉลำกผลิตภัณฑ์ไม่เหมำะสม ไม่สำมำรถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์ ได้อย่ำงชัดเจน จากการตรวจสอบพบว่า ฉลากผลิตภัณฑ์ของโครงการจ านวนมากให้ข้อมูลที่จ าเป็น ของผลิตภัณฑ์ไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่แสดงส่วนผสมหรือแสดงแต่ไม่ถูกต้อง ไม่แสดงวันที่ผลิต วันหมดอายุราคาสินค้า ไม่สามารถสแกน QR Code ได้หรือตัวอักษรบนฉลากมีขนาดเล็กจนเกินไป ตลอดจนฉลากมีขนาดและรูปแบบไม่เหมาะสมกับรูปทรงของบรรจุภัณฑ์
3.5.4 บรรจุภัณฑ์ที่ผ่ำนกระบวนกำรพัฒนำจะผลิตให้ฟรีแก่ผู้ประกอบกำร โดย ผู้ประกอบกำรส่วนใหญ่ไม่ทรำบถึงต้นทุนบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนไม่มีกำรค ำนวณต้นทุนบรรจุภัณฑ์ รวมกับผลิตภัณฑ์ที่จ ำหน่ำย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ให้ข้อมูลว่า ไม่ทราบต้นทุนของบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับ จึงไม่ได้น าต้นทุนบรรจุภัณฑ์ไปรวมเป็นต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่จ าหน่าย และบางรายให้ความเห็นว่า
บรรจุภัณฑ์มีต้นทุนสูง ซึ่งเมื่อบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับจากโครงการหมดแล้วจะไม่ผลิตบรรจุภัณฑ์ใช้อีก เนื่องจากหากรวมต้นทุนบรรจุภัณฑ์ที่ต้องลงทุนเองจะท าให้ราคาขายสินค้าที่จ าหน่ายภายในหมู่บ้าน/ ชุมชนสูงขึ้นด้วย อาจไม่สามารถจ าหน่ายได้
@กระบวนงานที่ 4 การเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวแต่ละท้องถิ่น
4.1 หมู่บ้าน/ชุมชนบำงแห่งที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าร่วมโครงการโดยไม่มีศักยภาพใน การเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวภายนอก การคัดเลือกหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายให้ความสำคัญกับ ความเข้มแข็ง และความร่วมมือจากผู้นำและประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ เนื่องจากต้องการ ดำเนินการให้แล้วเสร็จในระยะเวลาที่จำกัด อีกทั้ง ยังกำหนดให้ต้องมีหมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้าร่วม โครงการครอบคลุมทุกอำเภอเพื่อกระจายโอกาสในการได้รับการสนับสนุนโครงการจากภาครัฐ ทำให้บาง หมู่บ้าน/ชุมชนที่อาจไม่มีศักยภาพเพียงพอในการเชื่อมโยงกับแอ่งท่องเที่ยวอื่นแต่ได้รับการคัดเลือกเข้า ร่วมโครงการด้วย
4.2 หมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่สามารถใช้การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในการนำเสนอ ประชาสัมพันธ์และสื่อสารกับนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่ปรากฏว่า หมู่บ้าน/ชุมชนที่ สุ่มตรวจสอบ มีการนำแผนที่เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวและโปรแกรมการท่องเที่ยวไปใช้ประโยชน์ใน การวางแผนการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงยังนำไปใช้สื่อสารหรือสร้างการรับรู้ให้แก่ นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจในช่องทางที่จำกัด โดยใน 74 หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบนั้น ไม่มีการนำ แผนที่เชื่อมโยงการท่องเที่ยวและโปรแกรมการท่องเที่ยวเผยแพร่ในแอพพลิเคชัน แอ่งเล็ก เช็คอิน ซึ่ง เป็นสื่อออนไลน์ช่องทางหลักของโครงการ ในขณะที่มีเพียง 1 หมู่บ้าน/ชุมชนที่นำเสนอข้อมูลดังกล่าว ในเฟซบุ๊ก และมีจำนวน 10 แห่งที่นำเสนอข้อมูลในเว็บไซต์ของหมู่บ้าน/ชุมชน
@ กระบวนงานที่ 5 ส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยว
5.1 การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์หมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในรูปแบบ งานอีเวนท์ (Event) ดำเนินการในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม โดยพบว่า 6 จังหวัด จาก 11 จังหวัดที่ สุ่มตรวจสอบ มีการจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบงานอีเวนท์ ในขณะที่กระบวนงานอื่นยัง ไม่ได้ดำเนินการ (เนื่องจากงบประมาณถูกพับ)
