มีรายงานว่าเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรนั้นกำลังมุ่งไปที่ผู้ที่มีอายุน้อย และหลายรายก็พบว่ามีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งกลุ่มคนที่มีการศึกษาดี มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้มากกว่าหนึ่งภาษานั้น กำลังตกเป็นเป้ามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกลุ่มอาชญากรนั้นมีความต้องการแรงงานที่มีความรู้เพื่อที่จะก่ออาชญากรรมออนไลน์ นับตั้งแต่กรณีโรแมนซ์แกรมหรือที่เรียกกันว่า “การเชือดหมู”,การฉ้อโกงคริปโต, ไปจนถึงการฟอกเงินและการพนันออนไลน์
สืบเนื่องจากที่สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเสนอข่าวขบวนการหลอกลวงชาวต่างชาติ อาทิ ชาวอินเดีย,ชาวมาเลเซีย โดยกลุ่มมิจฉาชีพจะมีการหลอกลวงเป้าหมายด้วยการโฆษณาสมัครงานรายได้สูงทั้งในประเทศไทย,กัมพูชา,ลาว และเมียนมา แต่เมื่อเหยื่อหลงกลหลวมตัวเข้ามาสมัครงานแล้ว กลุ่มมิจฉาชีพก็จะมีการพาเหยื่อไปทำงานที่เกี่ยวกับการฉ้อโกง งานที่ผิดกฎหมายทั้งในประเทศกัมพูชา ประเทศไทย ประเทศลาวและในประเทศเมียนมา
- มิจฉาชีพหลอกชาวมาเลเซีย อ้างจัดหางานรายได้ดี ก่อนพาตัวผ่านไทย ลอบเข้ากัมพูชา
- มิจฉาชีพไทยหลอกชาวทมิฬ 50 ชีวิต ทำงานฉ้อโกงออนไลน์ในเมียนมาร์ วอน รบ.อินเดียช่วยเหลือ
ล่าสุดสำนักข่าวบีบีซีของประเทศอังกฤษได้มีการเจาะลึกขบวนการฉ้อโกง หรือเครือข่ายหลอกให้สมัครงานเหล่านี้ ว่าเป็นปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์ที่เรื้อรังในภูมิภาค ซึ่งสำนักข่าวอิศราได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
ข้อเสนอการทำงานของกลุ่มมิจฉาชีพนั้นจะมีการเสนอว่าจะเป็นงานง่ายๆ ทำงานที่ต่างประเทศ มีเงินเดือนสูง และมีโอกาสที่จะได้อาศัยอยู่ในโรงแรมหรูหรา พร้อมกับมีเทรนเนอร์ส่วนตัว
นี่คือข้อเสนอซึ่งอยู่ในประกาศหาพนักงานไปทำงานขายของผ่านโทรศัพท์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งทำให้นายเหวิน หยาง เหว่ยปิน ชาวไต้หวันในวัย 35 ปีให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเมื่อเขาเห็นประกาศหางานดังกล่าว เขาก็แทบจะไม่ได้ไตร่ตรองงอะไรเลย เพราะว่าข้อเสนอในงานนี้นั้นมีค่าตอบแทนที่สูงกว่าอาชีพหมอนวดที่เขาทำอยู่มากนัก อีกทั้งเขาก็ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองด้วย
ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น นายเหว่ยปิน ก็นั่งเครื่องบินมายังกรุงพนมเปญ โดยเมื่อเขามาถึง เขาก็ถูกชายหลายคนพาตัวไปยังอาคารที่มีลักษณะเก่าอึมครึม บนถนนที่ถูกทิ้งร้าง แทนที่จะเนโรงแรมหรูที่ปรากฏอยู่บนประกาศรับสมัครงาน
