สธ.เเถลงรับมือเเพร่ระบาด 'โควิด-19' อนุทิน ย้ำมาตรการรัฐไม่สูญเปล่า เลิกพูดปิดประเทศ หวั่นปชช.ตกใจ อดีตอธิการ ม.มหิดล ขอสื่อร่วมมือ เผยเเพร่ความรู้ เผยไม่เข้มมาตรการ ไทยเข้าสู่ระยะสาม 100% 'นพ.ยง' เชื่อสถานการณ์ไม่จบภายใน 1-2 เดือน
วันที่ 19 มี.ค. 2563 กระทรวงสาธารณสุข เเถลงความพร้อมในการรับมือสถานการณ์การเเพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ณ กระทรวงสาธารณสุข
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีเเละรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีโอกาสได้ประชุมร่วมกับสถาบันวิชาการนานาชาติ นักวิชาการทางการเเพทย์เเละสาธารณสุขชื่อดังของโลกให้มั่นใจว่า เชื่อมั่นในวิธีการควบคุมเเละป้องกันโรคของประเทศไทย ดังนั้น วันนี้ต้องมาต่อสู้กับเชื้อไวรัสฯ ด้วยกัน อย่าต่อสู้กันเอง ศัตรูของเราคือโควิด-19 ไม่ใช่คนไทยด้วยกัน รวมกันสู้ รวมกันลุย ไม่มีทางจะพ่ายเเพ้
ทั้งนี้ ย้ำว่า สิ่งที่รัฐบาลดำเนินการมาทั้งหมดไม่สูญเปล่า เรารักษาคนจีนในช่วงต้นการระบาดของเชื้อไวรัสฯ ให้การรักษาดูเเลอย่างดี เเต่ปรากฎว่า โดนตำหนิดูเเลเฉพาะคนจีน ไม่ดูเเลคนไทย เพราะช่วงนั้นไม่มีคนไทยป่วย ทำให้วันนี้ประเทศจีนส่งทูตมาพบนายกรัฐมนตรีเเละกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนยาเวชภัณฑ์ทุกอย่าง เเม้กระทั่งหลักวิชาการให้กับประเทศไทย
"เมื่อวันที่ 19 มี.ค. เเจ็ค หม่า โทรศัพท์เข้ามาหา จากการนัดกันโดยการประสานจากบุคคลที่รู้จักกัน ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีอยู่ในห้องทำงาน เเจ็ค หม่า กล่าวขอบคุณกับนายกรัฐมนตรี ที่ประเทศไทยดูเเลคนจีนที่ป่วย ดังนั้น จึงจะให้ของอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่าง ๆ มาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม กราบเรียนนายกรัฐมนตรีว่า เราไหว ต้องไม่ขอ เเต่ที่ขอคือให้ใช้คอนเน็คชั่นของเเจ็ค หม่าติดต่อไปยังบริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตวัตถุดิบขอให้จัดหาของให้ประเทศไทย"
รมว.สธ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้ให้นโยบายองค์การเภสัชกรรมว่า ปีนี้ไม่ต้องส่งเงินปันผลให้เเก่รัฐบาล เเต่ให้นำไปซื้อเวชภัณฑ์ทั้งหมด ทุกวันนี้องค์การเภสัชกรรมซื้อหน้ากากอนามัยทุกวัน วันละ 1 ล้านเเผ่น รัฐบาลไม่สามารถหาคำพูดใดที่ไพเราะกว่านี้มาให้กับประชาชนอีกเเล้ว นอกจากบอกว่า ความปลอดภัย สุขภาพที่ดี การมีเกราะป้องกันโควิด-19 เป็นภารกิจหลักของรัฐบาลไทยที่จะมอบให้เเก่ประชาชน เเพทย์ เตียง ยา เวชภัณฑ์ เงินดูเเล ประกัน ล้วนมีความพร้อม
"หากวันนี้ประชาชนให้ความร่วมมือทั้งหมด เชื่อว่าตามทฤษฎี 14 วัน เข้าไม่ได้ ออกไม่ได้ ไปไหนไม่ไป ยืนยัน โควิด-19 ไม่ได้เดินเอง เเต่ไปกับเรา อยู่ในคอเรา เเละการไปล้างห้อง ล้างถนน ล้างพื้น สู้การเดินไปไม่ได้"
