"...จริง ๆ ในร่างที่วุฒิสภาเสนอแก้ไขมาสามารถที่จะตอบโจทย์นักการเมืองได้ทุกพรรคแล้ว จุดยืนร่วมที่ทุกพรรคการเมืองมีเกี่ยวกับหนี้ กยศ คือ ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผู้กู้จะต้องจ่าย ต้องอยู่ในระดับต่ำ คือ ต้องมีแต่เพียงน้อย หรือไม่มีเลยมองไปข้างหน้า พรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน สามารถที่จะให้นโยบายแก่ กยศ. ไปดำเนินการได้ ตั้งแต่ไม่ให้มีดอกเบี้ยเงินกู้เลย (0%) หรือจะให้คงอัตราที่ใช้ในปัจจุบันที่ 1% ต่อปี ทั้งหมดสามารถดำเนินการได้ภายใต้ร่างแก้ไขที่วุฒิสภาแก้ไข และอาจจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 28 ธค. ..."
วันนี้สภาผู้แทนราษฎรมีวาระพิเศษ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติม หากเห็นด้วยก็ผ่านไปสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากไม่เห็นด้วยก็ต้องตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งอาจจะเสร็จไม่ทันอายุสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้
หนึ่งในร่างที่น่าห่วงคือร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมให้มีเพดานดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ
ดร.ขจร ธนะแพสย์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย หนึ่งในผู้ทำงานปิดทองหลังพระแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมาหลายปี ได้เขียนบทความขึ้นมาชิ้นหนึ่ง พร้อมภาพอินโฟกราฟฟิค 2 ภาพ
อยากให้ได้อ่านกัน
และอยากขอความกรุณาท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้โปรดเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วด้วยครับ
ร่างที่วุฒิสภาแก้ไขตอบโจทย์ทุกพรรคการเมือง เพราะสิ่งที่กำหนดในกม.คือ อัตราเพดาน
เพดานดอกเบี้ย 1% คือกำหนดได้ตั้งแต่ 0% ถึง 1%
[1] ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และเบี้ยปรับที่กำหนดใน พรบ.กยศ. เป็นการกำหนด “อัตราเพดาน” หรือ “อัตราสูงสุด” อัตราที่ระบุในกฎหมายจะต้องเป็นอัตราที่มีความยืดหยุ่น ต้องคำนึงถึงอนาคตที่สถานการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง โดย กยศ. ประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเบี้ยปรับได้เองภายใต้อัตราเพดานที่ระบุไว้ในกฎหมาย
[2] อัตราเพดานดอกเบี้ยกู้ 1% ต่อปี ตามร่างที่ทางวุฒิสภาแก้ไข หมายถึง กยศ.สามารถ กำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ได้ตั้งแต่ 0~1% ต่อปี ที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง กยศ.เพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกำหนดอยู่ที่ 7.5% ต่อปี แต่ข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ กยศ. กำหนดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 1% ต่อปี เท่านั้น และบางช่วงเช่นช่วงวิกฤติโควิด กยศ.ก็ผ่อนปรนคิดดอกเบี้ยเงินกู้เพียง 0.1% ต่อปี
อัตราเพดานเบี้ยปรับ 0.5% ต่อปี ตามร่างที่วุฒิสมาชิกแก้ไขกลับมามา หมายถึง กยศ. สามารถกำหนดเบี้ยปรับ 0-0.5% ต่อปี แต่เดิมนั้น กยศ สามารถที่จะกำหนดเบี้ยปรับสูงถึง 1.5% ต่อเดือน หรือ 18% ต่อปี ที่ผ่านมาที่มีปัญหาคือจุดนี้เพราะถ้าผนวกกับลำดับตัดชำระหนี้ที่เอาเงินต้นไว้ท้ายสุด จะทำให้เงินที่ผู้กู้จ่ายชำระเข้ามาไม่ตัดเงินต้น ซึ่งเรื่องนี้ถูกแก้ไขแล้ว
[3] จริง ๆ ในร่างที่วุฒิสภาเสนอแก้ไขมาสามารถที่จะตอบโจทย์นักการเมืองได้ทุกพรรคแล้ว จุดยืนร่วมที่ทุกพรรคการเมืองมีเกี่ยวกับหนี้ กยศ คือ ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับที่ผู้กู้จะต้องจ่าย ต้องอยู่ในระดับต่ำ คือ ต้องมีแต่เพียงน้อย หรือไม่มีเลยมองไปข้างหน้า พรรคการเมืองที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน สามารถที่จะให้นโยบายแก่ กยศ. ไปดำเนินการได้ ตั้งแต่ไม่ให้มีดอกเบี้ยเงินกู้เลย (0%) หรือจะให้คงอัตราที่ใช้ในปัจจุบันที่ 1% ต่อปี ทั้งหมดสามารถดำเนินการได้ภายใต้ร่างแก้ไขที่วุฒิสภาแก้ไข และอาจจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 28 ธค
[4] ประเด็นเร่งด่วนที่สำคัญมากกว่า คือ การแก้ไข พรบ.กยศ. ต้องเสร็จทันสมัยประชุม ไม่เช่นนั้น ผู้ที่จะเดือดร้อนที่สุดคือผู้กู้ กยศ. เพราะถ้ากฎหมายไม่ผ่าน กยศ.จะไม่สามารถปรับลดเบี้ยปรับให้แก่ผู้กู้ได้เลย และไม่สามารถปรับโครงสร้างหนี้ได้ รวมทั้งหนี้ที่มีคำพิพากษาไปแล้ว ถ้ากม.ไม่ผ่านไม่รู้ผู้กู้จะต้องรอไปอีกถึงเมื่อไร อาจจะเป็นปีหรือ นานกว่านั้น ถึงจะสามารถหลุดจากวังวนหนี้สินนี้ วันนี้ผู้กู้กยศ.หลายล้านคนจึงจดจ่อรอฟังผลของการพิจารณาของทางส.ส. ผู้กู้จำนวนมากวิงวอนให้ช่วยเค้าด้วย แม้พรรคที่ต้องการดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ 0% กม.ที่วุฒิสภาแก้มาตอบโจทย์ท่านแล้ว
[5] ร่างที่วุฒิสภาพิจารณาแก้ไขกลับมา ถ้า ส.ส.ไม่รับและต้องแก้ไขอีกคงไม่ทันสมัยการประชุมนี้ พูดง่าย ๆ คือ ร่างที่วุฒิสภาจะส่งกลับมา ฝั่งส.ส.จะต้องรับโดยไม่แก้ไขเท่านั้นถึงจะทันสมัยการประชุมนี้
อยากขอให้เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ เหนือเรื่องทางการเมือง ทุกท่านต้องนึกถึงผู้กู้ที่เค้ารอให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ เพราะ กยศ. จะไม่สามารถปรับลดเบี้ยปรับหรือผ่อนปรนใดๆ ให้ผู้กู้ได้เลยถ้ากฎหมายนี้ไม่ผ่าน
ครับ ทั้งหมดเป็นมุมมองของดร.ขจร ธนะแพสย์ คนแบงก์ชาติที่ทำงานเบื้องหลังการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนมายาวนาน ไม่ใช่ส.ส. ไม่ใช่ส.ว.
รอผลการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรวันนี้ครับ
อยู่ในระเบียบวาระท้ายสุด
ที่มา : Kamnoon Sidhisamarn