สำหรับประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์อย่างมากเมื่อเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายๆครั้ง โดยประเทศไทยสามารถคงความสัมพันธ์อันดีไว้ได้กับทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายรวมไปถึงประเทศสหรัฐฯ ,มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย และยังสามารถคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับรัสเซียที่ประวัติศาสตร์อันยาวนานกับประเทศไทย เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อประเทศยูเครน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่าที่กรุงนิวเดลี เวลาประมาณ 13.30 น. หรือเวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย สำนักข่าวเอเชียน นิวส์ เน็ตเวิร์ก ได้มีการจัดเสวนาออนไลน์หรือที่เรียกกันว่าเว็บบินาร์ ในหัวข้อเกี่ยวว่าการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์สำหรับยุโรปมีความหมายอย่างไรกับเอเชีย ซึ่งการหารือดังกล่าวนั้นได้มุ่งเน้นไปที่สงครามในประเทศยูเครน ท่าทีของประเทศในยุโรปและในสหรัฐอเมริกา ที่กลับไปใช้นโยบายสะสมอาวุธอีกครั้งหนึ่ง นโยบายด้านการต่างประเทศต่างๆ ทั้งหมดนี้จะมีผลประทบและอิทธิพลต่อหลายประเทศในเอเชียอย่างไรบ้าง
โดยมีผู้เข้าร่วมเว็บบินาร์ได้แก่ นายอโศก สัจจานฮาร์ สมาชิกสภาบริหารสถาบันมาโนฮาร์ ปาริการ์ เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์กลาโหม และอดีตเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศคาซัคสถาน,สวีเดน และ ลัตเวีย จากกรุงนิวเดลี,นายฮิเดชิ โทคุจิ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพและความมั่นคง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมด้านการต่างประเทศญี่ปุ่น จากกรุงโตเกียว ,นายกิลัง เคมบารา นักวิจัยศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติและยังเป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์วิจัย จีน-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในทะเลจีนใต้ จากกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย, นายจูเลียน โวเจ หัวหน้าฝ่ายนโยบาย การประชุมความมั่นคงมิวนิก เยอรมนี,และนายปณิธาน วัฒนายากร ประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีไทย จากกรุงเทพ
โดยผู้เชี่ยวชาญหลายด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคและในด้านกลาโหมได้กล่าวว่าแม้ว่าประเทศต่างๆในเอเชียนั้นจะดำเนินนโยบายแยกจากกันในเรื่องผลประโยชน์ความมั่นคงของตัวเอง แต่ก็ได้ทำงานร่วมกันกับประเทศที่มีแนวคิดเหมือนกันในการเสริมสร้างกติการะหว่างประเทศ เพื่อที่จะขัดขวางต่อกรณีการรุกรานประเทศยูเครนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
ขณะที่นายปณิธานก็ได้กล่าวว่า กรณีการรุกรานประเทศยูเครนนั้นได้กลายเป็นการเตือนประเทศเล็กหลายๆประเทศถึงความน่ากลัวของคู่แข่งที่เป็นชาติมหาอำนาจที่จะมารุกรานโดยใช้กำลังทหารที่เหนือกว่า ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพรมแดนขึ้นได้ภายในไมกี่วัน,ดังนั้นการเพิ่มงบประมาณทางด้านกลาโหมนั้นอาจเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ภายในชั่วข้ามคืน,หรืออาจเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วันนี้ ซึ่งอันที่จริงแล้วนี่ถือว่าเป็นฝันร้ายสำหรับการสร้างสมดุลในระดับภูมิภาคที่หลายประเทศในเอเชีย รวมไปถึงในอาเซียน พยายามที่จะบรรลุสมดลนี้เอาไว้
