พบข้อมูลว่าหลายประเทศในเอเชียนั้นมีรายงานระดับการแพร่เชื้อที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และในเยอรมนีเองก็พบว่ามีกรณีของผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งขึ้นมาใกล้ระดับสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ ซึ่งข้อมูลจาก WHO พบว่ามีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 10 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 52,000 รายในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนนั้นได้มี มติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบ ปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น เริ่ม 1 ก.ค.นี้ แต่ทว่าในปัจจุบันนั้นดูเหมือนว่าอัตราการติดเชื้อโควิด-19 และอัตราเสียชีวิตรายวันของประเทศไทยนั้นยังคงพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น ทางด้านของสำนักข่าว NEWS9 ของประเทศออสเตรเลียได้มีการเผยแพร่บทความในหัวข้อว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการสำรวจในประเด็นเรื่องเมื่อไร และอย่างไรถึงจะประกาศให้ยุติสถานการณ์ฉุกเฉินของไวรัสโควิด-19 โดยสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำรายงานมานำเสนอ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เป็นเวลา 2 ปีแล้วนับตั้งแต่ที่มีโรคระบาดไวรัสโควิด-19 โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกนั้นได้เห็นการพุ่งขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของการติดเชื้อ,การเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิต แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มีสัญญาณของวิกฤตินี้ว่ามันจะทุเลาลงไปแล้ว
อย่างไรก็ตามในประเด็นเรื่องว่าวิกฤตินี้จะสิ้นสุดอย่างไรนั้น ต้องย้อนไปดูถึงการแพร่ระบาดในอดีตที่อาจจะบอกเงื่อนปมเกี่ยวกับการสิ้นสุดของภาวะแพร่ระบาดได้บางประการ โดยจุดจบของการแพร่ระบาดนั้นจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกวิจัยเอาไว้อย่างละเอียดเหมือนกับตอนที่โรคระบาดได้เริ่มต้นขึ้น ซึ่งทางด้านของ พญ.เอริก้า ชาร์เตอร์ส ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ผู้ที่ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ได้กล่าวว่าแต่รูปแบบของเหตุการณ์ซ้ำๆนั้นก็อาจจะให้บทเรียนที่สำคัญบางประการได้ในช่วงไม่กี่เดือนหลังจากนี้
การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในฮ่องกง หลังจากไม่สามารถฉีดวัคซีนให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงได้เพียงพอ (อ้างอิงวิดีโอจาก ABC News)
“สิ่งหนึ่งที่เราได้เรียนรู้คือมันเป็นกระบวนการที่ยาวนานและขยายวงออกไป โดยเฉพาะตอนจบในมิติต่างๆนั้นก็อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งจุดจบที่ว่านั้นก็รวมถึงจุดจบของภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เมื่อโรคมีความหดตัวลง,จุดจบของภาวะฉุกเฉินทางการเมือง เมื่อมาตรการป้องกันโรคของรัฐบาลสิ้นสุดลง และจุบจบของภาวะฉุกเฉินทางสังคม เมื่อผู้คนได้ใช้ชีวิตก้าวต่อไป” พญ.ชาร์เตอร์สระบุ
@ภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นเกิดขึ้นและเสื่อมลงในพื้นที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละส่วนของโลก
ทั้งนี้ WHOได้มีการประกาศให้ไวรัสโควิด-19 นั้นเป็นโรคระบาด เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2563 ที่ผ่านมา และ WHO จะตัดสินใจว่าเมื่อไรจึงจะมีจำนวนประเทศที่มีการลดลงของผู้ติดเชื้อที่เพียงพอหรือว่าอย่างน้อยมีจำนวนผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลและผู้เสียชีวิตลดลงเพียงพอแล้ว จึงจะสามารถบอกได้ว่าภาวะวิกฤติทางสุขภาพในระดับนานาชาตินั้นถึงจุดสิ้นสุดแล้ว ซึ่ง ณ เวลานี้นั้น WHO ยังไม่ได้มีการระบุเป้าหมายที่ชัดเจนมาก่อน แต่ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นเจ้าหน้าที่ได้มีการตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ว่าจะมีการยุติภาวะโรคระบาดอย่างไร โดยตอบว่าต้องมีการบรรลุความสำเร็จใดบ้างก่อนที่โลกจะสามารถเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงได้
โดย ณ เวลานี้นั้นการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาและโควิดทั่วโลกนั้นกำลังลดต่ำลง ซึ่งในช่วง2 สัปดาห์ที่ผ่านมานั้นพบว่ามีการลดลงของผู้ติดเชื้อลงไปอยู่ที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อในประเทศอินเดียก็ลดต่ำลงเช่นกัน อย่างไรก็ตามพบข้อมูลว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในบางประเทศ อาทิ ที่นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักรและที่ฮ่องกง ซึ่งทางด้านของ พญ.คาริสซา เอเตียน ผู้อํานวยการองค์การอนามัยแพนอเมริกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ WHO ได้กล่าวว่ายังคงมีประชาชนในหลายประเทศนั้นต้องการยาและวัคซีนอยู่ โดยจากข้อมูลแค่ในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาและในแถบแคริบเบียนนั้นพบว่ามีประชาชนกว่า 248 ล้านคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโควิดในโดสแรก
พญ.เอเตียนกล่าวต่อไปในช่วงการแถลงข่าวว่าประเทศที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำนั้นมีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นของอาการป่วย การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตในอนาคต
“เรายังไม่ออกจากภาวะโรคระบาดครั้งใหญ่ในตอนนี้” นพ.ซิโร อูการ์เต้ ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ฉุกเฉินขององค์การอนามัยแพนอเมริกันกล่าว และกล่าวต่อไปว่าเรายังคงต้องการแนวทางที่จะจัดการกับภาวะการระบาดครั้งนี้ ด้วยการใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ซึ่ง ณ เวลานี้ มีหลายประเทศทั่วโลกแล้วที่ได้ประกาศในเรื่องของก้าวถัดไปเพื่อจะเข้าสู่การใช้ชีวิตในโหมดปกติมากขึ้น อาทิ การผ่อนคลายมารการการสวมหน้ากากอนามัย,การผ่อนคลายมาตรการและแนวทางการกักตัว และการเป็นพรมแดนสำหรับเดินทาง
แต่ถึงกระนั้น กลับพบข้อมูลว่าหลายประเทศในเอเชียนั้นมีรายงานระดับการแพร่เชื้อที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และในเยอรมนีเองก็พบว่ามีกรณีของผู้ติดเชื้อใหม่พุ่งขึ้นมาใกล้ระดับสูงสุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ ซึ่งข้อมูลจาก WHO พบว่ามีผู้ติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 10 ล้านราย และมีผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 52,000 รายในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
@ตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับหลายประเทศเพื่อจะพิจารณาว่าจะออกจากสถานะฉุกเฉิน ก็คือภูมิคุ้มกันของประชากร
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหลายคนที่ WHO เริ่มที่จะมีการหารือกันแล้วว่าอย่างไร และเมื่อไรถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการยุติสำหรับวิกฤติไวรัสโควิด-19 โดยได้มีการสำรวจแล้วว่าอะไรบ้างที่พอจะเป็นหมุดหมายที่สำคัญ หลังจาก 2 ปีของการอุบัติของไวรัสโควิด-19 ผ่านพ้นไป
“คณะกรรมการฉุกเฉินกฎระเบียบด้านสุขภาพระหว่างประเทศเกี่ยวกับ COVID-19 กำลังพิจารณาถึงเกณฑ์ที่จำเป็นในการประกาศถึงการสิ้นสุดของภาวะฉุกเฉินในด้านสาธารณสุขในระหว่างประเทศ” หน่วยงานระบุผ่านอีเมล และระบุต่อไปว่า ณ เวลานี้ ถือว่าเรายังไปไม่ถึงจุดนั้น
โดยตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับประเทศเพื่อจะพิจารณาจะออกจากสถานะฉุกเฉินนั้นก็คือภูมิคุ้มกันของประชากร หมายความว่าจะต้องมีสัดส่วนของประชาชนผู้ที่ได้รับสารภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากการฉีดวัคซีน,จากการติดเชื้อโควิด หรือว่าทั้ง 2 อย่างรวมกัน ซึ่งนักวิจัยได้มีการประเมินแล้วว่าประมาณ 98 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในสหราชอาณาจักรนั้นถือว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 แล้ว และภูมิคุ้มกันที่ว่านี้ก็สามารถจะป้องกันอาการป่วยอย่างรุนแรงได้
นายเทดรอส อัดฮานอม เกบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO ประกาศว่าจุดสิ้นสุดของโรคระบาดนั้นยังอยู่ห่างไกล (อ้างอิงวิดีโอจาก WHO)
มีนักวิจัยรายหนึ่งได้กล่าวด้วยว่าภูมิคุ้มกันที่ว่านี้นั้น ไม่ได้เป็นระดับเดียวกันกับในระดับของแอนติบอดีที่ต้องการเพื่อให้บรรลุภูมิคุ้มกันหมู่ ซึ่งสามารถป้องกันไวรัสไม่ให้แพร่กระจาย
โดยคำว่าภูมิคุ้มกันหมู่นั้นดูเหมือนกับว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้อย่างยิ่งสำหรับไวรัสโคโรน่า เพราะวัคซีนที่มี ณ เวลานี้นั้นไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อเลย อีกทั้งการติดเชื้อก็ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อซ้ำแต่อย่างใด
ทั้งนี้ในประเทศอินเดียนั้นก็พบว่ามีประชากรมากกว่า 92 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว ที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดส ซึ่งจากอัตราการฉีดวัคซีนดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประเด็นเรื่องความร้ายแรงของไวรัสนั้นไม่ใช่ข้อกังวลแต่อย่างใดในประเทศอินเดีย แต่ทว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้ออกมาให้ความเห็นว่ายังคงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าจะเกิดคลื่นการระบาดลูกใหม่ในประเทศอินเดียมาอีกหรือไม่ และเมื่อไรถึงจะถึงจุดพีคของการระบาดที่แท้จริงในประเทศอินเดีย
แต่เนื่องจากว่าการครอบคลุมของวัคซีนในประเทศอินเดียนั้นถือว่าเป็นข่าวดี จึงเป็นเหตุทำให้ทาง WHO ได้มีการดำเนินการอย่างระมัดระวังในช่วงเวลาที่ผ่านมา เพื่อที่จะกำหนดจุดสิ้นสุดของภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขและการระบาดทั่วโลก
โดยการตัดสินใจเรื่องดังกล่าวนั้น คงต้องเป็นสิ่งที่ทางด้านของนายเทดรอส อัดฮานอม เกบรีเยซุส ผู้อำนวยการ WHO จะไปหารือกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประกาศในท้ายที่สุดต่อไป