"...กติกาที่เปิดเผยข้อมูลครบถ้วน ทันสมัยมากขึ้น การเข้มมาตรฐานทางบัญชีมากขึ้น การเข้มข้นการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ การระบุการประเมิน พิสูจน์ทราบความมีศักยภาพในการหารายได้มาชำระหนี้ตามตารางที่กำหนดขึ้น ในเวลานี้ ในปีพ.ศ. นี้ ท่านผู้อ่านคิดว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อ อัตราการอนุมัติสินเชื่อ ความเข้มข้น ยืดหยุ่น ความเจือจางในนโยบายสินเชื่อจะไปในทิศทางไหนสุดท้าย ความตั้งใจของเราที่ต้องการให้หนี้ครัวเรือนไทยมาอยู่ในระดับ 80%ของ GDP จะเป็นไปได้ในเร็ววันมั้ย ถ้าตัวเศษคือหนี้ครัวเรือนมันวิ่งด้วยอัตราการโต 3-4% ขณะที่ตัวส่วนคือ GDP. มันวิ่งด้วยความเร็วในการโต 2-3%..."
ข้อมูลว่าด้วยเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน ป้องกันอะไร ป้องกันจากการตกชั้นจากบัญชีสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษหรือ SM หรือบัญชีหนี้ที่กำลังจะเสียกลายไปเป็นหนี้เสียหรือ NPLsนั่นเอง
1.ในอดีตตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดของ covid-19 หรือในระหว่างเกิดวิกฤติ covid-19 ในกรณีที่บัญชีสินเชื่อใดก็ตามเริ่มออกอาการค้างชำระ อาจจะเป็น 1, 2, หรือ 3งวด หากแต่ยังไม่เกิน 90วัน มีการเลี้ยงงวดการชำระหนี้แบบไปๆมาๆ กลับมาเป็นหนี้ปกติก็ไม่ได้ แต่ก็ไม่กลายไปเป็นหนี้เสียให้รู้แล้วรู้รอด การที่ลูกหนี้ร้องขอผ่อนผันและเจ้าหนี้ก็ยอม ตกลงกันทำสิ่งที่เรียกว่า การปรับโครงสร้างหนี้หรือ DR. หรือ Debt restructure จะเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของการตกชั้น
2.ในช่วงการระบาดของ covid-19.ฝั่งเจ้าหนี้ก็เห็นสัญญาณการค้างชำระ ฝั่งคนกำกับดูแลก็ได้กลิ่นควันไฟ ตามคำขวัญ "จับควันให้ไว ดับไฟให้ทัน ป้องกันอย่าให้ลาม" พร้อมกับประเด็นว่าการให้สินเชื่อควรจะมีข้อมูลมั้ยว่า บัญชีสินเชื่อของลูกหนี้ บัญชีไหนมีการทำ DR.บ้าง ทางคนให้กู้ก็บอกว่าถ้าไม่รู้ชัดเจน จะเกิดความระแวง ระมัดระวังมาก ตั้งการ์ดสูง คนมาขอกู้ก็จะถูกปฎิเสธ ควรจะมีการติดรหัสบอกว่า บัญชีนี้มีการทำ DR.ฝั่งคนกำกับดูแลก็บอกว่า ถ้าคนให้กู้รู้ชัดจากรหัสก็อาจจะรีบปฎิเสธการให้สินเชื่อ ที่สุดก็คือไม่มีการติดรหัส DR. แต่ให้เจ้าหนี้รายงานตรงกับผู้กำกับดูแล ดังนั้นข้อมูลว่ามีการทำ DR.มากน้อย เพิ่มขึ้น/ลดลงในช่วงก่อน ระหว่าง covid-19ระบาดจึงมีที่เดียว ณ ริมฝั่งเจ้าพระยา มีข้อเรียกร้องจากผมมาตลอดว่าควรเปิดเผย โปร่งใส ชัดเจนว่า ในสถานการณ์แต่ละช่วงมีการทำ DR.ประมาณไหน สังคมจะได้เห็นแนวโน้มความหนักเบาและความรุนแรงของปัญหา
3.ต่อมาเมื่อมีนโยบาย,มาตรการแก้หนี้ยั่งยืน,การให้กู้อย่างรับผิดชอบ ทางการผู้กำกับดูแลได้ตัดสินใจว่า บัญชีสินเชื่อใดก็ตามถ้ามีการลงนามในข้อตกลง, ข้อสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้ขณะที่ปกติหรือเริ่มค้างชำระ แต่การค้างยังไม่เกิน 90วัน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นไป บัญชีสินเชื่อนั้นจะมีการติดรหัสการมีสถานะเป็น DR. เพื่อให้สถาบันการเงินที่รับใบสมัครสินเชื่อมาแล้วตรวจเครดิตบูโรของคนที่มายื่นขอกู้จะเห็นความชัดเจนว่าเจ้าของบัญชีสินเชื่อนั้น สถานะปัจจุบันเป็นอย่างไร มีศักยภาพในการชำระหนี้ประมาณไหน ควรจะได้สินเชื่อมั้ย
4.ในเดือนเมษายน 2567 ตามกติกาใหม่ โปร่งใสมากขึ้น จากข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนพบว่า
มีการทำ DR.เกือบ 9หมื่นล้านบาท 1.29แสนบัญชีสินเชื่อ Ploan ทำ DR. 3.8หมื่นล้านบาท 5.7หมื่นบัญชี สินเชื่อบ้าน ทำ DR. 2.9หมื่นล้านบาท เกือบ 2หมื่นบัญชี ข้อมูลรายละเอียดตามตารางด้านล่าง
สถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือสถาบันการเงินของรัฐทำ DR. 6.5หมื่นล้านบาทจากทั้งหมดเกือบ 9หมื่นล้านบาท มีจำนวนบัญชีสูงถึง 6.9หมื่นบัญชี รายละเอียดตามตารางข้อมูลสถิติ
5.ข้อมูลในตารางถือเป็นหมุดหมายสำคัญในเรื่องความได้ผลสำเร็จของการเร่งปรับโครงสร้างหนี้ก่อนไหลเป็นหนี้เสีย ยอดสะสมในเดือนต่อๆไปตั้งแต่ความจริงปรากฎจะบอกได้ว่า มาตรการ 2ต้อง 1ไม่ ที่กำหนดมาว่า เจ้าหนี้เมื่อปล่อยกู้ไปแล้วต่อมาลูกหนี้ไม่ไหว เริ่มค้าง ต้องยื่นข้อเสนอทำ DR. อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และถ้าไหลไปเป็นหนี้เสียจริง ต้องให้โอกาสลูกหนี้ทำ TDR. อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง รวมทั้งต้องไม่ขายหนี้บัญชีดังกล่าวออกไปให้กับ AMC.อย่างน้อย 60วัน มาตรการนี้ไม่ใช่ขอความร่วมมือแบบในอดีต แต่เป็นมาตรการบังคับตามกฎหมาย
6.การทำ DR.แบบยื่นข้อเสนอแบบเจ้าหนี้ต้องเสนอลูกหนี้ มันมาพร้อมกับความเข้มของมาตรฐานการบัญชีที่ระบุว่า ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้อย่างมีนัยสำคัญที่เรียกว่า SICR.เกิดขึ้นเช่น บัญชีสินเชื่อนั้นๆค้างเกิน 31วัน จะต้องถือว่าบัญชีนั้นเป็น SM. พอเป็นแล้วจะกลับมาเป็นปกติได้ก็ต้องทำ DR. พอได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงแล้ว ตัวลูกหนี้ก็ต้องหาเงินมาชำระหนี้ตามเงื่อนไข DR. ติดต่อกันไปอย่างน้อย 3งวด สถานะจึงจะกลับมาเป็นบัญชีปกติได้
กติกาที่เปิดเผยข้อมูลครบถ้วน ทันสมัยมากขึ้น การเข้มมาตรฐานทางบัญชีมากขึ้น การเข้มข้นการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ การระบุการประเมิน พิสูจน์ทราบความมีศักยภาพในการหารายได้มาชำระหนี้ตามตารางที่กำหนดขึ้น ในเวลานี้ ในปีพ.ศ. นี้ ท่านผู้อ่านคิดว่า อัตราการเติบโตของสินเชื่อ อัตราการอนุมัติสินเชื่อ ความเข้มข้น ยืดหยุ่น ความเจือจางในนโยบายสินเชื่อจะไปในทิศทางไหนสุดท้าย ความตั้งใจของเราที่ต้องการให้หนี้ครัวเรือนไทยมาอยู่ในระดับ 80%ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)จะเป็นไปได้ในเร็ววันมั้ย ถ้าตัวเศษคือหนี้ครัวเรือนมันวิ่งด้วยอัตราการโต 3-4% ขณะที่ตัวส่วนคือ GDP. มันวิ่งด้วยความเร็วในการโต 2-3%
เรากำลังกดตัวไหนให้วิ่งช้า เรากำลังปั๊มตัวไหนให้วิ่งเร็ว หากแต่ว่าถ้าเราๆท่านๆถูกวัดด้วยมาตรฐานการประเมินศักยภาพ ความสามารถในการหารายได้ ความสามารถในการชำระหนี้ ตัวเราๆท่านๆถ้าไปยื่นขอกู้เวลานี้ กติกาตอนนี้ ท่านคิดว่าท่านจะได้คำตอบแบบไหน
ความรู้สึกของหลายท่านที่ได้พบปะพูดคุยด้วยมันบอกว่าเราอยู่ในคลื่นลมและพายุทางการเงินระดับเดียวกันครับ แต่เราอาจอยู่เรือคนละลำ เรือแจว เรือจ้าง เรือหางยาว เรือโป๊ะ เรือหาปลา เรือรบ เรือบรรทุกสินค้า เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือสำราญ เรือยอร์ช มันจึงมีอัตรารอดที่แตกต่างกัน ดังคำพูดของนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล... Life is unfair หรือว่าชะตาชีวิตเศรษฐกิจเราจะอยู่ในมือ นักท่องคำภีร์มากไปแต่ท่องยุทธจักรน้อยไป มองไปจึงเห็นชัดเจนแต่ PowerPoint worriers เขียนด้วยข้อมูลที่สุจริตใจเป็นที่ตั้ง ไม่พอใจ จะหาเหตุหาเรื่อง ด้วยการใช้อำนาจก็ทำมา พร้อมรับและพร้อมรบครับ คนที่เคยหัวใจยุดเต้นไป 26วิ ไม่กลัวอะไรแล้ว
ที่มา : Surapol Opasatien