แน่นอนว่าพาสปอร์ตของเขาก็ถูกริบไป โดยผู้ทีริบพาสปอร์ตอ้างว่าจะนำเอาไปทำเรื่องเอกสาร และนายเหว่ยปินก็ถูกนำตัวไปยังห้องเล็กๆเปล่าๆไม่มีอะไรในห้องเลย ซึ่งหนึ่งในผู้ชายที่นำตัวเขามาบอกว่า “คุณไม่สามารถจะออกไปจากบริเวณนี้ได้”
ส่วนเงินค่าตอบแทนที่บอกว่าจะให้นั้นก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดด้วยเช่นกัน
“ผมรู้แล้วในตอนนั้นว่าผมมาผิดที่ นี่เป็นสถานการณ์ที่อันตรายเป็นอย่างยิ่ง”นายเหว่ยปินให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซี
นายเหวิน หยาง เหว่ยปิน ชาวไต้หวันแชร์ประสบการณ์การถูกหลอกลวงของตัวเอง ณ แผงนวดในไต้หวัน
โดยนายเหว่ยปินนั้นถือว่าเป็นหนึ่งในแรงงานจำนวนนับพันรายในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ที่กลายเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ผ่านการหลอกลวงด้านการจัดหางานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือว่าอาเซียน ซึ่งทางรัฐบาลของหลายประเทศในภูมิภาค อาทิ รัฐบาลประเทศอินโดนีเซีย,เวียดนาม,มาเลเซีย,ฮ่องกง และไต้หวัน ต่างส่งเสียงเตือนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวนี้
ด้วยข้อเสนอที่อยู่ในโฆษณาระบุว่าจะเป็นงานง่ายๆ ทำให้หลายคนนั้นถูกหลอกลวงให้เดินทางไปยังประเทศอย่างกัมพูชา,เมียนมา และประเทศไทย ซึ่งเมื่อพวกเขามาถึงแล้ว พวกเขาก็จะถูกจับกุมตัวเป็นนักโทษ และถูกบังคับให้ทำงานฉ้อโกงออนไลน์ ในพื้นที่ที่เรียกว่าศูนย์หลอกลวงหรือ “โรงงานของการฉ้อโกง” (fraud factories)
ทั้งนี้ปัญหาเรื่องการค้ามนุษย์นั้นเป็นเสมือนกับปัญหาเฉพาะถิ่นของภูมิภาคอาเซียนมานานแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าขบวนการอาชญากรรมเหล่านี้กำลังขยายขอบเขตการปฏิบัติงาน และมีประเภทของเหยื่อที่หลากหลายมากขึ้นตามไปด้วย
มีรายงานว่าเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรนั้นกำลังมุ่งไปที่ผู้ที่มีอายุน้อย และหลายรายก็พบว่ามีอายุอยู่ในช่วงวัยรุ่น ซึ่งกลุ่มคนที่มีการศึกษาดี มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และสามารถพูดภาษาท้องถิ่นได้มากกว่าหนึ่งภาษานั้น กำลังตกเป็นเป้ามากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากกลุ่มอาชญากรนั้นมีความต้องการแรงงานที่มีความรู้เพื่อที่จะก่ออาชญากรรมออนไลน์ นับตั้งแต่กรณีโรแมนซ์แกรมหรือที่เรียกกันว่า “การเชือดหมู”,การฉ้อโกงคริปโต, ไปจนถึงการฟอกเงินและการพนันออนไลน์
ทางด้านของนายชีติน จากประเทศเวียดนามก็เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีเช่นกันว่าตัวเขานั้นก็เคยปลอมตัวเองเป็นผู้หญิง และหลอกเป็นเพื่อนกับคนแปลกหน้ามากมายในทางออนไลน์
