คะแนนด้านเงินที่มั่นคง 9.8 คะแนน ประกอบด้วยคะแนนการเติบโตของเงิน 9.8 คะแนน คะแนนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราเงินเฟ้อ 9.5 คะแนน คะแนนอัตราเงินเฟ้อ 9.8 คะแนน คะแนนเสรีภาพในการเป็นเจ้าของเงินตราต่างประเทศ 10 คะแนน โดยคะแนนด้านนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีที่ประเทศไทยได้รับคะแนนสูงสุด
สืบเนืองจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้มีการรายงานดัชนีด้านเสรีภาพมนุษย์ประจำปี 2565 หรือที่เรียกกันว่า Human Freedom Index ที่ถูกจัดทำโดยสถาบันฟราเซอร์ จากประเทศแคนาดา โดยประเทศไทยนั้นพบว่าอยู่ในอันดับที่ 104 จาก 165 ประเทศทั่วโลก มีคะแนนอยู่ที่ 6.49 คะแนน
จากกรณีดังกล่าวนั้น สำนักข่าวอิศราได้ลงลึกในรายละเอียดเพื่อนำเสนอข่าวว่าประเทศไทยนั้นมีคะแนนในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพอย่างไรบ้าง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สถาบันฟราเซอร์ได้มีการจัดอันดับให้ประเทศไทยมีเสรีภาพส่วนบุคคลคอยู่ที่อันดับ 107 จาก 165 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนทั้งสิ้น 6.28 คะแนน
สำหรับคะแนนส่วนต่างๆในด้านเสรีภาพส่วนบุคคลมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (คะแนนทั้งหมดนั้นใช้เกณฑ์ระบุว่าคะแนนยิ่งมากยิ่งมีเสรีภาพ)
คะแนนในด้านหลักนิติธรรมได้ 4.1 คะแนน โดยแบ่งออกเป็น คะแนนกระบวนการยุติธรรมได้ 4.0 คะแนน คะแนนความยุติธรรมทางแพ่ง 4.8 คะแนน คะแนนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้ 4.3 คะแนน คะแนนหลักนิติธรรมได้ 4.2 คะแนน
คะแนนในด้านการรักษาความปลอดภัยและความปลอดภัยได้ 9.2 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนการฆาตกรรมได้ 5.9 คะแนน (ยิ่งมากยิ่งดี) คะแนนการหายตัวไป ความขัดแย้ง การก่อการร้ายได้ 6.7 คะแนน
คะแนนประเทศต่างๆในเอเชียใต้
คะแนนด้านการเสรีภาพการเคลื่อนไหวได้ 6.7 คะแนน
คะแนนด้านศาสนาได้ 8.0 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนเสรีภาพในการนับถือศาสนาได้ 7.7 คะแนน และคะแนนการปราบปรามองค์กรทางศาสนาได้ 8.4 คะแนน
คะแนนด้านการสมาคม การชุมนุม ภาคประชาสังคม ได้ 4.1 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนการเข้าและออกของภาคประชาสังคมได้ 4.6 คะแนน คะแนนเสรีภาพในการชุมนุมได้ 2.3 คะแนน คะแนนเสรีภาพในการจัดตั้ง/บริหารพรรคการเมืองได้ 7.1 คะแนน คะแนนการปราบปรามภาคประชาสังคมได้ 2.3 คะแนน
คะแนนด้านการแสดงออกและข้อมูลข่าวสารได้ 4.2 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนการโจมตีโดยตรงต่อสื่อมวลชนหรือการวิพากษ์วิจารณ์สื่อมวลชนได้ 9.5 คะแนน คะแนนการแสดงออกของสื่อพบว่ามีการเก็บคะแนนโดยหลายหน่วยงาน จึงส่งผลทำให้ประเทศไทยมีคะแนนด้านการแสดงออกของสื่ออยู่ในช่วงระหว่าง 1.1-4.4 คะแนน
คะแนนด้านความสัมพันธ์ได้ 9.4 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนความสัมพันธ์ระหว่างเพศเดียวกันได้ 10 คะแนน คะแนนการหย่าร้างได้ 7.5 คะแนน คะแนนสิทธิในการสืบทอดมรดกได้ 10 คะแนน คะแนนการแปลงเพศสภาพของเพศหญิงได้ 10 คะแนน
ข้อมูลคะแนนด้านต่างๆของประเทศไทย
สถาบันฟราเซอร์ได้มีการจัดอันดับให้ประเทศไทยมีเสรีภาพทางด้านเศรษฐกิจอยู่ที่อันดับ 86 จาก 165 ประเทศทั่วโลก โดยมีคะแนนทั้งสิ้น 6.78 คะแนน
สำหรับคะแนนส่วนต่างๆในด้านเสรีภาพทางเศรษฐกิจมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
คะแนนด้านขนาดของรัฐบาลได้ 6.9 คะแนน แบ่งออกเป็นคะแนนการบริโภคของรัฐบาลได้ 4.4 คะแนน คะแนนว่าด้วยการโอนย้ายและเงินอุดหนุนได้ 8.9 คะแนน คะแนนการลงทุนภาครัฐได้ 6.3 คะแนน คะแนนอัตราภาษีส่วนเพิ่มสูงสุดได้ 8.0 คะแนน คะแนนด้านรัฐเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ 6.9 คะแนน
คะแนนด้านระบบกฎหมายและสิทธิในทรัพย์สินได้ 5.0 คะแนน แบ่งออกเป็นความเป็นอิสระของตุลาการได้ 5.4 คะแนน คะแนนศาลที่เป็นกลางได้ 5.0 คะแนน คะแนนการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินได้ 5.5 คะแนน คะแนนการแทรกแซงทางทหารได้ 3.3 คะแนน คะแนนความสมบูรณ์ของระบบกฎหมายได้ 4.5 คะแนน คะแนนการบังคับใช้กฎหมายของสัญญาได้ 5.3 คะแนน คะแนนค่าใช้จ่ายด้านกฎระเบียบได้ 7.5 คะแนน คะแนนความน่าเชื่อถือของตํารวจได้ 4.4 คะแนน
คะแนนด้านเงินที่มั่นคง 9.8 คะแนน ประกอบด้วยคะแนนการเติบโตของเงิน 9.8 คะแนน คะแนนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของอัตราเงินเฟ้อ 9.5 คะแนน คะแนนอัตราเงินเฟ้อ 9.8 คะแนน คะแนนเสรีภาพในการเป็นเจ้าของเงินตราต่างประเทศ 10 คะแนน โดยคะแนนด้านนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีที่ประเทศไทยได้รับคะแนนสูงสุด
คะแนนด้านเสรีภาพในการค้าระหว่างประเทศ 6.5 คะแนน คะแนนภาษีศุลกากร 7.1 คะแนน คะแนนอุปสรรคทางการค้าด้านกฎระเบียบ 6.8 คะแนน คะแนนอัตราการแลกเปลี่ยนในตลาดมืด 10 คะแนน คะแนนการเคลื่อนไหวของทุนและผู้คน 1.9 คะแนน
คะแนนด้านกฎระเบียบ 5.8 คะแนน คะแนนกฎระเบียบของตลาดสินเชื่อ 6.0 คะแนน คะแนนกฎระเบียบของตลาดแรงงาน 4.7 คะแนน คะแนนกฎระเบียบทางธุรกิจ 6.7 คะแนน
เรียบเรียงจาก:https://www.fraserinstitute.org/sites/default/files/human-freedom-index-2022.pdf