พญ.ซาราห์ กิลเบิร์ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและยังเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ากล่าวว่าวัคซีนสำหรับไวรัสโควิดที่มีอยู่ ณ เวลานี้ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ที่ผลิตมัน ก็ดูเหมือนว่าจะทำได้ไม่ดีนักถ้าต้องเจอกับโอไมครอน
จากกรณีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ณ เวลานี้ ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยนั้นมมีการออกนโยบายการฉีดวัคซีนบูสเตอร์กันอย่างเร่งด่วน โดยหวังว่าการฉีดวัคซีนบูสเตอร์ดังกล่าวนั้นจะสามารถรับมือหรืออย่างน้อยก็ชะลอการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากไวรัสโควิดหรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้
โดยสำนักข่าว Independent ของประเทศอังกฤษก็ได้มีการเขียนบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนในปัจจุบันว่าจะสามารถบรรเทาสถานการณ์การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอารายงานดังกล่าวมานำเสนอมีรายละเอียดดังนี้
@วัคซีนมีประสิทธิภาพกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนหรือไม่
ข้อมูลปัจจุบันล่าสุดที่มาจากการวิเคราะห์ของหน่วยงานด้านความมั่นคงทางสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรนั้นบ่งชี้ว่าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จำนวน สองโดสไม่เพียงพอที่จะให้ภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงพอต่อกรณีการติดเชื้อแบบมีอาการที่เกิดจากไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ได้ ทั้งนี้วัคซีนที่มีอยู่ทั้งหมดในปัจจุบันนั้นก็ถือว่ามีประสิทธิภาพที่ลดลงไปอยู่แล้วเมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้า
อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนบูสเตอร์นั้นยังคงมีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงเป็นเหตุทำให้ในสหราชอาณาจักรมีการเน้นย้ำว่าการเข้ารับการฉีดวัคซีนโดสที่สามโดยเร็วที่สุดนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจะกระทำ
ทั้งนี้มีข้อมูลผลการทดลองที่ดำเนินการโดยศูนย์วิจัยการติดเชื้อเยอรมัน ของประเทศเยอรมนีค้นพบว่าจำนวนสารภูมิคุ้มกันหรือว่าแอนติบอดีที่ได้มาจากวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทค วัคซีนจากบริษัทโมเดอร์นา และวัคซีนของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้านั้นลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญยิ่ง เมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
แต่ทว่าวัคซีนจำนวนสองโดสก็น่าจะมอบภูมิคุ้มกันให้อย่างน้อย สำหรับกรณีการป่วยด้วยอาการร้ายแรง ซึ่งทางด้านขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ก็ได้ออกคำแนะนำว่าวัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังคงมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต
บริษัทไฟเซอร์ยืนยันว่าวัคซีนบูสเตอร์ของบริษัทนั้นสามารถรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ (อ้างอิงวิดีโอจาก CNBC)
ส่วนทางด้านของ นพ.อูคูร์ ซาฮิน ผู้บริหารและผู้ก่อตั้งบริษัทไบออนเทคได้กล่าวว่าบุคคลที่ได้รับวัคซีนจำนวนสองโดสนั้นโดยมากแล้วจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อหรือการป่วยใดๆก็ตาม ซึ่งสิ่งที่เรารู้กันอยู่แล้วก็ตามว่าการฉีดวัคซีนนั้นจะทำให้เซลล์ทีเกิดความจำไประยะหนึ่งอันจะนำมาสู่การป้องกันอาการเจ็บป่วยร้ายแรงได้
โดยในการบรรยายสรุปของบริษัทวัคซีนจำนวนหลายแห่งนั้นพบว่าวัคซีนของพวกเขาก็ยังคงมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับหนึ่งเมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน นพ.ซาฮินเองก็ได้กล่าวด้วยเช่นกันว่าเพราะฉะนั้นแล้วการเร่งการฉีดวัคซีนโดสที่สามหรือการฉีดบูสเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่ควรจะกระทำ และวัคซีนโดสพิเศษนั้นก็ดูเหมือนว่าจะสามารถชดเชยความด้อยประสิทธิภาพของวัคซีนไปได้เมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
และก็มีรายงานการศึกษาเบื้องต้นอีกชุดมาจากสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกาในประเทศแอฟริกาใต้เมื่อช่วงวันที่ 7 ธ.ค.ที่ผ่านมาระบุผลการทดลองพบว่ามีการลดลงของแอนติบอดีเป็นจำนวนถึง 41 เท่า หลังจากกรณีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นจำนวน 2 โดสแล้ว และต้องมาเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
โดยแม้ว่าผลลัพธ์จากการศึกษาในหลายรายการที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นจะบ่งชี้โดยชัดเจนว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีการหลบหนีที่กว้างขวางมากขึ้น แต่นักวิจัยก็ได้เผยแพร่ข้อมูลว่า การติดไวรัสโควิดก่อนหน้านี้ตามมาด้วยการฉีดวัคซีนไม่ว่าจะเป็นการฉีดปกติหรือว่าบูสเตอร์นั้นดูเหมือนว่าจะสามารถสร้างภูมิกันในระดับที่สูงและสามารถป้องกันอาการป่วยรุนแรงจากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้
ส่วนทางด้านของ นพ.อเล็กซ์ ซิกัลป์ ศาสตราจารย์จากสถาบันวิจัยสุขภาพแอฟริกาได้กล่าวในทวิตเตอร์ของตัวเองว่าผลลัพธ์ของทดลองดังกล่าวนั้นดีกว่าที่คาดคิดเอาไว้ เมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เนื่องจากข้อเท็จจริงว่าไวรัสนั้นยังคงต้องใช้อวัยวะส่วนรับ ACE2 เพื่อเข้าไปแพร่เชื้อในเซลล์ ดังนั้นจึงหมายความว่าการหลบภูมิคุ้มกันก็จะไม่มีทางสมบูรณ์ได้ ซึ่งนี่ถือเป็นปัญหาที่เรายังคงแก้ไขได้ด้วยเครื่องมือที่เรามี
@วัคซีนบางประเภทนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีนอีกประเภทจริงหรือไม่
มีการศึกษาในกลุ่มเล็กๆระบุด้วยว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจจะหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่มาจากวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์และไบออนเทครวมไปถึงวัคซีนในประเภทเดียวกันได้ดีกว่าไวรัสโควิดสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ เนื่องจากประเด็นที่ว่ามีการลดลงเป็นอย่างยิ่งของภูมิคุ้มกันในไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์
โดย นพ.ซิกัลป์ได้กล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นมาจากผลการศึกษาในห้องทดลองต่อกรณีไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์จำนวน 12 ราย
ขณะที่บริษัทโมเดอร์นานั้นยังไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนของบริษัทเมื่อต้องเจอกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอบ แต่ทางด้านของ นพ.สตีเฟ่น โฮจ ประธานบริษัทได้กล่าวว่ามีโอกาสสูงเป็นอย่างยิ่งที่วัคซีนในปัจจุบันจะเอาไม่อยู่เมื่อเจอกับโควิดสายพันธุ์ใหม่
โดยในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอบีซีเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. นพ.โฮจกล่าวว่าตัวเขาคิดว่ามีความเสี่ยงสูงที่เราจะเห็นการลดลงของประสิทธิภาพของวัคซีน แต่สิ่งที่เรายังไม่รู้คือก็คือการลดลงนั้นจะเป็นจำนวนเท่าใดกันแน่
@จะต้องมีวัคซีนสำหรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนโดยตรงหรือไม่
ผู้ผลิตวัคซีนได้เคยกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการด้วยความเร็วสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ กับแผนการที่จะพัฒนาและอัปเดตวัคซีนสำหรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้งานได้จริงในช่วงเดือน มี.ค. 2565 ถ้าหากจำเป็น
โดยบริษัทไฟเซอร์ได้กล่าวว่าถ้าหากจำเป็นก็จะสามารถผลิตวัคซีนสำหรับโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้ในระยะเวลา 100 วัน ซึ่ง นพ.ซาฮินได้กล่าวว่า “เรากำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับวัคซีนที่เราเชื่อว่าจะช่วยในการทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในระดับสูงต่อไวรัสโควิด-19 ควบคู่ไปกับการมีภูมิคุมกันอย่างยาวนานเมือเปรียบเทียบกับวัคซีนที่มีอยู่ตอนนี้”
ขณะที่ นพ.พอล เบอร์ตัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ของบริษัทโมเดอร์นากล่าวว่าน่าจะใช้เวลาประมาณสามเดือนสำหรับบริษัทในการผลิตวัคซีนที่เน้นเฉพาะไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
บริษัทจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเองก็ระบุว่าบริษัทได้ดำเนินการทดสอบวัคซีนของบริษัทกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนเช่นกัน ซึ่ง นพ.มาไท แมมเมน หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาระดับโลกของบริษัท ก็ได้เคยกล่าวในแถลงการณ์ว่าเราได้เริ่มที่จะทำงานเพื่อที่จะออกแบบและพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่สำหรับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว และจะมีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็วในช่วงการทดลองทางคลินิกถ้าหากจำเป็น
อย่างไรก็ตามบริษัทไม่ได้ห้ข้อมูลที่เป็นรูปธรรมในเรื่องของช่วงเวลาการพัฒนาวัคซีนแต่อย่างใด
ส่วนบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าก็ไม่ได้ระบุว่าจะมีการพัฒนาวัคซีนตัวใหม่สำหรับรับมือกับไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนนี้หรือไม่ แต่ทางด้านของ พญ.ซาราห์ กิลเบิร์ต จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและยังเป็นผู้ช่วยในการพัฒนาวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ากล่าวว่าวัคซีนสำหรับไวรัสโควิดที่มีอยู่ ณ เวลานี้ ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ที่ผลิตมัน ก็ดูเหมือนว่าจะทำได้ไม่ดีนักถ้าต้องเจอกับโอไมครอน
“จนกว่าเราจะรู้อะไรมากกว่านี้ เราควรมีความระมัดระวังและทำตามขั้นตอนเพื่อชะลอการแพร่กระจายของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้” พญ.กิลเบิร์ตกล่าวกับสำนักข่าวบีบีซี
รายงานข่าววัคซีนบูสเตอร์ของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ามีประสิทธิภาพต่อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (อ้างอิงวิดีโอจาก WION)
@เราจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกี่โดสกันแน่
ที่ผ่านมามีการคิดกันว่าจะต้องมีการฉีดวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์อย่างน้อยก็สามโดสถ้าจะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลเบื้องต้นจากห้องทดลองของบริษัทไฟเซอร์และยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบแต่อย่างใด
ทั้งนี้วัคซีนจำนวนสองโดสนั้นอาจจะป้องกันอาการป่วยที่รุนแรงได้ แต่ไม่รับรองว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้ติดโควิดได้หรือไม่
โดยนายอัลเบิร์ต โบวลา ผู้บริหารบริษัทไฟเซอร์ได้กล่าวให้ความเห็นว่าวัคซีนในโดสที่สี่นั้นอาจจะเป็นสิ่งที่จำเป็นถ้าหากจะใช้เพื่อป้องกันไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
นายโบวลาได้กล่าวต่อไปผ่านทางสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซี ว่าบริษัทกำลังรอดูผลการทดลองโลกจริงเพื่อจะตัดสินใจว่าจะต้องมีวัคซีนโดสถัดไปหรือไม่ในการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งถ้าหากไวรัสโอไมครอนนั้นมีการระบาดในกลุ่มผู้ที่ฉีดวัคซีนโดสสามแล้ว หมายความว่าตอนนั้นเราก็คงต้องการวัคซีนโดสสี่
เรียบเรียงจาก:https://www.independent.co.uk/news/health/omicron-covid-booster-pfizer-moderna-astrazeneca-b1983744.html