“ผมถูกบังคับว่าต้องหาเพื่อนออนไลน์ให้ได้ 15 วันในทุกๆวัน และต้องชักชวนให้พวกเขาเข้าร่วมการพนันออนไลน์ และร่วมในเว็บไซต์ลอตเตอรี โดยผมต้องโน้มน้าวให้คนอย่างน้อยห้าคนเอาเงินไปฝากในบัญชีการพนันของพวกเขา” นายชีตินกล่าว
นายชีตินกล่าวต่อไปว่าผู้จัดการบอกให้เขาทำงานอย่างเชื่อฟัง อย่าพยายามที่จะหลบหนีหรือขัดขืน มิฉะนั้นเขาจะถูกพาตัวไปยังห้องทรมาน มีหลายคนบอกเขาว่าถ้าหากพวกเขาไม่สามารถบรรลุเป้าได้ พวกเขาจะอดข้าวและจะต้องถูกทุบตี
การล่วงละเมิด การทำร้ายร่างกายนั้นยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังในกลุ่มเหยื่อ โดยมีรายงานว่ามีเหยื่อชาวเวียดนามจำนวนสองรายที่ไม่ระบุชื่อให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีว่าพวกเขานั้นถูกช็อตไฟฟ้า,ถูกซ้อม และถูกขายให้ศูนย์ฉ้อโกงต่างๆ
โดยหนึ่งในเหยื่อชาวเวียดนามที่ว่านี้พบว่าเป็นเด็กหญิงอายุแค่ 15 ปี เธอถูกทำร้ายที่ใบหน้า จนปัจจุบันนั้นต้องดรอปออกจากโรงเรียน และเหยื่ออีกรายเป็นผู้ชายอายุ 25 ปี ถูกเรียกค่าไถ่ไปยังครอบครัวโดยหนึ่งในผู้ที่จับตัวเขามา ซึ่งในที่สุดแล้วครอบครัวของชายคนนี้รวบรวมเงินมาได้ประมาณ 2,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ(98,250) จึงทำให้สามารถไถ่ตัวเขาให้ได้รับอิสรภาพได้
อย่างไรก็ตามในกลุ่มคนอีกมากซึ่งไม่สามารถหาเงินมาไถ่ตัวเองได้นั้นมีทางเลือกที่น้อยมาก และพวกเขาต้องพยายามหาทางหลบหนีออกมา โดยหนึ่งในคดีที่มีชื่อเสียงมากก็คือคดีที่มีชาวเวียดนามจำนวนกว่า 40 รายนั้นถูกกักขังอยู่ที่คาสิโนในประเทศกัมพูชาได้แหกที่คุมขังออกมา และกระโดดลงแม่น้ำเพื่อที่จะหลบหนีข้ามพรมแดน ซึ่งในระหว่างการหลบหนีมีเด็กผู้ชายอายุ 16 ปี เสียชีวิตจากกระแสน้ำที่พัดพาไป
ทั้งนี้ประเทศกัมพูชาได้กลายเป็นฮอตสปอตหลักของศูนย์ปฏิบัติการณ์การหลอกลวงเช่นเดียวกันกับในเมืองอื่นๆที่อยู่ริมพรมแดนทั้งในประเทศไทยและในประเทศเมียนมา
ชาวมาเลเซียซึ่งถูกล่อลวงไปทำงานที่กัมพูชาเดินทางกลับประเทศตัวเอง (อ้างอิงวิดีโอจาก CNA)
ประเด็นที่สำคัญก็คือว่าขบวนการเหล่านี้นั้นสามารถสืบต้นตอไปได้ว่ามีเจ้าของเป็นชาวจีน,หรือนิติบุคคลจีนเป็นต้น โดยข้อมูลจากองค์กรต่อต้านการหลอกลวงระดับโลก หรือ Global Anti-Scam Organization (GaSO) นั้นระบุว่าลักษณะของบริษัทที่ว่ามานี้นั้นก็คือว่ามันถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อจะดำเนินการปกปิดองค์กรอาชญากรรมของจีน
“หลายขบวนการนั้นมีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน มีการแยกแผนกไอทีของตัวเองสำหรับดำเนินกิจกรรมทั้งการเงิน,การฟอกเงินเป็นต้น โดยขบวนการที่ใหญ่กว่านั้นมีรูปแบบการทำงานที่เหมือนกับองค์กรหรือบริษัท มีการฝึกฝนกระบวนการหลอกลวงอย่างดี,มีการรายงานความคืบหน้า,โควต้าและเป้าหมายการขายอย่างชัดเจน” นางแจน ซานติอาโก กล่าว
