"...โดยมากแล้วจะต้องใช้เวลาพัฒนวัคซีนมากกว่าหลายปีจนถึงหลายสิบปี แต่นักวิจัยได้พยายามที่จะร่นเวลาการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโควิด 19 ให้เหลือแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าวัคซีนจะใช้ได้อย่างแพร่หลายในช่วงกลางปี 2564 หรือคิดเป็นระยะเวลา 12-18 เดือนนับตั้งแต่มีไวรัสโควิด 19 ซึ่งการคิดค้นวัคซีนสำเร็จสำหรับไวรัสโควิด 19 สำเร็จจะถือว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะตอนนี้ยังไม่มีอะไรที่จะรับรองได้ว่าจะมีวัคซีนสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ในช่วงกลางปีหน้านี้ ..."
ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าคนทั่วโลกจะมีความหวังมากขึ้น เมื่อข่าวความคืบหน้าเรื่องการทดลองใช้วัคซีนรักษาไวรัสโควิด 19 หรือโคโรน่าไวรัส ถูกนำเสนอสู่สาธารณะเป็นระยะๆ โดยเฉพาะกรณีที่ ประเทศอังกฤษมีรายงานผลความคืบหน้าการทดลองวัคซีน ChAdOx1 ที่พัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทแอสตร้า เซนเนก้า ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาวัคซีนสัญชาติอังกฤษและสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
ระบุผลการทดลองกับอาสาสมัครจำนวน 1,077 ราย พบว่า การใช้วัคซีนมีความปลอดภัยและสามารถกระตุ้นสารภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อกำจัดไวรัสได้เป็นอย่างดี แม้จะมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงกับอาสาสมัครจำนวน 70 เปอร์เซ็นต์ อาทิ อาการปวดหัวและไข้ขึ้นเล็กน้อย ซึ่งทีมงานนักวิจัยสามารถใช้ยาพาราเซตตามอลเพื่อบรรเทาอาการจากผลข้างเคียงดังกล่าวได้
สำหรับขั้นตอนต่อไปในการทดลองไวรัสจะเป็นการทดลองกับอาสาสมัครที่มีจำนวนมากขึ้นในหลายประเทศ โดยจะมีการทดลองไวรัสกับอาสาสมัครจำนวน 10,000 คน ขึ้นไปในประเทศอังกฤษ 30,000 คนในประเทศสหรัฐฯ 2,000 คนในประเทศแอฟริกาใต้ และ 5,000 คนในประเทศบราซิล
การทดลองวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า (อ้างอิงวิดีโอจากช่องบลูมเบิร์ก)
จากกรณีดังกล่าว สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้รวบรวมข้อมูลรายงานข่าวจากสื่อต่างประเทศเกี่ยวกับการทดลองวัคซีนมานำเสนอในรูปแบบถามตอบ โดยมีรายละเอียดดังนี้
@ วัคซีนจะปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์หรือไม่ จะมีความเป็นไปได้เรื่องผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการหรือไม่?
วัคซีนตัวใหม่ที่กำลังมีการพัฒนาอยู่ ณ เวลานี้ มีการตรวจสอบความปลอดภัยด้วยมาตรการที่เข้มงวด ก่อนที่จะมีการแนะนำให้ใช้วัคซีนอย่างแพร่หลาย ซึ่งแม้ว่าการวิจัยวัคซีนจะมีอัตราความคืบหน้าการวิจัยที่ค่อนข้างจะรวดเร็ว แต่ทุกครั้งก็จะต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยในกระบวนการทดลองการรักษา
โดยการทดลองใช้วัคซีนสำหรับการรักษาที่ผ่านมา พบว่ามีผลข้างเคียงด้วยอาการเพียงเล็กน้อยเช่น อาการบวม หรือผื่นขึ้น บริเวณผิวหน้าที่มีการฉีดวัคซีน รวมไปถึงอาการไข้เพียงเล็กน้อย ซึ่งต้องมีการให้ยาลดไข้ตามมา
@ ผู้ที่ผ่านการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้หรือไม่?