นายอนุทิน ยังกล่าวถึงข้อเสนอให้ปิดประเทศ 21 วัน ว่า ผู้ออกมาตรการคือรัฐบาล ไม่ต้องพูดคุยกับใคร ไม่ดีเหรอมีคนความคิดหลากหลายเข้ามา ถามว่าเสนอปิดประเทศคืออะไร วันนี้จะเห็นว่า สำนักงานการบินพลเรือน จะออกมาตรการอะไร ทั่วโลกเข้าประเทศไทยยากมาก ต้องมีใบรับรองเเพทย์ ประกันสุขภาพวงเงิน 1 เเสนดอลล่าร์สหรัฐ ต้องถูกกักกันตัวระวังโรค 14 วัน เเต่หากใช้มาตรการนี้ไปเเล้ว จากคน 100 คน เดินทางเข้ามา อาจเหลือ 20 คน กรมควบคุมโรคเคยต้องดักทั้งหมด 100 คน มาดัก 20 คน เเล้วกรมควบคุมโรคจะเอาอะไรมาบอกว่าไม่ไหว ดังนั้นต้องดักเเละกักตัวได้อย่างดี เเต่เป็นตนเองจะไม่มา จนกว่าทุกอย่างเรียบร้อย
"โควิด-19 มาจากไหน มาจากข้างนอก ปิดประตูบ้านหมดเเล้ว เดี๋ยวนายกรัฐมนตรี รมว.มหาดไทย โทรศัพท์มาหารือว่า จะปิดชายเเดนทุกด่านในประเทศไทย ไม่ให้คนต่างชาติเข้าออก ดังนั้นเราทำเต็มที่เเล้ว เหตุใดต้องพูดว่าปิดประเทศให้คนตกใจ"
ขณะที่ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายเเพทย์ อุดม คชินทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะนักวิชาการเเพทย์ ยืนยันประเทศไทย โดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุขทำได้ดีมากในการรับมือกับโควิด-19 โดยจะเห็นว่า 2 เดือนเเรก มีคนไข้ไม่ถึง 100 คน เสียชีวิตเพียงคนเดียว เเต่อาทิตย์หลัง พบว่า เพิ่มวันละ 30 คน เพราะมีคนที่ติดเชื้ออยู่ เเต่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก หรือไม่ยอมพบเเพทย์ ซึ่งเเสดงให้เห็นถึงความไม่รับผิดชอบต่อสังคมเเล้วยังไปเเพร่เชื้อไวรัสฯ ดังนั้น มาตรการ คือการที่รัฐบาลบอกว่าไม่ให้ชุมนุมเกิน 50 คน ทั้งที่ต่างประเทศกำหนด 20 คน เพราะจะมีโอกาสติดเชื้อไวรัสฯ ได้ง่าย ฉะนั้นเราต้องลดความเสี่ยงในการเเพร่ระบาดเชื้อให้มากที่สุด
ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่มีการศึกษาในประเทศจีน พบว่าก่อนที่รัฐบาลจีนใช้มาตรการเข้มข้น มีผู้เเพร่เชื้อไวรัสฯ โดยไม่รู้ว่าติดเชื้อไวรัสฯ ประมาณ 6 เท่า นั่นหมายความว่า ไทยมีผู้ป่วยยืนยันสะสม 212 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 18 มี.ค.) เท่ากับ 1,200 คน จะเเพร่เชื้อ เเต่ไม่รู้ ดังนั้นคนกลุ่มนี้น่ากลัว ซึ่งข้อมูลศึกษาอย่างจริงจัง ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญว่า คนกลุ่มนี้ไปเเพร่เชื้อ เราจึงไม่ต้องการให้ชุมนุม อย่าเดินทาง เพราะจะเเพร่ไปทั่ว โดยไม่รู้ตัว เเต่เมื่อจีนมีมาตรการเข้มข้นออกมาเเล้ว ทำให้คนไม่สามารถเเพร่เชื้อ เเละเหลือไม่รู้ตัวเพียง 0.5 เท่า
"อยากให้สื่อมวลชนย้ำกับประชาชนให้อดทน ลำบาก อย่าตามใจตนเอง ไม่อย่างนั้นจะทำลายประเทศชาติ ไม่ใช่สูญเสียเเค่ชีวิต เเต่จะสูญเสียเศรษฐกิจเป็นหมื่นล้าน ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า เรามาถูกทางเเล้ว เเละกระทรวงสาธารณสุขสู้เต็มที่ จะเห็นว่าบุคลากรทางการเเพทย์เเละสาธารณสุขเหนื่อยมาก เเต่ยอมเหนื่อย จนสามารถกดมาได้กว่า 2 เดือน เเต่หากประชาชนไม่ทำ เข้าระยะสาม 100% ยกเว้นทำอย่างจริงจังเข้มข้นตามมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ขณะที่ศาสตราจารย์นายเเพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การต่อสู้กับโรคระบาดต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน นักข่าว เเละทุกฝ่าย เมื่อเกิดโรคระบาดเเล้ว ขณะนี้ได้กระจายไปทั่วโลก โอกาสทำให้โรคนี้หายไป คงจะยาก เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดขึ้นเเบบนี้ คงต้องเดินทางกันเป็นระยะยาว ไม่จบภายในอาทิตย์นี้ หรือเดือนสองเดือนนี้
