แพทย์เผยเก็บตัวอย่างตรวจไม่ถูกวิธี อาจทำให้ขึ้นผลลวง แม้ว่าจะมีอาการแล้ว ยัน ATK ขึ้นทะเบียน อย.รับมือโควิดได้ทุกสายพันธุ์ เหตุหลักการใช้จับหาโปรตีนไวรัส
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2565 สืบเนื่องจากกรณีทื่มีผู้ป่วยติดเชื้อโควิดตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK แล้วแต่ผเป็นลบ แม้ว่าจะมีอาการไอ เจ็บคอ ไข้แล้ว นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า หลักการการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK บางครั้งอาจจะเกิดผลลวง ผลปลอมขึ้นมาได้เนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น ผลลบปลอม (False Negative) อาจเกิดจากเพิ่งติดเชื้อในระยะแรก ร่างกายจึงยังมีปริมาณเชื้อไวรัสต่ำ การเก็บสิ่งตัวแอย่างตรวจไม่ถูกต้อง ปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีทดสอบไม่ถูกต้อง เช่น แหย่จมูกไม่ถูกที่ หรือชุดตรวจอาจไม่ได้มาตรฐาน
ด้าน นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กล่าวกับ สำนักข่าวอิศรา ว่า ตนเคยพบกรณีการตรวจหาเชื้อโควิด ด้วย ATK แล้ว ปรากฎว่า คนไข้บอกว่าไม่ขึ้น มาขอยารักษา แต่พอตรวจด้วยผู้เชี่ยวชาญ กลับพบว่าขึ้นผลบวก ซึ่งกรณีนี้พบเยอะมา ฉะนั้น ปัจจัยที่ทำให้ตรวจ ATK แล้ว ไม่ขึ้นสองขีด อาจจะเพราะการเก็บตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง แหย่จมูกไม่ลึกพอ ซึ่งหากชุดตรวจเป็นชุดตรวจที่ได้รับการรับรองมีมาตรฐาน คาดว่าน้ำยาไม่น่าจะผิดพลาด
การเก็บตัวอย่างนั้นสำคัญมาก ยิ่งหากเป็นช่วงที่มรอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ไอเจ็บ คอ ควรตรวจหาเชื้อด้วย ATK เพราะโอกาสการที่จะเจอและผลเป็นบวกมีสูงมาก ดังนั้น หากมีอาการ เมื่อตรวจครั้งแรกไม่ขึ้น ขอให้ตรวจซ้ำ
เมื่อถามว่า การตรวจ ATK ด้วยการเก็บตัวอย่างน้ำลายให้ผลแม่นยำกว่าการ Swab หรือไม่ นพ.อาชวินทร์ กล่าวว่า จากผลการศึกษา พบว่า การเก็บตัวอย่างด้วยการแหย่โพรงจมูก (Nasal Swab) ให้ความไวมี่ดีกว่าการตรวจหาเชื้อด้วยน้ำลายประมาณ 35% แต่ทั้งนี้จะต้องแหย่จมูกหรือสวอปให้ถูกวิธี
ส่วนการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด มีผลต่อการตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติไปแล้วหรือไม่ นพ.อาชวินทร์ กล่าวว่า ATK ยังสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิดได้อยู่ เพราะหลักการทำงานของชุดตรวจ คือการตรวจหาโปรตีนไวรัส ซึ่งไม่เกี่ยวกับการกลายพันธุ์เปลี่ยนตำแหน่งของยีนส์