ปปง.สั่งยึดอายัดทรัพย์ ‘รัตนาภรณ์ หงษ์ทอง’ อดีต จนท.พัสดุ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ก.สาธารณสุข กับพวก 77 รายการ 30.4 ล้าน ทั้ง เงินฝาก รถยนต์ ที่ดินบ้าน 8 แปลง พฤติการณ์ปลอมเอกสารใบสั่งซื้อวัสดุจากเอกชน 44 ครั้งไม่มีสินค้า กลับเบิกจ่ายเงินเสียหาย 4.3 ล. เหตุเกิดปีงบฯ 2566
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย. 112 /2567 วันที่ 11 มิถุนายน 2567 เรื่อง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว ราย นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กรณีจัดทำเอกสารจัดซื้อพัสดุ ประเภทวัสดุวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัต 44 ครั้ง รวมมูลค่า 4,386,313.06 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารจัดซื้อพัสดุดังกล่าวในเบื้องต้น พบว่า
สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ มิได้ให้ นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง และนางจรรยา ทรัพย์ธรณี จัดซื้อพัสดุดังกล่าวกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด แต่อย่างใด อีกทั้งบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด ก็มิได้ส่งมอบพัสดุดังกล่าวให้แก่สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ แต่ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามเอกสารจัดซื้อพัสดุกับบริษัท เอ็น วาย พสัส จำกัด อันเป็นเท็จ ปลอมลายมือชื่อผู้ขอจัดซื้อจัดจ้าง ผู้อนุมัติการขอจัดซื้อจัดจ้างในรายงานขอจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ผู้จัดทำขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและผู้อนุมัติชอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ผู้มีอำนาจลงนามสั่งซื้อในใบเสนอราคา ผู้อนุมัติในบันทึกข้อความรายงานขอซื้อขอจ้าง ผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ ผู้ลงนามในประกาศผู้ขนะการเสนอราคา ผู้อนุมัติในบันทึกข้อความรายงานผลการพิจารณาและขอสั่งซื้อสั่งจ้าง ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง คณะกรรมการตรวจรับในใบตรวจรับการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง คณะกรรมการตรวจรับ ผู้รับสินค้า และผู้อนุมัติจ่ายเงินในใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ลงในเอกสารจัดซื้อพัสดุกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด เบิกจ่ายเงินให้แก่บริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัต โดยมิได้มีการส่งมอบพัสดุให้แก่สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่ที่ปรากฏลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวต่างยืนยันว่า ลายมือชื่อในเอกสารจัดซื้อพัสดุดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของตน และต่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทำให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับความเสียหาย จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริตทรัพย์สินที่ถูกยึดและอายัดประกอบด้วย เงินสด ทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง เครื่องประดับ กระเป๋าแบรนด์เนม พระเครื่อง อาวุธปืน 7 กระบอก รถยนต์ 4 คน รถจักรยานยนต์ 2 คัน อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินตามโฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง 8 แปลง ในกรุงเทพมหานคร จ. นนทบุรี กรุงเทพฯ และ พระนครศรีอยุธยา บัญชีเงินฝากธนาศาร สลากออมสิน ในชื่อบุคคลและ บริษัท เอ็น วาย พลัส และบริษัท กู๊ด แฟมิลี จำกัด 12 รายการมูลค่า 554,363.58 บาท รวมทั้งสิ้น 77 รายการ มูลค่า 30,469,272.79 บาท (เฉพาะรายการที่ประเมินมูลค่า)
@ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจ้งความ ตร. ปปป.
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมในการยึดและอายัดทรัพย์สินมีรายละเอียดดังนี้
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากกองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป) ตามหนังสือที่ ตช 0026.(10)/1272 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เรื่อง รายงานการกระทำความผิดมูลฐาน กรณีร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ราย นางรัตนากรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น กล่าวคือ
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 นายโยธิน ภัทรวัฒนาภรณ์ ตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ ได้รับมอบอำนาจจาก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุ่มการกิจด้านพัฒนาการแพทย์รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับนางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง พนักงานราชการ ขณะดำรงตำแหน่งนักวิชาการพัสดุ ฝ่ายบริหารทั่วไป สังกัดสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ต้องหาที่ 1 และนางจรรยา ทรัพย์ธรณี ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภททั่วไป ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ฝ่ายบริหารงานทั่วไป สังกัดสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ต้องหาที่ 2
@ เหตุเกิดปีงบ 2566 –ทำใบสั่งซื้อปลอม 44 ครั้ง
โดยระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2566 นางรัตนกรณ์ หงษ์ทอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1257/2565 ลงวันที่ 17 พฤษภาศม 2565 มีหน้าที่รับผิดชอบคุมเงินงบประมาณฝ่ายคลัง เงินยืม ควบคุม และเบิกจ่ายวัสดุคลัง เบิกจ่ายงินสด จัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าล่วงเวลา รวมทั้งดูแลระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ (AMS) จัดซื้อ/จัดจ้างวัสดุครุภัณฑ์ และงานจ้างเหมาบริการ ควบคุมและเบิกจ่ายวัสดุคงคลัง สรุปแบบประเมินผู้ขาย
ส่วนนางจรรยา ทรัพย์ธรณี เกี่ยวข้องเป็นมารดาของนางรัตนากรณ์ หงษ์ทอง ข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภททั่วไประดับชำนาญงาน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน ฝ่ายบริหารทั่วไป ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่1189/2551 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2551 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาศม 2551 จนถึงปัจจุบัน ในขณะเกิดเหตุ นางจรรยา ทรัพย์ธรณี ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2563 เป็นต้นมา มีหน้าที่ตรวจสอบและเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือผู้รับมอบอำนาจ เพื่อขอความเห็นชอบอนุมัติและลงนามในการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายเงิน ตามคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 2630/2563 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2563 คำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 1257/2565 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2565และคำสั่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ 39/2566 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2566 รวมทั้งควบคุม ตรวจสอบ กำกับการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณและเงินอื่น ๆ ควบคุมกำกับการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนงานที่ได้รับงบประมาณ และควบคุมการเบิกจ่ายพัสดุต่าง ๆ ตามแบบมอบหมายงานฝ่ายบริหารทั่วไป
