วชิรพยาบาลเริ่มประสานการช่วยดูแลรับส่งต่อผู้ป่วยโควิดจากโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนนทบุรีทั้ง ‘พระนั่งเกล้า-บางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-บางกรวย2’
ผศ .นพ จักราวุธ มณีฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิรพยาบาลเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 เม.ย.ว่า จากแนวทางของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช และคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล. ที่จะร่วมมือและให้ความช่วยเหลือโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีผู้ป่วยโควิดสูงเป็นลำดับต้นของประเทศ. และโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าอันเป็นโรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลอำเภอต่างๆในจังหวัดนนทบุรีที่มีผู้ป่วยโควิด อาจมีข้อจำกัดในเรื่องห้องผู้ป่วยความดันลบสำหรับผู้ป่วยวิกฤติ. และอาจมีการเตรียมการในเรื่องอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อที่ยังไม่พอเพียง. ดังนั้น วชิรพยาบาลซึ่งมีการเตรียบปรับวอร์ดผู้ป่วยสำหรับรับผู้ป่วยโควิด19 ที่เป็นห้องความดันลบทั้งห้องรวมและห้องแยก กับทั้งมีการจัดตั้ง วอร์ดเฉพาะสำหรับโควิด 19 เสร็จสิ้นแล้ว มีศักยภาพรองรับในการรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรงนี้ได้ถึงเกือบห้าสิบเตียง. จึงได้ประสานกับกระทรวงสาธารณสุขโดยผ่านผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่4ซึ่งรับผิดชอบจังหวัดนนทบุรี. โดยจะรับส่งต่อผู้ป่วยโควิดมีอาการวิกฤติ หรือผู้ป่วยโควิดที่เกินศักยภาพของโรงพยาบาลอำเภอทุกโรงในจังหวัดนนทบุรี เข้ามารับการรักษาพยาบาลต่อที่วชิรพยาบาลโดยตรง เพื่อลดความกดดันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอุปกรณทางการแพทยสำหรับป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลเหล่านี้ เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยอื่นๆได้ตามปกติ
ทั้งนี้ เมื่อวันที่14 เม.ย. คณบดีคณะแพทยศาสตรกับผู้อำนวยการวชิรพยาบาลได้เข้าร่วมหารือหลักเกณฑการรับส่งผู้ป่วยโควิดข้ามสังกัดและข้ามเขตดังกล่าวกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยเมื่อ15เมษายน วชิรพยาบาลได้มอบหมายให้ รศ.พญ.ปนัดดา สุวรรณ รองผู้อำนวยการ วชิรพยาบาลพร้อมคณะแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานการรับส่งผู้ป่วย ไปพบหารือแนวทางการส่งผู้ป่วยโควิด เข้าสู่วชิรพยาบาลโดยตรงกับผู้บริหารโรงพยาบาลอำเภอ 4แห่งในจังหวัดนนทบุรี ได้แก่ โรงพยาบาลบางกรวย โรงพยาบาลบางใหญ่ โรงพยาบาลบางบัวทอง และโรงพยาบาลบางกรวย2 พร้อมทั้งได้นำอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ไปมอบให้แก่โรงพยาบาลเหล่านี้ด้วยแล้ว
ผู้อำนวยการวชิรพยาบาลกล่าวด้วยว่า ขอให้ประชาชนในจังหวัดนนทบุรี และประชาชนชาวไทยมีความมั่นใจในระบบสาธารณสุขของประเทศ ว่า จะสามารถรับมือและผ่านพ้นวิกฤตการณ์โควิดในครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน และเมื่อใดที่มีผู้ป่วยโควิดที่เกินกำลังโรงพยาบาลในพื้นที่ จะมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพและมีกำลังบุคลากรทางการแพทย์มากเพียงพอ เข้ามาให้ความสนับสนุนช่วยเหลือในทุกๆทาง