มีรายงานระบุด้วยว่าองค์กรอาชญากรรมสัญชาติจีนดังกล่าวนี้นั้นยังมีฉากหน้าหรือตัวแทนของตัวเองในประเทศต่างๆแตกต่างกันออกไป โดยองค์กรอาชญากรรมนั้นมักจะต้องพึ่งพากับกลุ่มอาชญากรในประทศท้องถิ่นแต่ละประเทศอีกทีหนึ่งเพื่อจะดำเนินกิจกรรมของศูนย์ปฏิบัติการณ์ฉ้อโกงหรือว่าการหลอกหาแรงงานน
โดยองค์กรอาชญากรรมในช่วงที่เกิดวิกฤติ-19 นั้น ได้มีการปรับรูปแบบในการดำเนินงานมาเป็นรูปแบบออนไลน์อย่างรวดเร็ว มีกลุ่มผู้ค้ามนษย์หลายรายก็ได้เล็งเป้าหมายไปที่กลุ่มคนงานจีน อย่างไรก็ตามจีนนั้นเป็นประเทศที่ยังใช้มาตรการปิดเมือง มีการล็อกดาวน์ในหลายๆเมือง ซึ่งการกระทำของรัฐบาลจีนดังกล่าวนั้นทำให้องค์กรฯต้องสูญเสียแรงงานซึ่งมาจากกระบวนการค้ามนุษย์ไปเป็นจำนวนมาก กลุ่มองค์กรฯจึงได้หันไปหาเหยื่อที่มาจากประเทศอื่นๆแทน ซึ่งในช่วงเดือนที่กลุ่มองค์กรอาชญากรรมได้ปฏิบัติการณ์ ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่เศรษฐกิจเอเชียเริ่มฟื้นฟูจากวิกฤติโควิดแล้ว ทำให้มีผู้หางานทำเป็นจำนวนมากในประเทศเหล่านี้
“มีรายงานว่าเหยื่อหลายคนนั้นยังเป็นผู้ที่มีอายุน้อง บางคนก็เป็นบัณฑิตจบใหม่ และมีโอกาสหางานทำได้ค่อนข้างจำกัด พวกเขาเห็นโอกาสที่จะหารายได้ได้เป็นจำนวนมหาศาลจากโฆษณางานออนไลน์ที่ดูให้ความหวังกับพวกเขา” นางเป๊ปปี้ คิวินิเอมี-ซิดดิก ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้อพยพในเอเชียแปซิฟิก ซึ่งสังกัดองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานของสหประชาชาติกล่าว
นางซิดดิกกล่าวเสริมว่าเนื่องจากว่าในหลายประเทศนั้นมีการผ่อนปรนมาตรการการจำกัดการเดินทางที่มีในช่วงโควิดแล้วในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กลุ่มผู้ค้ามนุษย์จึงมองว่านี้เป็นโอกาสอันดีที่จะล่อลวงและเคลื่อนย้ายผู้คนไปเรื่อยๆ
“พวกเขาเลือกที่จะปฏิบัติการณ์ในประเทศที่มีขีดความสามารถน้อยกว่าในเรื่องของการจัดการกับอาชญากรรมที่ทำงานกันเป็นระบบ และอีกปัจจัยก็คือว่าประเทศจีนนั้นมีการลงทุนในอาเซียนคิดเป็นจำนวนมหาศาลผ่านโครงการเบลท์แอนด์โรด ซึ่งโครงการนี้นั้นเป็นการปรับปรุงระบบการเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค และแน่นอนว่าโครงการดังกล่าวก็ไปสนับสนุนต่อการขยายตัวขององค์การอาชญากรรมอย่างไม่ได้ตั้งใจ ” ผู้เชี่ยวชาญระบุ
ย้อนไปเมื่อดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ทางการของประเทศไทยได้ดำเนินการจับกุมนายเสอ จื้อเจียง ประธานบริษัท Yatai International Holding Group และเขายังเป็นนักธุรกิจสัญชาติจีนที่ทำการลงทุนไปทั่วอาเซียน ซึ่งการลงทุนรวมไปถึงธุรกิจคาสิโนและศูนย์การท่องเที่ยวในเมียนมา ที่ชื่อว่าชเว ค็อกโก
ข่าวการจับกุมนายเสอ จื้อเจียง