5.2 การส่งเสริมการตลาดชุมชนท่องเที่ยวโดยวิธีการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ยังมีข้อจำกัด ในการดำเนินงานบางประการ ดังนี้
5.2.1 มีการดำเนินโครงการสร้างฐานข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในระดับจังหวัดน้อยมาก ใน 11 จังหวัดที่สุ่มตรวจสอบ มีเพียง 1 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่เท่านั้น ที่มีการจัดทำฐานข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวเมืองหลัก เมืองรองภายใน จังหวัด ข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP ของชุมชนภายในจังหวัด และเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีของส่วนกลาง และเมื่อพิจารณาข้อมูลในภาพรวม 76 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ พบว่ามีเพียง 9 จังหวัดเท่านั้นที่มีการจัดทำ ได้แก่จังหวัด กาฬสินธุ์ ชลบุรี นนทบุรี ปทุมธานี แพร่ ร้อยเอ็ด ระยอง สุโขทัย และอุดรธานี
5.2.2 แอปพลิเคชันแอ่งเล็ก เช็คอิน ยังไม่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ หมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) ข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชนที่แสดงในแอปพลิเคชันไม่ครบถ้วน และขาดการ บันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน จากการตรวจสอบข้อมูลหมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบจำนวน 74 แห่ง โดยการใช้งานจริงในแอปพลิเคชัน มีเพียง 48 หมู่บ้าน หรือคิดเป็นร้อยละ 64.86 เท่านั้น ที่มีการแสดงข้อมูลครบถ้วนทุกรายการ โดยมีเพียง 56 แห่งที่มีข้อมูล ข่าวสารและกิจกรรมการท่องเที่ยว
2) แอปพลิเคชัน แอ่งเล็ก เช็คอิน ยังมีข้อจํากัดในการจัดการข้อมูลการ ท่องเที่ยวหมู่บ้าน/ชุมชนในระดับพื้นที่ ตัวแทนที่ทำหน้าที่เป็นนักจัดการข้อมูลชุมชน (Feeder) ในพื้นที่ 74 หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อจำกัดบางประการในการใช้งานแอปพลิเคชัน เช่น ใช้งานยาก ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้หากสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่เพียงพอ โทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้ใน การจัดการข้อมูลต้องเป็นรุ่นที่สามารถรองรับแอปพลิเคชันได้ และต้องมีหน่วยความจำสำหรับจัดเก็บ ข้อมูลที่ค่อนข้างมาก
3) หมู่บ้าน/ชุมชนที่ร่วมโครงการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ยังไม่หลากหลาย จากการสืบค้นสื่อออนไลน์ที่เป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก และยูทูป พบว่ามีจำนวน 4 หมู่บ้าน/ ชุมชน ที่ไม่มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดังกล่าว และมีจำนวน 23 แห่ง ใช้สื่อออนไลน์ข้างต้นช่องทางใด ช่องทางหนึ่งแต่เพียงช่องทางเดียว โดยมีเพียง 18 แห่งเท่านั้นที่มีการใช้ครบทั้งสามช่องทาง
ข้อตรวจพบที่ 2 หมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายส่วนใหญ่ที่ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมตามแนวทางของโครงการยังมีปัจจัยบางประการที่ไม่สามารถเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวได้
จากการสุ่มตรวจสอบหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวน 74 แห่ง ใน 11 จังหวัด พบว่า ยังมีหมู่บ้านชุมชน เป้าหมายส่วนใหญ่มีปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยวได้ ดังนี้
1. หมู่บ้าน/ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจำนวนมากมีศักยภาพไม่เพียงพอในการพัฒนาให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนได้ จากการประเมินศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวน 74 แห่ง พบว่า มีหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นจำนวนถึง 41 แห่ง ไม่มีศักยภาพเพียงพอ ที่สำคัญคือ ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวหรือกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและน่าสนใจเพียงพอในการสร้างจุดขาย
