OR ตั้งเป้าสู่ Net Zero ปี 2050 ผลักดันพลังงานหมุนเวียน ดูดซับคาร์บอน ควบคู่การทำธุรกิจรักษ์โลกสู่ Green Retail ตามแนวทาง OR SDG
เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2030 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050 คือหนึ่งในจุดมุ่งหมายด้านความยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” ที่ทำให้ OR มีการจัดตั้งเป้าหมาย Energy & Utilities ในภาพของ Healthy Environment เพื่อลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงดั้งเดิม และผลักดันให้ภาคธุรกิจของ OR ไปสู่ Green Retail ตามแนวทาง OR SDG ในด้าน Green
ทาง OR มีความตระหนักถึงการลดการใช้พลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในภาพขององค์กร จึงได้มีแผนในการลดการสูญเสียพลังงาน จัดทำโครงการเป็น 2 ส่วนหลัก คือ
-
Productivity Improvement การสื่อความเพื่อขอความร่วมมือแต่ละหน่วยงานลดการใช้พลังงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลดการสูญเสียทรัพยากรภายในองค์กร
-
Energy Consultant ดำเนินการโดยจัดหาทีมที่ปรึกษาด้านพลังงาน พร้อมทั้งวางแผนจัดอบรมให้ความรู้พร้อมทั้งวางแผนจัดอบรมให้ความรู้ เพื่อเพิ่มภูมิความรู้สู่การปรับใช้ในภาคส่วนอื่นต่อไป
OR จึงมีแผนในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งในภาพการลงทุนในระบบผลิตพลังงานหมุนเวียนอย่างโซล่าเซลล์ โดยผลักดันการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียนใช้ในสถานประกอบการ และการซื้อพลังงานหมุนเวียน ผ่านการใช้เอกสารสิทธิ์ในการยืนยันการใช้พลังงานหมุนเวียนหรือ REC (renewable energy certificate)
ปัจจุบัน มีการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังการผลิตรวมในภาพองค์กรสูงถึง 8.563 MWp ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2023 และจัดซื้อพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบเอกสารสิทธิ์ในการยืนยันการใช้พลังงานหมุนเวียน (REC: Renewable Energy Certificate) จำนวน 2,875 MWh (REC) สำหรับปี 2023
ทั้งนี้ OR ยังจัดทำโครงการเกี่ยวกับป่าเพื่อดูดซับก๊าซเรือนกระจก โดยร่วมกับกรมป่าไม้ ขอสนับสนุนพื้นที่เพื่อจัดทำการปลูก และบำรุงรักษาป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและพะเยา รวม 1,900 ไร่
OR ได้ดำเนินการจ้างบุคคลในพื้นที่ ที่มีความรู้ความสามารถด้านการปลูกและบำรุงรักษาป่าไม้ และได้รับการรับรองจากกรมป่าไม้ในการดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาป่า และสำหรับโครงการที่ดำเนินการปลูกแล้วเสร็จจะถูกนำขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียวกับ อบก. เพื่อเก็บเป็นข้อมูลกรณีฐานของโครงการก่อนนำไปขอการรับรองคาร์บอนเครดิต โดยเครดิตที่ได้รับจะเป็นเครดิตประเภทการดูดซับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้
ปัจจุบัน OR จัดทำโครงการปลูกป่าร่วมกับกรมป่าไม้แล้ว เป็นพื้นที่รวม 1,500 ไร่ แบ่งออกเป็น 6 แปลง และได้จัดทำเอกสารขอขึ้นทะเบียนโครงการรวมถึงเอกสารประกอบ ของแปลงปลูก 280 ไร่ จาก 1,500 ไร่ และได้รับการตรวจประเมินโดยผู้ประเมินภายนอกแล้วเสร็จ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารขึ้นทะเบียน 280 ไร่ โดยกรมป่าไม้ก่อนยื่นขอขึ้นทะเบียนกับ อบก.
