นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยื่นศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง ฟ้อง พ.ต.ท.มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ ผิด ม.157 กรณียื่นศาลออกหมายจับโดยมิชอบ ศาลนัดฟังคำสั่งวันที่ 11 เม.ย.
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2566 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตเเละประพฤติมิชอบกลาง นายอุปกิต ปาจรียางกูร สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.มานะพงษ์ วงศ์พิวัฒน์ อดีตสารวัตร กองกำกับการสืบสวน 2 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล(บช.น.)
โดยคำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า ตามคำร้องขอหมายจับโจทก์ของจำเลย จำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา เป็นตำแหน่งในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งในวันที่ 3 ต.ค.65 จำเลยเป็นผู้ยื่นคำร้องขอหมายจับพร้อมกับพยานเอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ ศาลอาญาพิจารณาออกหมายจับโจทก์ ซึ่งจำเลยเป็นนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ได้ทำการสืบสวนมาโดย ตลอด และจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่า โจทก์มีสถานะหรือดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เป็นข้าราชการทางการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบกับมีพยานหลักฐานอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องสืบค้นว่า โจทก์มีที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างเป็น หลักแหล่ง สามารถออกหมายเรียกให้มาพบได้โดยง่าย และก็ไม่มีพฤติการณ์ที่จะหลบหนีหรือมีพฤติการณ์ ที่จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานในคดีนี้ได้เลย ซึ่งจำเลยก็ทราบดีอยู่ แล้ว
แต่จำเลยกลับไปยื่นคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา โดยฝ่าฝืนต่อคำสั่งสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ (ตร.)ที่419/2556ลง 1 ก.ค.56 อีกทั้งจำเลยก็ไม่ได้แจ้งให้ผู้พิพากษาเวรทราบ ด้วยวาจาอีกครั้งขณะผู้พิพากษาเวรทำการไต่สวน ว่าโจทก์เป็นสมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้ผู้พิพากษาเวรของ ศาลอาญาได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการ ออกคำสั่งหรือหมายอาญา พ.ศ.2548 และฉบับที่ 2-5ประกอบกับป.วิอาญามาตรา มาตรา 58-68 และคำสั่งของศาลอาญาที่ 110/2565 เพราะการออกหมายจับบุคคลทางการเมือง เป็นที่สนใจของประชาชน และมีผลกระทบต่อฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศไทย เพื่อจะได้พิจารณาการขอออกหมายจับบุคคลดังกล่าวนั้นและจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับ ของประธานศาลฎีกากำหนดไว้ด้วยเช่นเดียวกับการขอออกหมายจับบุคคลสำคัญในคดีสำคัญอื่นๆ ที่ผ่าน มา แต่ในคำร้องขอหมายจับจำเลยได้พิมพ์ระบุว่า โจทก์เป็นสมาชิกวุฒิสภาครั้งเดียวในหน้าที่ 2 ของคำ ร้องขอหมายจับ ประกอบกับเนื้อหารายงานการสืบสวนซึ่งเป็นพยานเอกสารประกอบคำร้องขอหมายจับ โจทก์ ไม่มีการสั่งการของผู้กำกับการสืบสวน 2 กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาเหนือ ตนโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่แสดงให้เห็นได้ว่าผู้บังคับบัญชาของจำเลยได้พิจารณาแล้วและได้สั่งการให้ จำเลยมาขอออกหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญา เพื่อให้ชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติ ดังนั้นการมายื่นคำร้องขอหมายจับโจทก์ต่อศาลอาญาของจำเลย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยผู้บังคับบัญชาเหนือตนของจำเลย ไม่ได้ทราบและไม่ได้สั่งการให้จำเลยมาขอหมายจับโจทก์ต่อศาล อาญา เป็นการนึกคิดเอาเองโดยไม่รอคำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตนที่มีหน้าที่ในการกำกับการ ดูแล และควบคุม เพื่อให้ไปตามกฎหมายและคำสั่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงพฤติการณ์อื่นๆตามที่ปรากฎ
พฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยดังกล่าวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเป็นเจ้า พนักงานตำรวจที่มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา แต่ไม่มีอำนาจสอบสวนคดีอาญาและไม่มีอำนาจไปขอหมายจับโจทก์และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเหนือตนให้ไปขอหมายจับโจทก์ และไม่ได้รับมอบหมาย จากหัวหน้าพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบซึ่งคดีนี้อยู่ในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนแล้ว และจำเลยได้รวบรวมพยานหลักฐานจากการสืบสวนเป็นภาพการสนทนาทางโทรศัพท์ของโจทก์กับ Mr.Tum Min Latt ผู้ต้องหาที่ได้ถูกจับกุมไปแล้ว โดยเป็นการสนทนากันเป็นภาษาอังกฤษระหว่างกัน แต่ จำเลยได้ทำการแปลและอธิบายภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานที่ปรากฏที่ แท้จริง และไม่มีล่ามแปลรับรองเนื้อหาแห่งความถูกต้องในพยานหลักฐานดังกล่าว แต่จำเลยได้ทำการ แปลและอธิบายและรับรองเอกสารความถูกต้องด้วยตนเอง เพื่อจะแสดงให้เห็นว่านายโจทก์มีส่วน เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหาที่ถูกจับไปแล้ว เพื่อให้ศาลอนุมัติออกหมายจับโจทก์ให้จงได้ ประกอบกับจำเลยได้ทำ หนังสือรายงานการสืบสวนและกล่าวโทษโจทก์ ตามฐานความผิดดังกล่าว เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตน โปรดพิจารณา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยต้องมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติและต้องรอคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชาของตนว่าจะให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างไร แต่จำเลยกลับไปขอหมายจับโจทก์โดยไม่ทำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.)
เท่ากับการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยในการขอหมายจับโจทก์ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ โจทก์ อาจทำให้สูญเสียเสรีภาพและชื่อเสียงที่ได้สร้างสะสมมายาวนานและความเสียหายต่อทรัพย์สิน และการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและหน่วยงานของรัฐอีก ด้วยและสุ่มเสียงที่จะถูกฟ้องดำเนินคดีเรียกค่าเสียหายจากต้นสังกัดของจำเลยซึ่งสุดท้ายอาจต้องนำเงิน ภาษีของประชาชนมาชำระค่าเสียหาย และยังเป็นการกระทำการเพื่อจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รับโทษทาง อาญา ดังนั้น การกระทำของจำเลยเช่นนี้ อันเป็นความผิดฐาน “ เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งเจ้าพนักงานผู้มี อำนาจสืบสวนคดีอาญา ได้กระทำการหรือไม่กระทำการนั้น เป็นการเพื่อจะแกล้งให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด ต้องรับโทษทางอาญา และเจ้าพนักงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคสอง และ พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา 4และมาตรา 172
เหตุเกิดที่ ศาลอาญา และกองบัญชาการตำรวจนครบาลต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน
โดยศาลรับคำฟ้องไว้เพื่อนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา ชั้นตรวจคำฟ้องวันที่ 11 เม.ย. 2566 เวลา 09.30 น.