2. แหล่งท่องเที่ยวหลักที่เป็นจุดขายของหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อสร้าง จุดเด่นให้ดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวได้ มีพื้นที่ที่สุ่มตรวจสอบบางแห่งมีสถานที่ที่มีศักยภาพในการ ได้รับการส่งเสริมหรือพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ แต่อยู่ในความดูแลหรือความเป็นเจ้าของของ หน่วยงานอื่นทั้งของรัฐหรือเอกชน ทำให้หมู่บ้าน/ชุมชนไม่อาจดำเนินการใด ๆ ได้หากไม่ได้รับ ความร่วมมือที่ดีจากหน่วยงานนั้น ๆ
3. โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการรองรับนักท่องเที่ยวของหมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่มีความ พร้อม หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบส่วนใหญ่นอกจากไม่มีความพร้อมตามมาตรฐานแล้วยังไม่มี แนวทางหรือแผนการดำเนินงานที่มีความชัดเจน โดยเฉพาะสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เช่น ที่จอดรถ ห้องน้ำสาธารณะ และการบริการอาหาร เครื่องดื่ม ซึ่งมีสภาพปัญหาที่หลากหลาย เช่น ไม่มี เงินทุนเพียงพอ ไม่มีที่ดิน หรือไม่มีผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลรักษา โดยยังคงรอความชัดเจนจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากกรมการพัฒนาชุมชน
4. การบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนยังไม่มีความพร้อมในการ ดำเนินการให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน หมู่บ้าน/ชุมชนที่สุ่มตรวจสอบส่วนใหญ่ยังมีสภาพปัญหา ดังนี้
4.1 ไม่มีแผนหรือทิศทางในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของ 5 กระบวนงานหลักที่ได้รับ การสนับสนุนตามโครงการ
4.2 ขาดความเข้าใจและยังไม่สามารถดำเนินการหรือมีแผนการดำเนินการต่อได้อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม
4.3 การจดบันทึกข้อมูลในทางสถิติต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้จัดทำหรือจัดทำแต่ไม่ต่อเนื่อง และไม่เป็นระบบ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญอย่างมากเพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนต่อไป
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบข้างต้นสรุปได้ว่า สาเหตุหลักของสภาพปัญหาตามที่กล่าวมา เกิดจาก วัตถุประสงค์ วิธีการ และระยะเวลาในการดำเนินโครงการไม่สอดคล้องกัน โดยมีระยะเวลาในการ ดำเนินโครงการเพียง 1 ปีเศษเท่านั้น แต่มีพื้นที่เป้าหมายจำนวนมากกระจายไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ กิจกรรมที่ดำเนินการยังมีความสลับซับซ้อนที่เน้นการค้นหาทุนของชุมชนที่มีอัตลักษณ์และมีเสน่ห์ เฉพาะตัว เพื่อนำมาทำให้เกิดสินค้าด้านการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์และมีความแตกต่าง ประกอบกับกรมการพัฒนาชุมชนเอง ขาดความรู้ ความชำนาญในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่จํากัดให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ทำให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
เบื้องต้น สตง. ได้มีข้อเสนอแนะเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางที่เกิดผลสัมฤทธิ์ เกิดประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินต่ออธิบดี กรมการพัฒนาชุมชน ให้พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. สำรวจและประเมินผลหมู่บ้าน/ชุมชนในกลุ่มที่มีศักยภาพเพียงพอในการเป็นหมู่บ้าน/ชุมชน ท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในรายละเอียดของกิจกรรมในกระบวนงานต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วเป็นรายหมู่บ้าน ว่ามีความเพียงพอ เหมาะสมแล้วหรือไม่ อย่างไร เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญ และวางแผน ในการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริงและความต้องการที่แท้จริงของแต่ละ หมู่บ้าน/ชุมชนต่อไป
2. กำหนดนโยบายและแผนในการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีศักยภาพ ในการเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ต้องให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัย ต่าง ๆ ที่จำเป็นในการรองรับนักท่องเที่ยว เช่น เส้นทางคมนาคม ป้ายสัญลักษณ์ ที่จอดรถ ห้องน้ำ ความปลอดภัย การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ให้ใกล้เคียงกับเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของประเทศไทย จัดทำโดยคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ รวมถึงให้ความสำคัญกับ การเสริมสร้างศักยภาพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืนให้แก่ ประชาชนเจ้าของพื้นที่ โดยพิจารณาให้มีการประสานกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่และอำนาจโดยตรง มีศักยภาพ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาร่วมดำเนินการตามความ เหมาะสม
3. สั่งการและกำชับให้เจ้าหน้าที่ในทุกระดับที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ ในหมู่บ้าน/ชุมชน ต้องให้ความสำคัญต่อการค้นหาทุนชุมชนที่มีความโดดเด่น เป็นอัตลักษณ์ที่แท้จริง เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเชื่อมโยงกับสินค้าด้านการท่องเที่ยวที่มีความแตกต่าง เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งนี้ให้หลีกเลี่ยงวิธีการที่มีลักษณะของการเหมารวม ไม่คำนึงถึง ความแตกต่างของแต่ละพื้นที่
4. กำหนดรูปแบบและวิธีการในการดำเนินการกับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่อยู่ในกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพ เพียงพอในการเป็นหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ให้มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านอื่นที่มีความ เหมาะสมกับสภาพข้อเท็จจริง ศักยภาพ ความพร้อม และความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ และพิจารณากำหนดแผนการดำเนินงานเป็นรายหมู่บ้านที่มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรม โดยพิจารณา นำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีที่ดำเนินงานไว้ในพื้นที่มาใช้ประโยชน์ให้ เกิดความคุ้มค่า ทั้งนี้ต้องมีการสื่อสารกับแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ถึงเหตุผล ความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง รูปแบบและวิธีการพัฒนาและส่งเสริม เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างกรมการพัฒนาชุมชนและประชาชน ในพื้นที่ต่อไป
5. สั่งการและกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมีการสำรวจ ตรวจสอบ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไว้ เช่น แอปพลิเคชัน แอ่งเล็ก เช็คอิน เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันอื่นที่ดำเนินการโดยจังหวัดต่าง ๆ ให้มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง มีการปรับปรุง พัฒนาข้อมูลในการนำเสนอให้มีความเป็นปัจจุบัน ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ที่มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ให้คำนึงถึง สภาพความพร้อม ความเหมาะสมของหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายที่จะต้องมีศักยภาพของการเป็นหมู่บ้าน/ ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีที่มีจุดขาย มีความโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์อย่างแท้จริง
6. ให้หน่วยงานในพื้นที่มีการติดตามและประเมินผลหมู่บ้าน/ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีที่มี การส่งเสริมพัฒนาตามศักยภาพของแต่ละแห่ง และรายงานให้กรมการพัฒนาชุมชนทราบอย่างต่อเนื่อง และนำไปพิจารณากำหนดแผนกลยุทธ์ในการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพต่อไป
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage