ศาลอาญาคดีทุจริตไม่ให้ประกันตัวลูกน้องพระอาจารย์คม 6 ราย คดีช่วยขนทองหลังพระอาจารย์คมถูกจับ ชี้พฤติการณ์บ่อนทำลายพระพุทธศาสนาร้ายแรง หวั่นหากให้ประกันตัวแล้วอาจจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.og) รายงานว่าเมื่อวันที่ 11 พ.ค. ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปราม นำตัว นายบุญส่ง หรือ อดีตพระมหาบุญส่ง ผ่านภูวงษ์ อายุ 34 ปี นายบุณยศักดิ์ หรือ ไอซ์ ภัทรโกศล, นายบุญเหลือ หรือ พระบุญเหลือ โพธิ์ทอง อายุ 37 ปี, นายธนกฤต หรือ อดีตพระธนกฤต ยศสุรินทร์ อายุ 34 ปี, นายบัณดิษฐ์ หรือ อดีตพระบัณดิษฐ์ ย่อยชา อายุ 38 ปี, นายณัฐพัชร์ หรือ อดีตพระณัฐพัชร์ หรือเบนซ์ ตั้งใจสนอง อายุ 35 ปี ผู้ต้องหาที่ 1-6 มายื่นคำร้องฝากขังครั้งเเรกเป็นเวลา 12 วันต่อศาล
คำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปราม ได้ดำเนินคดีกับ นายวุฒิมา หรืออดีตพระวุฒิมา เถาว์หมอ ผู้ต้องหาที่ 2 ในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่น เอาทรัพย์นั้นเสีย และเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และดำเนินคดีกับ นายคม หรืออดีต พระคม คงแก้ว ผู้ต้องหาที่ 1, น.ส.จุฑาทิพย์ ภูบดีวโรชุพันธุ์ ผู้ต้องหาที่ 3 ในความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษา ทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือรับของโจร
กรณีผู้ต้องหาได้ร่วมกันเบียดบังเอาเงินของวัดป่าธรรมคีรี ไปเป็นของตนเอง หรือของผู้อื่นโดยทุจริต เป็นเหตุให้วัดป่าธรรมคีรี ได้รับความเสียหายรวมเป็นเงินจำนวน 182,776,733 บาท
ต่อมาวันที่ 1 พ.ค. เวลาประมาณ 13.00 น. นายคม คงแก้ว ก่อนจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ได้สั่งการให้ พระมหาบุญส่ง ผ่านภูวงษ์, พระบุญเหลือ โพธิ์ทอง, พระบัณดิษฐ์ ย่อยชา ไปเก็บทรัพย์สินของวัดป่าธรรมคีรี ทั้งเงิน สดและทองคำ ที่อยู่ในห้องทำงานของอดีตพระคม และอดีตพระวุฒิมา บรรจุใส่กระเป๋าเดินทางไว้ นำไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ ภายในวัด และรอให้อดีตพระคม สั่งว่าจะให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกจากวัดเมื่อใด ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. วันเดียวกัน พระมหาวุฒิมา ได้สั่งให้พระบุญส่ง และพระบัณดิษฐ์ กับพวกขนย้ายทรัพย์สิน และทองคำออกจากกุฏิเจ้าอาวาส เอาไปซุกซ่อนตามที่ต่างๆ เช่นกัน ครั้นพอถึงเวลาประมาณ 02.00 น. ของวันที่ 2 พ.ค. พระมหาบุญส่ง, พระบุญเหลือ, พระธนกฤต ยศสุรินทร์, พระบัณดิษฐ์, พระณัฐพัชร์ ตั้งใจสนอง ได้ช่วยกันเก็บรวบรวม ทรัพย์สินเป็นเงินสดและทองคำจากห้องทำงานของอดีตพระคม และกุฏิเจ้าอาวาสของพระวุฒิมา บรรจุใส่กระเป๋าเดินทางไว้ และนำไปซุกซ่อนไว้ตามจุดต่างๆ ภายในวัด
ในวันที่ 2 พ.ค. เวลาประมาณ 14.00 น. พระวุฒิมา ได้ลาสิกขา และพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี และมีการแต่งตั้ง พระราชวชิราลังการ ฉายา สุทธิญาโร ดำรงตำแหน่ง เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าธรรมคีรี และมีการจัดให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินของวัดโดยเฉพาะทองคำ น้ำหนัก 300 บาท (ราคาประมาณ 9 ล้าน) ซึ่งนายวุฒิมา หรืออดีตพระวุฒิมา ใช้เงินของวัดป่าธรรมคีรีไปซื้อมา และนำไปเก็บไว้ภายในตู้เซฟ ภายในกุฏิของตนเอง ภายในวัดดังกล่าว ซึ่งต่อมา รักษาการเจ้าอาวาส สั่งห้ามเข้ากุฏิของเจ้าอาวาส ต่อมาในวันที่ 7 พ.ค. เวลาประมาณ 02.40 น. อดีตพระคม ได้ใช้โทรศัพท์มาหา พระณัฐพัชร์ แต่พระณัฐพัชร์ ไม่ได้รับสาย และต่อมาพระณัฐพัชร์ จึงโทรศัพท์กลับไป พบว่าผู้รับสายเป็นเสียงของนายคม คงแก้ว หรืออดีตพระคม พูดว่า ให้บอกพระบุญส่ง และพระบัณดิษฐ์ ว่า ให้เอาของที่ยังอยู่ในวัดออกไปข้างนอกให้หมด และพระสองรูปนี้จะเข้าใจเอง พระพุทธรูปและเทวรูปต่างๆ ที่อยู่ภายในวัด ให้เอาไว้บรรจุในพระอุโบสถเจดีย์ โดยพระพุทธรูปให้บรรจุไว้ด้านบนเจดีย์ ส่วนเทวรูปต่างๆ ให้บรรจุไว้ตามซุ้มประตูโบสถ์ ส่วนทองคำจะแจ้งว่าให้นำไปหล่อพระเมื่อใดนั้น จะแจ้งให้ทราบภายหลัง
จากนั้น พระมหาบุญส่ง ผ่านภูวงษ์ พระบุญเหลือ โพธิ์ทอง พระธนกฤต ยศสุรินทร์ พระบัณดิษฐ์ ย่อยชา พระณัฐพัชร์ ตั้งใจสนอง, นายบุณยศักดิ์ ภัทรโกศล จึงได้ช่วยกันขนย้ายทรัพย์สินเอาไปซุกซ่อนไว้นอกวัด ต่อมาวันที่ 7 พ.ค. เจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมด้วยรักษาการเจ้าอาวาส จึงได้ร่วมกันทำการตรวจสอบกุฏิของนายวุฒิมา หรืออดีตพระวุฒิมา แต่ผลการตรวจสอบไม่พบทองคำจำนวนดังกล่าว จึงได้สอบถามอดีต พระวุฒิมา อีกครั้งว่านำทองคำไปซุกซ่อนไว้ที่ใด อดีตพระวุฒิมาให้การว่า ตนได้สั่งการให้ พระบัณดิษฐ์ ย่อยชา (พระ เฉาก๊วย) เป็นคนเก็บรักษาทองคำ โดยเป็นผู้ถือกุญแจกุฏิ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ไปสอบถาม พระบัณดิษฐ์ ย่อยชา (พระเฉาก๊วย) จึงให้การว่า ได้นำทองคำจำนวนดังกล่าวมอบให้นายบุณยศักดิ์ ภัทรโกศล (ไอซ์) ซึ่งเป็นคนขับรถของอดีตพระคม นำไปเก็บรักษาไว้ และได้ทราบว่า นอกจากทองคำจำนวนดังกล่าว ยังมีทรัพย์สินอื่นของวัดอีกเป็นจำนวนมาก ที่อดีตพระคม ได้สั่งการให้พระมหาบุญส่ง ผ่านภูวงษ์, พระบุญเหลือ โพธิ์ทอง, พระบัณดิษฐ์ ย่อยชา ไปเก็บทรัพย์สินของวัดป่าธรรมคีรี ทั้งเงินสดและทองคำ ที่อยู่ในห้องทำงานของอดีตพระคม และอดีตพระวุฒิมา บรรจุใส่กระเป๋าเดินทางไว้ แจ้งให้นำไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ ภายในวัด หลังจากทราบความจริงแล้ว จึงติดตามให้ นายบุณยศักดิ์ ขับรถยนต์ตู้คันข้างต้นกลับมาที่วัด เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปราม จึงได้ร่วมกันตรวจค้นรถยนต์ตู้ ยี่ห้อ โตโยต้า พบทองคำแท่ง น้ำหนักจำนวน 300 บาท เงินสด 76,051,522 บาท และสิ่งของหรือทรัพย์สินอื่นอีกจำนวน 878 รายการ
นายบุณยศักดิ์ ผู้ต้องหาที่ 2 รับว่า สิ่งของหรือทรัพย์สินดังกล่าว ตนได้ร่วมกันกับพระบัณดิษฐ์ กับพวก ช่วยกันขนย้ายออกจากกุฏิของอดีตพระวุฒิมา และออกจากศาลาจุลานนท์ วัดป่าธรรมคีรี โดยตนทำหน้าที่ขับรถตู้และบรรทุกสิ่งของหรือทรัพย์สินตามรายการดังกล่าวข้างต้นออกไปจากวัดจริง
การกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อทำจัดการหรือรักษา ทรัพย์ใด เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตน หรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต หรือโดยทุจริตยอมให้ผู้อื่นเอาทรัพย์นั้นเสีย และเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หรือรับของโจร ตามประมวลกฎหมายอาญา/ พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 มาตรา 86 มาตรา 147 มาตรา 157 และมาตรา 357 เหตุเกิดที่วัดป่าธรรมคีรี ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และที่กองบังคับการปราบปราม แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร หลายท้องที่เกี่ยวพันกัน ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาที่ 1, 3, 4, 5 ให้การรับสารภาพ ส่วนผู้ต้องที่ 2, 6 ให้การปฏิเสธ
พนักงานสอบสวนได้ สอบสวนเบื้องต้นแล้วเห็นว่า ผู้ต้องหาที่ถูกจับเป็นบุคคลผู้ถูกกล่าวหาจริง เป็นการจับกุมตามหมายจับ ของศาล อาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เลขที่ จ.67/2566, จ.68/2566, 1.69/2566, จ.70/2566, 71/2566 และ 72/2566 ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และมีเหตุอันควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาจะหลบหนี เนื่องจากคดีนี้มีอัตราโทษจําคุกอย่างสูง ผู้ต้องหาจะก่อเหตุอันตราย หรือความ เสียหาย เนื่องจาก นายคมได้โทรศัพท์ไปสั่งการให้ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก ร่วมกันขนย้ายทรัพย์สินของกลาง ออกไปจากกุฏิเจ้าอาวาส ซึ่งรักษาการเจ้าอาวาส ได้ปิดล็อคประตูกุฏิเจ้าอาวาสและสั่งห้ามเคลื่อนย้าย ทรัพย์สินไว้ให้นําไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆ อันเป็นการยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน อาจทําให้สั่ง ผลกระทบต่อการสอบสวนให้เสียหายได้ พนักงานสอบสวนได้ทําการสอบสวนและควบคุมตัวผู้ต้องหามา จะครบ 48 ชั่วโมงในวันนี้แล้ว แต่การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากต้องสอบสวนพยานอีก 15 ปาก รอผลการตรวจพิสูจน์ของกลาง รอผลการตรวจลายพิมพ์นิ้วมือผู้ต้องหาและประวัติต้องโทษของ ผู้ต้องหา อื่นๆ รอผลการตรวจสอบข้อมูลโทรศัพท์ และรอผลตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร ต่างๆ จึงขอศาลหมายขังผู้ต้องหาที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ไว้ระหว่างการสอบสวนมีกําหนด 12 วัน นับตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2566 พนักงานสอบสวนขอคัดค้าน คําร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว
เนื่องจากกลุ่มผู้ต้องหาคดีนี้มีพฤติการณ์กระทําความผิดเป็นขบวนการสร้าง ศรัทธาให้คนทั่วไปหลงเชื่อเกิดความศรัทธา ได้บริจาคเงินจํานวนมากเข้าบัญชีเงินฝากให้กับวัด แต่ทา'กลุ่มผู้ต้องหาได้ใช้ความเป็นเจ้าอาวาสร่วมกันเบียดบังเอาเงินบริจาคในบัญชีของทางวัดเป็นของตนโดย ทุจริต สร้างความเสื่อมเสียกับพุทธศาสนา เกรงว่าจะหลบหนี อีกทั้งกลุ่มผู้ต้องหามีพฤติการณ์ยุ่งเหยิง กับพยานหลักฐาน เนื่องจากเจ้าอาวาสที่รักษาการเจ้าอาวาสคนปัจจุบันปิดล็อคและประกาศห้ามเข้าไป ภายในห้องประจําตําแหน่งเจ้าอาวาส เพื่อรอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าทําการตรวจสอบ แต่ในระหว่างที่ นายคมถูกควบตัวระหว่างการสอบสวน ได้มีการยืมโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ตํารวจสิบเวรโทรศัพท์ไปสั่ง การให้ผู้ต้องหาที่ 1 กับพวก ร่วมกันทําการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของวัด ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่วัดฯ และ เจ้าหน้าที่ตํารวจจะทําการตรวจยึดไว้เป็นพยานหลักฐาน นําออกจากห้องประจําตําแหน่งของอดีต เจ้าอาวาส นําไปซุกซ่อนไว้ตามสถานที่ต่างๆหลายแห่ง ซึ่งหากผู้ต้องหาที่ 1,2,3,4,5 และ 6 ได้รับการ ปล่อยตัวชั่วคราวไป เชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานทําให้ผลกระทบในทางที่เสียหายต่อการ สอบสวนดําเนินคดี ศาลอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งหกมีกําหนด 12 วันศาลพิจารณาเเล้วอนุญาตฝากขังได้
ภายหลังผู้ต้องหาที่ 2 เเละ 4 ยื่นคําร้องขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความผิดที่ผู้ต้องหาที่ 2 และที่ 4 ถูกกล่าวหามีอัตราโทษสูง มีลักษณะกระทําความผิดร่วมกับพระภิกษุในขณะครอง สมณเพศอันเป็นที่เคารพและเชื่อถือศรัทธาของประชาชน พฤติการณ์เป็นการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง ทั้งมีการตรวจยึดของกลางเป็นเงินสดและทองคํามูลค่าเป็นจํานวนมาก หากอนุญาตให้หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ 4 น่าจะหลบหนีหรือไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้ ประกอบกับพนักงานสอบสวนคัดค้าน ในชั้นนี้จึงยังไม่สมควรอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาที่ 4 ระหว่างสอบสวน ให้ยกคำร้อง