นิด้าโพลเผยปชช. 47.83% เข้าใจว่าสามีหรือภรรยามีชู้หรือนอกใจ ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ ส่วนใหญ่คิดว่าสาเหตุมาจากผู้ชายขาดความเคารพในผู้หญิง 64.15%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น 'นิด้าโพล' ร่วมกับ ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง 'ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย' ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 10-15 พ.ย. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,311 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ 'นิด้าโพล' สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเข้าใจในรูปแบบหรือลักษณะความรุนแรงทางเพศ พบว่า
1. การที่นักเรียนชายรุ่นพี่พยายามข่มขืนนักเรียนหญิงรุ่นน้องที่คิดว่าชอบตัวเอง ตัวอย่าง ร้อยละ 86 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 2.14 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
2. การที่สามีบังคับให้ภรรยา (ซึ่งไม่มีงานทำหรือไม่มีรายได้) ค้าบริการทางเพศ โดยขู่ว่าจะไล่ออกจากบ้านหากไม่ยอมทำตาม ตัวอย่าง ร้อยละ 30 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
3. การหว่านล้อมจากการคุยออนไลน์ให้ผู้หญิงส่งรูปเปลือยของตนเองไปให้ แล้วขู่ว่าจะประจานให้เสียชื่อเสียงหากไม่ส่งเงินมาให้ ตัวอย่าง ร้อยละ 90 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 15.10 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
4. เหตุการณ์จากหัวข้อข่าว “สาวสวยถูกแฟนทำร้ายดับ อ้างหึงหวง” ตัวอย่าง ร้อยละ 14 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 16.86 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
5. การที่ผู้หญิงแต่งตัวโป๊และถูกแอบถ่ายรูปไปลงในโซเชียลมีเดียและวิพากษ์วิจารณ์ จนเธอรู้สึกอับอาย ตัวอย่าง ร้อยละ 81 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 23.19 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
6. การที่พนักงานรู้สึกอึดอัดใจที่ผู้บริหารมักเล่าเรื่องขำขันเชิงเพศและแชร์รูปโป๊เปลือยบ่อยครั้ง รวมทั้งแซวรูปโฉมผู้หญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 76.81 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 219 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
7. การที่สามีบังคับให้ภรรยามีเพศสัมพันธ์ด้วยในขณะที่ภรรยาไม่ยินยอม ตัวอย่าง ร้อยละ 31 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 27.69 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
8. การที่เด็กหญิงไม่พอใจที่ญาติสนิทผู้ชายชอบกอดและหอมแก้ม ตัวอย่าง ร้อยละ 71.32 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 28.68 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
9. การที่สามีหรือภรรยามีชู้หรือนอกใจ จนกระทั่งอีกฝ่ายเกิดความเศร้าโศกเสียใจ ตัวอย่าง ร้อยละ 17 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 47.83 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
10. การชักชวนให้เหยื่อออนไลน์หลงรัก และหลอกให้โอนเงินให้ ตัวอย่าง ร้อยละ 50.88 ระบุว่า เป็นความรุนแรงทางเพศ ขณะที่ร้อยละ 49.12 ระบุว่า ไม่ใช่ความรุนแรงทางเพศ
ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรงทางเพศ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 64.15 ระบุว่า ผู้ชายขาดความเคารพในผู้หญิง รองลงมา ร้อยละ 50.04 ระบุว่า ผู้ชายขาดความเข้าใจในความรู้สึกยินยอมหรือไม่ยินยอมของผู้หญิง ร้อยละ 47.52 ระบุว่า ผู้หญิงแต่งตัวไม่ดี ให้ท่าผู้ชาย ร้อยละ 3.51 ระบุว่า การเลียนแบบพฤติกรรมที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ เช่น ละคร สื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 1.53 ระบุว่า ยาเสพติดและสิ่งมึนเมา ร้อยละ 0.69 ระบุว่า การเลี้ยงดูของครอบครัว ร้อยละ 0.53 ระบุว่า ขาดสติ/อารมณ์ชั่ววูบ ร้อยละ 0.46 ระบุว่า ปัญหาชู้สาว ร้อยละ 0.15 ระบุว่า ไม่เกรงกลัวบทลงโทษตามกฎหมาย และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ค่านิยมผู้ชายเป็นใหญ่
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.47 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.00 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 18.46 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก และร้อยละ 13.88 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.36 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.64 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 16.70 มีอายุ 15-25 ปี ร้อยละ 17.01 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.16 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 25.40 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 22.73 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.26 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.98 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ ตัวอย่าง ร้อยละ 33.71 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.16 สมรส และร้อยละ 3.13 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.02 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 37.22 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.39 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.40 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.97 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.38 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.95 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 18.69 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.43 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.82 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 8.54 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร
ตัวอย่าง ร้อยละ 25.93 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 19.30 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.48 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.54 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.04 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.34 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.37 ไม่ระบุรายได้