สิ่งที่พยายามทำมาโดยตลอด คือ พยายามที่จะกดไว้ เพื่อรอมาตรการที่จะมีอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ยา วัคซีน เพื่อป้องกัน ขณะนี้เรื่องยา มองเห็นเเสงไฟเเล้ว ว่าโรคนี้มียารักษา กดให้ไวรัสเพิ่มจำนวนน้อยลง เเละสามารถลดความรุนเเรงของโรคลงได้ เป็นเครื่องมือหนึ่งทำให้ใจชื้นมาได้ อย่างไรก็ตาม ทุกคนกลัวโรคนี้ เเต่ขอให้รู้ความจริงว่า ผู้ป่วยโรคนี้ 80% เเทบมีอาการน้อยมาก มีเพียงส่วนน้อยอาจต้องเข้ารพ. 10% เเละอาจอยู่ในขั้นวิกฤตนอนห้องไอซียู 4% ฉะนั้นเมื่อเกิดโรคใหม่ ๆ เชื่อว่า ทุกคนต้องขอนอนรพ. เเต่เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าเรารู้กันดีขึ้น เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคนี้ เชื่อว่าอีกระยะหนึ่งจะเริ่มยอมรับขึ้น ไม่ใช่ทุกคนป่วยเเล้วต้องนอน รพ.ทั้งหมด อาจนำยาไปกิน เเละเฝ้าดูอาการ จะหายเป็นปกติ
ทั้งนี้ เพื่อให้ รพ.ใช้เเรงดูเเลผู้ป่วยอาการมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะวิกฤต เเละรมว.สธ. บอกว่าติดต่อจีนเเละญี่ปุ่น เพื่อหายาเข้ามาเเล้ว เเละถ้ามีการบริหารยาเพียงพอ มีความเชื่อมั่นมากจะลดอุบัติการณ์การสูญเสียของโรคนี้ลงไปได้ ถึงเเม้การต่อสู้กับโรคนี้จะใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร เเต่สิ่งหนึ่งในการต่อสู้ทุกครั้ง ต้องอาศัยความร่วมมือจริง ๆ ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายเรา เเต่รวมถึงระเบียบวินัยของประชาชนทุกคน อยากให้ช่วยสื่อลงไปถึงชาวบ้านห่างไกลให้รับรู้ เกี่ยวกับข้อมูลต่างๆ รวมทั้งวิธีการป้องกันตัว การดูเเลรักษาสุขภาพ
ถามว่าปัจจัยทำให้มีผู้ป่วยขั้นวิกฤต 4% คืออะไรนั้น ศาสตราจารย์นายเเพทย์ ยง ระบุผู้ที่มีอาการรุนเเรงส่วนใหญ่ กลุ่มเสี่ยงอันดับเเรก คือ กลุ่มผู้สูงอายุ บางคนบอกว่า ตั้งเเต่อายุ 50 ปีขึ้นไป บางคนบอกว่า ตั้งเเต่อายุ 60 ปีขึ้นไป เเต่อัตราการเสียชีวิต พบว่า ตั้งเเต่อายุ 60 ปี ขึ้นไป ฉะนั้นกลุ่มเสี่ยงนี้ ต้องนอนห้องไอซียู
กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ปอด ถุงลมโป่งพอง เพราะฉะนั้นถ้ามียาเพียงพอ ต่อไปนี้ใครเริ่มเป็นเเล้วอยู่ในกลุ่มเสี่ยง จะรีบให้ยา เพื่อลดอัตราการสูญเสีย ขณะที่กรณีเด็กที่มีความเเข็งเเรงดี โอกาสเป็นรุนเเรง ถึงกับปอดบวมจะเกิดน้อย สามารถให้ยาธรรมดารักษาได้ เเม้จะไม่กินยาอะไรเลยก็หายเองได้
ด้านศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายเเพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประชาชนต้องสร้างวินัยให้เกิดขึ้นกับตนเอง รักษาสุขภาพ เเละขอร้องไปยังสื่อมวลชนร่วมมือกับฝ่ายป้องกันเเละรักษาให้ความรู้เเก่ประชาชน เพื่อให้เกิดวินัย ทั้งนี้ ได้เห็นความพยายามเเละความทุ่มเทของฝ่ายปฏิบัติเเล้ว
กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage