ประเทศไทยโดยกระทรวง สาธารณสุขได้กําหนดนโยบายการจัดหาวัคซีนเพื่อให้ ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชาชนไทย ในปี 2564 ซึ่งมีการดําเนินการในหลายแนวทาง อย่างไรก็ตาม การจองซื้อวัคซีนจาก Astrazeneca จํานวน 26 ล้านโด๊ส เป็นเพียงข้อตกลงชุดแรก ขณะนี้ยังมี การเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนอีกหลายบริษัท ทั้งนี้ ไม่ได้มีการเจาะจงว่าจะทําความร่วมมือเฉพาะกับ ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง
........................
หมายเหตุ:สืบเนื่องจากที่เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563 ได้มีการอนุมัติฉุกเฉินให้มีการใช้งานวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และจะมีการเริ่มกระบวนการฉีดวัคซีนได้ในวันที่ 4 ม.ค.2564 โดยก่อนหน้านี้นั้นบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าก็ได้มีข้อตกลงกับบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด เพื่อให้เป็นผู้ผลิตวัคซีนรายเดียวสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าส่งมอบวัคซีนชุดแรกได้ภายในกลางปี 2564
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนั้นสถาบันวัคซีนแห่งชาติได้ทำเอกสารออนไลน์ถามตอบจำนวน 8 ข้อเกี่ยวกับการจัดหาวัคซีนของประเทศไทย ซึ่งสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้นำเอกสารดังกล่าวมานำเสนอดังนี้
คำถาม: จริงหรือไม่? ขณะนี้ทั่วโลก มีวัคซีนโควิด 19 ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับ อนุญาตให้ฉีดในภาวะฉุกเฉินแล้วถึง 6 ชนิด
คำตอบ: ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อน ขณะนี้ทั่วโลกมี วัคซีนโควิด 19 ที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน (EUA) แล้วจากผู้ผลิต 9 ราย โดยแบ่งเป็น 4 ชนิดวัคซีน
โดยวัคซีนที่มีการขึ้นทะเบียนและได้รับการยอมรับขณะนี้มี เพียง 3 ชนิดคือ ของ Pfizer Moderna และ AstraZeneca ที่เหลือเป็นการขึ้นทะเบียนแบบฉุกเฉินโดยใช้ผลการทดลองเฟส 2 เท่านั้น แม้วัคซีนของจีนและรัสเซียที่ขึ้นทะเบียนไปก่อนหน้าตั้งแต่ ก.ค.-ส.ค. 2563 ก็ยังไม่มีผลเฟส 3 อย่างเป็นทางการออกมา
คำถาม: จริงหรือไม่? ที่วัคซีนของ AstraZeneca ที่ไทยจองซื้อ ขณะนี้ยังไม่สิ้นสุดการทดลอง
คำตอบ: วัคซีนโควิด 19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันทุกชนิดยังไม่ สิ้นสุดการทดลอง ซึ่งทั้งของ Pfizer และ Moderna ก็ยังต้อง มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อดูประสิทธิผลของวัคซีนหลังสามเดือน
ในขณะที่ของ Astrazeneca ได้รับอนุมัติทะเบียนให้ใช้ วัคซีนในกรณีฉุกเฉินจากหน่วยงานควบคุมกํากับของอังกฤษแล้ว เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2563
คำถาม: เพราะเหตุใด? ประชากรจากกว่า 10 ประเทศทั่วโลก จึงได้รับวัคซีนไปแล้วมากกว่า 5 ล้านโด๊ส
คำตอบ. เนื่องจากประเทศเหล่านั้นได้ทําการจองวัคซีนล่วงหน้า ตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค-ส.ค. 2563 โดยขณะที่ทําการจองนั้นยังไม่ทราบผลเบื้องต้นของการศึกษาประสิทธิภาพและความ ปลอดภัยของวัคซีน จึงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะไม่ได้รับวัคซีน
ทั้งนี้ การเปิดเผยผลการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนโควิด 19 เบื้องต้น เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงต้นเดือน พ.ย. 2563 โดย Pfizer/BioNTech
สําหรับประเทศไทย การจองวัคซีนล่วงหน้าก่อนทราบผล เฟส 3 โดยมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับวัคซีนนั้น ต้องอาศัยการออกประกาศใช้อํานาจตาม พ.ร.บ. ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 ที่ออกประกาศเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2563
คำถาม: เป็นไปได้หรือไม่? ที่ภายใน ม.ค. 2564 จะมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจจะมากถึงร้อยล้านโด๊ส
คำตอบ: มีความเป็นไปได้ ที่จะมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น แต่จะถึงร้อยล้านโด๊สหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจํานวนวัคซีนที่มี ในขณะนี้ เนื่องจากวัคซีนมีจํานวนจํากัด
ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีให้เราได้เห็นข้อมูลด้านความ ปลอดภัยของวัคซีนมากขึ้น เนื่องจากเมื่อมีการใช้วัคซีน ในประชากรกลุ่มใหญ่ จะทําให้มีโอกาสพบอาการไม่พึง ประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนที่พบได้ยากมากขึ้น
คำถาม: จริงหรือไม่?ที่ประเทศไทยมุ่งอยู่กับวัคซีนของ AstraZeneca เพียงอย่างเดียว
คำตอบ: ไม่เป็นความจริง ประเทศไทยโดยกระทรวง สาธารณสุขได้กําหนดนโยบายการจัดหาวัคซีนเพื่อให้ ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชาชนไทย ในปี 2564 ซึ่งมีการดําเนินการในหลายแนวทาง อย่างไรก็ตาม การจองซื้อวัคซีนจาก Astrazeneca จํานวน 26 ล้านโด๊ส เป็นเพียงข้อตกลงชุดแรก ขณะนี้ยังมี การเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนอีกหลายบริษัท ทั้งนี้ ไม่ได้มีการเจาะจงว่าจะทําความร่วมมือเฉพาะกับ ผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง
คำถาม: เป็นไปได้หรือไม่? ที่ภาคเอกชนจะเข้ามามีบทบาทในการนําเข้าวัคซีนโควิด19
คำตอบ: มีความเป็นไปได้ ไม่ได้มีการปิดกั้นภาคเอกชน ในการนําเข้าวัคซีนมาจําหน่ายในประเทศ
แต่ทั้งนี้ วัคซีนที่ภาคเอกชนจะนําเข้าเพื่อจําหน่ายใน ประเทศจะต้องได้รับการอนุมัติจาก อย. เพื่อเป็นการ ประกันว่าวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และ เป็นไปตามมาตรฐานสากล
คำถาม: จริงหรือไม่? ที่ประเทศไทยยังไม่มีแผนรองรับการขึ้นทะเบียนวัคซีน เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
คำตอบ: ไม่เป็นความจริง เนื่องจาก อย. ได้มีการ เตรียมความพร้อมและกําหนดแนวทางการขึ้น ทะเบียนแบบฉุกเฉินไว้แล้ว
สามารถเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2L2xmQa
คำถาม: เป็นไปได้หรือไม่? ที่ประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ได้ ในระยะเวลาอันใกล้นี้
คำตอบ: มีความเป็นไปได้ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งรัดการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ใน ทุกช่องทาง เพื่อให้ประชาชนไทยเข้าถึงวัคซีนได้ รวดเร็วที่สุด และมีการกําหนดแผนการใช้วัคซีน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการฟื้นฟูประเทศจาก สถานการณ์การระบาดนี้โดยเร็ว
# กดคลิก ติดตาม ส่งแชร์ข่าวอิศรา ได้ที่นี่ https://www.facebook.com/isranewsfanpage/