"...นิด้าโพลเปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม” จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อนโยบายการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า 1) การแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบาย อยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 65.68..."
สำนักงานกิจการยุติธรรม ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-22 มีนาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) และกระจายตัวอย่างทั่วประเทศไทย ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97.00
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความพึงพอใจต่อนโยบายการดำเนินงานด้านกระบวนการยุติธรรมของกระทรวงยุติธรรม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่า
1) การแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบาย อยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก 65.68
2) การให้โอกาสผู้ต้องขังกลับคืนสู่สังคมและนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก ร้อยละ 64.41
3) การช่วยเหลือเยียวยาเหยื่อและผู้เสียหายตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ตัวอย่าง มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก ร้อยละ 63.30
4) การปราบปรามยาเสพติดและยึดทรัพย์ตัดเครือข่ายวงจรยาเสพติด ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ - พอใจมาก ร้อยละ 61.44
5) การผลักดันร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. .... ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก ร้อยละ 58.49
6) การปลดล็อคพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติด ตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามนโยบายอยู่ในระดับพอใจ – พอใจมาก ร้อยละ 53.75
จากการสำรวจเมื่อถามถึงงานบริการของกระทรวงยุติธรรมที่ตัวอย่างรับรู้มากที่สุด 5 อันดับแรก พบว่า การร้องทุกข์ เช่น ผู้เสียหายแชร์ลูกโซ่ ค้ามนุษย์ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)) มากที่สุด ร้อยละ 89.92 รองลงมา งานบริการสาธารณะของผู้ต้องขัง เช่น การขุดลอกคูคลอง (กรมราชทัณฑ์ (รท.)) ร้อยละ 88.63 การแจ้งเบาะแส เช่น คดีแชร์ลูกโซ่ ค้ามนุษย์ (กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)) ร้อยละ 88.17 งานให้บริการติดต่อหรือเยี่ยมผู้ต้องขัง (กรมราชทัณฑ์ (รท.)) ร้อยละ 88.09 และงานคุมความประพฤติ เช่น การรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ การฝึกอาชีพ การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) ในการคุมความประพฤติ (กรมคุมประพฤติ (คป.)) ร้อยละ 88.02
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคาดหวังต่อกระทรวงยุติธรรมในการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน พบว่า 5 อันดับแรก คือ อันดับ 1 พัฒนาระบบการบริการของหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ ประชาชนเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ร้อยละ 27.46 อันดับ 2 เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมให้แก่ประชาชน ร้อยละ 17.42 อันดับ 3 ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด รวมทั้งอาชญากรรมพิเศษให้มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 16.40 อันดับ 4 พัฒนาระบบแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดและการช่วยเหลือดูแลผู้พ้นโทษ ร้อยละ 11.61 และอันดับ 5 พัฒนาระบบป้องกันอาชญากรรมเพื่อสร้างความปลอดภัยในสังคม ร้อยละ 8.36
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.01 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.99 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 5.42 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 11.83 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.99 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 36.49 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 25.27 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 28.40 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.12 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.95 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.50 จบการศึกษาปริญญาตรี และร้อยละ 6.03 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่าง ร้อยละ 25.05 ประกอบอาชีพพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณ/ว่างงาน ร้อยละ 23.28 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.11 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 12.67 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 11.30 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.38 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ และร้อยละ 2.21 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 22.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 7.25 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 5,000 บาท ร้อยละ 16.18 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001 - 10,000 บาท ร้อยละ 25.34 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 9.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 14.66 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,000 บาท และร้อยละ 4.05 ไม่ระบุรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 33.59 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.80 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคกลาง ร้อยละ 18.32 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ ร้อยละ 13.51 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคใต้ และร้อยละ 8.78 มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้