นายเสอนั้นถูกออกหมายจับจากหน่วยงานตำรวจสากล โดยระบุว่าเขานั้นเป็นหัวหน้าแก๊งอาชญากรที่ดำเนินธุรกิจการพนันอย่างผิดกฎหมายในภูมิภาค มีเหยื่อหลายคนออกมากล่าวอ้างว่าพวกเขานั้นถูกค้ามนุษย์,ถูกคุมขังและถูกทรมานในศูนย์ของนายเสอ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่าเคเคพาร์ค
หน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายเองก็เพิ่งจะเริ่มทำอะไรได้เป็นชิ้นเป็นอันแล้วบ้าง โดยในช่วงไม่เกี่เดือนที่ผ่านมานั้นตำรวจกัมพูชาได้มีการทำงานร่วมกันกับทางการอินโดนีเซีย,ไทย,มาเลเซียและเวียดนาม เพื่อจะดำเนินการช่วยเหลือและทลายศูนย์ปฏิบัติการณ์การฉ้อโกง และมีการตั้งสายด่วนฮอตไลน์โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นเหยื่อ
โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกล่าวว่าเขารับทราบเกี่ยวกับการแพร่กระจายของอาชญากรรมข้ามชาติเหล่านี้ และระบุว่าอาชญากรรมรูปแบบใหม่ซึ่งกระทำโดยชาวต่างชาตินั้นดูจะมีการดำเนินการอย่างไร้ความปราณีโดยผู้กระทำความผิดซึ่งเป็นชาวต่างชาติ
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากรายงานกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ทั้งเหยื่อ และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตำรวจกัมพูชา,ผู้พิพากษานั้นสมรู้ร่วมคิดกันกับผู้ค้ามนุษย์หรือว่ารับเงินสินบนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ดำเนินคดีแต่อย่างใด
นางซิดดิกกล่าวต่อไปว่าต้องมีการดำเนินการที่มากกว่านี้เพื่อจะจัดการกับปัญหาได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งบางรัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนนั้นควรอย่างยิ่งที่จะอัปเดตกฎหมายป้องกันการค้ามนุษย์ให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ,มีระบบสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับบุคคลมากยิ่งขึ้น และมีความร่วมมือทางกฎหมายมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทั้งหมดนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาจึงจะบรรลุไปได้
สำนักข่าวอิศรารายงานข่าวเพิ่มเติมว่าจากกรณีดังกล่าวนั้นผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศราได้มีโอกาสสัมภาษณ์นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำฝ่ายค้านมาเลเซีย โดยนายอันวาร์กล่าวว่าเรื่องดังกล่าวนั้นปัญหาส่วนหนึ่งก็คือว่าการทุจริตในวงราชการ ก็ถือว่าทำให้ขบวนการเหล่านี้เติบโตไปได้ ดังนั้นจึงต้องมีการแก้ไขปัญหาในทุกด้าน ซึ่งรวมไปถึงการปฏิรูปการทำงานของตำรวจเพื่อแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงจาก:https://www.bbc.com/news/world-asia-62792875