ปปง.สั่งอายัดทรัพย์ ‘สิทธิพันธ์ ธิมาทาน - ศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์’ กับพวก ฉ้อโกงประชาชนร่วมกันหลอกชักชวนร่วมลงทุนซื้อแพ็กเกจทำภารกิจกดไลก์กดแชร์ให้ผลตอบแทนสูง ตามเงินฝากได้ 15 บัญชี 1.9 ล้าน
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย.114 /2567 วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว รายนายสิทธิพันธ์ ธิมาทาน และนางสาวศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์ กับพวก เป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานฟอกเงิน ร่วมกันหลอกลวงประชาชนทั่วไปโดยโฆษณาผ่านแอปฟลิเคชัน ยูทูปและเฟซบุ๊กเพจ ชื่อ Go like Thailand ชักชวนให้ผู้เสียหายและประชาชนร่วมลงทุนซื้อแพ็กเกจทำภารกิจกดไลก์กดแชร์ให้กับคลิปวีดีโอในแอปพลิเคลิเคชันเฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม และเว็บไซต์ www.golike.com โดยอ้างว่าจะจ่ายหรือจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้เสียหายตามแพ็กเกจที่ลงทุนในอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
ทรัพย์สินที่อายัดประกอบด้วย เงินในบัญชีเงินฝากธนาคารในชื่อบุคคลต่างๆจำนวน 15 รายการ รวมเงิน 1,942,028.62 บาท คำสั่งมีรายละเอียดดังนี
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากนายอนุเชต หรรษา และนางสาวปาริชาติ อัครพันทวีป ตามเลขรับ สอ 544 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2563 ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดฐานฟอกเงิน กล่าวคือ นายสิทธิพันธ์ ธิมาทาน และนางสาวศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์ กับพวก ร่วมกันหลอกลวงประชาชนทั่วไปโดยโฆษณาผ่านแอปฟลิเคชัน ยูทูปและเฟซบุ๊กเพจ ชื่อ Go like Thailand ชักชวนให้ผู้เสียหายและประชาชนร่วมลงทุนซื้อแพ็กเกจทำภารกิจกดไลก์กดแชร์ให้กับคลิปวีดีโอในแอปพลิเคลิเคชันเฟซบุ๊ก ยูทูป อินสตาแกรม และเว็บไซต์ www.golike.com โดยอ้างว่าจะจ่ายหรือจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้เสียหายตามแพ็กเกจที่ลงทุนในอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ ซึ่งนายสิทธิพันธ์ ธิมาทาน และนางสาวศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์ กับพวก รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าคำตอบแทนที่นำมาจ่ายประชาชนนั้นเป็นการนำเงินจากผู้เสียหายรายใหม่ มาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้เสียหายรายเดิม
ต่อมาสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลกได้รับคำร้องทุกข์เป็นคดีอาญา ที่ 464/2566 ซึ่งปัจจุบันพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนและมีความเห็นควรสั่งสั่งฟ้องนายสิทธิชัย ธิมาทาน และนางสาวศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์ กับพวก จำนวน 12 ราย ในความผิดร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนและร่วมกันโดยทจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนและร่วมกันฟอกเงินซึ่งเป็นความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 มาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 9 มาตรา 12 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มาตรา 343 และพระระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (1) อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (3) และความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากลุ่มบุคคลใช้บัญชีธนาคารฉ้อโกงประชาชนและฟอกเงิน ชื่อบัญชีนายสิทธิพันธ์ ธิมาทาน และนางสาวศรินรัตน์ โฆษิตธัญพัฒน์ กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไว้ชั่วคราวมีกำหนดไม่เกิน 90 วัน นับแต่คณะกรรมการธุรกรรมมีคำสั่งอายัดคือนับแต่วันที่ 11 มิ.ย.- 8 ก.ย.2567