ส่วนนาย,นายฮิเดชิ โทคุจิ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพและความมั่นคงได้กล่าวว่า ณ เวลานี้ประเทศญี่ปุ่นกำลังมีการทบทวนเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงของประเทศอยู่ ซึ่งความก้าวร้าวของรัสเซียนั้นถือว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งต่อกติการะหว่างประเทศซึ่งเป็นรากฐานสำคัญต่อความมั่นคงและความรุ่งเรือง
นายฮิเดชิ โทคุจิ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพและความมั่นคง และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมด้านการต่างประเทศญี่ปุ่น
ทางด้านของนายได้แก่ นายอโศก สัจจานฮาร์ สมาชิกสภาบริหาร สถาบันมาโนฮาร์ ปาริการ์ เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์กลาโหม และอดีตเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศคาซัคสถาน,สวีเดน และ ลัตเวีย ได้กล่าวว่าเขาคาดการว่าจะมีสั่นคลอนครั้งใหญ่ในด้านเครื่องมือเพื่อรักษาความมั่นคงระดับโลก ซึ่งการสั่นคลอนนี้จะเกิดขึ้นภายใต้อำนาจของรัสเซียที่ลดลง
“ในประเด็นเรื่องความไว้เนื้อเชื่อใจ และความน่าเชื่อถือนั้น ถือว่าได้รับผลกระทบในแง่ลบเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงแต่เฉพาะกับนายปูติน (นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย) เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความน่าเชื่อถือของประเทศรัสเซียด้วย ซึ่ง ณ เวลานี้ ความเป็นพันธมิตรโดยไม่มีขีดจำกัดระหว่างประเทศจีนและประเทศรัสเซียกำลังเผชิญกับบททดสอบอันยากลำบากยิ่ง” นายสัจจานฮาร์กล่าว
นายอโศก สัจจานฮาร์ สมาชิกสภาบริหารสถาบันมาโนฮาร์ ปาริการ์ เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์กลาโหม และอดีตเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศคาซัคสถาน,สวีเดน และ ลัตเวีย
ขณะที่นายกิลัง เคมบารา นักวิจัยศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติได้กล่าวว่าบางประเทศนั้นอาจจะเลือกข้างอย่างชัดเจน เช่นในกรณีของประเทศเมียนมาร์ ซึ่งอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอนของความขัดแย้งภายในประเทศ,และการเลือกข้างดังกล่าวนั้นอาจจะหมายถึงการออกจากประชาคมอาเซียน และไปเข้าร่วมมือกับองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ หรือไม่ก็โน้มเอียงไปทางประเทศรัสเซียมากขึ้น
ส่วนนายจูเลียน โวเจ หัวหน้าฝ่ายนโยบาย การประชุมความมั่นคงมิวนิก กล่าวว่าเขาเชื่อว่านี่ไม่ใช่เป็นประเด็นเรื่องความมั่นคลอนทางการเมือง ไม่ใช่ประเด็นเรื่องตะวันตกต่อต้านรัสเซีย ไม่ใช่การเกิดขึ้นซ้ำสองของสงครามเย็นแต่อยางใด แต่ทุกประเทศนั้นจะต้องกลับมาดูบทบาทตัวเองว่าพวกเขาสนับสนุนกฎกติการะหว่างประเทศหรือไม่
“มันไม่ได้เกี่ยวกับความเป็นกลาง หรือว่าเราจะต้องเข้าร่วมกับทีมไหน แต่ที่จริงแล้วเรื่องนี้นั้นเกี่ยวข้องกับประเด็นที่ว่าโลกแบบไหนที่คุณต้องการจะอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับประเทศเล็กๆด้วยแล้ว” นายโวเจกล่าว
นายโวเจกล่าวต่อโดยถามว่าเราต้องการจะอยู่ในโลกที่มีความปลอดภัย และมีความมันคงพอที่จะทำให้มั่นใจว่าประเทศอื่นจะไม่มารุกรานคุณใช่หรือไม่ และกล่าวว่าคำว่า “ระเบียบโลกใหม่” นั้นควรจะต้องเน้นความชัดเจนว่าจะต้องมีการแข่งขันกันในเชิงที่ได้ประโยชน์และมีความร่วมมือกันเกิดขึ้น ซึ่งในประเด็นความร่วมมือกันที่ว่านั้นก็รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ,ความมั่นคงด้านอาหาร,การจัดการกับขยะอวกาศ และร่วมมือกันในสนธิสัญญาด้านอาวุธ
“จะต้องมีกติกาที่มุ่งเน้นไปยังประโยชน์ส่วนรวม”นายโวเจกล่าว
แต่นายโวเจได้ยอมรับว่าเยอรมนี ในช่วงเวลาก่อนที่จะมีการรุกรานยูเครนนั้น เลือกที่จะอยู่ในจุดที่คิดว่าต้องปลอดภัยและมีความมั่งคั่ง
“เราอาศัยอยู่ในโลกที่รักสงบและเป็นอุดมคติ แต่เราก็ยังต้องพึ่งพากลไกของสหภาพยุโรป (อียู) และกติกาสากลที่มีความเป็นเสรีนิยม แต่ อย่างไรก็ตามหลังจากคริสต์ทศวรรษที่ 90 ก็มีสี่กลไกหลักที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง” นายโวเจกล่าว
นายโวเจกล่าวต่อว่าความเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ก็มีทั้งความเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากเทคโนโลยี เช่น อินเทอร์เน็ต, ภัยคุกคามทางไซเบอร์, การบิดเบือนข้อมูล ทั้งหมดนี้ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อการต่อสถานะทางการเมืองและทำลายการรับรู้นิยามของคำว่า “ภัยคุกคาม” ที่มีอยู่เดิมออกไป
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวยังได้บ่อนทำลายความสามารถในการคาดการณ์เหตุการณ์ต่างๆที่ได้เกิดไปแล้ว อาทิ การคาดการณ์เรื่องเบร็กซิต,เหตุการณ์ที่อัฟกานิสถาน และการระบาดของโควิด-19
นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีประเด็นเรื่องการสูญเสียความไว้วางใจในการเมืองระหว่างประเทศเช่นกัน อาทิ กรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีนโยบายต่ออียู และการที่เขาได้รื้อถอนสัญญาระหว่างประเทศ และกรณีการเสียความไว้วางใจระหว่างรัฐกับสังคมที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ปัจจัยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นทำให้อำนาจของโลกเริ่มเอียงไปยังประเทศจีนและรัสเซีย ทำให้ทั้ง 2 ประเทศนั้นเริ่มจะมีความโดดเด่นมากที่สุด
นายโวเจกล่าวต่อว่าสำหรับประเทศเยอรมนีตอนนี้นั้นได้ตามทันกลไกเหล่านี้ซึ่งส่งอิทธิพลไปถึงแนวคิดต่างๆแล้ว และเยอรมนีจะได้เดินหน้าเสริมสร้างทั้งในด้านกลาโหมและด้านความมั่นคงในช่วงเวลาไม่กี่ปีหลังจากนี้ โดยจะกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ความมั่นคงของชาติ ดังนั้นจึงหมายความว่าแรงสั่นสะเทือนจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นได้กลายเป็นที่ชัดเจนและกลายเป็นเรื่องจริงแล้ว ทำให้หลังจากนี้จะไม่มีการหันหลังกลับอีกต่อไป
นายจูเลียน โวเจ หัวหน้าฝ่ายนโยบาย การประชุมความมั่นคงมิวนิก
ขณะที่นายอโศกได้กล่าวว่าตำแหน่งงของประเทศอินเดียต่อกรณีการรุกรานยูเครน ณ เวลานี้ มีความยึดโยงกับทั้งประวัติศาสตร์และข้อตกลงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่ได้มีกับประเทศรัสเซีย ควบคู่ไปกับความกังวลเกี่ยวกับความใกล้ชิดของจีนและรัสเซียที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้
โดยล่าสุดอินเดียได้มีการบกำหนดว่าบูรณภาพแห่งดินแดนและกำหนดว่าอธิปไตยของทุกประเทศนั้นควรจะต้องอยู่ภายใต้ต่อการเคารพกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งถูกละเมิดไปแล้ว
ส่วนนายฮิเดชิได้กล่าวถึงบทเรียน 5 ประการด้วยกันที่ได้จากสงครามในยูเครนครั้งนี้ได้แก่
-การพังทลายของประชาธิปไตยทำให้เกิดการทำลายวิถีชีวิตที่เป็นไปตามกฎระเบียบระหว่างประเทศ
-การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจไม่ได้นำมาซึ่งการยุติสงคราม และจะมีประสิทธิภาพน้อยยิ่งกว่าถ้านำมาใช้กับประเทศจีน
-ไม่มีประเทศใดที่สามารถจะปกป้องอธิปไตยได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ดังนั้นพันธมิตรจึงมีความสำคัญยิ่ง
-ประชาคมโลกคาดหวังความเป็นผู้นำอันแข็งแกร่งของสหรัฐฯ แต่ว่าสิ่งที่สหรัฐฯสามารถทำได้เพียงลำพังนั้นอยู่ภายใต้ข้อจำกัดที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน ความแบ่งแยกในสังคมอเมริกันนั้นเป็นสิ่งที่จำกัดอำนาจของสหรัฐฯเอาไว้ ดังนั้นพันธมิตรของสหรัฐฯจึงต้องช่วยเหลือสหรัฐฯในด้านความมีส่วนร่วมในกิจการโลกต่อไป
-กลยุทธ์ด้านนิวเคลียร์นั้นกลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจยิ่ง ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันความเสี่ยงเรื่องการทำสงครามแลกเปลี่ยนด้วยนิวเคลียร์จะมีระดับต่ำ แต่ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นถ้าหากมาจากความเข้าใจผิด โดยเฉพาะจากทางฝั่งของรัสเซีย
นายฮิเดชิกล่าวต่อไปว่าญี่ปุ่นมีความจำเป็นยิ่งที่จะต้องลงทุนให้มากขึ้นในด้านการป้องกันประเทศตัวเอง,จะต้องไม่มุ่งเน้นไปที่ประเทศจีนอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงประเทศรัสเซียและประเทศเกาหลีเหนือด้วย โดยญี่ปุ่นจะต้องเน้นไปที่งานข่าวกรองที่ครอบมากขึ้น ระบบต่อต้านขีปนาวุธที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระบบการป้องกันภัยทางไซเบอร์ และเน้นไปที่ขีดความสามารถการป้องกันเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ (คชรน.) ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
นายฮิเดชิยังได้เรียกร้องให้มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งระหว่างพันธมิตรญี่ปุ่นและสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสนับสนุนการดำเนินงานของญี่ปุ่นต่อกองกำลังสหรัฐฯ ในด้านการจัดหาท่าเรือและสนามบินของญี่ปุ่นเพื่อใช้ในเหตุการณ์ฉุกเฉินในระดับภูมิภาค
นายฮิเดชิกล่าวทิ้งท้ายว่าหลังจากนี้ญี่ปุ่นมีความจำเป็นต้องมีส่วนร่วมการยกระดับกฎกติการะหว่างประเทศในฐานะที่ญี่ปุ่นเองก็เป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์อันสำคัญภายใต้ความมีเสถียรภาพที่มาจากการปฏิบัติตามกติกา
ส่วนนายกิลัง จากอินโดนีเซียกล่าวแสดงความไม่พอใจต่อกรณีการให้ความสำคัญกับการเมืองในประเทศมากเกินไป อันส่งผลทำให้มีการนำเอาประชานิยมไปกำหนดนโยบายต่างประเทศของอินโดนีเซีย โดยไม่นานมานี้อินโดนีเซียเพิ่งจะหยุดการออกคำประณามที่กินระยะเวลาสั้นมาก ต่อกรณีการรุกรานประเทศยูเครน ซึ่งเขามองว่าถ้อยทีของประเทศอินโดนีเซียในช่วงเวลาที่มีการออกคำประณามนั้นเหมาะสมแล้ว ในขณะที่อินโดนีเซียยังไม่แสดงตัวว่าตัวเองจะยืนอยู่ที่จุดใดในเหตุการณ์ครั้งนี้
นายกิลังกล่าวต่อว่าแม้ว่าผลประโยชน์ที่ภูมิภาคอาเซียนได้จากรัสเซียจะดูเหมือนว่ามีน้อยมาก จะมีก็เพียงแต่ในแง่ของอาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ป้องกันประเทศเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว รัสเซียยังมีบทบาทอย่างยิ่งในแง่ของการส่งเสริมอุดมการณ์ให้กับรัฐต่างๆในทวีปเอเชีย และเราก็ได้เห็นแล้วว่ามีการถดถอยของประชาธิปไตยอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งในอาเซียนและในเอเชีย ดังนั้นทัศนคติ และจุดยืนของนายปูตินว่าเขามองโลกอย่างไรนั้น ก็อาจจะกลายเป็นแบบอย่างและค่านิยมอันผิดๆ ให้กับรัฐต่างๆได้ด้วยเช่นกัน
นายกิลัง เคมบารา นักวิจัยศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติ อินโดนีเซีย
ส่วนนายปณิธานได้กล่าวว่าการรุกรานประเทศยูเครนจะไม่ช่วยบรรเทาความตึงเครียดระหว่างประเทศจีนและสหรัฐฯแต่อย่างใด อันที่จริงแล้วการรุกรานดังกล่าวนั้นจะส่งผลไปถึงไต้หวันและเกาหลีเหนือ โดยการเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณที่จะเกิดในช่วงไม่กี่ปีหลังจากนี้จะมีผลกระทบไปถึงการเมืองในระดับภูมิภาคสำหรับในบางประเทศอันจะส่งผลกระทบต่อประเด็นทั้งเสถียรภาพและความมั่นคงในอาเซียน
