"...จากการตรวจสอบ พบว่าอุปกรณ์เตือนภัยไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพโดยทดสอบการส่งสัญญาณเตือนภัยเสียงดัง แต่ไม่ชัดเจน เสียงขาดหาย เสียงลำโพงแตก หรือเสียงดังแต่อุปกรณ์สำคัญชำรุด เสื่อมสภาพ จำนวน 19 แห่ง/เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 23.17 ของอุปกรณ์เตือนภัยที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด..."
กรณี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เผยแพร่ผลการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานการบริหารระบบเตือนสาธารณภัย ของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล ในช่วงปี 2563-2565 จำนวน 1,074.95 ล้านบาท พบว่า การพัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยพิบัติ (โทรมาตร) ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS) คาดการณ์ภัยพิบัติล่วงหน้า 1 วัน ในระดับพื้นที่ขาดความแม่นยำ การเตรียมความพร้อมรับมือและอพยพไม่เป็นไปตามแนวทางและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถ นำข้อมูลที่มาจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่จริงมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และคาดการณ์สาธารณภัยเพื่อแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยยังไม่สามารถเตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัยที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทำให้รัฐอาจต้องใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากในการบรรเทาและฟื้นฟูสาธารณภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการเฝ้าระวังและ แจ้งเตือนภัยเป็นจำนวนเงินประมาณ 514 ล้านบาท
นอกจากปัญหาการพัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยพิบัติ (โทรมาตร) ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ส่งผลกระทบทำให้ ปภ. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณภัยไม่สามารถนำข้อมูลที่มาจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่เสี่ยงภัยจริง ถูกต้องตามความเป็นจริง มาใช้ประกอบการวิเคราะห์และคาดการณ์สาธารณภัยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมทั้งทำให้การแจ้งเตือนเหตุภัยพิบัติไปยังเจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถกระทำได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำและรวดเร็ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียโอกาสในการนำข้อมูลจากระบบโทรมาตรมาใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณโครงการพัฒนาระบบฝ้าระวังภัยพิบัติ (โทรมาตร) เกิดความไม่คุ้มค่า จำนวน 432.70 ล้านบาท
รวมไปถึง การพัฒนาปรับปรุงระบบ DSS ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบซอฟต์แวร์ศูนย์ข้อมูลปฏิบัติการเพื่อการตัดสินใจ แต่ระบบ DSS คาดการณ์ภัยพิบัติล่วงหน้า 1 วันในระดับพื้นที่ กับพบว่ายังไม่แม่นยํา ตามที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) นำมาเสนอไปแล้ว
- ชำแหละระบบเตือนสาธารณภัย ปภ. (1) โทรมาตรเฝ้าระวังภัยพิบัติ ไม่คุ้มค่า 432.70 ล.
- ชำแหละระบบเตือนสาธารณภัย ปภ. (2) ข้อมูลคาดการณ์ภัยพิบัติล่วงหน้า 1 วัน ไม่แม่นยำ
การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัย ตามแผนงานระบบเตือนสาธารณภัย ของ ปภ. ก็ยังถูกสตง.ตรวจสอบพบปัญหาไม่มีความพร้อมสําหรับการแจ้งเตือนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้วย ทั้งในส่วนของหอเตือนภัย และ จออัจฉริยะ ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการเกิดความไม่คุ้มค่า จำนวนกว่า 60 ล้านบาท
ในรายงานการตรวจสอบ สตง. ระบุผลการตรวจสอบเรื่องอุปกรณ์เตือนภัย ว่า ปภ. โดย ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย น้ำบำไหลหลากดินโคลนถล่ม และสึนามิ เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งสัญญาณแจ้งเตือนประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงภัยตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งกำหนดค่าเป้าหมายร้อยละอุปกรณ์เตือนภัยมีความพร้อมสำหรับการแจ้งเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2565 ร้อยละ 80 80 และ 90 ตามลำดับ
จากการตรวจสอบเอกสาร สัมภาษณ์ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ดูแล/ผู้ใช้งานอุปกรณ์เตือนภัย รวมทั้งทดสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์เตือนภัย จำนวน 82 แห่ง/เครื่อง ในพื้นที่ 7 จังหวัด พบว่า อุปกรณ์ไม่มีความพร้อมสำหรับการแจ้งเตือนภัย