ณ เวลานี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองวัคซีนไม่ใช่แค่ชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีการทดลองวัคซีนหลายประเภท ซึ่ง ณ เวลานี้ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนว่าวัคซีนตัวใดมีขีดความสามารถในการป้องกันไวรัสโควิด 19 ได้สูงสุด ซึ่งหมายความว่าวัคซีนประเภทอื่นๆนอกเหนือจากของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ก็อาจจะมีความเหมาะสมมากกว่ากับข้อแตกต่างเฉพาะบุคคลของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามไปด้วย
ซึ่งการทดสอบที่เกิดขึ้นกับอาสาสมัครเวลานี้ก็ต้องอาศัยเวลาเพื่อจะพิสูจน์ว่าอาสาสมัครที่มีลักษณะเฉพาะแบบใด จะเป็นผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์จากวัคซีนสูงสุด
ดังนั้นถ้าหากผู้รับการฉีดวัคซีนเป็นผู้ที่เคยผ่านการเปลี่ยนผ่านอวัยวะ และกำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการปฏิเสธของร่างกาย ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่วัคซีนประเภทที่บรรจุไวรัสโควิด 19 แบบไม่รุนแรงเพื่อจะใช้กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะไม่เหมาะกับบุคคลที่กำลังได้รับยากดภูมิคุ้มกันดังกล่าว
@ วัคซีนจะได้ผลกับคนทุกวัยหรือไม่ ?
ต้องยอมรับว่าวัคซีนจะให้ผลกับผู้ที่สูงอายุน้อยกว่าผู้ที่ยังอยู่ในวัยหนุ่ม เพราะว่าระบบภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุได้สามารถตอบสนองต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีเท่าไร
ซึ่งเรื่องเหล่านี้มักเกิดขึ้นเวลาที่มีการฉีดไวรัสเพื่อป้องกันไข้หวัดตามฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุ
ดังนั้นจะต้องมีการฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุเป็นจำนวนหลายเข็มเพื่อจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงาน
@ เมื่อไรเราถึงจะมีวัคซีน?
โดยมากแล้วจะต้องใช้เวลาพัฒนวัคซีนมากกว่าหลายปีจนถึงหลายสิบปี แต่นักวิจัยได้พยายามที่จะร่นเวลาการพัฒนาวัคซีนสำหรับไวรัสโควิด 19 ให้เหลือแค่ไม่กี่เดือนเท่านั้น ซึ่งตอนนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าวัคซีนจะใช้ได้อย่างแพร่หลายในช่วงกลางปี 2564 หรือคิดเป็นระยะเวลา 12-18 เดือนนับตั้งแต่มีไวรัสโควิด 19
ซึ่งการคิดค้นวัคซีนสำเร็จสำหรับไวรัสโควิด 19 สำเร็จจะถือว่าเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับวิทยาศาสตร์ เพราะตอนนี้ยังไม่มีอะไรที่จะรับรองได้ว่าจะมีวัคซีนสามารถใช้งานได้จริงหรือไม่ในช่วงกลางปีหน้านี้
ณ เวลานี้มีไวรัสโควิด 19 จำนวน 4 สายพันธุ์ที่กำลังระบาดและทำให้เกิดอาการป่วยแบบเดียวกับไข้หวัดทั่วไป และยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสโควิดเหล่านี้แม้แต่สายพันธุ์เดียว
โครงสร้างของวัคซีนโควิด 19 หรือโคโรน่าไวรัส (อ้างอิงรูปภาพจาก https://bpsbioscience.com)
@ วัคซีนจะยังคงมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าหากไวรัสมีการกลายพันธุ์ ?
วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 ที่กำลังทดลองอยู่ ณ เวลานี้ ถูกพัฒนาขึ้นจากสายพันธ์ของไวรัสที่กำลังระบาดออกไปเรื่อยๆ
ซึ่งไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะส่งผลทำให้ประสิทธิภพของวัคซีนลดลงแต่อย่างใด โดยต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยด้วยว่าการกลายพันธุ์นั้นจะมากขนาดไหน และจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของชิ้นส่วนไวรัส ที่วัคซีนได้พยายามจะลอกเลียนแบบไวรัสนี้หรือไม่
ณ เวลานี้ อาสาสมัครผู้เข้าสู่กระบวนการทดลองรับการฉีดวัคซีน กำลังได้รับการได้รับการทดสอบด้านพันธุกรรม เพื่อจะตรวจสอบว่าโปรตีนรูปหนามที่อยู่ในไวรัสที่อยู่ในวัคซีนจะสามารถติดเชื้อในเซลล์ของมนุษย์ได้หรือไม่
โดยตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เห็นว่าจะมีการกลายพันธ์ุซึ่งส่งผลทำให้วัคซีนไร้ประสิทธิภาพแต่อย่างใด
เรียบเรียงจาก:https://www.bbc.com/news/health-51665497,https://www.bbc.com/news/world-asia-china-51176409
#กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage