เมื่อเร็วๆ นี้ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.พญ.ศิรินธรา สิงหรา ณ อยุธยา รองคณบดี ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศ.เพิร์ทโฮลด์ เลสโก ผู้ประสานงานโครงการ ENeA SEA มหาวิทยาลัยลุดวิค แมกซิมิเลี่ยน ประเทศเยอรมนี รศ.นพ.สังคม จงพิพัฒน์วณิชย์ หัวหน้าโครงการ CU ENeA SEA ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าว “ครั้งแรก! ของวงการแพทย์อาเซียน e-learning องค์ความรู้โภชนาการ 1,000 วันแรกของชีวิต” ความสำเร็จ“ครั้งแรก ในวงการแพทย์อาเซียน” ของการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบอิเล็กโทรนิกส์ หรือ e-learning เพื่อเผยแพร่ ความรู้ใหม่เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต ได้แก่ โภชนาการสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร การให้นมแม่ โภชนาการทารกและเด็กเล็ก โดยได้มีการปรับปรุงเนื้อหาให้เข้ากับบริบทของแต่ละประเทศ ให้แก่แพทย์ และ บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย และประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ ห้อง 1301 ชั้น 13 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ศ.นพ.สุทธิพงศ์ กล่าวว่า ในปัจจุบันความรู้ใหม่จากการวิจัย เรื่องโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต โดยเฉพาะ 1,000 วันแรกของลูกน้อย ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา 9 เดือน และได้ลืมตาดูโลกจนถึง 2 ขวบนั้น กำลังเป็นที่จับตามองของบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับแม่และเด็ก จึงเป็น เหตุผลสำคัญที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับสถาบันชั้นนำอีก 6 แห่ง ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย Ludwig-Maximilians University ประเทศเยอรมนี University of Southampton ประเทศอังกฤษ Universitatea Politehnica ประเทศโรมาเนีย University of Malaya และ University of Kebangsaan ประเทศมาเลเซีย ได้พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบอิเล็กโทรนิกส์ หรือ e-learning เพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่จากการวิจัย เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในช่วงแรกของชีวิต ให้แก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย และ ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รศ.นพ.สังคม กล่าวถึงความร่วมมือ และความสำคัญในการจัดทำโครงการฯ ครั้งนี้ว่า การให้อาหาร ตามวัยสำหรับทารกที่มีคุณภาพและปริมาณเหมาะสมกับวัย เป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพของทารก ซึ่งจะมีผลต่อร่างกายและสติปัญญาในระยะยาว จากการศึกษา SEANUTS 2011 พบว่า มากกว่าร้อยละ 50 ของเด็กไทยอายุ 6 เดือนถึง 12 ปี ได้รับพลังงาน แคลเซียม ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินเอและซี น้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ
จากการสำรวจ Thailand MICS 2015-2016 พบว่า เด็กไทยช่วงอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี มีเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น ที่ได้รับอาหารตามวัยอย่างถูกต้องและเหมาะสม เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี มีภาวะเตี้ย น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ และผอมระดับปานกลางถึงรุนแรง ร้อยละ 10.5, 6.7 และ 5.4 ตามลำดับ และภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 8.2 ทารก เด็กไทยจึงมีปัญหาโภชนาการทั้งขาดและเกิน ซึ่งเป็นภาวะที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน
สำหรับ E-learning ที่จัดทำขึ้นนี้ ยังได้แปลเป็นฉบับภาษาไทย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข เพื่อช่วยให้บุคลากรสาธารณสุขของประเทศไทยเข้าถึง องค์ความรู้โภชนาการ 1,000 วันแรกของชีวิต ได้ง่ายและเข้าถึงมากขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติงานได้ ช่วยส่งเสริมให้เด็กไทยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง มีสุขภาพ และศักยภาพดี และประเทศไทยก้าวหน้าอย่างมั่นคงยั่งยืน นับว่าโครงการจัดทำ e-learning องค์ความรู้โภชนาการ 1,000 วันแรกของชีวิต ได้ดำเนินการ “สำเร็จ” เป็น “ครั้งแรกในวงการแพทย์อาเซียน” ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 และได้เริ่มเปิดให้ บุคลากรทางการแพทย์เข้าถึงเนื้อหาในบางส่วน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 (ได้แก่ Nutrition and lifestyle during pregnancy, Breastfeeding, Breast milk substitutes, Nutrition care of preterm infants, Identification and management of malnutrition