โดยจากการตรวจสอบรายงานการทดสอบการส่งสัญญาณเพลงชาติไปยังอุปกรณ์เตือนภัย ทั้ง 4 ประเภท ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564-กันยายน 2565 จำนวน 1,488 แห่ง/เครื่อง พบว่า ในปีงบประมาณ พศ. 2565 มีการตอบกลับการทดสอบอุปกรณ์เตือนภัยเฉลี่ย จำนวน 911 แห่ง/เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 61.22 ของจำนวนอุปกรณ์ที่ทดสอบทั้งหมด และอุปกรณ์มีความพร้อมใช้งานพียงร้อยละ 7618 ของอุปกรณ์เตือนภัยที่ตอบกลับมาทั้งหมด
ขณะที่ จากการทดสอบความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์เตือนภัย 4 ประเภท ได้แก่ หอเตือนภัย เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม (EVAC) สถานีถ่ายทอดสัญญาณเตือนภัย (CSC) และหอกระจายข่าว จำนวน 82 แห่ง/เครื่อง พบว่า อุปกรณ์เตือนภัยไม่มีความพร้อมสำหรับการแจ้งเตือนภัย โดยมีจำนวนครั้งในการทดสอบความพร้อมการใช้งานมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปและทดสอบเสียงสัญญาณเตือนภัยไม่ดัง จำนวน 35 แห่ง/เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 42.68 ของอุปกรณ์เตือนภัยที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด สำหรับอุปกรณ์เตือนภัยที่มีความพร้อมใช้งาน จำนวน 47 แห่ง/เครื่อง
แต่จากการตรวจสอบ พบว่าอุปกรณ์เตือนภัยไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพโดยทดสอบการส่งสัญญาณเตือนภัยเสียงดัง แต่ไม่ชัดเจน เสียงขาดหาย เสียงลำโพงแตก หรือเสียงดังแต่อุปกรณ์สำคัญชำรุด เสื่อมสภาพ จำนวน 19 แห่ง/เครื่อง คิดเป็นร้อยละ 23.17 ของอุปกรณ์เตือนภัยที่สุ่มตรวจสอบทั้งหมด
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบรายงานการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังอุปกรณ์เตือนภัยที่สุ่มตรวจสอบในพื้นที่ 7 จังหวัด จำนวน 82 แห่ง/เครื่อง พบว่า มีการส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังอุปกรณ์เตือนภัยเพียง 3 แห่ง ใน 1 จังหวัด จำนวน 12 ครั้ง เท่านั้น
อีกทั้ง จากการสัมภาษณ์ผู้ดูแล/ผู้ใช้งานอุปกรณ์ตือนภัยในสถานการณ์ปกติ ทั้ง 2 ประเกท ได้แก่ CSC และหอกระจายข่าว จำนวน 51 ราย พบว่า ไม่มีการใช้งานอุปกรณ์เตือนภัยเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่วสารในพื้นที่ จำนวน 43 ราย เนื่องจาก ส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมการใช้งาน รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ไม่มีกรถ่ายทอดวิธีการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่คนอื่น รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำชุมชน
ในรายงานการตรวจสอบ สตง. ยังมีการระบุถึงปัญหาการเพิ่มศักยภาพหอเตือนภัยในแหล่งท่องเที่ยวไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ศภช. ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพหอเตือนภัยในแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 30 แห่ง ในปีงบประมาณ พศ. 2563 งบประมาณวม 60 ล้านบาท โดมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพหอเตือนภัย ในแหล่งท่องเที่ยว ให้สามารถจ้งข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณภัย การประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ ให้กับชุมชน ท้องถิ่น ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งนักท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับพื้นที่
แต่จากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ ศภช. และสังเกตการณ์การทำงานของจออัจฉริยะ จำนวน 30 จอ ที่ ศภช. เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 พบว่า การทำงานของจออัจฉริยะอยู่ในสถานะออฟไลน์ไม่มีการแสดงผลข้อมูล ทั้ง 30 จอ ซึ่งจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการนำเสนอเนื้อหาผ่านจออัจฉริยะที่ผ่านมา ศภช. นำเสนอข้อมูลในระดับทั่วไปเท่านั้น โดยนำเสนอตามสถานการณ์ อาทิ ข่าวสารสาธารณภัย สถิติสาธารณภัย ในภาพรวมโดยใช้ชุดข้อมูลเดียวกันทั้ง 30 จอ ซึ่งยังไม่มีการนำเสนอข้อมูลในเชิงพื้นที่บริเวณจุดติดตั้งจอ และจากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ จำนวน 6 ราย ให้ข้อมูลว่า จออัจฉริยะมีการทำงานในบางช่วงเวลา โดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารผ่านจอฯ เป็นการนำเสนอเพียงภาพไม่มีเสียงประกอบ และนำเสนอเนื้อหาเดิมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เนื้อหาที่นำเสนอเข้าใจยาก โดยเนื้อหาที่นำเสนอไม่มีการเสนอในระดับพื้นที่
ขณะที่หอเตือนภัยทั้ง 3 แห่ง มีการติดตั้งอุปกรณ์โทรมาตรที่ซึ่งทำการตรวจวัดสภาพอากาศ และคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว และมีการรายงานผลข้อมูลแบบ Real Time แต่ระบยังไม่สมารถเชื่อมโยงและแสตงผลในระดับพื้นที่การแจ้งเตือนภัยและการกระจายข้อมูลไม่เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด
ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยไม่ไต้รับการแจ้งเตือนภัยอย่างทันท่วงทีเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติ และการที่อุปกรณ์เตือนภัยไม่มีความพร้อมสำหรับการแจ้งเตือนภัย มีผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือนักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัย และหากเกิดภัย อุปกรณ์เตือนภัยไม่สามารถแจ้งเตือนประชาชนไต้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์และตลอด 24 ชั่วโมง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ โดยรวมของประเทศ
รวมถึงการเพิ่มศักยภาพหอเตือนภัยในแหล่งท่องเที่ยวไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนในพื้นที่ ประชาชนกลุ่มเปราะปราง นักท่องเที่ยว ไม่ทราบข้อมูลข่าวสารด้านสาธารณภัยในพื้นที่ เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์สาธารณภัยที่จะเกิดขึ้น และทำให้การใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการเกิดความไม่คุ้มค่า จำนวน 60 ล้านบาท และ ศภช. ต้องขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้จออัจฉริยะสามารถใช้งานได้
โดยมีสาหตุสำคัญเกิดจากกลไกการแจ้งเตือนภัยและการกระจายข้อมูลขาดการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งจากการรับข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนภัย เพื่อวิเคราะห์ ประเมิน สถานการณ์รอข้อมูลประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานหลัก การกระจายข้อมูลการแจ้งเตือนไปยังพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายไม่มีเครือข่ายเฝ้าระวัง/อาสาสมัครเตือนภัยในพื้นที่ ขาดการติดตามผลการดำเนินการ แจ้งเตือนภัยไปยังหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ และการกำหนดตัวชี้วัดและการประเมินผลตามตัวชี้วัดเกี่ยวกับ การแจ้งตือนและการกระจายข้อมูลยังไม่สะท้อนผสสัมฤทธิ์ในการแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่ ภช. ไม่ได้จัดทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์เตือนภัยนอกเหนือจากสัญญาจ้างเหมาบำรุงรักษา และขาดการติดตามปัญหา อุปสรรคข้อจำกัดในการใช้งาน การตูแล บำรุงรักษาอุปกรณ์ตือนภัยที่ดำเนินการติดตั้งตามฟื้นที่เสี่ยงภัยทั่วประเทศ รวมทั้งขาดการติดตาม สำรวจ ปัญหาการกรณีจออัจฉริยะดับเพื่อหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาตลอดจนขาดแนวทางการใช้ประโยชน์จออัจฉริยะให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
เบื้องต้น สตง. โดยผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีข้อเสนอแนะให้อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พิจารณาดำเนินการ อาทิ สั่งการให้หน่วยปฏิบัติเกี่ยวกับการแจ้งเตือนภัยและการกระจายข้อมูลเชื่อมโยงการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สั่งการเจ้าหน้าที่ของ ศภช. ที่ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ติดตาม วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจแจ้งเตือนภัยไปยังพื้นที่เสี่ยงภัยให้ทันต่อสถานการณ์การเกิดสาธารณภัยไปยังพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย กำชับให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนภัยในส่วนกลาง
รวมไปถึงพิจารณาทบทวนการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการแจ้งเตือนและการกระจายข้อมูลให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานในการแจ้งเตือนภัยที่รวดเร็วไปยังพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย โดยการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับอุปกรณ์เดือนภัยมีความพร้อมสำหรับการแจ้งเตือนภัยให้ครอบคลุมอุปกรณ์เตือนภัย สั่งการให้ ศภช. จัดทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์เตือนภัยนอกเหนือจากสัญญาจ้างเหมาบำรุงรักษา โดยการจัดทำประวัติการดูแล บำรุง รักษาอุปกรณ์เตือนภัยที่ผ่านมา สำรวจผู้ใช้งาน/ผู้ดูแลอุปกรณ์เตือนภัยให้เป็นปัจจุบัน กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาอุปกรณ์เตือนภัยในบางพื้นที่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน กรณี อุปกรณ์เตือนภัยในบางพื้นที่อาจไม่มีความจำเป็นแล้วในพื้นที่นั้นหรือในพื้นที่มีช่องทางอื่นที่สามารถสื่อสารกับประชาชนในพื้นที่ได้สะดวกรวดเร็วกว่า อาจพิจารณาโยกย้ายจุดติดตั้งไปยังจุดอื่น ซึ่งประชาชนในพื้นที่มีความต้องการและมีความจำเป็น
โดยอาจพิจารณาขอความร่วมมือจากท้องถิ่นและเอกชน อาทิ อปท. ผู้ประกอบการโรงแรม ในพื้นที่เพื่อรับสัญญาณเตือนภัยจากแม่ข่ายที่ติดตั้งในพื้นที่ เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนประชาชน และนักท่องเที่ยว รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว เป็นต้น
ส่วนรายละเอียดข้อมูลเชิงลึกอื่นๆ สำนักข่าวอิศรา จะติดตามนำมาเสนอให้สาธารณชนได้รับทราบต่อ