นายปณิธานกล่าวต่อไปว่าประเทศไทยเอง ณ เวลานี้ก็อยู่ในช่วงเวลาระหว่างการร่างแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคงฉบับใหม่ ซึ่งแผนดังกล่าวนั้นอาจจะต้องมีการระบุถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยสำหรับการแข่งขันทางอำนาจด้วยเช่นกัน
นายปณิธานกล่าวว่ากรณีการรุกรานยูเครนนั้นอาจจะช่วยให้เอเชียได้รวมตัวและมีความเป็นปึกแผ่นมากยิ่งขึ้น โดยในวิธีทางปฏิบัตินั้น สมาชิกอาเซียนอาจมีความสามารถ,เข้าถึงและเชื่อมต่อกับประเทศพันธมิตรต่างๆได้ทั้งหมด อันจะนำไปสู่การดำเนินสนธิสัญญาที่แตกต่างกันออกไปของสมาชิกอาเซียน หรือทำให้เกิดพันธมิตรในเชิงยุทธศาสตร์มากยิ่งขึ้น
นายปณิธานได้ยกตัวอย่างว่าที่ผ่านมาก็มีเครื่องมือในด้านความร่วมมือที่ว่านี้ปรากฏให้เห็นอยู่มากมาย อาทิ กลุ่มควอด (พันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและอินเดีย),สนธิสัญญาออคัส (สนธิสัญญาความร่วมมือทางทหารระหว่างสหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย) หรือแม้กระทั่งเอเปคเป็นต้น ซึ่งจากสถานการณ์โลก ณ เวลานี้ ก็อาจมีความเป็นไปได้ที่เครื่องมือความร่วมมือเหล่านี้อาจจะต้องถูกพิจารณาถึงแผนงานและองค์ประกอบกันใหม่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการออกแบบรูปแบบการเมืองในระดับภูมิภาคกันใหม่หมดเพื่อให้มีความยึดโยงกับกรอบใหม่ในระดับภูมิภาค
สำหรับประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกลักษณ์อย่างมากเมื่อเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายๆครั้ง โดยประเทศไทยสามารถคงความสัมพันธ์อันดีไว้ได้กับทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายรวมไปถึงประเทศสหรัฐฯ ,มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศจีนที่เป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย และยังสามารถคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับรัสเซียที่ประวัติศาสตร์อันยาวนานกับประเทศไทย เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ที่ไทยมีต่อประเทศยูเครน
“ประเทศไทยจึงต้องรักษาบรรทัดฐานระหว่างประเทศ...และต้องคำนึงถึงบูรณภาพแห่งงดินแดน โดยเรามีความสนใจเป็นอย่างยิ่งที่จะทำงานกับคนส่วนใหญ่ของโลกใบนี้เพื่อจะรักษาหลักการนี้เอาไว้” นายปณิธานกล่าว
นายปณิธานกล่าวต่อไปว่าถือเป็นเรื่องที่แย่และเศร้ามากสำหรับประเทศยูเครน ที่ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในระดับดุลภูมิภาคของทวีปยุโรป แต่กลับเล่นเกมการสร้างสมดุลความสัมพันธ์ได้ไม่ดีนัก
“เป็นเรื่องที่ไม่ดีเลยที่เราได้สูญเสียชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก และอาเซียนจะได้เรียนรู้บทเรียนมากมาย และปรับนโยบายต่างๆให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เหมาะสม” นายปณิธานกล่าว
นายปณิธาน วัฒนายากร ประธานกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของนายกรัฐมนตรีไทย (อ้างอิงรูปภาพจากเฟซบุ๊ก)
มีรายงานด้วยว่า ผู้ที่เข้าร่วมทุกคนนั้นได้มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าสหรัฐฯสมควรที่จะเป็นผู้นำในระเบียบโลกใหม่นี้ โดยจะต้องเป็นการนำของผู้นำในรูปแบบใหม่ และเงื่อนไขที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือว่าผู้นำในรูปแบบใหม่ที่ว่านี้ต้องไม่นายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ
เรียบเรียงจาก:https://www.thestatesman.com/world/asian-nations-response-thewarin-ukraine-1503056598.html