แอมเนสตี้แถลงการณ์การใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงกับผู้ชุมนุมสะท้อนถึงมาตรการปราบปรามการประท้วงที่รุนแรงขึ้น
..........................................
สืบเนื่องจากการใช้กำลังตำรวจของไทยเพื่อสลายการชุมนุม รวมทั้งการใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารระคายเคืองและสีย้อม มิงยู ฮาห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคฝ่ายรณรงค์ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าว
“การใช้กำลังเกินกว่าเหตุเพื่อสลายการชุมนุมโดยสงบเมื่อคืนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องอย่างสิ้นเชิงกับหลักการตามกฎหมายที่ได้รับการยอมรับ ในหลักการความจำเป็น และหลักการที่ได้สัดส่วนอย่างที่ทางการไทยอ้าง
“การใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงที่ผสมสารระคายเคืองและสีย้อม ไม่เพียงอาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ การใช้สีผสมในน้ำยังเป็นการกระทำที่ไม่เลือกเป้าหมาย และอาจนำไปสู่การพุ่งเป้าเพื่อจับกุมโดยพลการต่อผู้ชุมนุมโดยสงบ ผู้สื่อข่าว และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ซึ่งอาจถูกน้ำฉีดใส่จนเปื้อนสี
“ในการควบคุมการชุมนุม ทางการไทยควรเคารพ คุ้มครองและประกันการใช้สิทธิมนุษยชนของผู้จัดการชุมนุมและผู้เข้าร่วม รวมทั้งยังต้องประกันความมั่นคงปลอดภัยของผู้สื่อข่าว ผู้สังเกตการณ์การชุมนุม และประชาชนทั่วไปที่ร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมด้วย
“เราขอเรียกร้องทางการไทยให้ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของตน และอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิในเสรีภาพการชุมนุมโดยสงบ ทางการไทยต้องอนุญาตให้ผู้ชุมนุมโดยสงบสามารถแสดงความคิดเห็นของตน โดยต้องไม่ทำให้เกิดความตึงเครียดเพิ่มมากกว่านี้”
โดยก่อนจะมีการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ตอนห้าโมงเย็นของวันศุกร์ ซึ่งการชุมนุมนั้นเป็นการชุมนุมต่อเนื่องจากวันก่อน ที่มีผู้เข้าร่วมในบริเวณเดียวกันประมาณ 10,000 คน ตำรวจได้สั่งปิดถนน ติดตั้งแนวกั้น และติดตั้งลวดหนามหลายชั้น เพื่อขัดขวางไม่ให้ประชาชนมาชุมนุมอย่างสงบได้อีกในบริเวณสี่แยกใจกลางกรุงเทพฯ
ส่งผลให้ผู้ชุมนุมประกาศย้ายจุดชุมนุมมาอีกที่แยกหนึ่ง บริเวณสี่แยกปทุมวัน ในช่วงค่ำ ตำรวจได้ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงหลายครั้งเพื่อพยายามสลายการชุมนุม ซึ่งคาดว่ามีผู้เข้าร่วมหลายพันคน
จากคำแถลงของโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้ประท้วงเจ็ดคนถูกจับและถูกควบคุมตัว โฆษกยังยืนยันว่า น้ำที่ฉีดผสมสารระคายเคืองและสีน้ำเงิน “เพื่อระบุตัวผู้ประท้วงที่จะถูกดำเนินคดีต่อไป”
ในวันเดียวกัน นายกิตติ พันธภาค นักข่าวประชาไทถูกจับ ถูกยึดอุปกรณ์ ถูกควบคุมตัว (และถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา) ทั้งนี้ตามแถลงการณ์ของประชาไท
ในวันพฤหัสบดี 15 ตุลาคม 2563 ทางการไทยประกาศห้ามการชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเป็นเวลา 30 วัน ในเขตกรุงเทพฯ คำสั่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อยุติการชุมนุมที่เกิดเพิ่มขึ้น ประกาศดังกล่าวยังห้าม
ทั้งยังเป็นคำสั่งห้ามการตีพิมพ์เผยแพร่ข่าวสารหรือข้อความออนไลน์ที่ “อาจทำให้เกิดความหวาดกลัว” ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือกระทบต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเห็นว่าเป็นประกาศที่ “รุนแรง” และเน้นย้ำข้อเรียกร้องต่อทางการให้ปล่อยตัวผู้ชุมนุม และให้ยกเลิกมาตรการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมอย่างสงบโดยพลการ
หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก www.infoquest.co.th