คณะแบงก์ชาติ ซึ่งนำโดยนายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมกับพนักงานฯ ลงพื้นที่ในโครงการ “เข้าถึง เข้าใจ วิถีชนบทไทย” ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่จังหวัดน่าน ในพื้นที่หมู่บ้านน้ำป้าก
สืบเนื่องจากเมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา คณะแบงก์ชาติ ซึ่งนำโดยนายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ พร้อมกับพนักงานฯ ลงพื้นที่ในโครงการ “เข้าถึง เข้าใจ วิถีชนบทไทย” ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ที่จังหวัดน่าน ในพื้นที่หมู่บ้านน้ำป้าก ซึ่งชาวแบงก์ชาติได้เห็นตัวอย่างการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ตั้งแต่การระดมความเห็นของชาวบ้านในการร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื่องดิน น้ำ ป่า การทำมาหาเลี้ยงชีพ การหาทางออกให้ปัญหาด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อเพิ่มผลผลิตและการเพิ่มมูลค่า
ผลผลิตด้วยการแปรรูป ตลอดจนการหาตลาดเพื่อขายสินค้า และชาวแบงก์ชาติยังช่วยสนับสนุนชาวบ้าน
โดยประสานงานหาผู้เชี่ยวชาญมาสอนชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อช่วยต่อยอดองค์ความรู้ พัฒนาสินค้า และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ “ข้าวเหนียวก่ำลืมผัว” ผ่านการพัฒนาหีบห่อให้มีมาตรฐานและรายละเอียดตัวสินค้า รวมถึงสอนให้ชาวบ้านเพิ่มช่องทางการขายที่เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น โดยจัดทำ Facebook page ที่ใช้ชื่อว่า น่าน บ้านน้ำป้าก ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเยี่ยมชมสินค้าท้องถิ่นกันได้ตามช่องทางการติดต่อด้านล่าง
การลงพื้นที่ในครั้งนี้นับว่าตรงกับหลักการ “ติดดิน” ที่ชาวแบงก์ชาติยึดถือ ซึ่งคือ การเข้าถึงข้อเท็จจริงในพื้นที่ เข้าใจวิถีชีวิตคนชนบท และนำเอาความต้องการและปัญหาของคนในพื้นที่มาตกผลึก วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะที่ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างตรงจุดและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
นอกจากนี้ ในช่วงเวลาที่ไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตโควิดที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคมนั้น การฟื้นฟูและการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจในชุมชนและท้องถิ่นนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งการติดอาวุธโดยการให้องค์ความรู้และทักษะกับชาวบ้านในการปรับกระบวนการผลิตทางการเกษตรสมัยใหม่ภายใต้ปัจจัยที่มี ต้นทุนที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการแปรรูปและพัฒนาเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆ ตามความต้องการของผู้บริโภค และการใช้ช่องทางการตลาดผ่านเทคโนโลยีออนไลน์ จะช่วยให้เศรษฐกิจชุมชนและท้องถิ่นเข้มแข็ง โดยสามารถพึ่งพาและยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง เปรียบได้กับการฝึกให้เขาจับปลาด้วยการยื่นเบ็ดที่เป็นอุปกรณ์ให้ แทนการให้ปลาที่จับแล้ว โดยไม่ได้สอนให้จับเอง ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องร่วมมือและช่วยกัน สังคม
จึงจะยั่งยืน
ข้าวเหนียวก่ำลืมผัว: