‘หมวก-ชุดคลุมอัดอากาศ’ ขาดแคลนหนัก ปตท.-จีซีเร่งผลิตขั้นต่ำ500ชุดให้แพทย์-พยาบาล ทั่วประเทศใช้ดูแลผู้ป่วยโควิด-19
ศ.ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และร่วมก่อตั้ง รพ.สนาม 308 เตียงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดเผยว่า บมจ.ปตท.และ บจม.พีทีที โกลบอลเคมีคอลซึ่งเป็นยริษัทในเครือได้สนับสนุนและจัดหาอุปกรณ์ในการดัดแปลงและผลิตหมวกและชุดคลุมอัดอากาศความดันบวกPAPR (Powered Air-Purifying Respirator) ร่วมกับวชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อจัดทำPAPR จำนวนขั้นตำ่ 500ชุด เพื่อส่งมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศที่รับผู้ป่วยcovid19 ภายในเดือนเมษายนนี้ โดยได้ส่งมอบPAPR ชุดแรกให้โรงยาบาลเครือข่ายหลายแห่ง รวมทั้ง โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ตั้งแต่27มีนาคม โดยจะเร่งกระบวนการจัดทำให้เร็วที่สุดในสองสัปดาห์ต่อจากนี้ไป
ศ.ดร.สุรพล กล่าว่า หมวกและชุดคลุมอัดอากาศความดันบวก เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ระดับสูง ใช้เฉพาะในผู้ป่วยหนัก(ไอซียู)และห้องผ่าตัด หรือในการใส่ท่อหายใจของคนไข้ติดเชื้อรุนแรง ใช้ในสถานการณ์ปกติ ซึ่งโรงพยาบาลธรรมศาสตรไม่มีเลยและทั้งประเทศมีไม่เกิน40ใบจำนวนครึ่งหนึ่งอยู่บำราศนราดูร(19ใบ) เพิ่งสั่งซื้อกันมาเพื่อใช้กับคนไข้โควิด-19ที่มีอาการหนัก คงจะได้มาจากต่างประเทศในอีกหกเดือนซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ดีที่สุดและขาดมากที่สุดของแพทย์ทางเดินหายใจและวิสัญญีแพทย์ในห้องปฏิบัติการกับผู้ป่วยติดเชื้อครับ
อย่างไรก็ตามวันนี้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ได้รับหมวก PAPR จำนวนสองชุดจากวชิรพยาบาลมาใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์สำหรับ covid19แล้ว