จากการตรวจสอบพบว่าในปีงบประมาณ 2566 (ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2566) สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใด้มีการจัดทำเอกสารจัดซื้อพัสดุ ประเภทวัสดุวิทยาศาสตร์ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัต 44 ครั้ง รวมมูลค่า 4,386,313.06 บาท ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารจัดซื้อพัสดุดังกล่าวในเบื้องต้น พบว่าสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ มิได้ให้ นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง และนางจรรย ทรัพย์ธรณี จัดซื้อพัสดุดังกล่าวกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด อีกทั้งบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด ก็มิได้ส่งมอบพัสดุดังกล่าวให้แก่สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ แต่ได้มีการเบิกจ่ายงบประมาณตามเอกสารจัดซื้อพัสดุกับบริษัท เอ็น วาย พสัส จำกัด อันเป็นเท็จ ปลอมลายมือชื่อผู้ขอจัดซื้อจัดจ้าง ผู้อนุมัติการขอจัดซื้อจัดจ้างในรายงานขอจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง ผู้จัดทำขอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุและผู้อนุมัติชอบเขตของงานหรือรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ผู้มีอำนาจลงนามสั่งซื้อในใบเสนอราคา ผู้อนุมัติในบันทึกข้อความรายงานขอซื้อขอจ้าง ผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับ ผู้ลงนามในประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ผู้อนุมัติในบันทึกข้อความรายงานผลการพิจารณาและขอสั่งซื้อสั่งจ้าง ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง คณะกรรมการตรวจรับในใบตรวจรับการจัดซื้อจัดจ้าง ผู้สั่งซื้อสั่งจ้าง คณะกรรมการตรวจรับ ผู้รับสินค้า และผู้อนุมัติจ่ายเงินในใบส่งของ ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ลงในเอกสารจัตซื้อพัสดุกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด เบิกจ่ายเงินให้แก่บริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัต โดยมิได้มีการส่งมอบพัสดุให้แก่สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์โดยเจ้าหน้าที่ที่ปรากฏลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวต่างยืนยันว่า ลายมือชื่อในเอกสารจัดซื้อพัสดุดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อของตน และต่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่ทราบว่าสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้จัดซื้อพัสดุประเภทวัสดุวิทยาศาสตร์ดังกล่าวกับบริษัท เอ็น วาย พลัส จำกัด
การกระทำดังกล่าวของนางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง และนางจรรยา ทรัพย์ธรณี ทำให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับความเสียหาย จึงร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ เทศบาล สุขาภิบาลหรือเจ้าของทรัพย์นั้น และร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างไดในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้กิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2563 มาตรา 172 และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรณีมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
@ ปปง.ตรวจสอบถือครองทรัพย์สิน 77 รายการ ไม่อายัดเกรงเสียหาย หากศาลสั่งยึด
ในการนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2567 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม.73/2567
ลงวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ราย นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้ว ปรากฎหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่า นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าสักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (5) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด
รวมทั้งจากการรวบรวมพยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 77 รายการ พร้อมดอกผล เนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ประกอบด้วย สังหาริมทรัพย์ประเภทเงินสด อันเป็นทรัพย์สินที่มีสภาพคล่อง สามารถปกปิด ซ่อนเร้น หรือโอนเปลี่ยนมือได้โดยง่าย สังหาริมทรัพย์ประเภททองรูปพรรณ ทองคำแท่ง เครื่องประดับ กระเป๋าแบรนด์เนม พระเครื่อง อาวุธปืน อันเป็นทรัพย์สินที่ไม่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองสามารถโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย สังหาริมทรัพย์ประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียน ในการควบคุมการเสียภาษีหรือการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินดังกล่าว โดยผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองอาจดำเนินการโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้มีสิทธิครอบครองในทางทะเบียนได้โดยง่าย อสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ดินตามโฉนดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อันเป็นทรัพย์สินที่ปรากฎหลักฐานในทางทะเบียนในการเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์โดยผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาจดำเนินการทางนิติกรรมโอนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียนได้ และสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินในบัญชีเงินฝากธนาศาร สลากออมสิน อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย หากมีได้มีการออกคำสั่งให้ยึดและอายัดทรัพย์สินดังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินดำเนินการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติตตามทรัพย์สินดังกล่าวกลับคืนมาใต้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า นางรัตนาภรณ์ หงษ์ทอง กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด และอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้น ทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุมครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการดวบคุมตรัวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งยีดและอายัตทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิตไว้ชั่วคราว จำนวน 77 รายการ พร้อมดอกผล
กล่าวคือ มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สิน จำนวน 65 รายการ ได้แก่ รายการที่ 1 ถึงรายการที่ 65 และมีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สิน จำนวน 12 รายการ ได้แก่ รายการที่ 66 ถึงรายการที่ 77 มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2567 ถึงวันที่
8 กันยายน 2567 โดยมีรายการทรัพย์สินที่ยึดและอายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้