ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าคะแนนของกรมหม่อมไหมในปีก่อนหน้านั้นผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยได้คะแนน ITA ในปี 2566 อยู่ที่ 89.53 คะแนน แต่ในปี 2567 กลับมีคะแนนอยู่ที่ 51.60 คะแนน หรือก็คือคะแนนตกลงไปถึง 37.93 จุด
สืบเนื่องจากวันที่ 30 ก.ค. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ได้มีการจัดงานแถลงข่าวประกาศผลการประเมินที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) ซึ่งแม้ว่า ป.ป.ช.จะประกาศว่าคะแนนทั่วไปของหน่วยงานทั่วประเทศเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 93.05 คะแนน
แต่ก็ยังมีบางหน่วยงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ และได้คะแนนตัวชี้วัดทั้ง 10 ด้านรวมไม่ถึง 85 คะแนน (ตัวชี้วัด 10 ด้านประกอบด้วย 1.การปฏิบัติหน้าที่ 2.การใช้งบประมาณ 3.การใช้อำนาจ 4.การใช้ทรัพย์สินของราชการ 5.การแก้ไขปัญหาการทุจริต 6.คุณภาพการดำเนินงาน 7.ประสิทธิภาพการสื่อสาร 8.การปรับปรุงการทำงาน 9.การเปิดเผยข้อมูล และ10.การป้องกันการทุจริต)
จากกรณีดังกล่าวนั้นสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้มีการสำรวจเว็บไซต์เผยแพร่ผล ITA เพิ่มเติม เพื่อดูว่าหน่วยงานประเภทต่างๆที่มีปัญหาโดยคิดเป็นรายกระทรวงและหน่วยงานอิสระ โดยบางหน่วยงานคะแนนต่ำกว่า 85 คะแนน ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ผ่านขั้นต่ำนั้น มีที่มาของคะแนนที่ต่ำมาจากอะไรกันแน่ มีรายละเอียดดังนี้
@หน่วยงานประเภทองค์กรอิสระ
ข้อมูลบนเว็บไซต์ ITA แจ้งว่าองค์กรอิสระนั้นได้คะแนนรวม 89.12 คะแนน ขณะที่หน่วยงานสามอันดับแรกในสังกัดองค์กรอิสระที่มีคะแนน ITA โดยรวมต่ำที่สุดก็คือ 1.สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) 84.33 คะแนน2 สํานักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 84.86 คะแนน และ 3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 90.58 คะแนน
โดย กสม.ไม่ผ่านตัวชี้วัด ได้คะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ 85 คะแนนใน 4 ด้านได้แก่
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 77.40 คะแนน 2.การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 77.85 คะแนน 3. ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 83.13 คะแนน 4. การปรับปรุงการทำงานได้ 66.79 คะแนนและ 5.การเปิดเผยข้อมูลได้ 83.57 คะแนน
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 6 ด้านได้แก่
1. การใช้งบประมาณได้ 76.83 คะแนน 2.การใช้อำนาจได้ 80.18 คะแนน 3.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 75.95 คะแนน 4.การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 68.05 คะแนน 5. ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 82.74 คะแนนและ 6.การปรับปรุงการทำงานได้ 65.85 คะแนน
ป.ป.ช.ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 3 ด้านได้แก่
1. การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 84.79 คะแนน 2. ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 80.49 คะแนน และ 3. การปรับปรุงการทำงานได้ 67.18 คะแนน
ขณะที่กระทรวงสามอันดับแรกที่มีคะแนน ITA ต่ำสุดได้แก่ 1.กระทรวงศึกษาธิการ ได้ 82.66 คะแนน 2.กระทรวงคมนาคมได้ 86.67 คะแนน และ 3.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ 87.70 คะแนน
สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยมีดังนี้
@กระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับกระทรวงศึกษาธิการที่ได้คะแนน ITA โดยรวม 82.66 คะแนน (ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินขั้นต่ำ 85 คะแนน) นั้นพบว่ามีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินใน 4 ด้านประกอบไปด้วย
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 81.59 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 75.81 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 77.27คะแนน 4.การป้องกันการทุจริตได้ 75.64 คะแนน
ขณะที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้คะแนน ITA ต่ำที่สุดและไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินประกอบมีด้วยกัน 5 หน่วยงานประกอบไปด้วย 1.กองทุนสงเคราะห์ได้ 57.92 คะแนน 2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ 65.23 คะแนน 3.กรมส่งเสริมการเรียนรู้ได้ 74.41 คะแนน 4.สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ 80.63 คะแนน และ 5. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้84.89 คะแนน
หากเจาะลึกรายละเอียดรายหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการซึ่งได้คะแนน ITA ไม่ถึง 85 คะแนนว่าแต่ละหน่วยไม่ผ่านตัวชี้วัดในด้านใดบ้าง จะได้รายละเอียดเชิงลึกดังนี้
1.กองทุนสงเคราะห์ ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้านได้แก่
1.ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 74.96 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 60.68 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 32.38 คะแนน และ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 0.00 คะแนน
2.สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้าน ได้แก่
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 80.87 คะแนน 2. การปรับปรุงการทำงานได้ 77.72 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 49.05 คะแนน และ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 16.67 คะแนน
3.โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 2 ด้านได้แก่
1.การปรับปรุงการทำงานได้ 74.16 คะแนน และ 2.การป้องกันการทุจริตได้ 75.00 คะแนน
@กระทรวงคมนาคม
สำหรับกระทรวงคมนาคมได้คะแนน ITA 86.67 คะแนน นั้นพบว่ามีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินใน 3 ด้านประกอบไปด้วย
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 82.23 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 74.94 คะแนน และ 3.การเปิดเผยข้อมูลได้82.83 คะแนน
ขณะที่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ได้คะแนน ITA ต่ำที่สุดและไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินประกอบมีด้วยกัน 3 หน่วยงานประกอบด้วย 1.สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ได้ 53.85 คะแนน 2.กรมการขนส่งทางบกได้ 76.77 คะแนน และ 3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ได้ 84.31 คะแนน
หากเจาะลึกรายละเอียดรายหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมซึ่งได้คะแนน ITA ไม่ถึง 85 คะแนนว่าแต่ละหน่วยไม่ผ่านตัวชี้วัดในด้านใดบ้าง จะได้รายละเอียดเชิงลึกดังนี้
1.สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 7 ด้าน ได้แก่
1.การปฏิบัติหน้าที่ได้ 80.80 คะแนน 2 การใช้งบประมาณได้ 82.67 คะแนน 3. การใช้ทรัพย์สินของราชการ 71.20 คะแนน 4การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 76.80 คะแนน 5. การปรับปรุงการทำงานได้ 75.46 คะแนน 6.การเปิดเผยข้อมูลได้ 18.33 คะแนน และ 7.การป้องกันการทุจริตได้ 0.00 คะแนน
2.กรมการขนส่งทางบก ไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้าน ได้แก่
1.ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 81.94 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 76.98 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 65.95 คะแนน และ 4.การป้องกันการทุจริตได้ 48.34 คะแนน
3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้าน ได้แก่
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 76.18 คะแนน 2. ประสิทธิภาพการสื่อสารได้ 82.31 คะแนน 3.การปรับปรุงการทำงานได้66.60 คะแนน และ4.การเปิดเผยข้อมูลได้ 81.43 คะแนน
@กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำหรับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คะแนน ITA 86.67 คะแนน นั้นพบว่ามีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินใน 3 ด้านได้แก่
1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 83.80 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้ 77.59 คะแนน และ 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 83.46 คะแนน
ขณะที่หน่วยงานในสังกัดเกษตรและสหกรณ์ที่ได้คะแนน ITA ต่ำที่สุดและไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินประกอบมีด้วยกัน 4 หน่วยงานประกอบด้วย 1.กรมหม่อนไหมได้ 51.60 คะแนน 2.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ 82.43 คะแนน 3.กรมชลประทานได้ 84.57 คะแนน และ 4.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ 84.69 คะแนน
หากเจาะลึกรายละเอียดรายหน่วยงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คะแนน ITA ไม่ถึง 85 คะแนนว่าแต่ละหน่วยไม่ผ่านตัวชี้วัดในด้านใดบ้าง จะได้รายละเอียดเชิงลึกดังนี้
1.กรมหม่อนไหมไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้าน ได้แก่ 1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 71.28 คะแนน 2.การปรับปรุงการทำงานได้80.74 คะแนน 3.การเปิดเผยข้อมูลได้ 0.00 คะแนน และ4.การป้องกันการทุจริตได้ 0.00 คะแนน
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าคะแนนของกรมหม่อมไหมในปีก่อนหน้านั้นผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยได้คะแนน ITA ในปี 2566 อยู่ที่ 89.53 คะแนน แต่ในปี 2567 กลับมีคะแนนอยู่ที่ 51.60 คะแนน หรือก็คือคะแนนตกลงไปถึง 37.93 จุด (ดูภาพประกอบ)
2.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 4 ด้านได้แก่ 1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 75.20 คะแนน 2.การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 81.21 คะแนน 3. การปรับปรุงการทำงานได้ 73.21 คะแนน และ 4.การเปิดเผยข้อมูลได้ 75.71 คะแนน
3.กรมชลประทานไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 5 ด้าน ได้แก่ 1.การใช้ทรัพย์สินของราชการได้ 77.31 คะแนน 2.การแก้ไขปัญหาการทุจริตได้ 84.33 คะแนน 3.การปรับปรุงการทำงานได้ 70.41 คะแนน 4.การเปิดเผยข้อมูลได้ 82.86 คะแนน และ 5.การป้องกันการทุจริตได้ 83.34 คะแนน
4.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไม่ผ่านตัวชี้วัดใน 2 ด้านได้แก่ 1.การปรับปรุงการทำงานได้ 74.94 คะแนน และ 2.การเปิดเผยข้อมูลได้ 66.07 คะแนน
ทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหน่วยงานที่ได้คะแนน ITA ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และถ้าหากสำนักข่าวอิศรามีข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับหน่วยงานอื่นๆที่ไม่ผ่าน ITA หรือว่าได้คะแนนต่ำอย่างมีนัยยะสำคัญ ก็จะนำเสนอรายงานเหล่านี้ในครั้งถัดไป
เรียบเรียงจาก:https://itas.nacc.go.th