"...วิจัย และ นวัตกรรม จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องไม่ทำวิจัย และ นวัตกรรมให้เป็นระบบ เป็นรูปแบบแบบเดิม แต่ต้องใช้ความคิดสร้างสร้างสรรค์ บวกกับความต้องการของโลก และ ทำด้วยความเร็ว เร็ว และ เร็ว เพราะคนเก่ง แพ้คนเร็วครับ และ คนเก่ง ไม่ต้องรู้อะไรเยอะ แต่ต้องรู้จักเอาคนเก่งมาทำงาน และ เลือกทำงานที่จะสำเร็จเท่านั้น โดยมองปัญหาเป็นโอกาส นี่คือ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคน พัฒนาประเทศที่ผมเสนอครับ..."
คนทั่วโลกรู้จักโรงแรมไทยว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุด แต่ทำไมคนทั่วโลกไม่รู้จักมหาวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการโรงแรมของไทย นี่เป็นโจทย์ใหญ่ของกระทรวง อว. และ เป็น Soft Power ของประเทศครับ
ผมมีความคิดว่า อว.ควรร่วมมือกับโรงแรมชั้นนำระดับโลกของไทย เปิดมหาวิทยาลัยสอนวิชาชีพทางการโรงแรม โดยผู้สอนเป็นบุคลากรจริงที่อยู่ในโรงแรมชั้นนำระดับโลกที่ได้รับการยอมรับ จะทำให้คนทั้งโลกอยากมาเรียน
นี่เป็นตัวอย่างวิธีคิดหนึ่งที่เรียกว่า การปฏิรูปอุดมศึกษา ซึ่ง อว.ได้เปิดช่องทางเตรียมความพร้อมให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ปฏิรูปตัวเองแล้ว ปลดล็อคการสร้างหลักสูตรใหม่ๆ เปิดช่องทาง Sandbox และ ทางลัด ทางด่วนอีกมากมาย เพื่อให้ผลิตคนคุณภาพพร้อมใช้งานได้ทันกับความเปลี่ยนแปลง และ ความต้องการของโลก มหาวิทยาลัยทั้งหลายเร่งทำเถอะครับ
ผมยังแนะให้ขยายการส่งออกของไทย จากการส่งออกทุเรียน มะม่วง อาจจะไม่ได้ดีอย่างที่ผ่านมาแล้ว เพราะสภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงมากครับ เราจะเจอการแข่งขัน และ ต้นทุนที่สูงขึ้น ผมจึงมาชวนคิดให้ส่งออก การศึกษาแทน เป็นหลักสูตรการศึกษาจากความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย วัฒนธรรมของไทยที่คนทั่วโลกชื่นชอบครับ
ดูเอาเถิดครับ น้องลิซ่าเปิดตัว Rockstar ทำให้คนทั่วโลกรู้จักประเทศไทย แค่ 6 วันมีคนดู 72 ล้านครั้งเท่ากับจำนวนประชากรไทยเลยนะครับ เป็นตัวอย่างของการนำความเป็นไทยออกสู่สายตาชาวโลกครับ และเธอควรได้ตำแหน่งศาสตราจารย์ด้าน Soft Power โดยไม่ต้องทำเอกสารวิชาการ หรือ เรียนจบอะไรเลยครับ
อุดมศึกษา ต้องเปลี่ยนจากการทำงานแบบ หัตถกรรม ที่ผลิตบัณฑิตเพียงครั้งละ 200-300 คน มาผลิตครั้งละ เป็น 10,000 คน แต่ยังคงมีคุณภาพ ด้วยหลักสูตร และ วิธีการสอนที่สร้างสรรค์ โดยเปลี่ยนเป็น Contribute Education คือ มหาวิทยาลัยต้องไม่ได้สอนแค่เตรียมคนไปทำงานเท่านั้น แต่ต้องเน้นสอนคนทำงานให้มาเรียนเพื่อพัฒนาตัวเองด้วย
โดย ต้องเน้นสร้างคนไทยให้เป็นนักวิจัย ขายก๋วยเตี๋ยวก็ต้องทำวิจัย ขายกุยฉ่ายก็ต้องทำวิจัย เพราะวิจัย คือ การพัฒนาสิ่งเดิมให้ดีขึ้น ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และ แตกต่างจากเดิม ออกมาเป็นทฤษฏีใหม่ และ ลงมือทำ หากได้ผลดีก็ทำต่อ หากยังไม่ดีก็เปลี่ยนวิธีการไปเรื่อยๆ
เพราะ “วิจัย” ไม่ใช่คำหลวงชั้นสูง สำหรับ ดอกเตอร์ ศาสตราจารย์ แต่เป็นคำราษฏร์ เป็นความรู้ที่เป็นพื้นฐานของคนทุกคน วิจัยไม่ต้องรอการรับทุน ไม่ต้องเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องเป็นวิจัยเพื่อการพัฒนาตัวเอง พัฒนางาน และ พัฒนาประเทศครับ
วิจัย และ นวัตกรรม จะเป็นเส้นเลือดใหญ่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ได้นั้น ต้องไม่ทำวิจัย และ นวัตกรรมให้เป็นระบบ เป็นรูปแบบแบบเดิม แต่ต้องใช้ความคิดสร้างสร้างสรรค์ บวกกับความต้องการของโลก และ ทำด้วยความเร็ว เร็ว และ เร็ว เพราะคนเก่ง แพ้คนเร็วครับ และ คนเก่ง ไม่ต้องรู้อะไรเยอะ แต่ต้องรู้จักเอาคนเก่งมาทำงาน และ เลือกทำงานที่จะสำเร็จเท่านั้น โดยมองปัญหาเป็นโอกาส นี่คือ ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคน พัฒนาประเทศที่ผมเสนอครับ
เลิกเรียน และ เลิกสอนเพื่อให้คนเอาปริญญาบัตรไปแขวนไว้ที่ผนังห้องได้แล้วครับ
..... เชิญทานอาหารให้อร่อยครับ
โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
“เอกเขนก” เรื่องเล่า...เมื่อผมเป็น รมว.อว.ปี 63-66 ตอนที่ 11 วิจัยเพื่อชาติ
…..รวมเรื่อง (ไม่) ลับตลอด 3 ปี ที่คุณไม่เคยได้ยินของผม อดีต รมว.อว.ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กับ เรื่องราวเบื้องหลังแผนการเปลี่ยนไทยสู่ประเทศพัฒนาแล้วในปี 2580
ขอขอบคุณ งานประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 24 ที่เชิญผมไปบรรยายครับ เชิญรับฟังการบรรยายแบบเต็ม (เริ่มต้นที่ 18.10) ได้ที่ที่นี่ครับ