ปปง.ตามอายัด 1.9 ล.คดี หน.การเงิน สหกรณ์การเกษตรสังคม จ.หนองคาย ปลอมเอกสารยักยอก เสียหาย 45 ล. หลังกรมส่งเสริมสหกรณ์แจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษปี 2564
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า วันที่ 9 ม.ค.2567 สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.)มีคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ย. 6 /2567 เรื่อง อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวราย นายสุริยา พรหมมี หัวหน้าการเงินซึ่งเป็นลูกจ้างของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด ได้นำเงินสดที่สมาชิกนำมาฝากและได้ทำรายการฝากเงินถูกต้องแล้ว ไปกระทำการยกเลิกรายการฝากในระบบคอมพิวเตอร์ของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด นอกจากนี้ได้ลักเอาเงินของสหกรณ์ฯ ไปโดยการปลอมลายมือชื่อสมาชิกในการเบิกถอนเงินสดจากบัญชีสมาชิกแล้วเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนเอง โดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้ทำรายการเบิกถอน รวมความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 45,096,015 บาท ทรัพย์สินที่อายัด เป็นเงินใบบัญชีเงินฝากธนาคาร ในชื่อนายสุริยา กับพวกรวม 12 คน 21 รายการ (บัญชี) รวมเป็นเงิน 1,975,026.79 บาท (ดูเอกสาร)
คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม สั่งอายัดทรัพย์สินนายสุริยาระบุว่า
ด้วยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้รับรายงานจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามหนังสือที่ กษ 1115/5970 งวันที่ 10 ตุลาคม 2565 เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ประสานข้อมูลให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง) ซึ่งเป็นกรณีมีพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดเกี่ยวกับการปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ และความผิดเกี่ยวกับการลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา อันมีลักษณะเป็นปกติธุระ กล่าวคือ
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์หนองคายทำการตรวจสอบบัญชีประจำปีของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด จากเอกสารการรับฝากเงินและการถอนเงินตั้งแต่เตือนเมษายน 2564 และการยืนยันยอดโดยตรงกับสมาชิก ปรากฏว่าเอกสารการประกอบรายการฝากเงิน. - ถอนเงิน ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง โดยมีการปลอมแปลงเอกสารประกอบการถอนเงิน รับฝากเงิน จึงได้รายงานไปยังสำนักงานสหกรณ์จังหวัดหนองคาย และจากการสืบสวนพบว่าระหว่างวันที่ 9 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2564 นายสุริยา พรหมมี ตำแหน่งหัวหน้าการเงินซึ่งเป็นลูกจ้างของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด ได้นำเงินสดที่สมาชิกนำมาฝากและได้ทำรายการฝากเงินถูกต้องแล้ว ไปกระทำการยกเลิกรายการฝากในระบบคอมพิวเตอร์ของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด
นอกจากนี้ได้ลักเอาเงินของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด ไปโดยการปลอมลายมือชื่อสมาชิกในการเบิกถอนเงินสดจากบัญชีสมาชิกแล้วเอาเงินดังกล่าวไปเป็นของตนเอง โดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้ทำรายการเบิกถอนเงินแต่อย่างใด ต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 สหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด โดยนายอินจักร ชมพูพื้น ผู้รับมอบอำนาจ ได้แจ้งความร้องทุกข์เพื่อตำเนินคดีกับนายสุริยา พรหมมี ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสังคมในความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ฉ้อโกง ปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอมและข้อหาอื่น เป็นคดีอาญาที่ 143/2564 และเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 สหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวน เนื่องจากปรากฎความเสียหายเพิ่มเติม เป็นคดีอาญาที่ 143/2564 รวมความเสียหายเป็นจำนวนเงิน 45,096,015 บาท อันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (14) และ (18) แห่งพระราขบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 และกรณีมีเหตุอันวรเชื่อได้ว่ากรณีการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด รายนายสุริยา พรหมมี กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดดังกล่าว
ในการนี้เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในการประชุมคณะกรรมการธุรกรรม ครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่ประชุมมีมติมอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ประกอบกับคำสั่งเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ลับ ที่ ม. 13/2566 ลงวันที่ 6 มกราคม 2566 เรื่อง มอบหมายพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด รายนายสุริยา พรหมมี กับพวก พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตรวจสอบรายงานการทำธุรกรรมหรือข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมของบุคคลดังกล่าวแล้วปรากฏหลักฐานเป็นที่เชื่อได้ว่ากรณีการทุจริตชองสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด รายนายสุริยา พรหะม กับพวก มีพฤติการณ์แห่งการกระทำอันเข้าลักษณะเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (14) และ (18) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 หรือเป็นผู้ซึ่งเกี่ยวช้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน
และจากการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมหรือทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งจากการรวบรวมหยานหลักฐาน ปรากฏว่าบุคคลดังกล่าว ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด จำนวน 21 รายการ พร้อมตอกผล และเนื่องจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้เป็นสังหาริมทรัพย์ประเภทเงินโนบัญชีเงินฝากธนาคาร อันเป็นทรัพย์สินที่สามารถโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นได้โดยง่าย หากมิได้มีการออกคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินตังกล่าวไว้ชั่วคราว เมื่อเจ้าของหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตำเนินการโอน จำหนำย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเรันทรัพย์สินตังกส่าวไปเสีย และหากต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินตังกล่าวตกเป็นของแผ่นติน สำนักงาน ปปง. อาจไม่สามารถติดตามทรัพย์สินตังกล่าวกลับคืนมาได้ จึงเป็นกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ากรณีการทุจริตของสหกรณ์การเกษตรสังคม จำกัด รายนายสุริยา พรหม กับพวก ได้ไปซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดและอาจมีการโอน จำหน่าย ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 34 (3) และมาตรา 48 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มติคณะกรรมการธุรกรรมในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2527 และระเบียบคณะกรรมการธุรกรรม ว่าด้วยการรับเรื่องการตรวจสอบ การพิจารณาดำเนินการ และการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 ข้อ 25 คณะกรรมการธุรกรรมจึงมีคำสั่งอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว จำนวน 23 รายการ พร้อมดอกผล มีกำหนดไม่เกิน 40 วัน (เก้าสิบวัน) นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการธุรกรรมมีมติ กล่าวคือ นับตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 7 เมษายน 2567 โดยมีรายการทรัพย์สินที่อายัดปรากฏตามบัญชีทรัพย์สินแนบท้ายคำสั่งนี้ ทั้งนี้ ให้รวมถึงเงินหรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการจำหน่าย จ่าย โอนด้วยประการใด ๆ