OR ได้ทำการตอบรับเข้าร่วมโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและลงนามในสัญญา ในการดำเนินโครงการบำรุงรักษาป่าชุมชน บนพื้นที่โครงการรวม 8,100 ไร่ ภายใต้แปลงป่าชุมชนโครงการหลัก 76 แปลง ที่กระจายอยู่ใน 4 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงใหม่ เชียงราย อำนาจเจริญ และยโสธร
โดยโครงการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการบำรุงรักษาป่าของชุมชนและส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้มีความสามารถในการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าชุมชน และสนับสนุน OR ในการได้มาซึ่งคาร์บอนเครดิตจากการดูดซับของต้นไม้ อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืชและสัตว์ในพื้นที่โครงการอีกด้วย
นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการของธุรกิจของ OR จึงนำมาสู่โครงการ Waste to Value ภายใต้แนวคิดการนำวัสดุจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ถูกใช้งานแล้ว เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค
ในปี 2565 OR ได้ดำเนินการขยายสาขาร้านในรูปแบบ “Café Amazon Circular Living” และเริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Upcycling ให้แก่ลูกค้า B2C (Business to Customer) รวมถึงลูกค้าแฟรนไชส์ B2B (Business to Business) ได้แก่
- เสื้อพนักงาน ผ้ากันเปื้อน และโซฟา
โดยการนำแก้วและขวดพลาสติก PET บรรจุเครื่องดื่มที่ผ่านการใช้งานแล้วมาย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ ผ่านกระบวนการให้ความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 180-220 องศาเซลเซียสเพื่อให้พลาสติกหลอมละลาย จากนั้นดึงออกมาเป็นเส้นใยรีไซเคิลโดยใช้เครื่องรีดพลาสติก ส่งให้โรงงานสิ่งทอ ออกแบบรูปแบบการทอ นำไปทอเป็นผืนผ้า และตัดเย็บออกมาเป็นผลิตภัณฑ์
- ผนังตกแต่งภายในร้าน
โดยการนำถุงฟอยล์บรรจุเมล็ดกาแฟที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาผสมกับรีไซเคิลพลาสติกและขึ้นรูปเป็นแผ่นผนังตกแต่งภายในร้าน Café Amazon
- โต๊ะ เก้าอี้ เคาน์เตอร์ชงกาแฟ ชั้นวางของ โคมไฟ
โดยการนำเยื่อหุ้มกาแฟที่เหลือจากกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟ มาผสมกับวัสดุอื่นๆ เช่นพลาสติก และประกอบขึ้นรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เพื่อใช้ในร้านคาเฟ่อเมซอน
- ต้นไม้เทียม มาจากพลาสติกรีไซเคิล นำมาขึ้นรูปและประดิษฐ์เป็นต้นไม้เทียมตกแต่งภายในร้าน
โดยการรวบรวมแก้วพลาสติก PET ที่นำมาใช้ในโครงการ มาจากโครงการวนและ GC เป็น collector จัดเก็บแก้ว PET จากโครงการเก็บแก้วกลับในแต่ละสาขา และนำส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลพลาสติก เพื่อทำการแปรรูปแก้ว PET เป็น flake ให้เหมาะกับการนำเข้ากระบวนการนำมา Upcycling ต่อไป
นอกจากนี้ OR ยังมีโครงการจากแนวคิด Circular Economy อีก 3 โครงการ คือ
- โครงการ “Wood Plastic Composite Furniture for FIT Auto”
โดยการนำกระป๋องน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วจาก Fit Auto มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนไม้ Furniture ตกแต่งใน FIT Auto ภายใต้แนวคิดการนำของเสียที่เกิดขึ้นไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นตามหลักการ Circular Economy
- โครงการ “Used Cooking Oil to Biodiesel (B100)”
โดยนำน้ำมันพืชใช้แล้วจากร้าน Texas Chicken ในแต่ละสาขา ไปผ่านกระบวนการ Recycle ผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล (B100)
โครงการนี้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียประเภทน้ำมันที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ Texas Chicken จากความมุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต ไปจนถึงสนับสนุนให้ผู้บริโภคสามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของ OR
รวมถึงสนับสนุนภาครัฐในการส่งเสริมการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ซึ่งเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ภายใต้แผนการดำเนินงานที่มุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม และ การเพิ่มสัดส่วนของรายได้จากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ
- โครงการ Recycle ถัง LPG ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่าง OR, ปตท. และโตโยต้า ทูโช
โดยการนำถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก๊าซหุงต้ม (LPG) ที่หมดสภาพการใช้งาน มารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อนำกลับมาใช้ในกระบวนการซ่อมบำรุงได้อีกครั้ง นอกจากจะลดซากเหล็กที่ต้องทำลายประมาณ 1,370 ตัน/ปี แล้ว ยังสามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณ 9,000 ตัน/ปี จากการไม่ต้องทำลายซากเหล็ก