สั่งปิดถนนเมืองฝอซาน สนามบินเมืองกวนตง หลังพบโควิดสายพันธุ์อินเดียระบาด หวั่นแพร่กระจาย ด้าน WHO เคาะเปลี่ยนเรียกชื่อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ตามอักษรกรีก
........................
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือโคโรน่าไวรัสว่า ที่จังหวัดกวนตงของประเทศจีนได้มีการรายงานการเพิ่มจำนวนของผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายวันพุ่งสูงขึ้นเป็นระยะเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ติดต่อกัน จนล่าสุดมีรายงานว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันไปอยู่ที่ 23 รายต่อวันเมื่อวันที่ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใน 23 รายดังกล่าวนั้นเป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการจำนวน 3 ราย และในวันที่ 1 มิ.ย. ก็มีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกจำนวน 11 ราย ซึ่งการติดเชื้อใน จ.กวนตงดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในเมืองกวางเจา ที่อยู่ใกล้กับเมืองขยายฝอซาน ที่มีประชากรทั้งสิ้นกว่า 7.2 ล้านคน
โดยทางการได้รายงานว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่พบทั้งหมดนั้นเป็นสายพันธุ์อินเดีย ที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHOได้ตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่นี้ว่าสายพันธุ์เดลต้า
“ในการแข่งกับไวรัสนี้ เราจะต้องนำหน้ามัน และจะต้องวิ่งให้เร็วกว่า เพื่อจะขัดขวางไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัและตัดห่วงโซ่ของการระบาดให้ทันท่วงที” นพ.หวง กวงลี่ (Huang Guanglie) ผู้อํานวยการคณะกรรมการสุขภาพเทศบาลกวางโจวกล่าว
ขณะที่นางหลี่ หมิง รองนายกเทศมนตรีกวางโจวกล่าวว่าสายพันธุ์นี้นั้นมีระยะฟักตัวสั้นและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม การแพร่เชื้อนี้ก็ยังอยู่ภายใต้การควบคุมอยู่
โดยเพื่อที่จะรับมือกับการแพร่ระบาดนั้น ได้มีการยกเลิกเที่ยวบินที่จะมายังสนามบินนานาชาติกวนตงใบหยุน (Guangdong Baiyun) และได้มีการสั่งการให้ปิดถนนในย่านลีวาน เมืองฝอซาน โดยอนุญาตแค่ให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านไม่เกิน 1 คน สามารถออกมาข้างนอกเพื่อที่จะซื้อสิ่งของและเครื่องใช้ที่จำเป็นได้
อนึ่งก่อนหน้านี้นั้นทาง WHO ได้มีการบัญญัติให้ตั้งชื่อสายพันธุ์โควิด-19 กลายพันธุ์ โดยหลังจากนี้เป็นต้นไปจะใช้ตัวอักษรกรีกในการอ้างถึงการกลายพันธุ์ ที่พบเป็นครั้งแรกในประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ, แอฟริกาใต้ และอินเดีย แทน
ทั้งนี้ เชื้อบี117 ที่พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร มีชื่อว่า อัลฟา เชื้อบี1351 ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ มีชื่อว่า เบตา เชื้อพี1 ที่พบครั้งแรกในบราซิล มีชื่อว่า แกมมา และเชื้อบี16712 ที่พบครั้งแรกในอินเดีย มีชื่อว่า "เดลตา"
โดยทางด้านของนางมาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าด้านเทคนิคโควิด-19 ของ WHO ได้กล่าวกับสำนักข่าว STAT News ว่า อักษรกรีกเหล่านี้ จะไม่ใช้แทนชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หากไวรัสกลายพันธุ์กว่า 24 สายพันธุ์ที่ถูกระบุอย่างเป็นทางการ ระบบก็ใช้อักษรกรีกหมด และโครงการตั้งชื่อใหม่ จะถูกประกาศต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตมีการพบเชื้อกลายพันธุ์มากกว่า 24 สายพันธุ์ ซึ่งจะเกินจำนวนตัวอักษรภาษากรีก WHO จะสรรหาระบบการเรียกชื่อใหม่อีกครั้ง
เรียบเรียงจาก:https://www.theguardian.com
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/