เปิดขั้นตอนล่าเสี่ยเเป้งหากหนีไปอินโดนิเซีย โฆษกอัยการยัน ประเทศไทยมีสนธสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน อัยการไทย-อินโดฯเเน่นปึก เชื่อประสานงานราบรื่น รอตำรวจชี้เป้า
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า กรณีปรากฎรายงานข่าว นายเชาวลิต ทองด้วง หรือ แป้ง นาโหนดหลบหนี จำเลยต้องโทษคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทลุง ที่หลบหนีการคุมขังระหว่างออกมาระกษาพยาบาล เเละถูกตามจับกุม ได้ลงเรือสปีดโบ๊ตที่บริเวณท่าเรือในท้องที่บ้านบากันโต๊ะทิด อ.ละงู จ.สตูล หลบหนีไปยังประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเเม้ตอนนี้ยังไม่มีการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเป็นทางการ เเต่หากมีการหลบหนี กระบวนการตามจับกุมตัวจะเป็นอย่างไรนั้น
เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2566 นายประยุทธ เพชรคุณ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้อธิบายข้อกฎหมายเกี่ยวกับการติดตามตัวผู้ร้ายข้ามแดนไว้ ว่าก่อนที่จะอธิบายขั้นตอนเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนขอ อธิบายขั้นตอนว่า ในกรณี ที่คนร้ายที่กระทำผิดอาญาอย่างเช่นนายชวลิตทองด้วงหรือ เสี่ยแป้งนาโหนดถือว่าเป็นผู้ต้องคำพิพากษาของศาลจังหวัดพัทลุงที่ถูกศาลตัดสินมีคำพิพากษาจำคุก 20 ปีและหลบหนี
หากมีการหลบหนีออกรอกประเทศจริง ตรงนี้เรียกว่าคนร้าย หลบหนีไปอยู่ต่างแดน ขั้นตอนการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับมารับโทษหรือมาเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีในประเทศไทย ในหลักกฎหมายนั้นการที่จะเริ่มต้นดำเนินการมีการส่งคำขอให้ประเทศที่รับคำขอหรือประเทศที่คนร้ายเข้าไปหลบอยู่ จะต้องเริ่มต้นจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการติดตามจับกุมตัวคนร้าย จะต้องสืบสวนประสานงานตำรวจสากลให้ทราบแน่ชัดก่อนว่า คนร้ายหลบไปพำนัก อยู่ประเทศใดหน้าที่ในการสืบหาว่าเวลานี้ เสี่ยแป้ง อยู่พิกัดยืนยันให้แน่ชัดเป็นหน้าที่ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประการที่ 2 หากถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติทราบพิกัดแน่ชัดแล้วอย่างเช่นกรณีที่สื่อมวลชนรายงานว่า ตอนนี้เสี่ยแป้งหลบไปอยู่อินโดนีเซีย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็จะส่งเรื่องมายังถึงสำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะที่อัยการสูงสุดเป็นผู้ประสานงานกลางตาม พรบ.ว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดนคำว่าผู้ประสานงานกลางหมายความว่ากฎหมายกำหนดให้อัยการสูงสุด แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ในการที่จะมีคำขอจากประเทศไทย มีคำขอไปยังประเทศที่คนร้ายหลบหนีอยู่
เรามีแนวปฏิบัติอยู่ 2 ประการ ประการแรกทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติยืนยันแน่ชัดว่าคนร้ายหลบไปอยู่ประเทศไหนแน่นอน แล้วอย่างเช่น อินโดนีเซียงอัยการสูงสุดก็จะดูว่าประเทศไทยกับประเทศปลายทางที่จะเป็นผู้รับคำขอ ก็คือประเทศที่คนร้ายหลบอยู่กับ ของแพงด้วย มีสนธิสัญญาระหว่างกันหรือไม่
ซึ่งหากเสี่ยแป้งหลบหนีอยู่ที่อินโดนีเซียตรงนี้การส่งผู้ร้ายข้ามแดนของเราสามารถที่จะดำเนินการมีคำขอให้กับทางอินโดนีเซียส่งผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาให้เราได้เพราะเรามีสนธิสัญญาระหว่างกัน โดยสนธิสัญญาของเราทำกันไว้ตั้งแต่วันที่ 29 มิ.ย. 2519 สรุปก็คือว่าเรามีสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดนีเซียในเรื่องของหลักการการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั่นหมายความว่า ในกรณีของคนร้ายที่หลบหนีจากประเทศไทยไปอยู่อินโดนีเซียหรืออินโดนีเซียมาอยู่ประเทศไทย การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเรามีแนวปฏิบัติชัดเจนตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาระหว่างกันอยู่แล้ว
เพราะฉนั้นถ้าหากว่าถ้าสำนักงานตำรวจเเห่งชาติสืบทราบแน่ชัดว่าคนร้ายหลบหนีไปอยู่ประเทศไหนหากชัดแล้วก็จะส่งเรื่องมาที่อัยการสูงสุด ทางสำนักงานอัยการสูงสุดของเรามีสำนักงานต่างประเทศซึ่งมีพนักงานอัยการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ผ่านการทำงานด้านนี้มาหลายคดีก็ให้มั่นใจได้ว่าถ้าหากมีข้อมูลชัดเจนส่งมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด
ทีมงานของสำนักงานอัยการต่างประเทศก็จะมีพนักงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะดำเนินการได้ทันที ที่ผ่านมาเราก็มีประสบการณ์ เช่น การติดตามการขอส่งตัว ราเกซ สักเสนา พ่อมดการเงิน ที่ทุจริตโกงบีบีซี กลับมาประเทศไทยหรือการดำเนินการคดี ที่มีผู้บริหารธนาคาร หรือแม้แต่เณรคำ อัยการเราก็ทำมา ซึ่งไม่ต้องกังวล ตรงนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีทีมงานพร้อม
เมื่อมีสนธสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน การประสานงานก็จประสานงานตรงระหว่างประเทศไทยกับอินโดนีเซียเลยซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติระหว่างกันอยู่แล้วก็สามารถทำตามข้อตกลงที่มีในส่วนที่สัญญาได้เลยเป็นการประสานงานระหว่างผู้ประสานงานกลางของประเทศเรา และผู้ประสานงานกลางของอินโดนีเซียได้เลย
ในส่วนด้านความสัมพันธ์ของประเทศไทยกับอินโดนิเซีย ต้องเรียนว่าโดยเฉพาะพนักงานอัยการประเทศไทยกับทีมพนักงานอัยการประเทศอินโดนีเซียมีความสนิทสนมและมีความร่วมมือประสานงานกันอย่างดีมาเป็นเวลายาวนานมีหลายหลักสูตรของสำนักงานอัยการสูงสุดไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรอบรมอธิบดีอัยการ หลักสูตรอัยการจังหวัด ทางอัยการอินโดนีเซียก็ส่งพนักงานอัยการมาเรียนร่วมกันกับทางอัยการไทยเราหลายหลักสูตร รวมทั้งเวลาอินโดนีเซียมีอบรมหลักสูตรผู้บริหารทางอัยการประเทศไทยเองก็มีการส่งทีมของอัยการประเทศไทยไปร่วมอบรมกับทางอินโดนีเซียมีการประสานงานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเรียกว่าสัมพันธ์ภาพดีมาก และยิ่งเรามีสนธิสัญญาระหว่างกันยิ่ง ให้มั่นใจได้ว่าสามารถประสานงานกันได้อย่างราบรื่น
ในส่วนประเทศมาเลเซียหรือลังกาวี ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซียมีสนธิสัญญาระหว่างเรากับมาเลเซียในการปฏิบัติต่อกันในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมีข้อตกลงกันตั้งเเต่สมัยเป็นราชอาณาจักรสยามซึ่งมีสนธิสัญญาระหว่างกันระหว่างกรุงสยามกลับกลับประเทศอังกฤษหรือสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศผู้ปกครองมาเลเซียในยุคอาณานิคม ฉนั้นประเทศไทยก็เคยทำสนธิสัญญาระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษ ร.ศ129
หรือปีคริสต์ศักราช1911 เรามีสนธิสัญญาเรื่องระหว่างส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทยกับอังกฤษอยู่แล้ว
ดังนั้นเมื่อประเทศมาเลเซียเป็นเอกราชการส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็สืบสิทธิตามสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างสยามกับอังกฤษ พูดง่ายๆก็คือไทยกับมาเลเซียก็มีสัญญาหรือข้อตกลงในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเช่นเดียวกัน ตรงนี้ขั้นตอนการดำเนินการก็ไม่ต่างกับอินโดนีเซีย ซึ่งลังกาวีก็เป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซียถ้าถ้าหนีไปอยู่ลังกาวีก็เท่ากับว่าอยู่ในประเทศมาเลเซีย ก็ใช้การ สืบสิทธิของกรุงสยามและอังกฤษอย่างที่ผมนำเรียน
นายประยุทธให้ความรู้เพิ่มเติมกรณีที่คนร้ายหนีไปในประเทศที่ไม่มีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็จะมีเเนวอีกช่องทางหนึ่งคือ ใช้ช่องทางทางการทูต ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นสากลอยู่แล้ว ก็คือทางตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติสืบพิกัดว่าผู้ต้องการตัวอยู่ประเทศใด และแจ้งมาที่สำนักงานอัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลาง ก็จะดำเนินการผ่านกระทรวงต่างประเทศใช้หลักการทูตเป็นลักษณะข้อตกลงของการตอบแทน นั่นหมายความว่าเเม้เราไม่มีสนธิสัญญาก็จริงแต่เมื่อคนร้ายเราตกไปอยู่ประเทศเขา เราก็ขอให้เขาในฐานะประเทศผู้รับคำขอ ช่วยส่งคนร้ายให้เรา และเราให้คำมั่นหรือให้สัญญาหรือข้อตกลงว่าเมื่อใดก็ตามในอนาคตหรือในภายภาคหน้า หากมีคนร้ายที่ประเทศปลายทางต้องการตัวมาหลบมาอยู่ประเทศเราบ้าง เราก็จะ ให้ความร่วมมือ กรณีคนร้ายหลบไปอยู่ต่างประเทศไม่ว่าคนร้ายจะอยู่ในประเทศที่มีสนธิสัญญากับเราหรือไม่มีสนธิสัญญากับเราก็ตามเพียงแต่ทางสำนักงานตรวจแห่งชาติที่จุดพิกัดว่าอยู่ที่ไหนแน่ชัดแจ้งมาที่สำนักงานอัยการสูงสุด โดย อัยการสูงสุดในฐานะ ผู้ประสานงานกลางก็จะมอบหมายให้สำนักงานต่างประเทศดำเนินการอย่างที่นำเรียนมาโดยลำดับ